ข้ามไปเนื้อหา

สุลต่านอะฮ์มัดแห่งบรูไน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อะฮ์มัด
أحمد
สุลต่านบรูไน
ครองราชย์ค.ศ. 1408–1425[1]
ก่อนหน้าอับดุล มาจิด ฮัซซัน
ถัดไปชารีฟ อาลี
ประสูติอาวัง ปาเตะฮ์ เบอร์ไบ
สวรรคตป. ค.ศ. 1425
คู่อภิเษกปูตรี กีนาบาตางัน
พระราชบุตรปูเตอรี รัตนา เกอซูมา
พระราชบิดาเดวา อามัซ กายางัน
ศาสนาอิสลามนิกายซุนนี

อะฮ์มัด (มลายู: Ahmad, พระนามพระราชสมภพ อาวัง ปาเตะฮ์ เบอร์ไบ (Awang Pateh Berbai); สวรรคต ป. ค.ศ. 1425)[2] รู้จักกันในพระนาม ปาเตะฮ์ เบอร์ไบ (Pateh Berbai เป็นสุลต่านบรูไนองค์ที่ 3 ผู้ครองราชย์ใน ค.ศ. 1408 ถึง 1425[3] โดยเป็นพระราชโอรสองค์โตในเดวา อามัซ กายางันกับพระเชษฐา/อนุชาของอาวัง อาลัก เบอตาตาร์ (มีอีกพระนามว่าสุลต่านมูฮัมมัด ชะฮ์แห่งบรูไน) ราชอาณาจักรได้รับชื่อบรูไนในรัชสมัยของพระองค์[4] ทำให้พระองค์ได้เป็นผู้ก่อตั้งประเทศบรูไนตามที่ปรากฏใน ชาอีร์อาวังเซอเมาน์ (Syair Awang Semaun; กวีของอาวัง เซอเมาน์)[5] การศึกษาอิสลามคาดว่าเริ่มในประเทศในช่วงที่พระองค์ครองราชย์อยู่และสืบต่อมาภายใต้การปกครองของพระองค์[6]

ภูมิหลัง

[แก้]

ในบรรดาพี่น้อง 14 พระองค์นั้น ผู้ทรงพระราชสมภพจากเดวา เออมัซ กายางัน พระราชบิดา กับสตรีชาวมูรุตจากลิมบัง ได้แก่ อาวัง อาลัก เบอตาตาร์, อาวัง ปาเตะฮ์ เบอร์ไบ และอาวัง เซอเมาน์[7] เพื่อตอบสนองพระมเหสีที่กำลังตั้งครรภ์ เดวา เออมัซ กายางันจึงออกเดินทางเพื่อค้นหาโคประเภทหนึ่งที่รู้จักกันในชื่อ เติมบาเดา[8] พระองค์สมรสกับสตรีใน 4 หมู่บ้านระหว่างทางและมีบุตรด้วยกัน ท้ายที่สุดจึงให้กำเนิดพี่น้อง 14 พระองค์ที่กล่าวไว้ก่อนหน้า หลังพบเติมบาเดาแล้ว เดวา เออมัซ กายางันจึงตัดสินใจขึ้นสวรรค์ แล้วพระองค์ก็เป็นที่รู้จักในพระนาม บาตารากาลาดีกายางัน[9]

พระชนม์ชีพช่วงต้น

[แก้]

รัชสมัย

[แก้]

ปาเตะฮ์ เบอร์ไบทรงขึ้นครองราชสมบัติหลังการสวรรคตของสุลต่านอับดุล มาจิด ฮัซซัน พระราชนัดดา เมื่อ ค.ศ. 1408[10]

สวรรคต

[แก้]

สุลต่านอะฮ์มัดเสด็จสวรรคตเมื่อ ค.ศ. 1425 ทำให้ชารีฟ อาลี พระชามาดา ขึ้นครองราชย์ต่อ[3]

ชีวิตส่วนพระองค์

[แก้]

สุลต่านอะฮ์มัดทรงอภิเษกสมรสกับปูเตอรี กีนาบาตางัน[11] ทั้งคู่ให้กำเนิดพระราชธิดานาม ปูเตอรี รัตนา เกอซูมา ผู้ภายหลังกลายเป็นสมเด็จพระราชินีแก่สุลต่านชารีฟ อาลี[12]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Sultan - Sultan Brunei". Brunei History Centre. สืบค้นเมื่อ 2023-04-12.
  2. "eBuana :: Portal eBorneo". eborneo.dbp.gov.my. สืบค้นเมื่อ 2023-04-12.
  3. 3.0 3.1 "Sultan - Sultan Brunei". Brunei History Centre. สืบค้นเมื่อ 2023-04-12.
  4. "GENEALOGICAL TREE". www.geocities.ws. สืบค้นเมื่อ 2023-04-12.
  5. Ooi, Keat Gin; King, Victor T. (2022-07-29). Routledge Handbook of Contemporary Brunei (ภาษาอังกฤษ). Taylor & Francis. ISBN 978-1-000-56864-6.
  6. Haji Ahmad, Siti Sara. "PENDIDIKAN ISLAM DI ALAM MELAYU: MENELUSURI SUMBANGAN SULTAN- SULTAN BRUNEI DALAM PENGEMBANGAN PENDIDIKAN ISLAM" (PDF). Universiti Islam Sultan Sharif Ali. p. 200.
  7. Traditional Literature of ASEAN (ภาษาอังกฤษ). ASEAN Committee on Culture and Information. 2000. p. 37. ISBN 978-99917-0-196-7.
  8. Barrington, Brook (1997). Empires, Imperialism and Southeast Asia: Essays in Honour of Nicholas Tarling (ภาษาอังกฤษ). Monash Asia Institute. p. 204. ISBN 978-0-7326-1153-8.
  9. Schulze, Fritz (2004). Abstammung und Islamisierung als Motive der Herrschaftslegitimation in der traditionellen malaiischen Geschichtsschreibung (ภาษาเยอรมัน). Otto Harrassowitz Verlag. p. 59. ISBN 978-3-447-05011-1.
  10. Sidhu, Jatswan S. (2009-12-22). Historical Dictionary of Brunei Darussalam (ภาษาอังกฤษ). Scarecrow Press. pp. xxviii. ISBN 978-0-8108-7078-9.
  11. Mohd Jamil Al-Sufri (Pehin Orang Kaya Amar Diraja Dato Seri Utama Haji Awang.) (2005). Rampai sejarah: meniti sejarah silam (ภาษามาเลย์). Pusat Sejarah Brunei, Kementerian Kebudayaan, Belia dan Sukan. p. 30. ISBN 978-99917-34-44-6.
  12. Mohd Jamil Al-Sufri (Pehin Orang Kaya Amar Diraja Dato Seri Utama Haji Awang.) (2000). Tarsilah Brunei: The Early History of Brunei Up to 1432 AD (ภาษาอังกฤษ). Brunei History Centre, Ministry of Culture, Youth and Sports. p. 77. ISBN 978-99917-34-03-3.
ก่อนหน้า สุลต่านอะฮ์มัดแห่งบรูไน ถัดไป
สุลต่านอับดุล มาจิด ฮัสซัน
สุลต่านบรูไน
(ค.ศ. 1408–1425)
สุลต่านชารีฟ อาลี