ซฺยงหนู
ซฺยงหนู | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ศตวรรษที่ 3–ค.ศ. 460 | |||||||
![]() อาณเขตซฺยงหนูในปี 250 ปีก่อน ค.ศ. | |||||||
เมืองหลวง | โถวม่านเฉิง (ศตวรรษที่ 3—215 ปีก่อน ค.ศ.) ฉาน-ยฺหวีถิง (215 ปีก่อน ค.ศ.—ค.ศ.91) เหม่ย์จี้ (ค.ศ. 50—ค.ศ.216) | ||||||
การปกครอง | พันธมิตรชนเผ่า | ||||||
ฉาน-ยฺหวี | |||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||
• ก่อตั้ง | ศตวรรษที่ 3 | ||||||
• สิ้นสุด | ค.ศ. 460 | ||||||
|
ซฺยงหนู ตามสำเนียงกลาง หรือ เฮงโน้ว ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (จีน: 匈奴; พินอิน: Xiōngnú) เป็นชื่อเรียกกลุ่มชนโบราณซึ่งมีพวกร่อนเร่เป็นพื้น และตั้งตัวกันเป็นรัฐหรือสหพันธรัฐ[1] อยู่ในภาคเหนือของประเทศจีน ข้อมูลข่าวสารส่วนใหญ่เกี่ยวกับพวกซฺยงหนูจึงมาจากจีน กับทั้งชื่อเสียงเรียงนามของคนเหล่านั้นก็เป็นที่ทราบกันไม่มาก จึงใช้ตามที่จีนทับศัพท์มาจากภาษาซฺยงหนูอีกทอดหนึ่ง
อัตลักษณ์ของแกนกลางทางชาติพันธุ์ซฺยงหนูนั้นเป็นแต่สมมุมติฐานกันไปในหลายทาง เพราะภาษาซฺยงหนู โดยเฉพาะชื่อแซ่บุคคลนั้น ปรากฏในแหล่งข้อมูลจีนน้อยมาก นักวิชาการเสนอว่า คนซฺยงหนูอาจใช้ภาษาเติร์ก (Turkic), มองโกล (Mongolic), เยนีเซย์ (Yeniseian), [2][3] โทแคเรียน (Tocharian), อิหร่าน (Iranian), [4][5] หรือยูแรล (Uralic) [6] นอกจากนี้ ยังน่าเชื่อว่า พวกซฺยงหนูเล่นคุณไสย[7][8] ส่วนคำว่า "ซฺยงหนู" อาจมาจากรากศัพท์เดียวกับคำว่า "ฮัน" (Hun) แต่พยานหลักฐานสำหรับเรื่องนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่[3][9]
แหล่งข้อมูลจีนตั้งแต่ 300 ปีก่อนคริสต์ศักราช บันทึกว่า หลังจากปีที่ 209 ก่อนคริสต์ศักราช พวกซฺยงหนูก่อตั้งจักรวรรดิโดยยกมั่วตู๋ ฉาน-ยฺหวี (Modu Chanyu) ขึ้นเป็นประมุข[10] จักรวรรดิซฺยงหนูแผ่อำนาจข้ามท้องที่ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเขตแดนมองโกเลีย ครั้นปีที่ 200 ก่อนคริสต์ศักราช ชาวซฺยงหนูเอาชัยเหนือพวกเยฺว่จือ (Yuezhi) ซึ่งมีอำนาจอยู่ก่อนแล้วได้ ซฺยงหนูจึงเถลิงอำนาจในที่ราบทางภาคกลางและภาคตะวันออกของทวีปเอเชีย คนเหล่านี้ตั้งตัวกันอยู่ในภูมิภาคซึ่งบัดนี้คือไซบีเรียใต้ มองโกเลีย มองโกเลียใต้ กานซู และซินเจียง แต่ความสัมพันธ์ระหว่างพวกเขากับราชวงศ์จีนนั้นเป็นไปอย่างซับซ้อน มีการณรงค์สงครามและใช้เล่ห์เพทุบายช่วงชิงดินแดนกันอย่างต่อเนื่อง สลับกับการจ่ายส่วย การค้า และการทำสนธิสัญญาเพื่อเป็นดองกัน
อ้างอิง[แก้]
เชิงอรรถ[แก้]
- ↑ Ebrey, Patricia Buckley (2010). "Xiongnu+Confederation"#v=onepage&q="Xiongnu%20Confederation"&f=false The Cambridge Illustrated History of China (2nd ed.). Cambridge University Press. p. 69. ISBN 978-0-521-12433-1.
- ↑ Adas 2001: 88
- ↑ 3.0 3.1 Beckwith 2009: 404-405, nn. 51-52.
- ↑ Harmatta 1999: 488
- ↑ Jankowski 2006: 27
- ↑ Di Cosmo, 2004, pg 166
- ↑ Yuri Pines, The Everlasting Empire: The Political Culture of Ancient China and Its Imperial Legacy, Princeton University Press, 2012, p.37. ISBN 1400842271, 9781400842278.
- ↑ John Man, Attila: the barbarian king who challenged Rome, Bantam, 2005, p.62. University of Michigan. ISBN 0593052919, 9780593052914.
- ↑ Vaissière 2006
- ↑ di Cosmo 2004: 186
รายการอ้างอิง[แก้]
- Adas, Michael. 2001. Agricultural and Pastoral Societies in Ancient and Classical History, American Historical Association/Temple University Press.
- Beckwith, Christopher I. 2009. Empires of the Silk Road: A History of Central Eurasia from the Bronze Age to the Present. Princeton University Press. ISBN 978-0-691-13589-2
- Di Cosmo, Nicola. 2004. Ancient China and its Enemies: The Rise of Nomadic Power in East Asian History. Cambridge University Press. (First paperback edition; original edition 2002)
- Harmatta, János. 1999. Conclusion. In: History of civilizations of Central Asia. Volume 2: The Development of Sedentary and Nomadic Civilizations, 700 bc to ad 250; Edited by János Harmatta et al. UNESCO. ISBN 92-3-102846-4. 485-493.
- Jankowski, Henryk. 2006. A historical-etymological dictionary of pre-Russian habitation names of the Crimea. Brill. Handbuch der Orientalistik [HdO], 8: Central Asia; 15. ISBN 90-04-15433-7.
- Vaissière, Étienne de la. 2006. Xiongnu. Encyclopædia Iranica online.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: ซฺยงหนู |
![]() |
วิกิซอร์ซ มีบทความจากสารานุกรมบริตานิกา ฉบับ ค.ศ. 1911 เกี่ยวกับ Hiung-nu |
- Li, Chunxiang; Li, Hongjie; Cui, Yinqiu; Xie, Chengzhi; Cai, Dawei; Li, Wenying; Victor, Mair H.; Xu, Zhi; Zhang, Quanchao; Abuduresule, Idelisi; Jin, Li; Zhu, Hong; Zhou, Hui (2010). "Evidence that a West-East admixed population lived in the Tarim Basin as early as the early Bronze Age". BMC Biology. 8: 15. doi:10.1186/1741-7007-8-15. PMC 2838831. PMID 20163704.
- Material Culture presented by University of Washington
- Encyclopedic Archive on Xiongnu
- The Xiongnu Empire
- The Silk Road Volume 4 Number 1
- The Silk Road Volume 9
- Gold Headdress from Aluchaideng
- Belt buckle, Xiongnu type, 3rd–2nd century B.C.
- Videodocumentation: Xiongnu – the burial site of the Hun prince (Mongolia)
- The National Museum of Mongolian History :: Xiongnu
![]() |
บทความเกี่ยวกับประวัติศาสตร์นี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ประวัติศาสตร์ |