เชลยศึกชาวญี่ปุ่นในสหภาพโซเวียต
หลังสงครามโลกครั้งที่สองมีกำลังพลชาวญี่ปุ่นจำนวน 560,000 ถึง 760,000 นายในสหภาพโซเวียตและประเทศมองโกเลียที่ถูกกักกันเพื่อใช้งาน ณ ค่ายแรงงานในฐานะเชลยศึก[1] ในจำนวนนี้ คาดว่าระหว่าง 60,000 ถึง 347,000 นายเสียชีวิตในการถูกจองจำ[2][3][4][5]
กองทัพญี่ปุ่นประมาณ 3.5 ล้านนายนอกประเทศญี่ปุ่นส่วนใหญ่ถูกปลดอาวุธโดยสหรัฐกับจีนก๊กมินตั๋ง และถูกส่งตัวกลับประเทศใน ค.ศ. 1946 ฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกได้จับเชลยชาวญี่ปุ่น 35,000 นาย ระหว่างเดือนธันวาคม ค.ศ. 1941 ถึงวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1945 กล่าวคือ ก่อนการยอมจำนนของญี่ปุ่น[6] สหภาพโซเวียตควบคุมเชลยศึกของญี่ปุ่นไว้นานกว่ามาก และใช้พวกเขาเป็นกำลังแรงงาน
ประวัติ
[แก้]ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่ที่ถูกคุมขังในสหภาพโซเวียตไม่คิดว่าตนเองเป็น "เชลยศึก" และเรียกตนเองว่า "ผู้ถูกกักกัน" เพราะพวกเขาสมัครใจวางอาวุธหลังจากการยอมจำนนของญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ กล่าวคือ หลังจากสิ้นสุดความขัดแย้งทางทหาร จำนวนเชลยชาวญี่ปุ่นที่ถูกจับในการสู้รบมีน้อยมาก[7]
หลังจากความพ่ายแพ้ของกองทัพคันโตในแมนจูเรีย เชลยศึกชาวญี่ปุ่นได้ถูกส่งจากแมนจูเรีย, เกาหลี, เกาะซาฮาลินใต้ และหมู่เกาะคูริล ไปยังหมู่เกาะคูริล, ดินแดนฮาบารอฟสค์, ดินแดนครัสโนยาสค์, คาซัคสถาน (มณฑลคาซัคสถานใต้ และมณฑลจัมบิล), สาธารณรัฐปกครองตนเองสังคมนิยมบูร์ยัต-มองโกล และสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอุซเบก ซึ่งใน ค.ศ. 1946 ค่ายแรงงาน 49 แห่งสำหรับเชลยศึกชาวญี่ปุ่นภายใต้การบริหารขององค์การบริหารหลักสำหรับงานเชลยศึกและผู้ถูกกักกันสามารถรองรับคนได้ประมาณ 500,000 คน นอกจากนี้ ยังมีสองค่ายสำหรับผู้ถูกตัดสินว่ามีความผิดทางอาญาต่าง ๆ เชลยถูกแบ่งออกเป็น 1,000 หน่วยบุคคล ตลอดจนพลเรือนชาวญี่ปุ่นทั้งชายและหญิง รวมทั้งชาวเกาหลีบางคนก็ถูกคุมขังเช่นกัน เมื่อมีทหารไม่เพียงพอที่จะเติมเต็มหน่วย[8]
การจัดการเชลยศึกเป็นไปตามกฤษฎีกาของคณะกรรมการกลาโหมสหภาพโซเวียตหมายเลข 9898cc "เกี่ยวกับการรับ, ที่พัก และการใช้แรงงานของเชลยศึกชาวญี่ปุ่น" ("О приеме, размещении, трудовом использовании военнопленных японской армии") ลงวันที่ 23 สิงหาคม ค.ศ. 1945
ชาวญี่ปุ่นจำนวนมากถูกมอบหมายให้ก่อสร้างทางรถไฟสายหลักไบคาล–อามูร์ (กว่า 200,000 นาย) ในแปดค่าย ณ คอมโซมอล์สก-ออน-อามูร์ (สองค่ายสำหรับสองทางแยกรถไฟ), โซเวตสกายากาวัน, สถานีรถไฟเรชิฮา (ดินแดนฮาบารอฟสค์), สถานีรถไฟอิซเวสต์โคเวย์ (ดินแดนฮาบารอฟสค์), กรัสนายาซาร์ยา (แคว้นชิตา), เทย์เชต และโนโว-กริชิโน (แคว้นอีร์คุตสค์)[4]
ส่วนการส่งเชลยศึกของญี่ปุ่นกลับประเทศได้เริ่มขึ้นใน ค.ศ. 1946
ค.ศ. | จำนวนที่ปล่อย | หมายเหตุ |
---|---|---|
1946 | 18,616 นาย | |
1947 | 166,240 นาย | |
1948 | 175,000 นาย | |
1949 | 97,000 นาย | โอน 971 นายสู่สาธารณรัฐประชาชนจีน |
1950 | 1,585 นาย | เหลือ 2,988 นาย ที่เหลืออยู่ในสหภาพโซเวียต |
ซึ่งจุดเริ่มต้นใน ค.ศ. 1949 มีรายงานว่าผู้เดินทางกลับไม่ให้ความร่วมมือและเป็นปรปักษ์เมื่อกลับมายังประเทศญี่ปุ่น เนื่องมาจากการโฆษณาชวนเชื่อของคอมมิวนิสต์ที่พวกเขาได้รับในระหว่างการถูกจองจำ อุบัติการณ์เหล่านี้ส่งผลให้ประชาชนชาวญี่ปุ่นได้รับการรับรู้เชิงลบมากขึ้นเกี่ยวกับทหารที่กลับมา และเพิ่มความเป็นปรปักษ์ของกองบัญชาการทหารสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตรต่อฝ่ายซ้ายในญี่ปุ่น
ผู้ที่เหลือหลังจาก ค.ศ. 1950 ถูกควบคุมตัวโดยถูกตัดสินว่ามีความผิดในข้อหาก่ออาชญากรรมต่าง ๆ การปล่อยตัวดำเนินต่อไปตั้งแต่ ค.ศ. 1953 ภายใต้การนิรโทษกรรมต่าง ๆ กระทั่งหลังจากการเสียชีวิตของโจเซฟ สตาลิน และการผ่อนคลายความตึงเครียดครุสชอฟในเวลาต่อมา ทัศนคติของโซเวียตต่อนักโทษชาวญี่ปุ่นที่เหลือก็เปลี่ยนไปอย่างมาก พวกเขาได้รับการพาไปท่องเที่ยวตามเมืองต่าง ๆ และได้รับอนุญาตให้ซื้อของขวัญให้แก่ครอบครัวพร้อมกับเจ้าหน้าที่โซเวียต และก่อนที่จะส่งตัวกลับประเทศ งานเลี้ยงในฮาบารอฟสค์ซึ่งจัดโดยนิโคไล กาเกน ได้มีเชลยระดับสูงเข้าร่วม เช่น จุง อูชิโรกุ[9] ส่วนกลุ่มเชลยชาวศึกญี่ปุ่นกลุ่มสุดท้าย 1,025 นายได้รับการปล่อยตัวเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม ค.ศ. 1956[4]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "シベリア抑留、露に76万人分の資料 軍事公文書館でカード発見". Sankeishinbun. 24 July 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 July 2009. สืบค้นเมื่อ 21 September 2009.
- ↑ Japanese POW group says files on over 500,000 held in Moscow, BBC News, 7 March 1998
- ↑ UN Press Release, Commission on Human Rights, 56th session, 13 April 2000.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 POW in the USSR 1939–1956:Documents and Materials เก็บถาวร 2 พฤศจิกายน 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Moscow Logos Publishers (2000) (Военнопленные в СССР. 1939–1956: Документы и материалы Науч.-исслед. ин-т проблем экон. истории ХХ века и др.; Под ред. М.М. Загорулько. – М.: Логос, 2000. – 1118 с.: ил.) ISBN 5-88439-093-9
- ↑ Anne Applebaum Gulag: A History, Doubleday, April 2003, ISBN 0-7679-0056-1; page 431.Introduction online เก็บถาวร 13 ตุลาคม 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน)
- ↑ Ulrich Straus. "The Anguish of Surrender: Japanese POWs of World War II เก็บถาวร 8 กรกฎาคม 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน". Seattle and London: University of Washington Press, 2003. ISBN 978-0-295-98336-3.
- ↑ Japanese POW in the USSR (ในภาษารัสเซีย)
- ↑ Watt, Lori (2010). When Empire Comes Home: Repatriation and Reintegration in Postwar Japan. Harvard University Asia Center. ISBN 978-0-674-05598-8.
- ↑ King, Amy; Muminov, Sherzod (2022). ""Japan Still Has Cadres Remaining"". Journal of Cold War Studies. 24 (3): 200–230. doi:10.1162/jcws_a_01093. ISSN 1520-3972. S2CID 252014619.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- "Japanese POW in Primorye (1945–1949)"
- Issue 1: "POW Labor in Coal Industry" ("Японские военнопленные в Приморье (1945–1949 гг.) Вып.1 Труд военнопленных в угольной промышленности" Владивосток: Государственный архив Приморского края, Мор. гос. ун-т им. адм. Г. И. Невельского) 2005.- 152 pp. (ในภาษารัสเซีย)
- Issue 2: "POW Labour in Various Spheres of the Notional Economy of the Primorsky Krai"(Японские военнопленные в Приморье (1945–1949 гг.) : документы Государственного архива Приморского края Выпуск 2: Труд военнопленных в отраслях народного хозяйства Приморского края, 2006 ISBN 5-8343-0355-2
- Nicole Piper, "War and Memory: Victim Identity and the Struggle for Compensation in Japan" War & Society (2001) vol. 19, issue 1, pp. 131–148.