จักรพรรดิเรเซ
จักรพรรดิเรเซ 冷泉天皇 | |||||
---|---|---|---|---|---|
จักรพรรดิญี่ปุ่น | |||||
ครองราชย์ | 5 กรกฎาคม ค.ศ. 967 – 27 กันยายน ค.ศ. 969 | ||||
ราชาภิเษก | 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 967 | ||||
ก่อนหน้า | มูรากามิ | ||||
ถัดไป | เอ็งยู | ||||
ประสูติ | 12 มิถุนายน ค.ศ. 949 เฮอังเกียว (เกียวโต) | ||||
สวรรคต | 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 1011 เฮอังเกียว (เกียวโต) | (62 ปี)||||
ฝังพระศพ | ซากูราโมโตะ โนะ มิซาซางิ (櫻本陵; เกียวโต) | ||||
คู่อภิเษก | มาซาโกะ | ||||
พระราชบุตร |
| ||||
| |||||
ราชสกุล | ราชวงศ์ญี่ปุ่น | ||||
พระราชบิดา | จักรพรรดิมูรากามิ | ||||
พระราชมารดา | ฟูจิวาระ โนะ อันชิ |
จักรพรรดิเรเซ (ญี่ปุ่น: ja; โรมาจิ: 冷泉天皇; ทับศัพท์: Reizei-tennō; 12 มิถุนายน ค.ศ. 949 – 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 1011) เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นองค์ที่ 63[1] ตามที่ได้จัดเรียงไว้ในลำดับการสืบราชบัลลังก์แบดั้งเดิม[2]
รัชสมัยของเรเซครอบคลุมในช่วง ค.ศ. 967 ถึง 969 สิ้นสุดด้วยการสละราชสมบัติ[3]
พระราชประวัติ
[แก้]ก่อนขึ้นครองราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ เรเซมีพระนามส่วนพระองค์ (อิมินะ) ว่า โนริฮิระ-ชินโน (憲平親王)[4]
โนริฮิระ-ชินโนเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 2 ของจักรพรรดิมูรากามิกับจักรพรรดินียาซูโกะ ธิดาในฟูจิวาระ โนะ โมโรซูเกะ รัฐมนตรีฝ่ายขวา[5] พระองค์ได้รับการแต่งตั้งเป็นมกุฎราชกุมารหลังเสด็จพระราชสมภพ แทนที่พระราชโอรสองค์แรกของจักรพรรดิกับธิดาในฟูจิวาระ โนะ โมโตกาตะ การตัดสินใจครั้งนี้น่าจะเกิดขึ้นภายใต้อิทธิพลของโมโรซูเกะกับฟูจิวาระ โนะ ซาเนโยริ พี่ชายของเขาที่ยึดอำนาจในราชสำนัก ไม่นานโมโตกาตะก็เสียชีวิตด้วยความสิ้นหวังที่สูญเสียโอกาสที่จะเป็นพระอัยกาของจักรพรรดิองค์ต่อไป มีการใส่ความว่าอิทธิพลอันชั่วร้ายจากวิญญาณอาฆาต (ญี่ปุ่น: 怨霊; โรมาจิ: onryō; ทับศัพท์: อนเรียว) ของโมโตกาตะเป็นสาเหตุที่ทำให้โนริฮิระ-ชินโนเกิดอาการป่วยทางจิต ซึ่งส่งผลให้ซาเนโยริต้องทำหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตลอดระยะเวลาการครองราชย์อันสั้นของพระองค์[6]
นอกจากนี้ พระองค์ยังเป็นต้นสายราชสกุลเรเซเก็งจิ ตระกูลย่อยสาขาหนึ่งของตระกูลมินาโมโตะ
เหตุการณ์ในพระชนมชีพของจักรพรรดิเรเซ
[แก้]คำถามเกี่ยวกับอาการป่วยทางจิตทำให้การสืบครองตำแหน่งของโนริฮิระ-ชินโนค่อนข้างเป็นปัญหา
ใน ค.ศ. 967 มูรากามิ พระราชบิดา สวรรคต และเรเซขึ้นครองราชย์ตอนพระชนมพรษา 18 พรรษา
- 5 กรกฎาคม ค.ศ. 967 (ปีโคโฮที่ 4, วันที่ 25 เดือน 5): ในปีที่ 16 ของรัชสมัยจักรพรรดิมูรากามิ (村上天皇十六年) พระองค์เสด็จสวรรคต หลังจากนั้นไม่นาน เรเซขึ้นครองราชบัลลังก์[7]
- ค.ศ. 969 (ปีอันนะที่ 2): เรเซสละราชสมบัติ และพระองค์รับตำแหน่งเรเซ-อิงโจโก (Reizei-in Jōkō) รัชสมัยของพระองค์ดำรงอยู่เพียงสองปี และพระองค์ยังคงมีพระชนมชีพหลังสละราชสมบัติอีก 44 ปี[8]
- 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 1011 (ปีคังโกที่ 8, วันที่ 24 เดือน 10): ไดโจ-เท็นโนเรเซ-อิงโจโกสวรรคตเมื่อพระชนมายุได้ 62 พรรษา[9]
รัชสมัยของเรเซ
[แก้]ปีในรัชสมัยเรเซมีมากกว่าหนึ่งชื่อศักราช (ญี่ปุ่น: 年号; โรมาจิ: nengō):[10]
พระมเหสีและพระราชโอรสธิดา
[แก้]จักรพรรดินี (ชูงู): เจ้าหญิงมาซาโกะ (昌子内親王) ภายหลังเป็น คานงอิงไทโง (観音院太后) พระราชธิดาในจักรพรรดิซูซากุ
- พระราชโอรสบุญธรรม: เจ้าชายนางาฮิระ (永平親王; 965–988)
พระมเหสี (เนียวโงะ): ฟูจิวาระ โนะ ไคชิ/ชิกาโกะ (藤原懐子, 945–975) ธิดาในฟูจิวาระ โนะ โคเรตาดะ
- พระราชธิดาองค์แรก: เจ้าหญิงโซชิ (宗子内親王; 964–986)
- พระราชธิดาองค์ที่ 2: เจ้าหญิงซนชิ (尊子内親王; 966–985) ไซอิงที่ 15 แห่งศาลเจ้าคาโมะ (968–975) ภายหลังสมรสกับจักรพรรดิเอ็งยูใน ค.ศ. 980
- พระราชโอรสองค์แรก: เจ้าชายโมโรซาดะ (師貞親王) ภายหลังเป็นจักรพรรดิคาซัง
พระมเหสี (เนียวโงะ): ฟูจิวาระ โนะ โชชิ/โทโกะ (藤原超子; เสียชีวิต ค.ศ. 982) ธิดาในฟูจิวาระ โนะ คาเนอิเอะ
- พระราชธิดาองค์ที่ 3: เจ้าหญิงมิตสึโกะ (光子内親王; 973–975)
- พระราชโอรสองค์ที่ 2: เจ้าชายโอกิซาดะ (居貞親王) ภายหลังเป็นจักรพรรดิซันโจ
- พระราชโอรสองค์ที่ 3: เจ้าชายทาเมตากะ (為尊親王; 977–1002)
- พระราชโอรสองค์ที่ 4: เจ้าชายอัตสึมิจิ (敦道親王; 981–1007)
พระมเหสี (เนียวโงะ): ฟูจิวาระ โนะ ฟูชิ/โยชิโกะ (藤原怤子) ธิดาในฟูจิวาระ โนะ โมโรซูเกะ
พระราชพงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของจักรพรรดิเรเซ[11] | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Imperial Household Agency (Kunaichō): 冷泉天皇 (63)
- ↑ Ponsonby-Fane, Richard. (1959). The Imperial House of Japan, p. 71.
- ↑ Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du japon, pp. 142–143; Brown, Delmer et al. (1979). Gukanshō, pp. 298–300; Varely, H. Paul. (1980). Jinnō Shōtōki, pp. 190–191.
- ↑ Titsingh, p. 142; Varely, p. 190; Brown, p. 264; prior to Emperor Jomei, the personal names of the emperors (their imina) were very long and people did not generally use them. The number of characters in each name diminished after Jomei's reign.
- ↑ Varley, p. 190.
- ↑ Usami, Hirokuni (2004). Social crises and religious change in pre-medieval Japan (วิทยานิพนธ์ PhD). SOAS University of London. p. 377. doi:10.25501/SOAS.00029220.
- ↑ Titsingh, p. 142; Brown, p. 298; Varley, p. 44; a distinct act of senso is unrecognized prior to Emperor Tenji; and all sovereigns except Jitō, Yōzei, Go-Toba, and Fushimi have senso and sokui in the same year until the reign of Emperor Go-Murakami.
- ↑ Brown, p. 298.
- ↑ Titsingh, p. 155; Brown, p. 306; Varley, p. 190.
- ↑ Titsingh, p. 142.
- ↑ "Genealogy". Reichsarchiv (ภาษาญี่ปุ่น). 30 April 2010. สืบค้นเมื่อ 17 February 2018.
ข้อมูล
[แก้]- Brown, Delmer M. and Ichirō Ishida, eds. (1979). Gukanshō: The Future and the Past. Berkeley: University of California Press. ISBN 978-0-520-03460-0; OCLC 251325323
- Kitagawa, Hiroshi and Bruce T. Tsuchida. (1975). The Tale of the Heike. Tokyo: University of Tokyo Press. OCLC 262297615
- Ponsonby-Fane, Richard Arthur Brabazon. (1959). The Imperial House of Japan. Kyoto: Ponsonby Memorial Society. OCLC 194887
- Titsingh, Isaac. (1834). Nihon Odai Ichiran; ou, Annales des empereurs du Japon. Paris: Royal Asiatic Society, Oriental Translation Fund of Great Britain and Ireland. OCLC 5850691
- Varley, H. Paul. (1980). Jinnō Shōtōki: A Chronicle of Gods and Sovereigns. New York: Columbia University Press. ISBN 978-0-231-04940-5; OCLC 59145842