ข้ามไปเนื้อหา

สโมสรฟุตบอลระยอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ระยอง เอฟซี
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลจังหวัดระยอง
ฉายาม้านิลมังกร
ก่อตั้งพ.ศ. 2552
สนามดับบลิวเอชเอระยอง สเตเดียม
ความจุ7,500 ที่นั่ง
ประธานสาธิต ปิตุเตชะ
ผู้จัดการพศิน ปิตุเตชะ
ชัยยง พะเนียงทอง[1]
ผู้ฝึกสอนการ์ลุส เอดูวาร์ดู ปาร์เรย์รา
ลีกไทยลีก
2566–67ไทยลีก 2, อันดับที่ 3 (ชนะเพลย์ออฟ เลื่อนชั้น) เพิ่มขึ้น
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม

สโมสรฟุตบอลระยอง หรือ ระยอง เอฟซี เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย โดยเป็นทีมจากจังหวัดระยอง ปัจจุบันลงแข่งในระดับไทยลีก1

ประวัติสโมสร

[แก้]

สโมสรฟุตบอลจังหวัดระยอง เริ่มก่อตั้งและส่งทีมเข้าแข่งขันครั้งแรกในปี 2552 ในนามของสมาคมกีฬาจังหวัดระยอง และทำผลงานโดยคว้าอันดับ 6 ของตารางในโซนภาคกลางและตะวันออก ต่อมาในปี 2553 ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในนามของทีมระยอง เอฟซี โดย มี ส.จ. เดชา บุญธรรม เป็นผู้จัดการทีม และได้เฮดโค้ชมากฝีมืออย่าง "โค้ชโม" อภิชาต โมสิกะ เข้ามารับหน้าที่เป็นกุนซือของทีม โดยงบประมาณในการทำทีมระยอง เอฟซี มีประมาณ 3 ล้านบาท โดยได้รับการสนับสนุนจาก อบจ. จังหวัดระยอง และทีมงานผู้บริหารทีม โรงงานยูบี ส่วนชุดแข่งขันและชุดฝึกซ้อมได้รับการสนับสนุนจาก เอฟบีที เป็นจำนวนเงินประมาณ 1 ล้านบาท

การแข่งขันฟุตบอลเอไอเอส ลีกภูมิภาค ปี 2558 สโมสรฟุตบอลระยอง จากการทำทีมของ "โค้ชชู" ชูศักดิ์ ศรีภูมิ สามารถสร้างประวัติศาสตร์ให้แก่ทีมระยอง เอฟซี คือ ครองแชมป์โซนภาคกลางตะวันออกได้เป็นครั้งแรก และเป็นทีมแรกของประเทศที่ได้เข้าสู่รอบแชมป์เปี้ยนส์ลีก ทั้งที่ยังเหลือการแข่งขันถึง 5 นัด

ในการแข่งขันไทยลีก 2 ฤดูกาล 2562 ระยองจบอันดับที่ 3 ของตาราง ส่งผลให้สโมสรได้เลื่อนชั้นสู่ฤดูกาล 2563–64 ซึ่งนับเป็นการเลื่อนชั้นสู่ลีกสูงสุดครั้งแรกของสโมสร อย่างไรก็ตามสโมสรตกชั้นสู่ไทยลีก 2 ฤดูกาล 2564–65 หลังจากที่ลงเล่นบนลีกสูงสุดได้เพียงฤดูกาลเดียว

การแข่งขันไทยลีก 2 ฤดูกาล 2566-67 ระยองเอฟซีได้เลื่อนชั้นสู่ ไทยลีก 1 อีกครั้งในรอบ 2 ปี โดยระยองเอฟซี ทีมอันดับ 3 ในฤดูกาลดังกล่าว ได้สิทธิ์เพลย์ออฟกับนครศรีเอฟซี สกอร์รวม 2 นัด เสมอ 1-1 ทำให้ระยองเอาชนะไปด้วยกฏ Away Goal และเป็นทีมที่ 3 ใน ไทยลีก 2 ฤดูกาล 2566-67 ที่ได้เลื่อนชั้นไปเล่น ไทยลีก ฤดูกาล 2024/25 ต่อจาก นครราชสีมา มาสด้า เอฟซี และ หนองบัว พิชญ เอฟซี[2]

ผู้เล่น

[แก้]

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK ไทย กรกฎ พิพัฒน์นัดดา (ยืมตัวจาก เมืองทอง ยูไนเต็ด)
2 DF ไทย ณภัทร จารุภัทรภักดี
3 DF ไทย ยอดรัก นาเมืองรักษ์
4 DF ญี่ปุ่น ฮิโรมิจิ คาตาโนะ
5 DF ไทย วสุศิวกิจ ภูสีฤทธิ์ (กัปตันทีม)
6 MF ประเทศพม่า ลวีนโมออง
8 MF ไทย จักรี ปันคำ
9 FW บราซิล สเตนีอู ฌูนีโยร์
10 FW ไทย เจษฎา บาทชารี
11 FW บราซิล พีรพัฒน์ ขมิ้นทอง
12 DF ฟิลิปปินส์ อมานี อกินัลโด
16 MF ไทย อุเทน สมานไทย
17 FW ไทย เจษฎากร น้อยศรี
18 GK ไทย ทัตพิชา อักษรศรี
21 MF สเปน ดาบิด คูเอร์บา
22 DF ไทย เอกชัย สำเร
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
23 DF ไทย พงศกร ตาคำ
24 MF ไทย ศิวกร แสงวงศ์
25 DF ไทย ณัฐวัฒน์ โทบ้านซ้ง (ยืมตัวจาก เมืองทอง ยูไนเต็ด)
26 GK ไทย ณภัทร ดำฤทธิ์
28 FW บราซิล ดิเอโก ซิลวา
29 FW ไทย อาทิตย์ บุตรจินดา (ยืมตัวจาก บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด)
30 GK ไทย วิชญะ แก่นทอง
36 FW รัฐปาเลสไตน์ ยะชิร อิสละมี
39 MF ไทย เรืองยศ จันชัยชิต
41 MF ญี่ปุ่น เรียวมะ อิโตะ
44 DF ไทย เฉลิมพงษ์ เกิดแก้ว
45 DF ไทย กริน พูลสนอง
48 MF ไทย กนกพล ปุษปาคม (ยืมตัวจาก บีจี ปทุม ยูไนเต็ด)
55 DF ไทย สุวัฒน์ จันทร์บุญภา
64 MF ไทย อภิวัฒน์ หารใจ
66 MF ไทย เทพพิทักษ์ พูลจวง

ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว

[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น

ผลงานของสโมสรในแต่ละฤดูกาล

[แก้]
ฤดูกาล ลีก เอฟเอคัพ ลีกคัพ ผู้ทำประตูสูงสุด
ระดับ แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย คะแนน อันดับ ชื่อ ประตู
2562 ไทยลีก 2 34 18 7 9 70 59 61 อันดับ 3 รอบ 16 ทีมสุดท้าย รอบ 32 ทีมสุดท้าย บราซิล ติอากู ชูลาปา 19
2563–64 ไทยลีก 30 4 3 23 24 69 15 อันดับ 16 รอบ 32 ทีมสุดท้าย งดจัดการแข่งขัน ญี่ปุ่น โกชิ โอกูโบะ
บราซิล อเดลกีโซ่ พิตบูล
5
2564–65 ไทยลีก 2 34 13 7 14 45 41 46 อันดับ 9 รอบ 64 ทีมสุดท้าย รอบ 32 ทีมสุดท้าย สเปน ดาบิด คูเอร์บา 11
2565–66 ไทยลีก 2 34 14 10 10 41 10 52 อันดับ 7 รอบคัดเลือก รอบ 32 ทีมสุดท้าย บราซิล ติอากู ชูลาปา 12
2566–67 ไทยลีก 2 34 16 12 6 62 34 60 อันดับ 3 รอบ 32 ทีมสุดท้าย รอบเพลย์ออฟ บราซิล ติอากู ชูลาปา 22
2567–68 ไทยลีก
ชนะเลิศ รองชนะเลิศ อันดับที่สาม เลื่อนชั้น ตกชั้น

ทีมงานสตาฟประจำสโมสร

[แก้]
ตำแหน่ง สตาฟ
ประธานสโมสร ไทย สาธิต ปิตุเตชะ
ประธานที่ปรึกษาฝ่ายบัญชี ไทย รัฎติยา ปิตุเตชะ
ผู้จัดการทีม ไทย พศิน ปิตุเตชะ
ไทย ชัยยง พะเนียงทอง
ผู้ช่วยผู้จัดการทีม ไทย บูเบธ ศุภพิพัฒน์
หัวหน้าผู้ฝีกสอน บราซิล การ์ลุส เอดูวาร์ดู ปาร์เรย์รา
ผู้ช่วยผู้ฝีกสอน ไทย ประสิทธิ์ เทาดี
ไทย บุญธรรม ศรีสมบัติ
ผู้ฝีกสอนผู้รักษาประตู ไทย
มีเดีย ไทย ชลณรงค์ เอี่ยมสำอางค์
ผู้อำนวยการอะเคเดมี่ ไทย สารทูล สิงห์นันท์
หัวหน้าผู้ฝีกสอน ยู-14 ไทย เจษฏา ทองใหม่
หัวหน้าผู้ฝีกสอน ยู-16 ไทย ณฐพล เรือนทองดี
หัวหน้าผู้ฝีกสอน ยู-18 ไทย ศรัณย์กร ผ่องพันธุ์

รายชื่อหัวหน้าผู้ฝึกสอน

[แก้]

รายชื่อหัวหน้าผู้ฝึกสอน (พ.ศ. 2561 – ปัจจุบัน)

ชื่อ-สกุล สัญชาติ ช่วงเวลา เกียรติประวัติ
ทรงยศ กลิ่นศรีสุข ไทย 2561
ชูศักดิ์ ศรีภูมิ ไทย 2562 – กุมภาพันธ์ 2563 อันดับที่ 3 ไทยลีก 2 ฤดูกาล 2562 (เลื่อนชั้นสู่ไทยลีก ฤดูกาล 2563–64)
อาร์ตูร์ แบร์นาร์เดส บราซิล มีนาคม – ตุลาคม 2563
มาซามิ ทากิ ญี่ปุ่น พฤศจิกายน 2563 – มีนาคม 2564
ซูงาโอะ คัมเบะ ญี่ปุ่น เมษายน – ธันวาคม 2564
มาซามิ ทากิ ญี่ปุ่น ธันวาคม 2564 – พฤษภาคม 2565
ทรงยศ กลิ่นศรีสุข ไทย มิถุนายน – ตุลาคม 2565
ชูศักดิ์ ศรีภูมิ ไทย พฤศจิกายน 2565 – พฤษภาคม 2566
เทิดศักดิ์ ใจมั่น ไทย กรกฎาคม – ธันวาคม 2566
พิภพ อ่อนโม้ ไทย ธันวาคม 2566 – พฤษภาคม 2567 อันดับที่ 3 ไทยลีก 2 ฤดูกาล 2566–67 (ชนะเพลย์ออฟ เลื่อนชั้นสู่ไทยลีก ฤดูกาล 2567–68)
การ์ลุส เอดูวาร์ดู ปาร์เรย์รา บราซิล มิฤนายน 2567 –

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]