เชลยศึกชาวญี่ปุ่นในสหภาพโซเวียต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทหารญี่ปุ่นที่เดินทางกลับจากไซบีเรียรอนำขึ้นฝั่งจากเรือที่ไมซูรุ จังหวัดเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ใน ค.ศ. 1946

หลังสงครามโลกครั้งที่สองมีกำลังพลชาวญี่ปุ่นจำนวน 560,000 ถึง 760,000 นายในสหภาพโซเวียตและประเทศมองโกเลียที่ถูกกักกันเพื่อใช้งาน ณ ค่ายแรงงานในฐานะเชลยศึก[1] ในจำนวนนี้ คาดว่าระหว่าง 60,000 ถึง 347,000 นายเสียชีวิตในการถูกจองจำ[2][3][4][5]

กองทัพญี่ปุ่นประมาณ 3.5 ล้านนายนอกประเทศญี่ปุ่นส่วนใหญ่ถูกปลดอาวุธโดยสหรัฐกับจีนก๊กมินตั๋ง และถูกส่งตัวกลับประเทศใน ค.ศ. 1946 ฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกได้จับเชลยชาวญี่ปุ่น 35,000 นาย ระหว่างเดือนธันวาคม ค.ศ. 1941 ถึงวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1945 กล่าวคือ ก่อนการยอมจำนนของญี่ปุ่น[6] สหภาพโซเวียตควบคุมเชลยศึกของญี่ปุ่นไว้นานกว่ามาก และใช้พวกเขาเป็นกำลังแรงงาน

ประวัติ[แก้]

ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่ที่ถูกคุมขังในสหภาพโซเวียตไม่คิดว่าตนเองเป็น "เชลยศึก" และเรียกตนเองว่า "ผู้ถูกกักกัน" เพราะพวกเขาสมัครใจวางอาวุธหลังจากการยอมจำนนของญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ กล่าวคือ หลังจากสิ้นสุดความขัดแย้งทางทหาร จำนวนเชลยชาวญี่ปุ่นที่ถูกจับในการสู้รบมีน้อยมาก[7]

หลังจากความพ่ายแพ้ของกองทัพคันโตในแมนจูเรีย เชลยศึกชาวญี่ปุ่นได้ถูกส่งจากแมนจูเรีย, เกาหลี, เกาะซาฮาลินใต้ และหมู่เกาะคูริล ไปยังหมู่เกาะคูริล, ดินแดนฮาบารอฟสค์, ดินแดนครัสโนยาสค์, คาซัคสถาน (มณฑลคาซัคสถานใต้ และมณฑลจัมบิล), สาธารณรัฐปกครองตนเองสังคมนิยมบูร์ยัต-มองโกล และสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอุซเบก ซึ่งใน ค.ศ. 1946 ค่ายแรงงาน 49 แห่งสำหรับเชลยศึกชาวญี่ปุ่นภายใต้การบริหารขององค์การบริหารหลักสำหรับงานเชลยศึกและผู้ถูกกักกันสามารถรองรับคนได้ประมาณ 500,000 คน นอกจากนี้ ยังมีสองค่ายสำหรับผู้ถูกตัดสินว่ามีความผิดทางอาญาต่าง ๆ เชลยถูกแบ่งออกเป็น 1,000 หน่วยบุคคล ตลอดจนพลเรือนชาวญี่ปุ่นทั้งชายและหญิง รวมทั้งชาวเกาหลีบางคนก็ถูกคุมขังเช่นกัน เมื่อมีทหารไม่เพียงพอที่จะเติมเต็มหน่วย[8]

การจัดการเชลยศึกเป็นไปตามกฤษฎีกาของคณะกรรมการกลาโหมสหภาพโซเวียตหมายเลข 9898cc "เกี่ยวกับการรับ, ที่พัก และการใช้แรงงานของเชลยศึกชาวญี่ปุ่น" ("О приеме, размещении, трудовом использовании военнопленных японской армии") ลงวันที่ 23 สิงหาคม ค.ศ. 1945

ชาวญี่ปุ่นจำนวนมากถูกมอบหมายให้ก่อสร้างทางรถไฟสายหลักไบคาล–อามูร์ (กว่า 200,000 นาย) ในแปดค่าย ณ คอมโซมอล์สก-ออน-อามูร์ (สองค่ายสำหรับสองทางแยกรถไฟ), โซเวตสกายากาวัน, สถานีรถไฟเรชิฮา (ดินแดนฮาบารอฟสค์), สถานีรถไฟอิซเวสต์โคเวย์ (ดินแดนฮาบารอฟสค์), กรัสนายาซาร์ยา (แคว้นชิตา), เทย์เชต และโนโว-กริชิโน (แคว้นอีร์คุตสค์)[4]

ส่วนการส่งเชลยศึกของญี่ปุ่นกลับประเทศได้เริ่มขึ้นใน ค.ศ. 1946

ค.ศ. จำนวนที่ปล่อย หมายเหตุ
1946 18,616 นาย
1947 166,240 นาย
1948 175,000 นาย
1949 97,000 นาย โอน 971 นายสู่สาธารณรัฐประชาชนจีน
1950 1,585 นาย เหลือ 2,988 นาย ที่เหลืออยู่ในสหภาพโซเวียต

ซึ่งจุดเริ่มต้นใน ค.ศ. 1949 มีรายงานว่าผู้เดินทางกลับไม่ให้ความร่วมมือและเป็นปรปักษ์เมื่อกลับมายังประเทศญี่ปุ่น เนื่องมาจากการโฆษณาชวนเชื่อของคอมมิวนิสต์ที่พวกเขาได้รับในระหว่างการถูกจองจำ อุบัติการณ์เหล่านี้ส่งผลให้ประชาชนชาวญี่ปุ่นได้รับการรับรู้เชิงลบมากขึ้นเกี่ยวกับทหารที่กลับมา และเพิ่มความเป็นปรปักษ์ของกองบัญชาการทหารสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตรต่อฝ่ายซ้ายในญี่ปุ่น

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "シベリア抑留、露に76万人分の資料 軍事公文書館でカード発見". Sankeishinbun. 24 July 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 July 2009. สืบค้นเมื่อ 21 September 2009.
  2. Japanese POW group says files on over 500,000 held in Moscow, BBC News, 7 March 1998
  3. UN Press Release, Commission on Human Rights, 56th session, 13 April 2000.
  4. 4.0 4.1 POW in the USSR 1939–1956:Documents and Materials เก็บถาวร 2 พฤศจิกายน 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Moscow Logos Publishers (2000) (Военнопленные в СССР. 1939–1956: Документы и материалы Науч.-исслед. ин-т проблем экон. истории ХХ века и др.; Под ред. М.М. Загорулько. – М.: Логос, 2000. – 1118 с.: ил.) ISBN 5-88439-093-9
  5. Anne Applebaum Gulag: A History, Doubleday, April 2003, ISBN 0-7679-0056-1; page 431.Introduction online เก็บถาวร 13 ตุลาคม 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน)
  6. Ulrich Straus. "The Anguish of Surrender: Japanese POWs of World War II เก็บถาวร 8 กรกฎาคม 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน". Seattle and London: University of Washington Press, 2003. ISBN 978-0-295-98336-3.
  7. Japanese POW in the USSR (ในภาษารัสเซีย)
  8. Watt, Lori (2010). When Empire Comes Home: Repatriation and Reintegration in Postwar Japan. Harvard University Asia Center. ISBN 978-0-674-05598-8.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • "Japanese POW in Primorye (1945–1949)"
    • Issue 1: "POW Labor in Coal Industry" ("Японские военнопленные в Приморье (1945–1949 гг.) Вып.1 Труд военнопленных в угольной промышленности" Владивосток: Государственный архив Приморского края, Мор. гос. ун-т им. адм. Г. И. Невельского) 2005.- 152 pp. (ในภาษารัสเซีย)
    • Issue 2: "POW Labour in Various Spheres of the Notional Economy of the Primorsky Krai"(Японские военнопленные в Приморье (1945–1949 гг.) : документы Государственного архива Приморского края Выпуск 2: Труд военнопленных в отраслях народного хозяйства Приморского края, 2006 ISBN 5-8343-0355-2
  • Nicole Piper, "War and Memory: Victim Identity and the Struggle for Compensation in Japan" War & Society (2001) vol. 19, issue 1, pp. 131–148.