เจี่ย ก๊กผล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจี่ย ก๊กผล
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
ดำรงตำแหน่ง
26 สิงหาคม – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533
นายกรัฐมนตรีพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด31 กรกฎาคม พ.ศ. 2478
เสียชีวิต24 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (73 ปี)
จังหวัดเชียงใหม่
พรรคการเมืองกิจสังคม
มวลชน
ความหวังใหม่
ไทยรักไทย

นายเจี่ย ก๊กผล (31 กรกฎาคม พ.ศ. 2479 - 24 ธันวาคม พ.ศ. 2551) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรสาคร หลายสมัย

ประวัติ[แก้]

เจี่ย ก๊กผล เกิดเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2479 เป็นบุตรของนายรั้ว และนางอู๋ ก๊กผล มีพี่น้อง 5 คน สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จังหวัดสมุทรสาคร และระดับปริญญาตรีจากสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา[1] สมรสกับนางอรวรรณ มีบุตร-ธิดา 5 คน หนึ่งในนั้นคือรองศาสตราจารย์ ดร. อรทัย ก๊กผล อดีตรองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า และ อดีตอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตผู้สมัคร ส.ส.พรรคไทยรักไทย

งานการเมือง[แก้]

ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรสาครเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2522 สังกัดพรรคกิจสังคม และได้รับการเลือกตั้งติดต่อกันมารวม 4 สมัย ในระหว่างนี้ได้เข้าดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยเลขานุการ รมว.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, เลขานุการ รมว.กระทรวงพาณิชย์ และรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีตามลำดับ[2] รวมทั้งยังได้รับตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคกิจสังคมด้วย

พ.ศ. 2533 นายเจี่ยได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ[3] แต่ในการเลือกตั้งสองครั้งถัดมา นายเจี่ยกลับต้องเสียที่นั่งให้แก่นายมณฑล ไกรวัตนุสสรณ์ จากพรรคความหวังใหม่[4] ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (พลเอก สุจินดา คราประยูร)[5]

ในปี พ.ศ. 2538 นายเจี่ย ได้รับการเลือกตั้งอีกครั้ง และดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคมวลชน ต่อมา พ.ศ. 2539 ย้ายไปสังกัดพรรคความหวังใหม่ และได้รับการเลือกตั้งอีกครั้ง ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2544 ย้ายไปสังกัดพรรคไทยรักไทย แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง โดยแพ้ให้กับนาวาตรีสุธรรม ระหงษ์ จากพรรคประชาธิปัตย์ หลังจากนั้นจึงวางมือทางการเมือง

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

เจี่ย ก๊กผล ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 6 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 จังหวัดสมุทรสาคร สังกัดพรรคกิจสังคม
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดสมุทรสาคร สังกัดพรรคกิจสังคม
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดสมุทรสาคร สังกัดพรรคกิจสังคม
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดสมุทรสาคร สังกัดพรรคกิจสังคม
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดสมุทรสาคร สังกัดพรรคมวลชน
  6. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดสมุทรสาคร สังกัดพรรคความหวังใหม่

ถึงแก่อนิจกรรม[แก้]

นายเจี่ย ก๊กผล เสียชีวิตเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ด้วยวัย 73 ปี[6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. นายเจี่ย ก๊กผล จังหวัดสมุทรสาคร-บุคคลสำคัญ[ลิงก์เสีย], กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
  2. ประวัติย่อ นายเจี่ย ก๊กผล
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และตั้งรัฐมนตรี (ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ๑๗ ราย และตั้งรัฐมนตรี จำนวน ๒๐ ราย)
  4. ย้อนรอยศึกสองตระกูลการเมืองมหาชัย ‘ไกรวัตนุสสรณ์-ทับสุวรรณ’
  5. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 88/2535 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (ข้าราชการการเมืองในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี รัฐบาล พลเอก สุจินดา คราประยูร)
  6. เจี่ย ก๊กผล อดีตส.ส.สมุทรสาคร หัวใจวายเสียชีวิต
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2010-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๒๔๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๓

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]