ชรินทร์ นันทนาคร
ชรินทร์ นันทนาคร | |
---|---|
เกิด | บุญมัย งามเมือง[1][2] 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2476 จังหวัดเชียงใหม่ อาณาจักรสยาม |
เสียชีวิต | 20 สิงหาคม พ.ศ. 2567 (91 ปี) โรงพยาบาลตำรวจ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
อาชีพ | นักร้อง, นักแสดง, ผู้กำกับภาพยนตร์, ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ |
ปีปฏิบัติงาน | พ.ศ. 2492–2567 |
คู่สมรส | สปัน เธียรประสิทธิ์ (พ.ศ. 2500–2505)[1] เพชรา เชาวราษฎร์ (พ.ศ. 2512–2567)[1] |
บุตร | ปัญญ์ชลี เพ็ญชาติ ปัญชนิตย์ นันทนาคร |
บิดามารดา |
|
ญาติ | ปวริศา เพ็ญชาติ (หลาน) ปัญญริสา เธียรประสิทธิ์ (หลาน) |
รางวัล | พ.ศ. 2541 – ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงไทยสากล–ขับร้อง) |
ชรินทร์ นันทนาคร[3] (1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2476 – 20 สิงหาคม พ.ศ. 2567) ชื่อเล่น ฉึ่ง หรือ มัย เป็นนักร้อง นักแสดง ผู้กำกับภาพยนตร์ และผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ชาวไทย ได้รับการยกย่องจากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงไทยสากล-ขับร้อง) ประจำปี พ.ศ. 2541 สมรสครั้งที่สองกับนางเอกภาพยนตร์ เพชรา เชาวราษฎร์
ชรินทร์ นันทนาคร เป็นผู้ริเริ่มร่วมสร้างสรรค์เพลง สดุดีมหาราชา ซึ่งส่งผลให้ได้รับรางวัลกิตติคุณสัมพันธ์ "สังข์เงิน" สาขาใช้ศิลป์สร้างสรรค์ให้เกิดความรักชาติและสถาบันพระมหากษัตริย์
ชรินทร์ นันทนาคร ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ที่ขับร้องเพลงไทยสากลผสมผสานกับเพลงไทยเดิม มีท่วงทำนองสูงต่ำเอื้อนด้วยน้ำเสียงที่มีเสน่ห์ชวนฟัง ออกเสียงอักขระได้ชัดเจน มีผลงานบันทึกแผ่นเสียงประมาณ 1,500 เพลง
ประวัติ
[แก้]ชรินทร์ ศึกษาระดับประถมที่โรงเรียนดาราวิทยาลัย จบมัธยมการศึกษาจากโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ และโรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ กรุงเทพมหานคร เริ่มฝึกหัดร้องเพลงกับ ไสล ไกรเลิศ และเริ่มร้องเพลงสลับละครเวทีเรื่อง นางไพร เมื่อ พ.ศ. 2492 ด้วยเพลงดวงใจในฝัน และเริ่มบันทึกแผ่นเสียงจำหน่ายเป็นครั้งแรก และตามด้วยเพลง อิเหนารำพัน เมื่อ พ.ศ. 2494 จากนั้นย้ายกลับไปเชียงใหม่ ทำงานที่บริษัทกมล-สุโกศล สาขาเชียงใหม่ แล้วสำนักงานใหญ่เรียกมาทำงานที่กรุงเทพฯ ทำตำแหน่งแผนกบัญชี แผนกต่างประเทศ ไปจนถึงแผนกแผ่นเสียง จากนั้นทำงานเป็นเลขานุกรมที่องค์การยูซ่อม (USOM)[4]
ผลงานของชรินทร์ นันทนาคร ที่สร้างชื่อเสียงเป็นที่นิยมสูงสุด ได้แก่ เพลงเรือนแพ, มนต์รักดอกคำใต้, หยาดเพชร, อาลัยรัก, ทาษเทวี, เด็ดดอกรัก, ผู้ชนะสิบทิศ, ที่รัก, นกเขาคูรัก, แสนแสบ, ท่าฉลอม, สักขีแม่ปิง, ทุยจ๋าทุย, เพราะขอบฟ้ากั้น ฯลฯ ได้รับรางวัลพระราชทานแผ่นเสียงทองคำจากเพลง อาลัยรัก ก่อนจะผันตัวไปเป็นผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ในนาม นันทนาครภาพยนตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2508 ในเรื่อง เทพบุตรนักเลง จากนั้นจึงเริ่มกำกับภาพยนตร์ด้วยตัวเองเป็นครั้งแรกในเรื่อง สวรรค์วันเพ็ญ ซึ่งเป็นภาพยนตร์เรื่องที่ 4 ของนันทนาครภาพยนตร์เมื่อปี พ.ศ. 2512 มีผลงานในฐานะผู้ผลิตภาพยนตร์ทั้งหมดกว่า 19 เรื่อง โดยมีภาพยนตร์เรื่อง รักข้ามคลอง ที่ทำรายได้สูงที่สุด และภาพยนตร์ แผ่นดินแม่ ถือเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของประเทศไทยที่สร้างในระบบ 70 มม. แต่หลังจากนั้นก็เลิกทำหนังไปเหตุเพราะวงการหนังที่เปลี่ยนไปจึงเกิดความเบื่อ
ชรินทร์ นันทนาคร ได้รับพระราชทานนามสกุลจากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ว่า "นันทนาคร" ซึ่งมีความหมายว่า "ผู้ให้ความรื่นรมย์แก่ชาวเมือง" ชรินทร์ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติจากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติเป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงไทยสากล - ขับร้อง) ประจำปี พ.ศ. 2541
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]ชรินทร์สมรสครั้งแรกกับสปัน เธียรประสิทธิ์ ซึ่งเป็นน้องสาวของปองทิพย์ ภรรยาของสุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ ชรินทร์และสปันมีบุตรสาวสองคนคือ ปัญญ์ชลี เพ็ญชาติ (สมรสกับ เศรณี เพ็ญชาติเป็นมารดาของ ปวริศา เพ็ญชาติ) และปัญชนิตย์ นันทนาคร (สมรสกับสหัสชัย ชุมรุม เป็นมารดาของ ปัญญริสา เธียรประสิทธิ์)
ต่อมาชรินทร์ได้หย่าขาดสปัน และได้สมรสใหม่กับ เพชรา เชาวราษฎร์ อดีตนางเอกภาพยนตร์ชื่อดัง มีบุตรด้วยกัน 1 คน แต่เสียชีวิตตั้งแต่ยังเล็ก
ถึงแก่กรรม
[แก้]ชรินทร์ถึงแก่กรรมเมื่อเวลาประมาณ 02:23 น. ของวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2567 ณ โรงพยาบาลตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร[5] ในการนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ หีบลายก้านแย่ง กับทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้แทนพระองค์อัญเชิญพวงมาลาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง, สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี วางหน้าหีบศพ ซึ่งตั้ง ณ ศาลา ชูทับทิม(ศาลา 9) วัดธาตุทอง พระอารามหลวง แขวงพระโขนงเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม[6] กำหนดสวดพระอภิธรรมระหว่างวันที่ 21-27 สิงหาคม[7] จากนั้นจะเก็บร่างไว้ 100 วัน เพื่อรอการพระราชทานเพลิงศพต่อไป[8] และเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2567 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานเพลิงศพ
ผลงานแสดงภาพยนตร์
[แก้]- สาวน้อย (2501)
- สิบสองนักสู้ (2502)
- นกน้อย (2507)
- เงิน เงิน เงิน (2508)
- เพื่อนรัก (2509)
- ละครเร่ (2512)
- สวรรค์วันเพ็ญ (2512)
- เรือมนุษย์ (2513)
- รักเธอเสมอ (2513)
- หวานใจ (2513)
- คนใจบอด (2514)
- น้ำผึ้งพระจันทร์ (2515)
ผลงานการสร้างภาพยนตร์
[แก้]ผลงานการสร้างภาพยนตร์ในนาม นันทนาครภาพยนตร์
[แก้]- เทพบุตรนักเลง (2508)
- ลมหนาว (2509)
- แมวไทย (2511)
- สวรรค์วันเพ็ญ (2512)
- รักเธอเสมอ (2513)
- น้ำผึ้งพระจันทร์ (2515)
- แผ่นดินแม่ (2518)
- ลูกเจ้าพระยา (2520)
- ไอ้ขุนทอง (2521)
- เพลงรักดอกไม้บาน (2522)
- แผ่นดินแห่งความรัก (2523)
- รักข้ามคลอง (2524)
- รักมหาสนุก (2525)
- บ้านน้อยกลางดง (2526)
- บ้านสีดอกรัก (2527)
- ผู้การเรือเร่ (2528)
- ลูกทุ่งฮอลิเดย์ (2529)
- ฟ้าสีทอง (2530)
- ผู้พันเรือพ่วง (2530)
- คุณจ่าเรือแจว (2531)
ผลงานกำกับภาพยนตร์
[แก้]- สวรรค์วันเพ็ญ (2512)
- รักเธอเสมอ (2513)
- น้ำผึ้งพระจันทร์ (2515)
- แผ่นดินแม่ (2518)
- ลูกเจ้าพระยา (2520)
- ไอ้ขุนทอง (2521)
- เพลงรักดอกไม้บาน (2522)
- แผ่นดินแห่งความรัก (2523)
- รักข้ามคลอง (2524)
- รักมหาสนุก (2525)
- บ้านน้อยกลางดง (2526)
- บ้านสีดอกรัก (2527)
- ผู้การเรือเร่ (2528)
- ลูกทุ่งฮอลิเดย์ (2529)
- ฟ้าสีทอง (2530)
- ผู้พันเรือพ่วง (2530)
- คุณจ่าเรือแจว (2531)
ผลงานเพลง
[แก้]- อัลบั้ม ในฝัน อัศจรรย์แห่งรัก (2546)
- อัลบั้ม คู่เคียงสำเนียงรัก (2547)
- อัลบั้ม เม็ดทราย สายนํ้า ความรัก (2548)
- อัลบั้ม รักษ์เพลงไทย (2551)
- อัลบั้ม กล่อมแผ่นดิน (2552)
- อัลบั้ม อมตะเพลงหวานกลางกรุง (2554)
- อัลบั้ม ที่สุดของชรินทร์ (2555)
คอนเสิร์ต
[แก้]คอนเสิร์ตเดี่ยว
[แก้]- ชรินทร์ อิน คอนเสิร์ต ตอน คืนฟ้าสวย (2542)
- ชรินทร์ อิน คอนเสิร์ต ตอน เพลงรักดอกไม้บาน (2543)
- ชรินทร์ อิน คอนเสิร์ต ตอน เมื่อเหมันต์เยือน (2544)
- ชรินทร์ อิน คอนเสิร์ต ตอน หยดหนึ่งของกาลเวลา (2545)
- ชรินทร์ อิน คอนเสิร์ต ตอน ในฝัน...อัศจรรย์แห่งรัก (2546)
- ชรินทร์ อิน คอนเสิร์ต ตอน เดียวดาย...ในทะเลดาว (2547)
- ชรินทร์ อิน คอนเสิร์ต ตอน ฤๅ...โลกจะเปลี่ยนไป (2548)
- ชรินทร์ & BSO อินคอนเสิร์ต ตอน ด้วยปีกแห่งรัก (2549)
- 1 ทศวรรษ ชรินทร์ อิน คอนเสิร์ต ตอน กล่อมแผ่นดิน (2552)
- ชรินทร์ อิน คอนเสิร์ต หมายเลข 11 เพชรพร่างกลางกรุง (2553)
- ชรินทร์ อิน คอนเสิร์ต หมายเลข 12 ปาฏิหาริย์รัก (2554)
- ชรินทร์ อิน คอนเสิร์ต หมายเลข 13 โลกนี้คือละคร (2556)
- ชรินทร์ อิน คอนเสิร์ต หมายเลข 14 ขอบฟ้าขลิบทอง (2558)
- ชรินทร์ อิน คอนเสิร์ต หมายเลข 15 คืนจันทร์กระจ่างฟ้า (2559)
- ชรินทร์ อิน คอนเสิร์ต หมายเลข 16 จากฟากฟ้าสุราลัย...สู่แดนดิน (2560)
- ชรินทร์ อิน คอนเสิร์ต หมายเลข 17 รักนั้นคือฉันใด (2561)
- ชรินทร์ อิน คอนเสิร์ต หมายเลข 18 แผ่นดินแห่งความรัก (2562)
- ชรินทร์ อิน คอนเสิร์ต หมายเลข 19 70 ปีที่โลกไม่ลืม (2563)
- ชรินทร์ อิน คอนเสิร์ต หมายเลข 20 มหากาพย์แห่งบทเพลง (2565)
คอนเสิร์ตอื่น ๆ
[แก้]- คอนเสิร์ต เพลงหวานกลางกรุง ตอน เพลงหวานบางขุนพรหม (2552)
- คอนเสิร์ต ชงโคบานในฤดูหนาว (2553)
- คอนเสิร์ต ถึงไหนถึงกัน (2554) (แขกรับเชิญ)
- คอนเสิร์ต เพชรในเพลง (2554)
- คอนเสิร์ต การกุศล ร้อยดวงใจเพื่อรอยยิ้ม (2555)
- คอนเสิร์ต The Power Of Love รวมพลังแห่งรัก (2555)
- คอนเสิร์ต เพชรในเพลง ครั้งที่ 2 (2555)
- คอนเสิร์ต ฉลอง 75 ปี 6 ล้านกรมธรรม์ (2555)
- คอนเสิร์ต หีบเพลงชัก...แทนคำรัก สง่า อารัมภีร (2555)
- คอนเสิร์ต เพลงทำนอง...สองครู (2556)
- คอนเสิร์ต Master of Voices 3 ศิลปินตำนานเพลงรักแห่งสยาม (2557) (ร่วมกับ สุเทพ วงศ์กำแหง และ ธานินทร์ อินทรเทพ)
- คอนเสิร์ต รักปักใจ ลินจง (2557)
- คอนเสิร์ต 100 ปี กาญจนะผลิน (2557)
- คอนเสิร์ต กล่อมกรุง 2 (2558) (ร่วมกับ สวลี ผกาพันธุ์,สุเทพ วงศ์กำแหง,อรวี สัจจานนท์,ธานินทร์ อินทรเทพ,รุ่งฤดี แพ่งผ่องใส,เศรษฐา ศิระฉายา และ ศรีไศล สุชาตวุฒิ)
- คอนเสิร์ต ที่สุดที่ดี เพื่อพี่รี่ สวลี ผกาพันธุ์ 84 ยังแจ๋ว(2558)
- คอนเสิร์ต มิตรสมาน (2559)
- คอนเสิร์ต สุเทพโชว์ The Unforgettable (2560) (แขกรับเชิญ)
- คอนเสิร์ต Master of Voices ตำนานเพลงรัก 3 รุ่น (2561)
- คอนเสิร์ต ''สองวัยใจเดียวกัน'' ครั้งที่ 2 (2561)
- คอนเสิร์ต เพื่อพี่รี่ สวลี ผกาพันธุ์ เสียงเพลงอมตะ กับชีวิตดีดีมีคุณภาพ (2561)
- คอนเสิร์ต Master of Voices เพลงรักจากแม่ (2562) (แขกรับเชิญ)
- คอนเสิร์ต เพื่อครู ชาลี อินทรวิจิตร & สุรพล โทณะวณิก (2563)
- คอนเสิร์ต 99 ปี ครูชาลี อินทรวิจิตร เพลงคู่แผ่นดิน หนึ่งในจักรวาล (2564)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2542 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[9]
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.)[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 "อาลัย 'ชรินทร์ นันทนาคร' 91 ปี ศิลปินแห่งชาติ ประวัติชีวิตนักร้องระดับตำนาน". กรุงเทพธุรกิจ. 20 สิงหาคม 2567. สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2567.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "เปิดประวัติ ชรินทร์ นันทนาคร ตำนานผู้ขับขานบทเพลงกล่อมกรุง". ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. 20 สิงหาคม 2567. สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2567.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ชรินทร์ นามสกุล นันทนาคร ต่อมาได้รับพระราชทานนามสกุลจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็น "นันทนาคร" ในปี 2503". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-03. สืบค้นเมื่อ 2009-10-04.
- ↑ พิสุทธินี, "ชรินทร์ นันทนาคร", นิตยสารลิปส์ ฉบับปักษ์หลังมกราคม 2553 หน้า 178-185
- ↑ "สิ้น "ชรินทร์ นันทนาคร" ศิลปินแห่งชาติเจ้าของเพลงหยาดเพชร". ทีนิวส์. 20 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "น้ำหลวงอาบศพ ชรินทร์ นันทนาคร "เพชรา" รํ่าไห้สุดอาลัยรัก คนบันเทิงร่วมพิธีแน่น (คลิป)". www.thairath.co.th. 2024-08-22.
- ↑ "กำหนดการสวดพระอภิธรรม "ชรินทร์ นันทนาคร" ณ วัดธาตุทอง". Thaiger ข่าวไทย. 2024-08-21.
- ↑ ครอบครัว ‘ชรินทร์ นันทนาคร’ เผยสาเหตุเสียชีวิต แหวนแหวน น้ำตาไหลได้พาเหลนมาเจอหน้าครั้งแรก
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ (ประจำปี ๒๕๔๒ ศิลปินแห่งชาติ) เล่ม ๑๑๖ ตอน ๒๑ ข ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒ หน้า ๒๓.
- ↑ รูปภาพ
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2476
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2567
- ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง
- นักร้องชายชาวไทย
- ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไทย
- นักแสดงชายชาวไทย
- บุคคลจากโรงเรียนดาราวิทยาลัย
- บุคคลจากโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย
- นักร้องเพลงลูกกรุง
- นักแสดงจากจังหวัดเชียงใหม่
- นักร้องจากจังหวัดเชียงใหม่
- ศิลปินสังกัดแกรมมี่โกลด์
- เสียชีวิตจากภาวะหัวใจล้มเหลว
- ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ชาวไทย
- ศิลปินสังกัดนิธิทัศน์ โปรโมชั่น
- บุคคลในยุครัชกาลที่ 9
- ผู้ได้รับรางวัลสุพรรณหงส์เกียรติยศ