มณฑล ไกรวัตนุสสรณ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มณฑล ไกรวัตนุสสรณ์
ไฟล์:มณฑล ไกรวัตนุสสรณ์.jpg
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร
ดำรงตำแหน่ง
19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 – 26 ตุลาคม พ.ศ. 2563
ก่อนหน้าอุดร ไกรวัตนุสสรณ์
ถัดไปอุดม ไกรวัตนุสสรณ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
นายกรัฐมนตรีบรรหาร ศิลปอาชา
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมุทรสาคร
ดำรงตำแหน่ง
(ครั้งล่าสุด)
23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 – 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 มกราคม พ.ศ. 2482 (85 ปี)
พรรคการเมืองความหวังใหม่
พลังประชาชน
เพื่อไทย
คู่สมรสพอใจ ไกรวัตนุสสรณ์

นายมณฑล ไกรวัตนุสสรณ์ (1 มกราคม พ.ศ. 2482 - ) อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรสาคร หลายสมัย

ประวัติ[แก้]

มณฑล ไกรวัตนุสสรณ์ เกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2482 เป็นบุตรของนายกุ้ยใช้ และนางกุ้ยลั้ง แซ่โง้ว มีพี่น้อง 11 คน สำเร็จการศึกษาระดับ ปวช. จากโรงเรียนธนกิจพาณิชยการ สมรสกับนางพอใจ มีบุตร 5 คน คือ

  1. นายอุดร ไกรวัตนุสสรณ์ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร
  2. นางสาวอุไร ไกรวัตนุสสรณ์ อดีตผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคพลังประชาชน
  3. นายอุดม ไกรวัตนุสสรณ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายสมัย อดีตสมาชิกบ้านเลขที่ 111
  4. ร้อยตำรวจเอกหญิงสมพร ไกรวัตนุสสรณ์
  5. นายอนุสรณ์ ไกรวัตนุสสรณ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

งานการเมือง[แก้]

นายมณฑล เดิมมีความสนิทสนมกับพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ หัวหน้าพรรคความหวังใหม่ รวมทั้งเคยเป็นหัวคะแนนให้นายเจี่ย ก๊กผล อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายสมัย ต่อมานายมณฑลได้ลงสนามการเมืองอย่างเต็มตัว โดยได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยแรก ในปี พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคความหวังใหม่ และได้รับการเลือกตั้งติดต่อกันมารวม 4 สมัย กระทั่งได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา[1]

หลังจากนั้นนายมณฑลได้วางมือทางการเมือง โดยมีบุตรชายทั้ง 3 คน เข้ามาทำงานการเมืองสืบแทน จนกระทั่งปี พ.ศ. 2550 นายอุดม ไกรวัตนุสสรณ์ บุตรชายถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี ในคดียุบพรรคไทยรักไทย พร้อมกับกรรมการบริหารพรรคอีก 110 คน นายมณฑลจึงกลับมาลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้ง ในสังกัดพรรคพลังประชาชน และได้คะแนนเป็นอันดับที่ 3 ของเขต (มี ส.ส.ได้ 3 คน) แต่ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 นายมณฑลลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งในนามพรรคเพื่อไทย กลับต้องพ่ายแพ้ให้กับนายนิติรัฐ สุนทรวร จากพรรคประชาธิปัตย์อย่างขาดลอย

ปลายปี พ.ศ. 2554 นายอุดร ไกรวัตนุสสรณ์ บุตรชายคนโต ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ถูกลอบยิงเสียชีวิต โดยมีนายครรชิต ทับสุวรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์ ตกเป็นผู้ต้องหา[2] นายมณฑลจึงลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแทน และได้รับการเลือกตั้งด้วยคะแนนขาดลอย ผลคะแนนปรากฏดังนี้[3]

ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร
# ผู้สมัคร คะแนน %
1 อัคคเดช สุวรรณชัย 46,020 20.85
2 มณฑล ไกรวัตนุสสรณ์ 137,910 62.48
3 กันต์กวี ทับสุวรรณ 23,866 10.81
ไม่ประสงค์ลงคะแนน 6,840 3.10
บัตรเสีย 6,088 2.76
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 220,724 คน (คิดเป็นร้อยละ 61.67 จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 357,886 คน)

และดำรงตำแหน่งจนถึงปี พ.ศ. 2563 จึงพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากมีการกำหนดให้มีการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2563

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

มณฑล ไกรวัตนุสสรณ์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 5 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดสมุทรสาคร สังกัดพรรคความหวังใหม่
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดสมุทรสาคร สังกัดพรรคความหวังใหม่
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดสมุทรสาคร สังกัดพรรคความหวังใหม่
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดสมุทรสาคร สังกัดพรรคความหวังใหม่
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดสมุทรสาคร สังกัดพรรคพลังประชาชน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ย้อนรอยศึกสองตระกูลการเมืองมหาชัย ‘ไกรวัตนุสสรณ์-ทับสุวรรณ’
  2. ออกหมายจับ ครรชิต ทับสุวรรณ สส.ปชป.ฆ่านายกอบจ.สมุทรสาคร
  3. ผลการนับคะแนนเลือกตั้งนายกอบจ.สมุทรสาคร[ลิงก์เสีย]
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๙, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]