ข้ามไปเนื้อหา

ยุทธนาวีแห่งแอตแลนติก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยุทธนาวีแห่งแอตแลนติก
ส่วนหนึ่งของ สงครามโลกครั้งที่สอง

เจ้าหน้าที่บนหอบังคับการเรือของเรือพิฆาตบริติซที่คอยเฝ่าระวังจากเรือดำน้ำฝ่ายข้าศึก เดือนตุลาคม ค.ศ. 1941
วันที่วันที่ 3 กันยายน ปี 1939 – 8 พฤษภาคม ปี 1945
(5 ปี 8 เดือน และ 5 วัน)
สถานที่
ผล สัมพันธมิตรได้รับชัยชนะ
คู่สงคราม
 สหราชอาณาจักร
 สหรัฐอเมริกา (1941–45)
 แคนาดา
ฝรั่งเศส France (1939–40)
 ฝรั่งเศสเสรี (1940–45)
โปแลนด์ โปลนด์
บราซิล Brazil (1942–45)
 เนเธอร์แลนด์
 นอร์เวย์
 เบลเยียม

 ไรช์เยอรมัน

 อิตาลี (1940–43)
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ

สหราชอาณาจักร มาร์ติน ดันบาร์-แนสมิธ (1939–41)
สหราชอาณาจักร เพอร์ซี โนเบิล (1941–42)
สหราชอาณาจักร แม็กซ์ ฮอร์ตัน (1943–45)
สหราชอาณาจักร เฟรเดอริก บว์ฮิลล์ (1939–41)
สหราชอาณาจักร Philip de la Ferté (1941–43)
สหราชอาณาจักร จอห์น สเลสเซอร์ (1943–45)
สหราชอาณาจักร ดัดลีย์ พอนด์ (1939–43)
แคนาดา ลีโอนาร์ด เมอร์รีย์
สหรัฐอเมริกา เออร์เนสต์ คิง

สหรัฐอเมริกา รอยัล อี. อินเจอร์ซอลล์
นาซีเยอรมนี เอริช แรดเดอร์
นาซีเยอรมนี คาร์ล เดอนิทซ์
นาซีเยอรมนี ฮันส์-จอร์จ ฟอน ฟรีเดอเบิร์ก
นาซีเยอรมนี Martin Harlinghausen
นาซีเยอรมนี กึนเธอร์ ลึทเยนต์ 
ราชอาณาจักรอิตาลี Angelo Parona
ราชอาณาจักรอิตาลี Romolo Polacchini
ความสูญเสีย
  • 36,200 killed (naval)[1][2]
  • 36,000 killed (merchant navy)[1][2]
  • 3,500 merchant vessels
  • 175 warships
  • 741 RAF Coastal Command aircraft lost in anti-submarine sorties[3]
  • นาซีเยอรมนี~30,000 U-boat sailors killed[4]
  • 783 submarines lost
  • 47 other warships lost[5]
  • ฟาสซิสต์อิตาลี (ค.ศ. 1922–1943) c. 500 killed
  • 17 submarines lost[6]

ยุทธนาวีแห่งแอตแลนติกเป็นการทัพทางทหารที่ยาวนานที่สุดอย่างต่อเนื่องในสงครามโลกครั้งที่สอง ได้ดำเนินการตั้งแต่ปี ค.ศ. 1939 จนกระทั่งความปราชัยของฝ่ายเยอรมนีเมื่อปี ค.ศ. 1945 ส่วนหลักการทางยุทธศาสตร์คือการปิดล้อมเยอรมนีของกองทัพเรือฝ่ายสัมพันธมิตร ได้ประกาศเอาไว้ในวันหลังจากได้ประกาศสงครามและเยอรมนีได้ทำการปิดล้อมโต้ตอบในเวลาต่อมา มันได้อยู่ที่สูงสุด ตั้งแต่กลางปี ค.ศ. 1940 ตลอดจนถึงปี ค.ศ. 1943

ยุทธการแห่งแอตแลนติกนั้นได้มีเรือ-อูและเรือรบอื่น ๆ ของครีคส์มารีเนอ (กองทัพเรือ) และเครื่องบินรบของลุฟท์วัฟเฟอ (กองทัพอากาศ) เข้าปะทะกับกองทัพเรือแคนาดา กองทัพเรืออังกฤษ กองทัพเรือสหรัฐ และเรือขนส่งเชิงพาณิชทย์ของฝ่ายสัมพันธมิตร ขบวนเรือสินค้า ส่วนใหญ่มาจากอเมริกาเหนือและจุดหมายปลายทางที่กำลังจะไปก็คือสหราชอาณาจักรและสหภาพโซเวียต จึงได้รับการคุ้มกันจากส่วนใหญ่ของกองทัพเรือบริติชและแคนาดาและกองทัพอากาศ กองกำลังเหล่านี้ได้รับความช่วยเหลือจากเรือและเครื่องบินรบของสหรัฐ เมื่อวันที่ 13 กันยายน ค.ศ. 1941[7] เยอรมันได้ร่วมมือกับเรือดำน้ำของกองทัพเรืออิตาลี (รีเจีย มารินา) ภายหลังจากพันธมิตรอักษะอย่างอิตาลีได้เข้าร่วมสงครามในวันที่ 10 มิถุนายน ค.ศ. 1940

ในขณะที่ประเทศเกาะ สหราชอาณาจักรจำเป็นต้องพึ่งพาสินค้านำเข้าเป็นอย่างมาก บริติซนั้นต้องการสินค้านำเข้ามากกว่าล้านตันต่อสัปดาห์เพื่อให้สามารถอยู่รอดและต่อสู้ต่อไปได้ ในจุดที่สำคัญ, ยุทธการแห่งแอตแลนติกเป็นสงครามระวางน้ำหนักเรือ (tonnage war): การต่อสู้ของฝ่ายสัมพันธมิตรเพื่อขนส่งสินค้าเข้าสู่บริเตนและฝ่ายอักษะพยายามขัดขวางเส้นทางการขนส่งทางเรือที่จะทำให้ฝ่ายบริติชสามารถที่จะต่อสู้ต่อไปได้ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1942 เป็นต้นมา ฝ่ายอักษะก็ได้พยายามขัดขวางการสะสมเสบียงของฝ่ายสัมพันธมิตรและเตรียมอุปกรณ์ต่างๆในหมู่เกาะบริเตนเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการบุกครองทวีปยุโรป การกำจัดภัยคุกคามของเรืออูเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการผลักดันกลับแก่ฝ่ายอักษะ ผลลัพธ์ของการสู้รบคือชัยชนะทางยุทธศาสตร์สำหรับฝ่ายสัมพันธมิตร—การปิดกั้นของเยอรมันได้ล้มเหลว—สูญเสียไปอย่างมาก: เรือเชิงพาณิชย์ 3,500 ลำ และเรือรบ 175 ลำได้ถูกจมลงในมหาสมุทรแอตแลนติก จากการสูญเสียของเรืออู 783 ลำ (ส่วนมากเป็นเรือดำน้ำ ประเภทที่ 7) และเรือผิวน้ำเยอรมัน 47 ลำ รวมทั้งเรือรบประจัญบาน 4 ลำ (ชาร์นฮอร์ชต, บิสมาร์ค, ไกเซเนา และเทียร์พิทซ์) เรือลาดตระเวน 9 ลำ เรือเรดาร์ 7 ลำ และเรือพิฆาต 27 ลำ จากเรืออู 519 ลำ ถูกจมลงโดกองกำลังบริติซ, แคนาดา และฝ่ายสัมพันธมิตรอื่น ๆ ในขณะที่ 175 ลำ ถูกทำลายโดยกองกำลังอเมริกัน 15 ลำ ถูกทำลายโดยโซเวียต และ 73 ลำ ถูกเจาะท้องเรือโดยลูกเรือของพวกเขาเองก่อนสงครามจะสิ้นสุดลงด้วยสาเหตุหลายประการ[5]

ยุทธการแห่งแอตแลนติกได้ถูกเรียกว่า เป็นยุทธนาวี"ที่ยืดเยื้อยาวนาน ใหญ่ที่สุด และซับซ้อนมากที่สุด"ในประวัติศาสตร์[8] การทัพได้เริ่มต้นอย่างรวดเร็วภายหลังจากสงครามในทวีปยุโรปเริ่มต้นขึ้นในช่วงที่ถูกเรียกว่า "สงครามลวง" และในอีกหกปีต่อมา จนกระทั่งเยอรมันยอมจำนนในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1945 มีเรือที่เกี่ยวข้องหลายพันลำในการสู้รบคุ้มครองขบวนเรือสินค้า 100 ครั้ง และบางทีมีเรือเพียงลำเดียวที่ได้เผชิญหน้ากว่า 1,000 ครั้ง ในเขตสงครามที่ครอบคลุมหลายล้านตารางไมล์ของมหาสมุทร สถานการณ์ได้เปลี่ยนไปอย่างต่อเนื่อง ทั้งฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่มีความได้เปรียบ ในขณะที่ประเทศที่ได้ยอมจำนนต่างได้เข้าร่วมและแม้แต่กระทั่งได้มีการเปลี่ยนฝ่ายในสงคราม และในขณะที่อาวุธ กลยุทธ์ มารตรการตอบโต้ และอุปกรณ์ใหม่ได้ถูกพัฒนาขึ้นทั้งสองฝ่าย ฝ่ายสัมพันธมิตรก็ค่อยได้เปรียบที่เหนือกว่าในการเอาชนะเรือตรวจบนผิวน้ำของเยอรมันในช่วงปลายปี ค.ศ. 1945 และเอาชนะเรืออู ในช่วงปลายปี ค.ศ. 1943 แม้ว่าความสูญเสียมาจากเรืออูยังคงมีอย่างต่อเนื่องต่อไปจนกระทั่งสงครามยุติลง

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 White, David (2008). Bitter Ocean: The Battle of the Atlantic, 1939–1945. New York, United States: Simon & Schuster. p. 2. ISBN 978-0-7432-2930-2.
  2. 2.0 2.1 Bennett 2007, p. 301.
  3. Bowyer 1979, p. 158
  4. Bennett 2007, p. 302.
  5. 5.0 5.1 "British Losses & Losses Inflicted on Axis Navies". National Museum of the Royal Navy. สืบค้นเมื่อ 24 February 2018.
  6. Giorgerini 2002, p. 424
  7. Carney, Robert B., Admiral, USN. "Comment and Discussion" United States Naval Institute Proceedings January 1976, p.74. Admiral Carney was assistant chief of staff and operations officer to Admiral Arthur L. Bristol, commander of the support force of United States ships and planes providing North Atlantic trade convoy escort services. This support force was designated Task Force 24 after the declaration of war.
  8. David Syrett, The defeat of the German U-boats: The Battle of the Atlantic (1994).