การสงครามเรือดำน้ำ
การสงครามเรือดำน้ำ (อังกฤษ: submarine warfare) เป็นหนึ่งในสี่ส่วนของการสงครามใต้น้ำ โดยส่วนที่เหลือคือการสงครามต่อต้านเรือดำน้ำ, การสงครามทุ่นระเบิด และการต่อต้านทุ่นระเบิด
การสงครามเรือดำน้ำส่วนใหญ่ประกอบด้วยเรือดำน้ำดีเซล และเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ โดยใช้ตอร์ปิโด, ขีปนาวุธ หรืออาวุธนิวเคลียร์ เช่นเดียวกับอุปกรณ์ตรวจจับขั้นสูง เพื่อโจมตีเรือดำน้ำ, เรือ หรือเป้าหมายทางบกอื่น ๆ เรือดำน้ำอาจใช้สำหรับการลาดตระเวน และการยกพลขึ้นบกของหน่วยรบพิเศษเช่นเดียวกับการป้องปราม ในบางกองทัพเรือพวกเขาอาจจะใช้สำหรับการซ่อนเร้นกองกำลังเฉพาะกิจ ประสิทธิผลของการสงครามเรือดำน้ำส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับปฏิบัติการการสงครามปราบเรือดำน้ำในการตอบโต้ให้สำเร็จ
สงครามกลางเมืองอเมริกา
[แก้]ยุคของการสงครามเรือดำน้ำเริ่มขึ้นในช่วงสงครามกลางเมืองอเมริกา โดยคริสต์ทศวรรษ 1860 เป็นช่วงเวลาของจุดเปลี่ยนหลายประการในแง่วิธีการต่อสู้ของการสงครามทางเรือ เรือรบประเภทใหม่จำนวนมากได้รับการพัฒนาเพื่อใช้ในสหรัฐและกองทัพเรือสมาพันธรัฐอเมริกา เรือดำน้ำอยู่ในหมู่เรือที่สร้างขึ้นใหม่ การจมเรือศัตรูลำแรกโดยเรือดำน้ำเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1864 เมื่อเรือดำน้ำสัมพันธมิตรเอช. แอล. ฮันลีย์ ซึ่งเป็นไพรเวเทียร์ ได้จมยูเอสเอส ฮูซาโทนิก ซึ่งเป็นเรือสลุป ในชาเลสตันฮาร์เบอร์ รัฐเซาท์แคโรไลนา จะอย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นไม่นาน เอช. แอล. ฮันลีย์ ก็ได้จมลง ด้วยการสูญเสียลูกเรือทั้งหมดแปดคน
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
[แก้]การสงครามเรือดำน้ำในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเป็นการต่อสู้ระหว่างเรืออูเยอรมัน ร่วมกับออสเตรีย-ฮังการี ต่อขบวนคอนวอยที่มุ่งหน้าไปยังสหราชอาณาจักร, ฝรั่งเศส และรัสเซีย ส่วนเรือดำน้ำอังกฤษและสัมพันธมิตรได้ดำเนินปฏิบัติการขยายออกในทะเลบอลติก, ทะเลเหนือ, ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และทะเลดำ รวมไปถึงมหาสมุทรแอตแลนติก มีปฏิบัติการเล็กน้อยที่เกิดขึ้นนอกขอบเขตยุโรป-แอตแลนติกที่กว้างกว่า เรือดำน้ำเยอรมันโจมตีเรือสินค้าฝ่ายสัมพันธมิตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจมลูซิเทเนีย ที่ส่งผลให้ประชาชนชาวอเมริกันมีความคิดต่อต้านฝ่ายมหาอำนาจกลาง ทางสหรัฐเรียกร้องให้หยุด และเยอรมนีก็ทำเช่นนั้น กระทั่งพลเรือเอก เฮ็นนิง ฟ็อน ฮ็อลท์เซ็นด็อร์ฟ (ค.ศ. 1853–1919) เสนาธิการทหารเรือได้อ้างเหตุผลสนับสนุนในเดือนมกราคม ค.ศ. 1917 เพื่อเริ่มการโจมตี และทำให้ชาวอังกฤษต้องอดอาหาร ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของเยอรมันได้ตระหนักถึงการเริ่มต้นใหม่ของการสงครามเรือดำน้ำแบบไม่จำกัด ซึ่งหมายถึงการทำสงครามกับสหรัฐ แต่ได้คำนวณว่าการเคลื่อนพลของฝ่ายอเมริกันจะช้าเกินไปที่จะหยุดชัยชนะในแนวรบด้านตะวันตกของเยอรมัน[1][2] และสหรัฐมีบทบาทอย่างมากในการเข้าสู่สงครามในเดือนเมษายน ค.ศ. 1917
ผู้เข้าร่วมทั้งหมดยอมปฏิบัติตามอนุสัญญากรุงเฮก ค.ศ. 1899 และ 1907 แต่พบว่าไม่สามารถปฏิบัติได้สำหรับเรือดำน้ำ รัฐบาลเยอรมันได้เผชิญการปิดล้อมทางเรือของอังกฤษซึ่งถือเป็นสิ่งผิดกฎหมายภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งแรกเริ่มเดิมที เรือดำน้ำของเยอรมันพยายามที่จะปฏิบัติตามไพรซ์รูลส์ แต่ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นการสงครามเรือดำน้ำแบบไม่จำกัดตามการนำเรือคิวเข้ามาของอังกฤษพร้อมปืนบนดาดฟ้าที่ซ่อนอยู่ แรงกดดันทางการทูตของอเมริกาบังคับให้ชาวเยอรมันหยุดการกระทำนี้ชั่วขณะหนึ่ง แต่ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1917 ทางเยอรมนีได้ประกาศเขตสงครามรอบหมู่เกาะบริติช และได้จมเรือลงถึงหนึ่งในสี่ของการขนส่งที่เข้ามา จนกระทั่งมีการนำขบวนคอนวอยคุ้มกันมาใช้[3] ส่วนการจมของเรือหลวงพาธไฟเดอร์ถือเป็นชัยชนะในการรบครั้งแรกของเรือดำน้ำสมัยใหม่[4] และการใช้ประโยชน์ของอู-9 ซึ่งจมเรือลาดตระเวนอังกฤษสามลำในเวลาไม่ถึงหนึ่งชั่วโมง ทำให้เรือดำน้ำเป็นองค์ประกอบใหม่ที่สำคัญของการสงครามทางเรือ[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Dirk Steffen, "The Holtzendorff Memorandum of 22 December 1916 and Germany's Declaration of Unrestricted U-boat Warfare." Journal of Military History 68.1 (2004): 215–224. excerpt
- ↑ See The Holtzendorff Memo (English translation) with notes
- ↑ Tucker, Spencer; Roberts, Priscilla Mary (9 January 2014) [2005], Daniel Ramos (บ.ก.), World War I: Encyclopedia, United States: ABC-CLIO, p. 312, ISBN 9781851094202
- ↑ Story of the U-21, National Underwater and Marine Agency, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 December 2008, สืบค้นเมื่อ 2008-11-02
- ↑ แม่แบบ:Cite Uboat.net
แหล่งที่มา
[แก้]- John Abbatiello. Anti-Submarine Warfare in World War I: British Naval Aviation and the Defeat of the U-Boats (2005)
- Blair, Clay. Silent Victory: The U. S. Submarine War Against Japan 2 vol (1975)
- Gray, Edwyn A. The U-Boat War, 1914-1918 (1994)
- Preston, Anthony. The World's Greatest Submarines (2005).
- Roscoe, Theodore. United States Submarine Operations in World War II (US Naval Institute, 1949).
- van der Vat, Dan. The Atlantic Campaign Harper & Row, 1988. Connects submarine and antisubmarine operations between World War I and World War II, and suggests a continuous war.
หนังสืออ่านเพิ่ม
[แก้]- Hackmann, Willem. Seek & Strike: Sonar, anti-submarine warfare and the Royal Navy 1914–54. London: Her Majesty's Stationery Office, 1984. ISBN 0-11-290423-8
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Historic films showing submarine warfare during World War I at europeanfilmgateway.eu