เกรียง กีรติกร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เกรียง กีรติกร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
30 พฤษภาคม 2517 – 14 กุมภาพันธ์ 2518
นายกรัฐมนตรีสัญญา ธรรมศักดิ์
ก่อนหน้าอภัย จันทวิมล
ถัดไปก่อ สวัสดิ์พาณิชย์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด26 พฤษภาคม พ.ศ. 2455
จังหวัดอุตรดิตถ์ ประเทศสยาม
เสียชีวิต17 สิงหาคม พ.ศ. 2533 (78 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
คู่สมรสพวงเพ็ชร (ตันติเจริญ) กีรติกร
บุตร4 คน
อาชีพช้าราชการ

เกรียง กีรติกร (สกุลเดิม เอี่ยมสกุล)[1] อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์ ในระหว่างปี พ.ศ. 2517 ถึงปี พ.ศ. 2518 เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งกรมวิชาการ ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ การประกาศแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2494 ซึ่งเป็นการขยายให้การศึกษาภาคบังคับไปสู่ภูมิภาค และเป็นผู้ริเริ่มการพัฒนาการศึกษาในหลายด้าน[2] จนได้รับการกล่าวถึงว่าเป็น "เสาเอกแห่งการประถมศึกษาไทย"[3] และเป็นอดีตสมาชิกวุฒิสภา[4]

ประวัติ[แก้]

นายเกรียง กีรติกร เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2455 เริ่มเข้าเรียนที่วัดเชิงหวาย และวัดพญาปันแดน อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ ต่อจากนั้นในปี พ.ศ. 2461 ได้เข้าเรียนที่โรงเรียนประจำอำเภอพิชัย จากนั้นได้เข้าเรียนต่อที่โรงเรียนประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ โรงเรียนประจำมณฑลพิษณุโลก และโรงเรียนฝึกหัดครูวัดบวรนิเวศ จนจบชั้น ม.8

ในปี พ.ศ. 2473 ได้เข้าศึกษาต่อที่คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเข้ารับราชการครูที่โรงเรียนมัธยมศึกษาบ้านสมเด็จเจ้าพระยา พร้อมกับเริ่มเรียนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง กระทั่งในปี พ.ศ. 2477 จึงย้ายมารับราชการที่โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม จากนั้นในปี พ.ศ. 2480 ได้รับตำแหน่งเป็นธรรมการจังหวัดระยอง และในปี พ.ศ. 2483 ได้ย้ายเข้ามาเป็นหัวหน้าแผนก ในสังกัดกองการศึกษาผู้ใหญ่ จนได้รับตำแหน่งรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในปี พ.ศ. 2502 และเป็นอธิบดีกรมสามัญศึกษา ในปี พ.ศ. 2505

นายเกรียง มีส่วนสนับสนุนในการจัดตั้งสมาคมผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาแห่งประเทศไทย[5]

นายเกรียง กีรติกร สมรสกับนางพวงเพ็ชร ตันติเจริญ มีบุตร 2 คนคือ นางกิ่งเพ็ชร วรพิพัฒน์ และนายกฤษณพงศ์ กีรติกร ในปี พ.ศ. 2501 นางพวงเพ็ชร ถึงแก่กรรม นายเกรียงจึงได้สมรสใหม่กับนางวัชรี พงษ์ธรานนท์ ในปี พ.ศ. 2503 มีบุตร 2 คน คือ กรวินท์ กีรติกร และ กัญญวิมว์ กีรติกร

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ศาสตราจารย์ชิน อยู่ดีจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง จังหวัดสุโขทัย
  2. หอประวัติ มจพ.[ลิงก์เสีย]อ้างอิงจาก ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. 2502-2535 :กรุงเทพฯ :วิสิทธิ์ พัฒนา,2537.
  3. บุคคลสำคัญจากจังหวัดอุตรดิตถ์ เก็บถาวร 2021-01-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจากเว็บไซต์ อบจ.อุตรดิตถ์
  4. "วุฒิสภาชุดที่ ๔ (สมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๑๘)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-09-09.
  5. ประวัติความเป็นมาของสมาคมผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาแห่งประเทศไทย
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๒๒๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๘, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๗
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๗, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๓
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๘๐ ง หน้า ๑๓๕๑, ๑ มิถุนายน ๒๕๑๙
  9. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ เก็บถาวร 2009-02-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๙๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๑๕ มิถุนายน ๒๕๓๑
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2021-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๕ ตอนที่ ๑๐๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๓๓๗, ๒๓ ธันวาคม ๒๕๐๑
ก่อนหน้า เกรียง กีรติกร ถัดไป
อภัย จันทวิมล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
(30 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 - 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518)
ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์