ข้ามไปเนื้อหา

เชลยศึกชาวญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่สอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กลุ่มชาวญี่ปุ่นที่ถูกจับเป็นเชลยศึกในช่วงยุทธการที่โอกินาวะ

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง มีการคาดการณ์กันว่า มีสมาชิกของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น จำนวนระหว่าง 19,500 และ 50,000 นาย ถูกจับเป็นหรือยอมจำนนต่อกองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตก ก่อนที่สงครามแปซิฟิกจะสิ้นสุดลงในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1945[1] กองกำลังทหารโซเวียตได้จับกุมและคุมขังแก่ทหารและพลเรือนชาวญี่ปุ่นกว่าครึ่งล้านคนในประเทศจีนและที่อื่น ๆ[2] จำนวนของทหารบก ทหารเรือ นาวิกโยธิน และนักบินชาวญี่ปุ่นที่ได้ยอมจำนนนั้นมีจำกัดโดยกองทัพญี่ปุ่นได้ปลูกฝังแก่บุคคลากรว่าให้สู้จนตัวตาย ส่วนทหารฝ่ายสัมพันธมิตรมักจะไม่เต็มใจที่จะจับเชลย[3] และทหารญี่ปุ่นหลายคนต่างเชื่อกันว่า หากยอมจำนนแล้ว ก็จะถูกสังหารโดยผู้จับกุม[4][5]

รัฐบาลฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกและผู้บัญชาการทหารระดับชั้นสูงได้ออกคำสั่งให้เชลยศึกชาวญี่ปุ่นได้รับการปฏิบัติตามอนุสัญญาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ในทางปฏิบัติ ทหารฝ่ายสัมพันธมิตรจำนวนมากไม่เต็มใจที่จะยอมรับการยอมจำนนของทหารญี่ปุ่น เนื่องจากความโหดร้ายที่ถูกกระทำโดยญี่ปุ่น การรณรงค์ได้เปิดฉากขึ้นในปี ค.ศ. 1944 เพื่อสนับสนุนในการจับกุมเชลยซึ่งประสบความสำเร็จเพียงบางส่วน และจำนวนเชลยที่ถูกจับกุมได้เพิ่มมากขึ้นในปีสุดท้ายของสงคราม

เชลยศึกชาวญี่ปุ่นมักเชื่อกันว่าการยอมจำนนของพวกเขาได้ทำลายพันธะทั้งหมดกับญี่ปุ่นและมีหลายคนได้ให้ข่าวกรองทางทหารแก่ฝ่ายสัมพันธมิตร เชลยที่ถูกจับกุมโดยฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกนั้นอยู่ในสภาพที่ดีโดยทั่ว ๆ ไปในค่ายที่ตั้งอยู่ในออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย และสหรัฐอเมริกา ส่วนเชลยที่ถูกจับกุมโดยสหภาพโซเวียตนั้นได้รับการปฏิบัติอย่างโหดร้ายในค่ายแรงงานที่ตั้งอยู่ในไซบีเรีย ภายหลังสงคราม เชลยศึกชาวญี่ปุ่นถูกส่งตัวกลับประเทศญี่ปุ่น แม้ว่าสหรัฐและบริติชจะเก็บเชลยศึกเอาไว้จำนวนพันนาย จนถึง ค.ศ. 1946 และ ค.ศ. 1947 ตามลำดับ และสหภาพโซเวียตยังคงกังขังเชลยศึกชาวญี่ปุ่นนับแสนนายจนถึงต้นปี ค.ศ. 1950 สหภาพโซเวียตก็ค่อย ๆ ปล่อยเชลยศึกจำนวนบางส่วนออกไปในช่วงไม่กี่ทศวรรษต่อมา แต่บางคนก็ไม่ได้กลับจนกระทั่งสหภาพโซเวียตได้ล่มสลายในปี ค.ศ. 1990 ในขณะที่คนอื่น ๆ ได้ตั้งรกรากและเริ่มมีครอบครัวในสหภาพโซเวียตซึ่งเลือกที่จะอยู่ต่อ[6]

ทัศนคติต่อการยอมจำนนของญี่ปุ่น

[แก้]

ในช่วง ค.ศ. 1920 และ ค.ศ. 1930 กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น (IJA) ได้นำแนวคิดที่ว่าให้ทหารสู้รบจนตัวตายแทนที่จะยอมจำนน[7] นโยบายนี้สะท้อนแนวทางปฏิบัติของการทำสงครามของญี่ปุ่นในยุคก่อนสมัยใหม่[8] ในยุคเมจิ รัฐบาลญี่ปุ่นได้นำนโยบายตะวันตกมาใช้กับเชลยศึกและบุคลากรชาวญี่ปุ่นเพียงไม่กี่คนที่ยอมจำนนในสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่นซึ่งจะถูกลงโทษเมื่อสงครามยุติลง เชลยที่ถูกจับกุมโดยกองกำลังญี่ปุ่นในช่วงเวลานี้และสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ซึ่งได้รับการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลเช่นกัน[9] การปฏิบัติที่ดีต่อผู้ถูกคุมขังนั้นถูกใช้เป็นเครื่องมือโฆษณาชวนเชื่อ ซึ่งแสดงความรู้สึกถึง "ความกล้าหาญ" เมื่อเทียบกับการรับรู้ถึงความโหดร้ายป่าเถื่อนอย่างมากในเอเชียที่รัฐบาลเมจิต้องการที่จะหลีกเลี่ยง[10] ทัศนคติต่อการยอมจำนนของญี่ปุ่นดูจะเมินเฉยในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ในขณะที่ญี่ปุ่นได้ลงนามอนุสัญญาเจนีวา ค.ศ. 1929 ซึ่งได้ครอบคลุมถึงการปฏิบัติต่อเชลยศึก แต่ไม่ได้ให้สัตยาบันในข้อตกลง โดยกล่าวอ้างว่า การยอมจำนนนั้นขัดต่อความเชื่อของทหารญี่ปุ่น ทัศนคตินี้ได้รับการสนับสนุนโดยการปลูกฝังความคิดของคนหนุ่มสาว[11]

ทหารญี่ปุ่นที่ยืนอยู่ในทะเล Cape Endaiadere, นิวกีนี, เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 1942 ซึ่งกำลังถือระเบิดมือมาไว้ที่ศรีษะก่อนที่เขาจะใช้มันเพื่อการฆ่าตัวตาย. ส่วนทหารออสเตรเลียที่ยืนอยู่บนชายหาดได้เรียกร้องให้เขายอมจำนน.[12][13]

ทัศนคติต่อการยอมจำนนของกองทัพญี่ปุ่นได้ถูกนำมาใช้ใน "หลักเกณฑ์การปฏิบัติในสนามรบ" (เซ็นจินคุน) ซึ่งได้ตีพิมพ์แจกเอกสารให้แก่ทหารญี่ปุ่นทุกคน เอกสารฉบับนี้ได้พยายามที่จะกำหนดมาตรฐานของพฤติกรรมทหารญี่ปุ่นและปรับปรุงวินัยและขวัญกำลังใจภายในกองทัพ และรวมถึงข้อห้ามไม่ให้ถูกจับเป็นเชลย[14] รัฐบาลญี่ปุ่นได้ดำเนินการให้เซ็นจินคุนนั้นเกิดบรรลุผลด้วยการรณรงค์โฆษณาชวนเชื่อ ซึ่งได้ทำการยกย่องสรรเสริญให้กับผู้ที่ต่อสู้รบจนตัวตายมากกว่าจะยอมจำนนในช่วงสงครามของญี่ปุ่น[15] ในขณะที่กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น (IJN) ไม่ได้ตีพิมพ์แจกเอกสารเทียบเท่ากับเซ็นจินคุน บุคลากรของกองทัพเรือถูกคาดหวังให้แสดงพฤติกรรมที่คล้ายกันและไม่ยอมจำนน[16] ทหารญี่ปุ่นส่วนใหญ่ได้กล่าวว่าพวกเขาจะถูกสังหารหรือทรมานโดยฝ่ายสัมพันธมิตร หากพวกเขาถูกจับเป็นเชลย[17] ข้อบังคับการปฏิบัติทางภาคสนามของกองทัพบกได้รับการแก้ไขใน ค.ศ. 1940 เพื่อแทนที่บทบัญญัติที่ระบุว่าบุคลากรที่ได้รับบาดเจ็บสาหัสในโรงพยาบาลภาคสนามได้รับการคุ้มครองตามอนุสัญญาเจนีวา ค.ศ. 1929 สำหรับทหารผู้ป่วยและผู้บาดเจ็บในภาคสนาม โดยมีข้อกำหนดที่ว่าผู้บาดเจ็บจะไม่ตกอยู่ในเงื้อมมือของข้าศึก ในช่วงสงคราม สิ่งนี้ทำให้บุคลากรผู้บาดเจ็บจะถูกเจ้าหน้าที่แพทย์สังหารหรือถูกมอบด้วยระเบิดมือเพื่อให้ฆ่าตัวตาย เหล่านักบินจากเครื่องบินญี่ปุ่นซึ่งตกลงสู่ดินแดนที่ถูกฝ่ายสัมพันธมิตรยึดครอง มักจะฆ่าตัวตายแทนที่พวกเขาจะยอมให้ถูกจับกุม[18]

ผู้ที่รู้จักความละอายใจนั้นอ่อนแอ จงคิดไตร่ตรองถึง[การปกปักรักษา]เกียรติยศของชุมชนท่านและให้ความเชื่อถือกับตัวท่านเองและครอบครัวท่านเสมอ ให้เพิ่มความพยายามของท่านเป็นสองเท่าและตอบสนองต่อความคาดหวังของพวกเขา จงอย่ามีชีวิตอยู่เลยเพื่อได้รับความอัปยศในฐานะเชลย โดยการตายของท่านจะไม่หลงเหลือด่างพร้อยด้วยเกียรติยศของท่าน

เซ็นจินคุน[15]

ในขณะที่นักวิชาการไม่เห็นด้วยว่า เซ็นจินคุนนั้นมีผลผูกพันทางกฏหมายกับทหารญี่ปุ่นหรือไม่ เอกสารดังกล่าวสะท้อนถึงบรรทัดฐานทางสังคมของญี่ปุ่นและมีอำนาจเหนือทั้งบุคลากรทางทหารและพลเรือน ในปี ค.ศ. 1942 ทางกองทัพได้แก้ไขประมวลกฏหมายทางอาญาเพื่อระบุถึงเจ้าหน้าที่ที่ยอมจำนนทหารภายใต้บัญชาการของพวกเขาจะต้องถูกจำคุกอย่างน้อยหกเดือน โดยไม่คำนึงถึงสถานการณ์ซึ่งการยอมจำนนจะเกิดขึ้นได้ การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ได้ดึงดูดความสนใจเพียงเล็กน้อย เมื่อเซ็นจินคุนได้ถูกกำหนดมาอย่างเข้มงวดมากและมีพลังทางศีลธรรมมากขึ้น[19]

การปลูกฝังความคิดของทหารญี่ปุ่นถึงการให้ความเคารพการยอมจำนนเพียงเล็กน้อยได้นำไปสู่การปฏิบัติที่ทหารฝ่ายสัมพันธมิตรพบว่าเป็นการหลอกลวง ในช่วงสงครามแปซิฟิก มีเหตุการณ์หนึ่งที่ทหารญี่ปุ่นได้แสร้งยอมจำนนเพื่อหลอกล่อกองกำลังทหารฝ่ายสัมพันธมิตรให้เข้ามาเพื่อซุ่มโจมตี นอกจากนี้ ทหารญี่ปุ่นที่ได้รับบาดเจ็บซึ่งบางครั้งได้พยายามจะใช้ระเบิดมือเพื่อสังหารทหารฝ่ายสัมพันธมิตรที่ได้พยายามจะช่วยเหลือพวกเขา[20] ทัศนคติต่อการยอมจำนนของญี่ปุ่นมีส่วนทำให้เกิดการปฏิบัติที่รุนแรงซึ่งเกิดขึ้นได้กับบุคลากรฝ่ายสัมพันธมิตรที่พวกเขาถูกจับกุม[21]

ทหารชาวออสเตรเลียสองนายกับเชลยศึกชาวญี่ปุ่นคนหนึ่งในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1943.

ไม่ใช่เพียงทหารญี่ปุ่นทุกคนที่เลือกที่จะปฏิบัติตามศีลธรรมที่ได้กำหนดเอาไว้ในเซ็นจินคุน เหล่าผู้ที่เลือกว่าจะยอมจำนนซึ่งที่ทำเช่นนั้นด้วยเหตุผลหลายประการ รวมถึงไม่เชื่อว่าการฆ่าตัวตายนั้นเหมาะสมหรือขาดเจตจำนงที่จะกระทำดังกล่าว ความขมขืนต่อเจ้าหน้าที่ และการโฆษณาชวนเชื่อของฝ่ายสัมพันธมิตรที่ได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะปฏิบัติเป็นอย่างดี[22] ในช่วงปีหลัง ๆ ของสงคราม ขวัญกำลังใจของทหารญี่ปุ่นนั้นได้พังทลายลงอันเป็นผลมาจากชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ส่งผลทำให้จำนวนผู้ที่เตรียมพร้อมจะยอมจำนนหรือแปรพักตร์เพิ่มมากขึ้น[23] ในช่วงยุทธการที่โอกินาวะ, ทหารญี่ปุ่นจำนวน 11,250 นาย (รวมทั้งแรงงานที่ไม่มีอาวุธ 3,581 คน) ได้ยอมจำนน ระหว่างเดือนเมษายนและเดือนกรกฏาคม ค.ศ. 1945 คิดเป็น 12 เปอร์เซ็นของกองกำลังที่ประการอยู่เพื่อป้องกันเกาะ จำนวนคนเหล่านี้เพิ่งถูกเกณฑ์มาจากสมาชิกหน่วยยามป้องกันบ้านเกิด โบอิไต ที่ไม่ได้รับการปลูกฝังความคิดแบบเดียวกับกองทัพประจำการของกองทัพบก แต่ก็มีทหารของกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นจำนวนมากก็ได้ยอมจำนนเช่นกัน[24]

ความไม่เต็มใจที่จะยอมจำนนของทหารญี่ปุ่นยังได้รับอิทธิพลมาจากการรับรู้ว่า กองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรจะสังหารพวกเขา หากพวกเขายอมจำนน และนักประวัติศาสตร์นามว่า Niall Ferguson ได้โต้แย้งว่าสิ่งนี้มีอิทธิพลที่สำคัญในความท้อใจในการยอมจำนนมากกว่าความกลัวว่าจะถูกลงโทษทางวินัยหรือดูหมิ่นศักดิ์ศรี[25] นอกจากนี้ ประชาชนชาวญี่ปุ่นทราบดีว่า บางครั้งกองกำลังทหารสหรัฐได้ทำการตัดอวัยวะจากศพทหารญี่ปุ่นและส่งของที่ระลึกที่ทำมาจากชิ้นส่วนของศพกลับไปยังบ้าน จากรายงานสื่อเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่สำคัญถึงสองครั้งในปี ค.ศ. 1944 ซึ่งได้เปิดจดหมายถึงงานแกะสลักที่ทำมาจากกระดูกของทหารญี่ปุ่นซึ่งถูกนำเสนอต่อประธานาธิบดีรูสเวลต์ และภาพถ่ายกะโหลกทหารญี่ปุ่นที่ทหารสหรัฐจะส่งกลับบ้าน ได้ถูกตีพิมพ์ในนิตยสารไลฟ์ ในรายงานฉบับนี้ ชาวอเมริกันถูกมองว่า "วิกลจริต ป่าเถื่อน เหยียดผิว และไร้มนุษยธรรม"[26] หัวข้อใน "สงครามของญี่ปุ่น:ความขัดแย้งครั้งใหญ่ในมหาสมุทรแปซิฟิก" ให้เหตุผลว่า การปฏิบัติของฝ่ายสัมพันธมิตรด้วยการนำกระดูกจากซากศพของทหารญี่ปุ่นส่งกลับไปยังบ้านเพื่อเป็นของที่ระลึกนั้นได้ถูกนำไปใช้โดยการโฆษณาชวนเชื่อของญี่ปุ่นอย่างมีประสิทธิภาพ และ"ส่วนทำให้มีความยินยอมที่จะตายมากกว่าจะยอมจำนนและถูกจับกุม แสดงให้เห็นเป็นตัวอย่าง ในการฆ่าตัวตายของพลเรือนจำนวนมากในเกาะไซปันและเกาะโอกินาวะ ภายหลังการยกพลขึ้นบกของฝ่ายสัมพันธมิตร"[27]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Fedorowich (2000), p. 61
  2. https://www.nytimes.com/1998/04/12/world/japan-s-blossoms-soothe-a-pow-lost-in-siberia.html
  3. Bergerud (1997), pp. 415–416
  4. Johnston (2000), p. 81
  5. Ferguson (2004), p. 176.
  6. https://www.nytimes.com/1998/04/12/world/japan-s-blossoms-soothe-a-pow-lost-in-siberia.html
  7. Drea (2009), p. 257
  8. Strauss (2003), pp. 17–19
  9. Strauss (2003), pp. 20–21
  10. "MIT Visualizing Cultures". visualizingcultures.mit.edu. สืบค้นเมื่อ 2020-05-03.
  11. Strauss (2003), pp. 21–22
  12. "Australian War Memorial 013968". Collection database. Australian War Memorial. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 March 2011. สืบค้นเมื่อ 1 January 2010.
  13. McCarthy (1959), p. 450
  14. Drea (2009), p. 212
  15. 15.0 15.1 Straus (2003), p. 39
  16. Straus (2003), p. 40
  17. Dower (1986), p. 77
  18. Ford (2011), p. 139
  19. Straus (2003), p. 40
  20. Doyle (2010), p. 206
  21. Straus (2003), p. 3
  22. Strauss (2003), pp. 44–45
  23. Gilmore (1998), pp. 2, 8
  24. Hayashi (2005), pp. 51–55
  25. Ferguson (2004), p. 176.
  26. Harrison, p.833
  27. Harrison, p.833