ธีรเทพ วิโนทัย
![]() ธีรเทพ สมัยที่เล่นให้กับแบงค็อก ยูไนเต็ด | ||||||||||||||||||||||
ข้อมูลส่วนตัว | ||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ชื่อเต็ม | ธีรเทพ วิโนทัย | |||||||||||||||||||||
วันเกิด | 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1985 | |||||||||||||||||||||
สถานที่เกิด | กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย | |||||||||||||||||||||
ส่วนสูง | 1.71 เมตร (5 ฟุต 7 นิ้ว) | |||||||||||||||||||||
ตำแหน่ง | กองหน้า, ปีก | |||||||||||||||||||||
สโมสรเยาวชน | ||||||||||||||||||||||
2001–2002 | โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย | |||||||||||||||||||||
2002–2004 | คริสตัลพาเลซ | |||||||||||||||||||||
2005–2006 | เอฟเวอร์ตัน | |||||||||||||||||||||
สโมสรอาชีพ* | ||||||||||||||||||||||
ปี | ทีม | ลงเล่น | (ประตู) | |||||||||||||||||||
2006–2008 | บีอีซี เทโรศาสน | 65 | (22) | |||||||||||||||||||
2009–2010 | เลียร์เซอ | 6 | (3) | |||||||||||||||||||
2009–2010 | → เมืองทอง ยูไนเต็ด (ยืมตัว) | 23 | (4) | |||||||||||||||||||
2010 | → บีอีซี เทโรศาสน (ยืมตัว) | 8 | (3) | |||||||||||||||||||
2011 | บีอีซี เทโรศาสน | 15 | (9) | |||||||||||||||||||
2012–2014 | บางกอกกล๊าส | 69 | (19) | |||||||||||||||||||
2014–2016 | เพื่อนตำรวจ | 43 | (11) | |||||||||||||||||||
2016–2019 | แบงค็อก ยูไนเต็ด | 82 | (23) | |||||||||||||||||||
2019 | → ชลบุรี (ยืมตัว) | 13 | (2) | |||||||||||||||||||
2020–2022 | ชลบุรี | 11 | (0) | |||||||||||||||||||
2020–2022 | → โปลิศ เทโร (ยืมตัว) | 41 | (5) | |||||||||||||||||||
2022 | โปลิศ เทโร | 11 | (1) | |||||||||||||||||||
ทีมชาติ‡ | ||||||||||||||||||||||
1998–2001 | ไทย อายุไม่เกิน 17 ปี | 8 | (0) | |||||||||||||||||||
2001–2004 | ไทย อายุไม่เกิน 20 ปี | 14 | (11) | |||||||||||||||||||
2001–2007 | ไทย อายุไม่เกิน 23 ปี | 16 | (9) | |||||||||||||||||||
2005–2017 | ไทย | 52 | (16) | |||||||||||||||||||
เกียรติประวัติ
| ||||||||||||||||||||||
* นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 2022 ‡ ข้อมูลการลงเล่นและประตูให้แก่ทีมชาติล่าสุด ณ วันที่ 23 ธันวาคม ค.ศ. 2020 |
ธีรเทพ วิโนทัย หรือ ลีซอ (เกิด 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528) อดีตนักฟุตบอลชาวไทย ในตำแหน่งกองหน้า เขาเคยลงเล่นให้กับหลายสโมสรในไทยลีก ได้แก่ เมืองทอง ยูไนเต็ด, บางกอกกล๊าส, เพื่อนตำรวจ, แบงค็อก ยูไนเต็ด, ชลบุรี และ โปลิศ เทโร (รวมถึงในสมัยที่ยังใช้ชื่อสโมสรว่า บีอีซี เทโรศาสน)
ธีรเทพเริ่มโด่งดังและเป็นที่รู้จักจากการลงเล่นฟุตบอลทีมชาติไทย ชุดแชมป์ซีเกมส์ ครั้งที่ 21, 23 และ 24 ส่วนซีเกมส์ครั้งที่ 22 เขาได้เป็นเพียงแค่ตัวสำรอง ในซีเกมส์ครั้งที่ 23 ธีรเทพสามารถทำแฮตทริกได้ในนัดชิงชนะเลิศที่พบกับเวียดนาม ช่วยให้ทีมชาติไทยคว้าเหรียญทองในการแข่งขันซีเกมส์ 8 สมัยซ้อน เขายิงประตูให้กับทีมชาติไทยชุดอายุไม่เกิน 23 ปีในกีฬาซีเกมส์ได้รวมทั้งสิ้น 14 ประตู
ประวัติ
ธีรเทพ เกิดเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 ที่กรุงเทพมหานคร เขาเป็นบุตรของนางพรสมจิต กับนายเทพไชย วิโนทัย ผู้สื่อข่าวกีฬาหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ มีน้องชาย 1 คน ชื่อวัชรเทพ วิโนทัย
เขาจบการศึกษาชั้นอนุบาล ประถมศึกษา และมัธยมศึกษาตอนต้น ที่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย และจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนเบรนต์วูด ประเทศอังกฤษ และจบการศึกษาระดับปริญญาตรีที่คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[1][2]
การเล่นฟุตบอล
เริ่มเล่นฟุตบอลครั้งแรกตั้งแต่อายุ 8 ปี ขณะเรียนอยู่ชั้น ป.3 และมี อาจารย์ทองแดง หรุ่นขำ เป็นผู้สอนฟุตบอลท่านแรก ลงแข่งขันฟุตบอลนักเรียนของกองทัพอากาศ เป็นรายการแรก และได้รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 โดยต่อมาได้นำทีมคว้าแชมป์ นอร์เวย์คัพ 3 สมัยซ้อน
เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 ได้เซ็นสัญญากับทีมชุดเยาวชนสโมสรฟุตบอลคริสตัลพาเลซ ต่อมาในปี พ.ศ. 2547 เซ็นสัญญากับทีมชุดเยาวชนสโมสรฟุตบอลเอฟเวอร์ตัน เป็นนักฟุตบอลเยาวชน 1 ใน 3 คน ที่ได้ร่วมโครงการ "ช้างไทยไปเอฟเวอร์ตัน" โครงการ 1 ประกอบด้วย ธีรเทพ, สมปอง สอเหลบ และ รัตตพล ปิยวุฒิสกุล[3]
บีอีซี เทโรศาสน (1)
ในปี พ.ศ. 2549 ร่วมทีมฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีกครั้งแรกกับทีมสโมสรฟุตบอลบีอีซี เทโรศาสน โดยยิงประตูแรกให้ทีมได้ในเกมส์ไทยพรีเมียร์ลีก ซึ่งเปิดบ้านเอาชนะทีมสโมสรฟุตบอลสุพรรณบุรี 5-0 เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2549 จากนั้นก็เป็นกำลังสำคัญของทีมเรื่อยมา และยิงในลีกได้ 10 ประตูหลังจบฤดูกาล 2550 (ฤดูกาล 2549-2550)
ในปี พ.ศ. 2551 โชว์ฟอร์มโดดเด่นทั้งในทีมชาติและสโมสร โดยยิงประตูในลีกได้ 12 ประตูในฤดูกาลเดียว (ฤดูกาล 2551) ทำให้ทีมสโมสรฟุตบอลเคลีร์เซ จากเบลเยียม แสดงความสนใจในการคว้าตัวไปร่วมทีม
เลียร์เซอ
ในปี พ.ศ. 2551 ได้เซ็นสัญญาร่วมทีมเลียร์เซอ จากลีกดิวิชัน 2 ของประเทศเบลเยี่ยมแบบไม่มีค่าตัว เป็นเวลา 1 ปีครึ่ง เป็นนักเตะไทยคนที่ 2 ที่ได้เล่นในลีกเบลเยี่ยมต่อจากเอกชัย โพนทองถิ่น ที่เคยเล่นกับทีมลียง ซันจี ลุด ทีมระดับดิวิชัน 3 ระหว่างปี พ.ศ. 2535–2537
ในปี พ.ศ. 2552 หลังย้ายมาเล่นในลีกเบลเยี่ยมยิงประตูแรกและประตูเดียวให้ทีมได้ในเกมส์ลีกโดยเปิดบ้านเอาชนะ โอลิมปิก ชาร์เลอรัว 3–1 เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2552 และวันที่ 21 กรกฎาคม 2552 ตัดสินใจย้ายกลับประเทศไทยมาร่วมทีมสโมสรฟุตบอลเมืองทองฯ ยูไนเต็ด ก่อนปิดตลาดซื้อ-ขาย นักเตะเพียง 5 นาที หลังจากที่เขามีโอกาสได้ลงตัวจริงให้ เคลีร์เซ น้อยมาก โดยเป็นสัญญายืมตัว 1 ปีในราคา 2 ล้านบาทเศษ
เมืองทองฯ ยูไนเต็ด
ในปี พ.ศ. 2552 ลีซอยิงประตูแรกในการลงสนามนัดแรกให้ทีมได้ในเกมส์ไทยพรีเมียร์ลีกโดยเปิดบ้านเอาชนะทีมสโมสรฟุตบอลทีโอที 3-0 เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2552 โดยเขาเป็นคนยิงประตูให้ทีมขึ้นนำ 2-0 และยิงในลีกได้ 2 ประตูหลังจบฤดูกาล 2552
ในปี พ.ศ. 2553 ลีซอลงสนามและยิงประตูให้กับทีมได้ในเกมส์ไทยพรีเมียร์ลีก 2 ประตู, ไทยเอฟเอคัพ 2 ประตู, และเอเอฟซีคัพ 2 ประตู แต่ในเลกสองลีซอตัดสินใจย้ายกลับมาร่วมทีมสโมสรฟุตบอลบีอีซี เทโรศาสน หลังจากที่เขามีโอกาสได้ลงตัวจริงให้ทีมเมืองทองฯ ยูไนเต็ดน้อยมาก โดยนัดสุดท้ายที่ลงเล่นให้ทีมสโมสรฟุตบอลเมืองทองฯ ยูไนเต็ด เขาเป็นตัวสำรองและลงสนามใน 10 นาทีสุดท้าย และยิงประตูชัยให้ทีมในนาทีที่ 85 ทำให้เอาชนะทีมสโมสรฟุตบอลการท่าเรือไทย 1-0
บีอีซี เทโรศาสน (2)
ในปี พ.ศ. 2553 กลับมาเล่นให้ทีมสโมสรฟุตบอลบีอีซี เทโรศาสนอีกครั้ง และยิงในลีกได้ 5 ประตูหลังจบฤดูกาล 2553 (สโมสรฟุตบอลเมืองทองฯ ยูไนเต็ด 2 ประตู, สโมสรฟุตบอลบีอีซี เทโรศาสน 3 ประตู)
ในปี พ.ศ. 2554 ได้รับเลือกให้เป็นกัปตันทีมสโมสรฟุตบอลบีอีซี เทโรศาสน ในตอนแรกพาทีมที่ตกไปอันดับที่ 9 ในฤดูกาลที่แล้ว กลับมาทำผลงานได้ดีในฤดูกาลนี้ โดยขึ้นไปสูงสุดอันดับที่ 2 ของตาราง ยิงในลีกไปถึง 3 ประตู แต่ต้องมาประสบปัญหาบาดเจ็บกระดูกหน้าแข้งซ้ายร้าวจนต้องหยุดพักไปหลายนัดในฤดูกาลนี้ และยิงในลีกได้ 6 ประตูหลังจบฤดูกาล 2554
แฟนๆสโมสรฟุตบอลบีอีซี เทโรศาสน เรียกเขาว่า เจ้าชายมังกรไฟ
บางกอกกล๊าส
ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 ลีซอได้เข้าเซ็นสัญญาเป็นนักฟุตบอลให้กับสโมสรฟุตบอลบางกอกกล๊าส เขาทำประตูแรกของเขากับสโมสรบางกองกล๊าสได้เมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2555 ในนัดที่บางกอกกล๊าสพบกับสโมสรฟุตบอลวัวชน ยูไนเต็ด ในการแข่งขันไทยพรีเมียร์ลีก ซึ่งบางกอกกล๊าสเอาชนะไปได้ 2-0 ที่สนาม ลีโอ สเตเดียม[4] และในนัดสุดท้ายของฤดูกาล 2555 ลีซอสามารถทำประตูได้ในนัดที่บางกองกล๊าสบุกไปชนะ สโมสรฟุตบอลวัวชน ยูไนเต็ด ด้วยสกอร์ 1-5[5]
ในปี พ.ศ. 2556 ลีซอได้รับเลือกให้เป็นกัปตันทีมสโมสรฟุตบอลบางกอกกล๊าส
ผลงานกับสโมสร
- ฤดูกาล 2549 ยิง 5 ประตู (สโมสรฟุตบอลบีอีซี เทโรศาสน ได้อันดับ 3 ในลีก)
- ฤดูกาล 2550 ยิง 5 ประตู (สโมสรฟุตบอลบีอีซี เทโรศาสน ได้อันดับ 3 ในลีก)
- ฤดูกาล 2551 ยิง 12 ประตู (สโมสรฟุตบอลบีอีซี เทโรศาสน ได้อันดับ 3 ในลีก)
- ฤดูกาล 2552 ยิง 2 ประตู (สโมสรฟุตบอลเมืองทองฯ ยูไนเต็ด ได้อันดับ 1 ในลีก)
- ฤดูกาล 2553 ยิง 5 ประตู (สโมสรฟุตบอลบีอีซี เทโรศาสน ได้อันดับ 9 ในลีก)
- ฤดูกาล 2554 ยิง 6 ประตู (สโมสรฟุตบอลบีอีซี เทโรศาสน ได้อันดับ 8 ในลีก)
- ฤดูกาล 2555 ยิง 8 ประตู (สโมสรฟุตบอลบางกอกกล๊าส ได้อันดับ 8 ในลีก)
ทำประตูในนามทีมชาติ
# | วันที่ | สถานที่ | พบ | ประตู | ผล | รายการ |
---|---|---|---|---|---|---|
1. | 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 | พังงา ไทย | ![]() |
1-1 | เสมอ 1-1 | คิงส์คัพ 2005 ครั้งที่ 36 |
2. | 26 มีนาคม พ.ศ. 2549 | ชลบุรี ไทย | ![]() |
2-0 | ชนะ 5-0 | อุ่นเครื่อง |
3. | 26 มีนาคม พ.ศ. 2549 | ชลบุรี ไทย | ![]() |
- | ชนะ 5-0 | อุ่นเครื่อง |
4. | 8 ตุลาคม พ.ศ. 2550 | กรุงเทพ ไทย | ![]() |
4-1 | ชนะ 6-1 | ฟุตบอลโลก 2010 รอบคัดเลือก |
5. | 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 | ไซตามะ ญี่ปุ่น | ![]() |
1-1 | แพ้ 1-4 | ฟุตบอลโลก 2010 รอบคัดเลือก |
6. | 15 มีนาคม พ.ศ. 2551 | คุนหมิง จีน | ![]() |
1-1 | เสมอ 3-3 | อุ่นเครื่อง |
7. | 15 มีนาคม พ.ศ. 2551 | คุนหมิง จีน | ![]() |
3-2 | เสมอ 3-3 | อุ่นเครื่อง |
8. | 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 | กรุงเทพ ไทย | ![]() |
5-0 | ชนะ 7-0 | อุ่นเครื่อง |
9. | 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 | กรุงเทพ ไทย | ![]() |
7-0 | ชนะ 7-0 | อุ่นเครื่อง |
10. | 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 | กรุงเทพ ไทย | ![]() |
1-0 | ชนะ 2-1 | อุ่นเครื่อง |
11. | 2 มิถุนายน พ.ศ. 2551 | กรุงเทพ ไทย | ![]() |
2-2 | แพ้ 2-3 | ฟุตบอลโลก 2010 รอบคัดเลือก |
12. | 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | กรุงเทพ ไทย | ![]() |
1-1 | ชนะ 2-1 | เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2008 |
13. | 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 | กรุงเทพ ไทย | ![]() |
4-0 | ชนะ 4-0 | อุ่นเครื่อง |
14. | 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 | กรุงเทพ ไทย | ![]() |
1-1 | เสมอ 1-1 | อุ่นเครื่อง |
15. | 8 กันยายน พ.ศ. 2553 | นิวเดลี อินเดีย | ![]() |
1-0 | ชนะ 2-1 | อุ่นเครื่อง |
16. | 15 มกราคม พ.ศ. 2555 | กรุงเทพ ไทย | ![]() |
1-1 | แพ้ 1-3 | คิงส์คัพ 2012 ครั้งที่ 41 |
17. | 26 มกราคม พ.ศ. 2556 | เชียงใหม่ ไทย | ![]() |
1-0 | เสมอ 2-2 | คิงส์คัพ 2013 ครั้งที่ 42 |
ผลงานด้านวงการบันเทิง
- ภาพยนตร์ เรื่อง Love Suck (พ.ศ. 2558) ร่วมกับ เทย่า โรเจอร์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
- ↑ รู้จักคน รู้จักข่าว ธีรเทพ วิโนทัย ไทยรัฐออนไลน์ สืบค้นเมื่อ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2563
- ↑ 8 ปีเต็มแห่งความพากเพียร! “ลีซอ ธีรเทพ” เรียนจบ จุฬาฯ แล้ว campus.campus-star 21 ต.ค. 2559 สืบค้นเมื่อ 23 ธ.ค. 2563
- ↑ ย้อนวันวาน!! นักเตะไทยไปฝึกฟุตบอลและเซ็นสัญญากับสโมสรพรีเมียร์ลีก
- ↑ "สุด(บั้น)ปลายสตั๊ดของ "ลีซอ – ธีรเทพ วิโนทัย" - ผู้จัดการออนไลน์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-04-05.
- ↑ "รายงานการแข่งขัน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2013-07-14.
แหล่งข้อมูลอื่น
- Sports Profile : ประวัติ "ลีซอ" ธีรเทพ วิโนทัย ตำนานกองหน้าทีมชาติไทย
- ชีวประวัติลีซอ เว็บไซต์แฟนคลับ
- ผลงานลีซอ เว็บไทยฟุตบอล
- Pages using infobox3cols with undocumented parameters
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2528
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักฟุตบอลชาวไทย
- บุคคลจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
- นิสิตเก่าคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ผู้เล่นในไทยลีก
- บุคคลจากกรุงเทพมหานคร
- ผู้เล่นสโมสรฟุตบอลบีจี ปทุม ยูไนเต็ด
- ผู้เล่นสโมสรฟุตบอลโปลิศ เทโร
- ผู้เล่นสโมสรฟุตบอลเมืองทอง ยูไนเต็ด
- ผู้เล่นสโมสรฟุตบอลเพื่อนตำรวจ
- ผู้เล่นสโมสรฟุตบอลแบงค็อก ยูไนเต็ด
- ผู้เล่นสโมสรฟุตบอลชลบุรี
- ผู้เล่นสโมสรฟุตบอลกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย