ข้ามไปเนื้อหา

สโมสรฟุตบอลชลบุรี

พิกัด: 13°21′53″N 100°58′36″E / 13.364621°N 100.976651°E / 13.364621; 100.976651
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชลบุรี เอฟซี
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลชลบุรี
ฉายาฉลามชล[1]
ก่อตั้งพ.ศ. 2540 ในชื่อ สโมสรฟุตบอลชลบุรี-สันนิบาตร สมุทรปราการ (รวมทีม)
พ.ศ. 2543 ในชื่อ สโมสรฟุตบอลชลบุรี (แยกออกจากสโมสรฟุตบอลสันนิบาตรฯ เพื่อเข้าร่วมการแข่งขันโปรวินเชียลลีก)
สนามชลบุรี ไดกิ้น สเตเดียม
ความจุ8,600 [1]
เจ้าของบริษัท ชลบุรี เอฟซี จำกัด
ประธานวิทยา คุณปลื้ม
ผู้จัดการสินทวีชัย หทัยรัตนกุล
ผู้ฝึกสอนพิภพ อ่อนโม้
ลีกไทยลีก 2
2566–67ไทยลีก , อันดับที่ 14 (ตกชั้น) ลดลง
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม
ฤดูกาลปัจจุบัน
ทีมของชลบุรีเอฟซี
ฟุตบอล (ชาย) ฟุตบอลบี (ชาย) ฟุตซอล (ชาย)
อีสปอร์ต ฟุตบอล (หญิง)

สโมสรฟุตบอลชลบุรี เป็นสโมสรฟุตบอลในประเทศไทย โดยเป็นสโมสรจากจังหวัดชลบุรี ปัจจุบันลงเล่นในไทยลีก 2 เคยได้ตำแหน่งชนะเลิศไทยลีก ในฤดูกาล 2550 ซึ่งปัจจุบันใช้สนามชลบุรี ไดกิ้น สเตเดียม เป็นสนามเหย้าของสโมสร

ประวัติสโมสร

[แก้]

ยุคเริ่มต้น

[แก้]

สโมสรฟุตบอลจังหวัดชลบุรี แต่เดิมเป็นทีมฟุตบอลเยาวชนของโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา โดยมี อรรณพ สิงห์โตทอง, ธนศักดิ์ สุระประเสริฐ, สนธยา คุณปลื้ม และ วิทยา คุณปลื้ม เป็นผู้ดูแล โดยได้ส่งทีมฟุตบอลของโรงเรียนเข้าร่วมการแข่งขันในระดับเยาวชน และได้รับรางวัลชนะเลิศในหลายการแข่งขัน อาทิ การแข่งขันฟุตบอลนักเรียนกรมพลศึกษา เป็นต้น[2] ต่อมาทางทีมฟุตบอลของโรงเรียนจึงสมัครเข้าร่วมการแข่งขัน ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ในนามของ ทีมฟุตบอลโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา

ต่อมาเมื่อ สมาคมสันนิบาตสงเคราะห์ จังหวัดสมุทรปราการ ได้รับตำแหน่งรองชนะเลิศการแข่งขัน ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. ประจำปี 2539 ทางกลุ่มผู้ดูแลทีมฟุตบอลฯ ได้มีการเจรจาขอรวมทีม จึงได้ก่อตั้งเป็น สโมสรฟุตบอลชลบุรี–สันนิบาตฯ สมุทรปราการ และได้เข้าแข่งขันใน ดิวิชัน 1[3]

ยุคโปรลีก

[แก้]

ต่อมาเมื่อทางสมาคมกีฬาจังหวัดชลบุรี ได้สิทธิ์เข้าร่วมแข่งขันโปรวินเชียลลีก ในปี 2543 จึงได้ออกมาก่อตั้ง ทีมฟุตบอลจังหวัดชลบุรี โดยได้แยกสโมสรฟุตบอลชลบุรี-สันนิบาตฯ สมุทรปราการ ซึ่งในขณะนั้นลงเล่นในดิวิชั่น 1 ออกจากกัน โดยผู้เล่นของทีมส่วนใหญ่ ได้นำผู้เล่นจากโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา และ โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี โดยในฤดูกาลแรกที่เข้าร่วมแข่งขัน (โปรลีก 2543/44) สโมสรจบอันดับที่ 3 ของตาราง

เลื่อนชั้นสู่ไทยลีก

[แก้]

ต่อมาในฤดูกาล 2548 ทางฝ่ายจัดการแข่งขันได้มีการกำหนดให้ทีมจังหวัดที่ชนะเลิศและรองชนะเลิศ ได้สิทธิ์เลื่อนชั้นไปเล่นในไทยลีก และในปีนั้นสโมสรประสบความสำเร็จโดยได้ตำแหน่งชนะเลิศการแข่งขัน และได้สิทธิ์เลื่อนชั้นไปทำการแข่งขันในไทยแลนด์พรีเมียร์ลีกฤดูกาลถัดมา และในปีเดียวกันนั้นทางสโมสรได้เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานควีนสคัพ ในนามของสโมสรราชประชา และเข้าร่วมการแข่งขันสิงคโปร์คัพอีกด้วย

ยุคไทยลีก

[แก้]

ในฤดูกาล 2550 สโมสรฯ ภายใต้การนำของจเด็จ มีลาภ หัวหน้าผู้ฝึกสอนในขณะนั้น สร้างประวัติศาสตร์ให้กับสโมสรและวงการฟุตบอลไทย โดยสามารถคว้าตำแหน่งชนะเลิศ ไทยลีก ได้เป็นสมัยแรก และถือว่าเป็นสโมสรฟุตบอลจังหวัด สโมสรแรกของประเทศไทยที่ทำได้ พร้อมกับได้สิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขันเอเอฟซี แชมเปียนส์ลีก

ฤดูกาล 2551

[แก้]
เสื้อเหย้าของชลบุรีในฤดูกาล 2551 พร้อมตราสัญลักษณ์แบบเก่า

สโมสร ได้เริ่มต้นฤดูกาล โดยลงทำการแข่งขัน ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน ก. ประจำปี 2550 โดยได้ตำแหน่งชนะเลิศอีกด้วยในปีนั้น โดยเอาชนะ สโมสรธนาคารกรุงไทย ไปได้ 1-0 จากการทำประตูของ จูเลียส บาก้า

ต่อมาก่อนที่ไทยลีก 2551 จะเริ่มการแข่งขัน ในเดือนเมษายน สโมสรก็ได้เตรียมการที่จะจดทะเบียนสโมสรให้อยู่ในรูปแบบ บริษัทนิติบุคคล โดยใช้ชื่อ บริษัท สโมสรฟุตบอลชลบุรี จำกัด พร้อมกับจดลิขสิทธิ์ฉายาและตราสัญลักษณ์ของสโมสรด้วย ซึ่งทางบริษัท จะเข้ามาจัดการบริหารสโมสรอย่างเต็มตัว เพื่อความสะดวกในการวางงบประมาณทำทีมและแผนงานต่างๆ[4]

ส่วนผลงานในลีกในฤดูกาลนั้น สโมสรไม่สามารถป้องกันตำแหน่งชนะเลิศไว้ได้ โดยได้แค่รองชนะเลิศ โดยสโมสรชนะเลิศในฤดูกาลนั้น คือ สโมสรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค แต่ก็ยังได้สิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขัน เอเอฟซี คัพ ซึ่งเป็นถ้วยรองในระดับทวีปเอเชียแทน

เข้าร่วมแข่งขันในระดับทวีปครั้งแรก
[แก้]

สโมสรได้เข้าร่วมการแข่งขัน เอเอฟซี แชมเปียนส์ลีก เป็นครั้งแรก โดยจับฉลากแบ่งสาย อยู่ในสาย G ร่วมกับ เมลเบิร์น วิกตอรี (ออสเตรเลีย) กัมบะ โอซะกะ (ญี่ปุ่น) และ ชุนนัม ดรากอนส์ (เกาหลีใต้) โดยสโมสรได้เลือก สนามศุภชลาศัย เป็นสนามเหย้าแทน เนื่องเพราะ สนามสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชลบุรี ไม่ผ่านมาตรฐานของสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย ด้านผลงานของสโมสรในการแข่งขัน สโมสรทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยม โดยในช่วงสองเกมแรก สามารถบุกไปเสมอ กัมบะ โอซะกะ ได้ถึงประเทศญี่ปุ่น และกลับมาชนะ เมลเบิร์น วิกตอรี ได้ที่สนามศุภชลาศัย 3 ประตูต่อ 1

แต่ทว่า ใน 4 เกมที่เหลือ สโมสรทำผลงานได้ไม่ดีนัก โดยเก็บได้แค่คะแนนเดียว ในเกมที่เสมอกับ ชุนนัม ดรากอนส์ ทำให้สโมสร ต้องตกรอบแบ่งกลุ่มในปีนั้นด้วยอันดับสุดท้าย แต่ก็เป็นเกียรติประวัติให้กับสโมสร ที่ได้เป็นที่รู้จักในระดับเอเชียมากขึ้น

ฤดูกาล 2552

[แก้]

ปี 2552 สโมสรได้มีการเปลี่ยนแปลงหัวหน้าผู้ฝึกสอน โดยได้แต่งตั้ง เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง จาก สโมสรจุฬาฯ-สินธนา มาแทน จเด็จ มีลาภ ที่ย้ายไปเป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอน สโมสรพัทยา ยูไนเต็ด โดยเริ่มต้นในปีนี้ ด้วยการได้ตำแหน่งชนะเลิศ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน ก. ประจำปี 2551 ได้อีกครั้ง และเริ่มต้นการบริหารในรูปแบบนิติบุคคลขึ้น แต่ผลงานในลีกก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ โดยทำได้เพียงตำแหน่งรองชนะเลิศอีกครั้งหนึ่ง โดยสโมสรชนะเลิศในฤดูกาลนั้น คือ สโมสรเมืองทอง-หนองจอก ยูไนเต็ด

เอเอฟซีคัพ 2552
[แก้]
ชลบุรีพบกับเกดะห์ในเอเอฟซีคัพ 2009

สโมสรได้สิทธิร่วมแข่งขันในรายการ เอเอฟซี คัพ ในฐานะรองชนะเลิศของลีก โดยจับฉลากแบ่งสายรอบแรก ชลบุรีได้อยู่ในสาย G โซนตะวันออก โดยอยู่ร่วมสายเดียวกับทีม ฮานอย เอซีบี (เวียดนาม) อีสเทิร์น แอธเลติก (ฮ่องกง) และ เคดาห์ (มาเลเซีย) [5]

ด้วยผลงานอันยอดเยี่ยมชลบุรีเข้ารอบ 16 ทีมสุดท้ายในฐานะแชมป์ของกลุ่ม G ไปเจอกับทีม พีเอสเอ็มเอส เมดาน จากประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งชลบุรีเอาชนะไปได้ด้วยสกอร์ 4 ประตูต่อ 0[6] ผ่านเข้ารอบ 8 ทีมสุดท้ายได้สำเร็จ พบกับบินห์เยือง สโมสรจากเวียดนาม แต่ก็ต้องพบกับความผิดหวังเมื่อทีมตกรอบ 8 ทีมสุดท้าย

ฤดูกาล 2553

[แก้]

ในปี 2553 สโมสรได้แต่งตั้ง จเด็จ มีลาภ กลับมาคุมทีมอีกครั้ง พร้อมกับย้ายสนามเหย้าจาก สนามสิรินธร ภายในโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา มาที่สนามสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชลบุรี โดยในฤดูกาลนี้ สโมสรจบด้วยอันดับที่ 3 ในการแข่งขัน แต่ก็ยังสามารถคว้ารางวัลชนะเลิศฟุตบอลถ้วย มูลนิธิไทยคมเอฟเอคัพ เป็นครั้งแรก ทำให้สิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขัน เอเอฟซีคัพ ฤดูกาล 2554

ฤดูกาล 2554

[แก้]

ในปี 2554 สโมสร ได้ย้ายสนามเหย้าจาก สนาม สพล. ชลบุรี มาใช้ ชลบุรี สเตเดียม โดยได้ วิทยา เลาหกุล มารับตำแหน่งผู้จัดการทีมเต็มตัว โดยทำงานร่วมกับ จเด็จ มีลาภ ซึ่งในปีเดียวกันนี้ สโมสรสามารถคว้าตำแหน่งชนะเลิศ ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ก. ประจำปี 2553 มาครองไว้ได้ ซึ่งถือเป็นสมัยที่สามในประวัติศาสตร์สโมสร และจบอันดับด้วยตำแหน่งรองชนะเลิศ ไทยลีก เป็นสมัยที่ 3 แต่ได้สิทธิเข้าไปเล่น รอบคัดเลือกใน เอเอฟซี แชมเปียนส์ ลีกอีกครั้ง

เอเอฟซีคัพ 2554
[แก้]

ในฤดูกาลนี้ สโมสรได้สิทธิเข้าร่วมการแข่งขันอีกครั้ง จากการชนะเลิศ ไทยเอฟเอคัพ โดยผลการจับสลากแบ่งสาย สโมสรอยู่สาย H ร่วมสายกับ เปอซิปุระชัยปุระ (อินโดนีเซีย) เซาต์ไชน่า (ฮ่องกง) และ คิงฟิชเชอร์อีสต์เบงกอล (อินเดีย)

ผลการแข่งขันในรอบแบ่งกลุ่ม ปรากฏว่า สโมสรสามารถคว้าอันดับที่หนึ่งของกลุ่ม H ด้วยผลงาน ชนะ 4 เสมอ 1 และแพ้ 1 มี 13 คะแนน ได้สิทธิเข้ารอบ 16 ทีมสุดท้ายและได้สิทธิเล่นเป็นเจ้าบ้านพบกับ ศรีวิจาย่า จากอินโดนีเซีย[7] และสามารถเอาชนะเข้าสู่รอบ 8 ทีมสุดท้ายได้ โดยเข้าไปพบกับทีม นาซาฟ จากอุซเบกิสถาน โดยชลบุรีเป็นฝ่ายแพ้การดวลจุดโทษนาซาฟหลังประตูรวมสองนัดเท่ากัน 1 ประตู ต่อ 1 ตกรอบไปในที่สุด

ฤดูกาล 2555

[แก้]

ปี 2555 สโมสร ได้มีการเปลี่ยนผู้สนับสนุนอุปกรณ์กีฬาจากเอฟบีที เป็น ไนกี้[8] และเริ่มเปิดฤดูกาลด้วยการป้องกันตำแหน่งคว้าตำแหน่งชนะเลิศ ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ก. ไว้ได้อีกสมัย โดยการเอาชนะจุดโทษ สโมสรบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ไป 6 ประตูต่อ 5 ภายหลังเสมอในเวลา 90 นาที 2 ประตูต่อ 2 ส่วนในลีกนั้น ชลบุรีทำได้เพียงตำแหน่งรองชนะเลิศ เป็นสมัยที่ 4 ส่วนจเด็จ มีลาภ ย้ายไปเป็นผู้จัดการทีมสงขลา ยูไนเต็ด

เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก 2555
[แก้]

ภายหลังจากเอเอฟซีปรับจำนวนทีมจากประเทศไทยให้สามารถเข้าร่วมแข่งขันในรายการเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกรอบแบ่งกลุ่ม 1 ทีม และรอบคัดเลือกอีก 1 ทีม ทำให้ชลบุรีได้สิทธิเข้าไปเล่นในรอบคัดเลือกเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกโซนตะวันออกอีกครั้ง ด้วยสาเหตุที่ว่า บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด คว้าตำแหน่งชนะเลิศทั้งรายการไทยพรีเมียร์ลีกและรายการเอฟเอคัพทั้งสองรายการ ทำให้ชลบุรีซึ่งได้ตำแหน่งรองชนะเลิศไทยพรีเมียร์ลีกใด้สิทธิตัวแทนของประเทศไทยอีกหนึ่งทีม โดยจะเข้าไปพบกับโปฮัง สตีลเลอร์ส จากเกาหลีใต้ ก่อนที่จะเข้าสู่รอบแบ่งกลุ่มต่อไป แต่กลับแพ้ไป 2-0 ต้องตกชั้นลงมาเล่นเอเอฟซีคัพแทน

เอเอฟซีคัพ 2555
[แก้]

หลังจากที่ตกรอบคัดเลือกเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก จากการบุกไปแพ้ โปฮัง สตีลเลอร์ส ของเกาหลีใต้ไป 2 - 0 ชลบุรีได้สิทธ์ไปเล่นใน เอเอฟซีคัพ ซึ่งเป็นถ้วยรองของเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก โดยชลบุรีได้อยู่ใน กลุ่มจี ร่วมกับย่างกุ้ง ยูไนเต็ด จากประเทศพม่า โฮม ยูไนเต็ด จากประเทศสิงคโปร์ และ ซิตี้เซนต์ แอธแลนติก จากประเทศฮ่องกง ซึ่งชลบุรี ได้แชมป์ของกลุ่มจี และ โฮม ยูไนเต็ด เป็นรองแชมป์

โดยชลบุรีสิทธ์ล่นในรอบ 16 ทีมสุดท้ายพบกับอัล ซาวร่า รองแชมป์ กลุ่มอี จากประเทศอิรัก ทำการแข่งขันในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 เวลา 19.00 (ตามท้องถิ่น) ที่ ชลบุรีสเตเดียม จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย ผลปรากฏว่า ชลบุรี ชนะ อัล ซาวร่า ไปได้ 1 - 0 จากประตูของ พิภพ อ่อนโม้ ในนาทีที่ 8 จึงผ่านเข้ารอบไปสู่รอบ 8 ทีมสุดท้ายต่อไป[9]

ชลบุรีได้ไปเจอกับสโมสรกีฬาอัลชอร์ตา จากประเทศซีเรีย โดยรอบแรกเล่นที่ชลบุรีสเตเดียม ผลปรากฏว่าชลบุรีแพ้ไป 2 - 1 ทั้งที่นำไปก่อนตั้งแต่นาทีที่ 3 จาก ตีอาโก คุนญา[10] และรอบสองได้ไปเล่นที่สนาม ปรินทส์ โมฮัมเหม็ด สเตเดียม ที่ ประเทศจอร์แดน เนื่องจากสนามเหย้าของอัลชอร์ต้าซึ่งอยู่ในประเทศซีเรีย ในเมืองดามัสกัสได้มีเหตุการณ์ทางการเมืองเกิดขึ้น ทางเอเอฟซีจึงปรับให้มาเล่นที่สนามของประเทศจอร์แดนแทน ซึ่งผลปรากฏว่าครบ 90 นาที ชลบุรีนำอยู่ 2 - 1 แต่รวมสกอร์แล้วยังเสมออยู่ 3 - 3 เลยต้องต่อเวลาพิเศษไป ผลปรากฏว่าชลบุรีได้ 2 ประตู จากติอาโก คุนญา ในช่วงต่อเวลาพิเศษ ครบ 120 นาที ชลบุรีจึงบุกไปชนะได้ 4 - 2 รวมสกอร์จากนัดแรก ชลบุรีชนะไป 5 - 4 โดยรอบก่อนรอบรองชนะเลิศ ชลบุรีจะได้พบทีม สโมสรฟุตบอลอาร์บิล จากประเทศอิรัก[11] ซึ่งนัดแรกชลบุรีบุกไปแพ้ถึง 1 - 4 และนัดที่สองได้กลับมาเล่นที่ชลบุรีก็แพ้ไปด้วยสกอร์เดิม 1 - 4 รวมผลสองนัดชลบุรีตกรอบไปด้วยสกอร์รวม 8 - 2 คว้าอันดับ 3 ไปครอง

ฤดูกาล 2556

[แก้]

ปี 2556 สโมสรเปิดตัววรวุฒิ ศรีมะฆะ เป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนคนใหม่ พร้อมกันนี้ได้แต่งตั้งเทิดศักดิ์ ใจมั่น ขึ้นโค้ชและผู้เล่นอีกตำแหน่งหนึ่ง ในปีนี้จบฤดูกาลด้วยดันดับสามในลีกแต่ได้สิทธิในการเข้าร่วมรายการเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกในรอบคัดเลือกรอบสอง ขณะเดียวกัน วิทยา เลาหกุล ได้ประกาศลาออกจากการคุมทีมและขึ้นไปดำรงตำแหน่งประธานพัฒนาเทคนิคตามเดิม โดยแต่งตั้ง มะซะฮิโระ วะดะ จากวิสเซล โคเบะ เข้ามาทำหน้าที่แทน[12]

ฤดูกาล 2557

[แก้]

ปี 2557 สโมสรภายใต้การคุมทีมของมะซะฮิโระ วะดะ จบฤดูกาลในตำแหน่งรองชนะเลิศทั้งรายการไทยพรีเมียร์ลีกและรายการไทยคมเอฟเอคัพ โดยพ่ายให้กับบางกอกกล๊าส 1-0 ภายหลังมะซะฮิโระ วะดะ ประกาศลาออกจากตำแหน่งผู้จัดการทีม มติผู้บริหารตัดสินใจดึง จเด็จ มีลาภ กลับมาคุมทีมอีกครั้ง

ฤดูกาล 2558

[แก้]

ปี 2558 สโมสรที่ได้จเด็จ มีลาภ กลับมาคุมทีมอีกครั้ง พาทีมจบฤดูกาลในอันดับที่สี่ แต่ได้สิทธิในการเข้าร่วมรายการเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกในรอบเพลย์ออฟ รอบสองแทน สโมสรฟุตบอลสุพรรณบุรี ที่ขาดคุณสมบัติเข้าร่วมรายการนี้เนื่องจากติดปัญหาเรื่องคลับไลเซนซิ่ง โดยหลังจบนัดสุดท้ายของฤดูกาลที่ชลบุรีเปิดบ้านพ่ายให้กับ สโมสรฟุตบอลสระบุรี 0-3 จเด็จ มีลาภ ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งผู้จัดการทีมทันที

ยุคปัจจุบัน

[แก้]
ผู้เล่นชลบุรีในนัดที่ออกไปเยือนเมืองทอง ยูไนเต็ดเมื่อฤดูกาล 2559

สโมสร ได้มีการปรับเปลื่ยนนโยบายการพัฒนาสโมสร โดยเน้นใช้ผู้เล่นเยาวชนของสโมสรมากขึ้น โดยได้เริ่มต้นตั้งแต่ฤดูกาล 2556 โดยส่ง สโมสรพานทอง เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลในระดับ ดิวิชัน 2 โดยนำนักฟุตบอลเยาวชนเข้าร่วม และพัฒนา ต่อยอดสู่สโมสรในอนาคต ต่อมาใน

ฤดูกาล 2559

[แก้]

ฤดูกาล 2559 ได้แต่งตั้ง เทิดศักดิ์ ใจมั่น ขึ้นเป็นผู้จัดการทีมคนใหม่ของสโมสร[13] และพร้อมกับดันนักฟุตบอลเยาวชนของสโมสรขึ้นสู่ ทีมชุดใหญ่ โดยผลงานในปีนี้ จบอันดับที่ 5 แข่ง 31 นัดมี 51 คะแนน

โดยในปีนี้ถือเป็นครั้งแรกที่ไทยลีกแข่งไม่จบฤดูกาล หลังจากสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ประกาศยุติการแข่งขันในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559 หลังจากมีการแข่งขันไปแล้ว 31 เกม เพื่อถวายความอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ฤดูกาล 2560

[แก้]

ใน ฤดูกาล 2560 จบอันดับที่ 7 แข่ง 34 นัดมี 53 คะแนน ทำให้ เทิดศักดิ์ ใจมั่น ประกาศลาออกจากตำแหน่งหลังสิ้นสุดฤดูกาล

ฤดูกาล 2561

[แก้]

ผู้บริหารแต่งตั้ง โกรัน บาร์ยัคทาเรวิช ดำรงตำแหน่งผู้จัดการทีม[14]และแต่งตั้ง เทิดศักดิ์ ใจมั่น ดำรงตำแหน่งผู้ช่วย ต่อมา โกรันได้ลาออกจากตำแหน่ง[15] และได้แต่งตั้ง จักรพันธ์ ปั่นปี ขึ้นเป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนแทน จบที่อันดับ 9 แข่ง 34 นัด มี 46 คะแนน ในฤดูกาลนั้น

ฤดูกาล 2562

[แก้]

ในฤดูกาล 2562 ทีมมีผลงานไม่ค่อยดีนักโดยหลังจากการแข่งขันทั้งสิ้น 13 นัด ทีมตกอยู่ในอันดับ 10 ของตาราง และตกรอบรายการเอฟเอคัพ จักรพันธ์ ปั่นปี จึงตัดสินใจลาออกจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2562 [16] ต่อมาบอร์ดบริหารสโมสรตัดสินใจแต่งตั้งสะสม พบประเสริฐ ขึ้นเป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนแทน[17] สะสม พบประเสริฐ ได้ดึงตัวนักเตะมากประสบการณ์ เช่น ดัสกร ทองเหลา ธีรเทพ วิโนทัย สมปอง สอเหลบ มงคล นามนวด และสินทวีชัย หทัยรัตนกุล กลับมาช่วยประคองนักเตะเยาวชนที่มีอยู่ในทีม และสามารถจบที่อันดับ 7 มี 40 คะแนน ในฤดูกาลนั้น

ฤดูกาล 2563/2564

[แก้]

ชลบุรี เอฟซี ยังมีผลงานไม่ดีต่อเนื่องจากฤดูกาลที่แล้ว โดยแข่งไปทั้งสิ้น 30 นัด มี 32 คะแนน จบอันดับที่ 12 ของฤดูกาล แต่สามารถเข้าไปถึงนัดชิงชนะเลิศรายการเอฟเอคัพ ได้สำเร็จ และจบด้วยการเป็นรองแชมป์

ฤดูกาล 2564/2565

[แก้]

ชลบุรี เอฟซี เริ่มต้นฤดูกาลได้ดีในเลกแรก แข่งไป 15 นัด มี 28 คะแนน เป็นอันดับ 3 ในเลกแรก ทว่าหลังจบเลกแรกสโมสรมีความจำเป็นต้องขาย วรชิต กนิตศรีบำเพ็ญ ไป บีจี ปทุมยู ไนเต็ด เพื่อพยุงสภาพคล่องทางการเงินของสโมสรจากผลกระทบจากวิกฤติไวรัสโควิด-19[18] และการบาดเจ็บของเดนนิส มูริลลู กองหน้าคนสำคัญ[19] ทำให้ในครึ่งฤดูกาลหลังผลการแข่งขันจึงตกลงเมื่อเทียบกับเลกแรก แต่ยู บย็อง-ซู ก็มีฟอร์มการเล่นที่ดีขึ้น[20] สามารถประคองทีมจบฤดูกาลในอันดับที่ 7 ในส่วนของบอลถ้วยสามารถเข้าถึงรอบรองชนะเลิศรายการไทยลีกคัพ[21]

ฤดูกาล 2566/2567

[แก้]

เมื่อจบฤดูกาลนี้ ชลบุรี เอฟซี ต้องตกลงไปแข่งในไทยลีก 2 เป็นครั้งแรกในรอบ 18 ปีนับตั้งแต่สโมสรได้เลื่อนชั้นขึ้นมาเล่นในไทยลีกตั้งแต่ฤดูกาล 2549[22]

สัญลักษณ์สโมสร

[แก้]

ในวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ณ สนามชลบุรีสเตเดียม สโมสรฟุตบอลชลบุรีได้จัดพิธีเปิดตัวสัญลักษณ์สโมสรใหม่ ทดแทนสัญลักษณ์แบบเดิมที่ใช้งานมายาวนานนับสิบปี ทั้งนี้นายวิทยา คุณปลื้ม ประธานสโมสร ได้กล่าวถึงสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ว่าต้องการปรับปรุงภาพลักษณ์ของสโมสรให้มีความเป็นมืออาชีพพร้อมเข้าสู่การแข่งขันในระดับนานาชาติ จึงต้องมีการพัฒนาสัญลักษณ์สโมสรให้มีความเป็นสากลและมีเอกลักษณ์ของตัวเอง[23]

สถิติ

[แก้]

ผลงานของสโมสรในแต่ละฤดูกาล

[แก้]
ฤดูกาล ลีก[24] เอฟเอคัพ ลีกคัพ ควีนสคัพ ถ้วยพระราชทาน ก การแข่งขันระดับเอเชีย ผู้ทำประตูสูงสุด
ระดับลีก แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย แต้ม อันดับ เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก เอเอฟซีคัพ ชื่อ ประตู
2543/44 โปรลีก 22 13 5 4 30 16 44 อันดับ 3
2545 โปรลีก 10 4 5 1 15 7 17 อันดับ 2
(สาย เอ)
 –  –  –  –  –  – นิกร อนุวรรณ 10
10 5 3 2 17 12 18 รองชนะเลิศ
2546 โปรลีก 22 12 5 5 62 30 32 อันดับ 3  –  –  –  –  –  – วีระพงษ์ ศรีเพชร 20
2547 โปรลีก 18 5 6 7 26 26 21 อันดับ 7  –  –  –  –  –  – วีระพงษ์ ศรีเพชร 6
2548 โปรลีก 22 16 3 3 57 19 51 ชนะเลิศ  –  –  –  –  –  – พิภพ อ่อนโม้ 14
2549 ไทยลีก 22 5 12 5 29 28 27 อันดับ 8  –  –  –  –  –  – พิภพ อ่อนโม้ 7
2550 ไทยลีก 30 19 6 5 50 25 63 ชนะเลิศ  –  –  –  –  –  – พิภพ อ่อนโม้ 16
2551 ไทยลีก 30 15 14 1 34 14 59 รองชนะเลิศ  –  –  – ชนะเลิศ แบ่งกลุ่ม  – พิภพ อ่อนโม้ 5
2552 ไทยลีก 30 18 8 4 50 30 62 รองชนะเลิศ รอบ 16 ทีม รอบรองชนะเลิศ ชนะเลิศ ก่อนรองชนะเลิศ โคเน่ โมฮัมเหม็ด 14
2553 ไทยลีก 30 17 9 4 57 28 60 อันดับ 3 ชนะเลิศ รอบ 2 รอบรองชนะเลิศ พิภพ อ่อนโม้ 10
2554 ไทยลีก 34 20 9 5 58 29 69 รองชนะเลิศ รอบ 5 รอบรองชนะเลิศ ยกเลิกการแข่งขัน ชนะเลิศ ก่อนรองชนะเลิศ พิภพ อ่อนโม้ 15
2555 ไทยลีก 34 21 7 6 65 33 70 รองชนะเลิศ รอบ 3 ก่อนรองชนะเลิศ ชนะเลิศ รอบรองชนะเลิศ พิภพ อ่อนโม้ 14
2556 ไทยลีก 32 18 8 6 61 35 62 อันดับ 3 รอบ 3 ก่อนรองชนะเลิศ - - - ตีอากู คุนญา 13
2557 ไทยลีก 38 21 13 4 62 33 76 รองชนะเลิศ รองชนะเลิศ รอบ 16 ทีมสุดท้าย - - - ตีอากู คุนญา 20
2558 ไทยลีก 34 15 12 7 62 44 57 อันดับ 4 รอบ 8 ทีมสุดท้าย รอบ 16 ทีมสุดท้าย - รอบเพลย์ออฟ - ตีอากู คุนญา 17
2559 ไทยลีก 31 14 9 8 52 33 51 อันดับ 5 ชนะเลิศ รอบ 16 ทีมสุดท้าย - รอบเพลย์ออฟ - โรดรีกู แวร์จีลีอู 15
2560 ไทยลีก 34 15 8 11 59 59 53 อันดับ 7 รอบแรก รอบ 16 ทีมสุดท้าย - - - เรนัน มาร์เกวซ 27
2561 ไทยลีก 34 13 7 14 45 53 46 อันดับ 9 รอบ 8 ทีมสุดท้าย รอบ 8 ทีมสุดท้าย - - - วรชิต กนิตศรีบำเพ็ญ 12
2562 ไทยลีก 30 11 7 12 43 45 40 อันดับ 7 รอบ 64 ทีมสุดท้าย รอบ 32 ทีมสุดท้าย ลูเคียน อาราอูโฌ จี อัลเมดา 11
2563–64 ไทยลีก 30 9 5 16 30 46 32 อันดับ 12 รองชนะเลิศ ยกเลิกการแข่งขัน ไคอง 6
2564–65 ไทยลีก 30 12 8 10 50 40 44 อันดับ 7 รอบ 32 ทีมสุดท้าย รอบรองชนะเลิศ ยู บย็อง-ซู 12
2565–66 ไทยลีก 30 13 4 13 46 38 43 อันดับ 6 รอบ 64 ทีมสุดท้าย รอบ 32 ทีมสุดท้าย ดานีลู อัลวิส 14
2566–67 ไทยลีก 30 7 9 14 33 52 30 อันดับ 14 รอบก่อนรองชนะเลิศ รอบ 16 ทีมสุดท้าย วีลียัง ลีรา 15
2567–68 ไทยลีก 2
ชนะเลิศ รองชนะเลิศ เลื่อนชั้น ตกชั้น

ผลงานระดับทวีป

[แก้]
ฤดูกาล การแข่งขัน รอบ คู่แข่ง เหย้า เยือน รวม
2551 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก รอบแบ่งกลุ่ม ญี่ปุ่น กัมบะ โอซากะ 0–2 1–1 อันดับที่ 4
ออสเตรเลีย เมลเบิร์นวิกตอรี 3–1 1–3
เกาหลีใต้ ช็อนนัมดรากอนส์ 2–2 0–1
2552 เอเอฟซีคัพ รอบแบ่งกลุ่ม ฮ่องกง อีสเทิร์น 4–1 1–2 อันดับที่ 1
มาเลเซีย เกดะห์ 3–1 1–0
เวียดนาม ฮานอย เอซีบี 6–0 2–0
รอบ 16 ทีมสุดท้าย อินโดนีเซีย เปเอ็ซเอ็มเอ็ซ เมดัน 4–0
รอบก่อนรองชนะเลิศ เวียดนาม บิ่ญเซือง 2–2 0–2 2–4
2554 เอเอฟซีคัพ รอบแบ่งกลุ่ม อินเดีย อีสต์เบงกอล 4–0 4–4 อันดับที่ 1
ฮ่องกง เซาท์ไชนา 3–0 3–0
อินโดนีเซีย เปอร์ซิจายาปูรา 4–1 0–3
รอบ 16 ทีมสุดท้าย อินโดนีเซีย ศรีวิชัย 3–0
รอบก่อนรองชนะเลิศ อุซเบกิสถาน นาซาฟการ์ชี 0–1 1–0
(ต่อเวลา)
1–1
(3–4 ลูกโทษ)
2555 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก รอบคัดเลือกเพลย์ออฟ เกาหลีใต้ โปฮัง สตีลเลอร์ส 0–2
เอเอฟซีคัพ รอบแบ่งกลุ่ม ประเทศพม่า ย่างกุ้งยูไนเต็ด 1–0 1–1 อันดับที่ 1
สิงคโปร์ โฮม ยูไนเต็ด 1–0 2–1
ฮ่องกง ซิติเซน 2–0 3–3
รอบ 16 ทีมสุดท้าย อิรัก Al-Zawra'a 1–0
รอบก่อนรองชนะเลิศ ซีเรีย Al-Shorta 1–2 4–2
(ต่อเวลา)
5–4
รอบรองชนะเลิศ อิรัก Arbil 1–4 1–4 2–8
2557 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก รอบคัดเลือกรอบ 2 ฮ่องกง เซาท์ไชนา 3–0
รอบคัดเลือกรอบ 3 จีน เป่ย์จิงกั๋วอัน 0–4
2558 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก รอบคัดเลือกรอบ 2 ฮ่องกง คิตฉี 4–1
รอบเพลย์ออฟ ญี่ปุ่น คาชิวะ เรย์โซล 2–3
(ต่อเวลา)
2559 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก รอบคัดเลือกรอบ 2 ประเทศพม่า ย่างกุ้งยูไนเต็ด 3–2
(ต่อเวลา)
รอบเพลย์ออฟ ญี่ปุ่น เอฟซี โตเกียว 0–9

ผู้เล่น

[แก้]

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
3 DF ไทย ฉัตรมงคล เรืองฐณโรจน์
4 DF ไทย กิตติพงษ์ แสนสนิท
5 DF อังกฤษ ชาร์ลี คลัฟ (ยืมจาก การท่าเรือ)
6 DF ไทย ทรงชัย ทองฉ่ำ
8 FW ไทย ยศกร บูรพา
9 FW มาเลเซีย เฟอร์กัส เทียร์นีย์
10 MF ไทย ชาญณรงค์ พรมศรีแก้ว (กัปตันทีม)
11 FW ไทย ปฏิพัทธ์ คำสัตย์
15 DF ไทย จักรพงษ์ แสนมะฮุง
16 MF เกาหลีใต้ จอน ซัน-แฮ
18 MF ไทย สันติภาพ ราษฎร์นิยม
19 DF ไทย กษิดิศ กาฬสินธุ์
20 MF ไทย สุขสันต์ บุญตา
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
22 GK ไทย ชมพัฒน์ บุญเลิศ
26 MF ไทย ธีรภัทร แก้วผึ่ง
32 DF ไทย รชต หมอรักษา
33 FW บราซิล แดร์เลย์
46 GK ไทย นพคุณ ขัดตุ่น
51 DF ไทย เนติพงษ์ แสนมะฮุง
81 FW โกตดิวัวร์ อามาดู วาตารา
86 DF ไทย ปริญญา หนูสง
87 GK ไทย ธนวัตน์ แป้นทอง
91 DF ไทย พงศกร ตรีสาตร์
93 MF ไทย สิรภพ วันดี
97 FW ไทย เริงชัย เกษฎา
98 MF ไทย ณภัทร ชุมปัญญา

หมายเหตุ: สโมสรยกเลิกหมายเลข 12 ให้เป็นตัวแทนของกองเชียร์

ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว

[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
27 FW ไทย เสฏฐวุฒิ วงค์สาย (ไป แพร่ ยูไนเต็ด จนจบฤดูกาล)
30 GK ไทย ชาคร พิลาคลัง (ไป นครศรีฯ ยูไนเต็ด จนจบฤดูกาล)
65 DF ไทย บุคฆอรี เหล็มดี (ไป เชียงใหม่ ยูไนเต็ด จนจบฤดูกาล)
82 DF ไทย ธนชัย นาถธนกุล (ไป ฉะเชิงเทรา ไฮ-เทค จนจบฤดูกาล)
FW ไทย วรากร ทองใบ (ไป ตราด จนจบฤดูกาล)
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
DF ไทย เตวิช ณรงค์เปลี่ยน (ไป สอ.รฝ. จนจบฤดูกาล)
DF ไทย นนทการ ศรีมงคล (ไป สอ.รฝ. จนจบฤดูกาล)
FW ไทย อธิป แก้วแจ้ง (ไป สอ.รฝ. จนจบฤดูกาล)
GK ไทย วิสรรค์ ผ่อนเสาร์น้อย (ไป สอ.รฝ. จนจบฤดูกาล)
FW ไทย ภูเก็ต เฟื่องคร (ไป นรา ยูไนเต็ด จนจบฤดูกาล)

ผู้เล่นชุด U-23

[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
3 DF ไทย ฉัตรมงคล เรืองฐณโรจน์
6 DF ไทย ทรงชัย ทองฉ่ำ
8 FW ไทย ยศกร บูรพา
10 MF ไทย ชาญณรงค์ พรมศรีแก้ว (กัปตันทีม)
15 DF ไทย จักรพงษ์ แสนมะฮุง
19 DF ไทย กษิดิศ กาฬสินธุ์
20 MF ไทย สุขสันต์ บุญตา
22 GK ไทย ชมพัฒน์ บุญเลิศ
52 MF ไทย พรรษกร อ่อนโม้
72 DF ไทย อัษราภัค อดิษภาส
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
73 MF ไทย อภิวิชญ์ ละออไขย์
79 FW ไทย สิรวิชญ์ เบ็ญจมาศ
86 DF ไทย ปริญญา หนูสง
87 GK ไทย ธนวัตน์ แป้นทอง
89 DF ไทย จิรพงศ์ แช่มสกุล
91 DF ไทย พงศกร ตรีสาตร์
93 MF ไทย สิรภพ วันดี
94 MF ไทย ยศกร นาถสิทธิ์
97 FW ไทย เริงชัย เกษฎา
98 MF ไทย ณภัทร ชุมปัญญา

ทีมงานประจำสโมสร

[แก้]

ฝ่ายบริหาร & ฝ่ายเจ้าหน้าที่ทีมและเทคนิค

[แก้]
ตำแหน่ง ชื่อ
ประธานสโมสร วิทยา คุณปลื้ม
รองประธานสโมสร อรรณพ สิงห์โตทอง
ผู้อำนวยการฝ่ายต่างประเทศ ธนศักดิ์ สุระประเสริฐ
ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและประชาสัมพันธ์ จีระศักดิ์ โจมทอง
ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ พาทิศ สุภะพงศ์
ผู้อำนวยการฝ่ายสนับสนุนสโมสร อัตสึโอะ โอกุระ
เลขานุการสโมสร ธิติกร อาจวาริน
ผู้จัดการทีม สินทวีชัย หทัยรัตนกุล
ประธานฝ่ายพัฒนาเทคนิค วิทยา เลาหกุล
หัวหน้าผู้ฝึกสอน พิภพ อ่อนโม้
ผู้ช่วยผู้ฝีกสอน ฮิโรฟูมิ โยชิทาเกะ
ณัฐวุฒิ วิจิตรเวชการ
ผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู บุญคง อรรคบุตร
ผู้ฝึกสอนฟิตเนส อี ชางยาบ
เจ้าหน้าที่ฟิตเนสเทรนนิ่ง จีฮุน ชุน
แพทย์ประจำสโมสร นายแพทย์รุ่งรัฐ จิตตการ
เจ้าหน้าที่บันทึกสถิติและวิเคราะห์เกม & ผู้บันทึกสถิติและวิเคราะห์ มิซึโอะ คาโตะ
หัวหน้ามีเดียประจำทีม ณัฐวุฒิ ข่อยแก้ว

หัวหน้าผู้ฝึกสอน

[แก้]

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 ถึงปัจจุบัน

ปี ชื่อ เกียรติประวัติ
2544 ไทย สมภพ สุขสมบัติ
2545 – 2546 ไทย จเด็จ มีลาภ
2547 – 2549 ไทย วิทยา เลาหกุล ชนะเลิศ โปรลีก 2548
2550 – 2551 ไทย จเด็จ มีลาภ ชนะเลิศ ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก 2550, ชนะเลิศ ถ้วย ก. ครั้งที่ 73
2552 ไทย เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง ชนะเลิศ ถ้วย ก. ครั้งที่ 74, รองชนะเลิศ ไทยพรีเมียร์ลีก 2552
2553 – 2554 ไทย จเด็จ มีลาภ ชนะเลิศ เอฟเอคัพ 2553, ชนะเลิศ ถ้วย ก. ครั้งที่ 76
2554 – 2556 ไทย วิทยา เลาหกุล รองชนะเลิศ ไทยพรีเมียร์ลีก 2554, ไทยพรีเมียร์ลีก 2555, ชนะเลิศ ถ้วย ก. ครั้งที่ 77
2557 ญี่ปุ่น มะซะฮิโระ วะดะ รองชนะเลิศ ไทยพรีเมียร์ลีก 2557, รองชนะเลิศ เอฟเอคัพ 2557
2558 ไทย จเด็จ มีลาภ
2559 – 2560 ไทย เทิดศักดิ์ ใจมั่น
2561 – 2562 ไทย จักรพันธ์ ปั่นปี
2562 – 2566 ไทย สะสม พบประเสริฐ รองชนะเลิศ เอฟเอคัพ 2563–64
2566 ไทย อดุล หละโสะ
2566 ญี่ปุ่น มาโกโตะ เทงูราโมริ
2566 ไทย ณัฐวุฒิ วิจิตรเวชการ (รักษาการ)
2566 – 2567 ไทย วิทยา เลาหกุล
2567 – ไทย พิภพ อ่อนโม้

เกียรติประวัติ

[แก้]

ลีก

[แก้]

ถ้วย

[แก้]

สโมสรพันธมิตร

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "เกี่ยวกับสโมสร". chonburifootballclub.com. สโมสรฟุตบอลชลบุรีเอฟซี. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-07.
  2. https://www.youtube.com/watch?v=kM84iSqpnPA ย้อนรอย 'กว่าจะเป็นฉลามชล' 1 - ชลบุรี เอฟซี
  3. http://www.thailandsusu.com/webboard/index.php?topic=31143.0;wap2 เก็บถาวร 2021-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ทำไมต้องเป็น ชลบุรี สันนิบาตร สมุทรปราการ - ไทยแลนด์สู้ๆ
  4. ชลบุรีพร้อมจดทะเบียน-แจงข่าวร้ายปล่อยฟาเบียโน่. www.siamsport.co.th (เรียกข้อมูล 18 เม.ย. 2551.)
  5. Intriguing battles in AFC Cup 2009 เก็บถาวร 2023-04-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จาก www.the-afc.com สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2552
  6. Chonburi 4-0 PSMS Medan เก็บถาวร 2023-04-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จาก www.the-afc.com สืบค้นเมื่อ 24 มิถุนายน 2552
  7. AFC Cup - Schedule-Results จาก www.the-afc.com สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2554
  8. ชลบุรี เอฟซี' จับมือ 'ไนกี้" เปิดตัวชุดแข่งใหม่สุดอลังการ จากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2555
  9. "พิภพฮีโร่ ชลบุรีเฉือนอัลซาวร่า 1-0 ลิ่วแปดทีมเอเอฟซีคัพ
  10. "ฉลามชลเซ็ง อัลชอร์ต้าบุกเฉือน 2 - 1 ลุ้นรอบสองเอเอฟซีคัพ
  11. "คุนญ่าแฮตทริกฉลามชลบุกดับอัลชอร์ต้า 4 - 2 หลังต่อเวลา ลิ่วตัดเชือก
  12. นายใหญ่ ต้อนรับ วาดะ กุนซือใหม่ ฉลามชล เซ็น 1 ปี เก็บถาวร 2013-12-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน chonburifootballclub.com. สโมสรฟุตบอลชลบุรีเอฟซี. สืบค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2556
  13. ฉลามชล ประกาศ ตั้ง เทิดศักดิ์ นั่งแท่น ผจก.ทีม เก็บถาวร 2016-02-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน chonburifootballclub.com. สโมสรฟุตบอลชลบุรีเอฟซี. สืบค้นเมื่อ 21 ธันวาคม 2558
  14. 'ฉลามชล' แต่งตั้งกุนซือชาวเยอรมัน กุมบังเหียนคนใหม่ จากเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันที่ 5 มกราคม 2561
  15. "เหตุผลส่วนตัว!ชลบุรีแถลงแยกทางโกรัน | Goal.com". www.goal.com.
  16. แสดงสปิริต! “โค้ชโบ้” ประกาศลาออกจากกุนซือใหญ่ “ฉลามชล”
  17. "โค้ชเตี้ย" สะสม พบประเสริฐ คุมทัพ "ฉลามชล"
  18. ""ฉลาม" แจงขาย "วรชิต" ซบ "บีจี" จากวิกฤติโควิด". mgronline.com. 2021-12-01.
  19. ""มูริลโล่"โร่ขอโทษแฟนหลังบาดเจ็บชวดช่วยทีมลงสนาม". www.siamsport.co.th. 2022-02-19.
  20. ""ยู บยอง ซู" สุดตื้นตัน ซึ้งน้ำใจแฟนชลบุรีมีส่วนช่วยเรียกฟอร์มเก่ง". www.thairath.co.th. 2022-02-03.
  21. "ต่อพิฆาตลุ้นป้องกันแชมป์! ประจวบหั่นชลบุรีหวิว ลิ่วชิงฯลีกคัพ". www.siamsport.co.th. 2022-05-25.
  22. "เมืองทอง ดุรัวครึ่งโหล ส่ง ชลบุรี ตกชั้น". www.siamsport.co.th. 2022-05-25.
  23. "ชลบุรีเผยโฉมโลโก้ใหม่"ฉลามแนวโหด" | Goal.com". www.goal.com.
  24. King, Ian; Schöggl, Hans & Stokkermans, Karel (20 มีนาคม 2014). "Thailand – List of Champions". RSSSF. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 July 2014. สืบค้นเมื่อ 29 October 2014. Select link to season required from chronological list.
  25. ตารางสรุปคะแนนไทยแลนด์ พรีเมียร์ลีก 2007 เก็บถาวร 2009-03-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°21′53″N 100°58′36″E / 13.364621°N 100.976651°E / 13.364621; 100.976651