ข้ามไปเนื้อหา

สุลต่านมูฮัมมัด จามาลุล อาลัมที่ 2

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มูฮัมมัด จามาลุล อาลัมที่ 2
محمد جمال العالم ٢
พระบรมฉายาลักษณ์ครึ่งตัวของสุลต่านมูฮัมมัด จามาลุล อาลัมที่ 2
สุลต่านบรูไน
ครองราชย์10 พฤษภาคม ค.ศ. 1906 – 11 กันยายน ค.ศ. 1924
ราชาภิเษก15 พฤษภาคม ค.ศ. 1918
ก่อนหน้าฮาชิม
ถัดไปอะฮ์มัด ตาจุดดิน
ประสูติค.ศ. 1889
อิซตานากัมปงอาเยอร์ บรูไนทาวน์ บรูไน
สวรรคต11 กันยายน ค.ศ. 1924(1924-09-11) (34–35 ปี)
อิซตานามัจลิซ บรูไนทาวน์ บรูไน
ฝังพระศพกูบะฮ์มากัมดีราจา บันดาร์เซอรีเบอกาวัน ประเทศบรูไน
ชายา
  • เปองีรัน อานัก ซีตี ฟาตีมะฮ์ (เสียชีวิต 1947)
  • เตองะฮ์ (สมรส 1910)
พระราชบุตร
รายการ
พระนามเต็ม
สุลต่าน มูฮัมมัด จามาลุล อาลัมที่ 2 อิบนี สุลต่าน ฮาชิม จาลีลุล อาลัม อากามัดดิน
ราชวงศ์โบลเกียห์
พระราชบิดาสุลต่านฮาชิม จาลีลุล อาลัม อากามัดดิน
พระราชมารดาเปองีรัน อานัก ซีตี ฟาตีมะฮ์
ศาสนาอิสลาม

สุลต่านมูฮัมมัด จามาลุล อาลัมที่ 2 (มลายู: Muhammad Jamalul Alam II; ค.ศ. 1889 – 11 กันยายน ค.ศ. 1924) เป็นสุลต่านบรูไนองค์ที่ 26 จาก ค.ศ. 1906 จนกระทั่งสวรรคตใน ค.ศ. 1924[1] รัชสมัยของพระองค์มุ่งหวังที่จะส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาใหม่ ๆ ในด้านเกษตรกรรม การแพทย์ และการศึกษา[2] นอกจากนี้ พระองค์ยังส่งเสริมให้เรียนด้านอิสลามและสร้างมัสยิดแม้ว่าประเทศไม่มีรายได้ก็ตาม[2] ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง มัสยิดถูกทำลายเนื่องจากการยิงปืนและการสู้รบอย่างรุนแรงภายในเมืองต่าง ๆ ของบรูไน[3] พระองค์ยังทรงดูแลบรูไนในช่วงที่ประเทศกำลังประสบภาวะยากจนที่สุดในรัชสมัยนี้อีกด้วย[4]

พระชนม์ชีพตอนต้น

[แก้]

พระองค์เสด็จพระราชสมภพใน ค.ศ. 1889 ที่ อิซตานากัมปงอาเยอร์ บันดาร์บรูไน โดยเป็นพระราชโอรสองค์โตที่รอดชีวิตของสุลต่านฮาชิม จาลีลุล อาลัม อากามัดดินกับซีตี ฟาตีมะฮ์ บินตี ราดิน อซมัน ก่อนขึ้นครองราชย์เป็นสุลต่าน พระองค์มีพระนามว่าเปองีรัน มูดา บงซู มูฮัมมัด จามาลุล อาลัม[5]

รัชสมัย (1906-1924)

[แก้]

สวรรคต

[แก้]

หลังจากประชวรเป็นมาลาเรียระยะสั้น ๆ ซึ่งยิ่งเลวร้ายลงเมื่อพระองค์โศกเศร้าจากการสูญเสียเปองีรัน อานัก ซีตี ฟาตีมะฮ์ พระชายาองค์สำคัญ และพระราชโอรสธิดาสองพระองค์จากโรคมาลาเรียเมื่อไม่กี่วันก่อนหน้า[6] พระองค์สวรรคตตอนพระชนมพรรษา 35 พรรษาในวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 1924[7] เปองีรัน มูดา เบอซาร์ อะฮ์มัด ตาจุดดิน พระราชโอรสองค์โต ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระองค์[8][6] พระวรกายของพระองค์ถูกฝังในสุสานหลวงที่จาลันตูตง[9]

ชีวิตส่วนพระองค์

[แก้]
พระบรมฉายาลักษณ์ทางการของสุลต่านมูฮัมมัด จามาลุล อาลัมที่ 2 กับเปองีรัน อานัก ซีตี ฟาตีมะฮ์

จามาลุล อาลัมทรงอภิเษกสมรสกับเตองะฮ์และซีตี ฟาตีมะฮ์[10]

พระราชโอรสธิดา

[แก้]

พระองค์มีพระราชโอรสธิดารวม 10 พระองค์ ได้แก่;[11][12]

  • เปองีรัน มูดา บงซู (18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1908 – 1910)
  • เปองีรัน มูดา เบอซาร์ อะฮ์มัด ตาจุดดิน (22 สิงหาคม ค.ศ. 1913 – 4 มิถุนายน ค.ศ. 1950), สุลต่านบรูไนใน ค.ศ. 1924 ถึง 1950
  • เปองีรัน มูดา อานุม (สิ้นพระชนม์จากมาลาเรียในเดือนกันยายน ค.ศ. 1924)
  • เปองีรัน มูดา ไลลา กัมบาร์ (สิ้นพระชนม์จากมาลาเรียในเดือนกันยายน ค.ศ. 1924)
  • เปองีรัน มูดา เตองะฮ์ โอมาร์ อาลี ไซฟุดดีน (23 กันยายน ค.ศ. 1914 – 7 กันยายน ค.ศ. 1986), สุลต่านบรูไนใน ค.ศ. 1950 ถึง 1967
  • เปองีรัน อานัก เบอซาร์ บาโกล (สิ้นพระชนม์ 10 มิถุนายน ค.ศ. 1945), สมรสกับเปองีรัน บีนี ไซนับ
  • เปองีรัน อานัก ปูเตอรี เบอซาร์ (1902 – 16 กันยายน ค.ศ. 1993), สมรสกับเปองีรัน อานัก ฮาชิม[13]
  • เปองีรัน อานัก ปูเตอรี เตองะฮ์ (1910 – 24 สิงหาคม ค.ศ. 1969)
  • เปองีรัน อานัก ปูเตอรี ดามิต (ประสูตืิ 6 เมษายน ค.ศ. 1911)
  • เจ้าหญิงติงกัล สมรสกับเปองีรัน อานัก เบอซาร์

อ้างอิง

[แก้]
  1. Saunders, Graham (2013-11-05). A History of Brunei (ภาษาอังกฤษ). Routledge. p. 43. ISBN 978-1-136-87394-2.
  2. 2.0 2.1 Melton, J. Gordon (2014-01-15). Faiths Across Time: 5,000 Years of Religious History [4 Volumes]: 5,000 Years of Religious History (ภาษาอังกฤษ). ABC-CLIO. p. 1618. ISBN 978-1-61069-026-3.
  3. Awang Mohd Jamil al-Sufri (Haji) (2002). Survival of Brunei: A Historical Perspective (ภาษาอังกฤษ). Brunei History Centre, Ministry of Culture, Youth and Sports. p. 62. ISBN 978-99917-34-18-7.
  4. Hussainmiya, Bachamiya Abdul (2000). The Brunei Constitution of 1959: An Inside History (ภาษาอังกฤษ). Brunei Press. p. 10. ISBN 978-99917-32-04-6.
  5. "Sultans of Brunei Series II - Sultan Muhammad Jamalul Alam II". Sultans of Brunei Series II - Sultan Muhammad Jamalul Alam II. สืบค้นเมื่อ 2022-10-05.
  6. 6.0 6.1 Great Britain Colonial Office (1965). Brunei (ภาษาอังกฤษ). H.M. Stationery Office. p. 226.
  7. Kumarasingham, H. (2020-07-18). Viceregalism: The Crown as Head of State in Political Crises in the Postwar Commonwealth (ภาษาอังกฤษ). Springer Nature. p. 315. ISBN 978-3-030-46283-3.
  8. Vienne, Marie-Sybille de (2015-03-09). Brunei: From the Age of Commerce to the 21st Century (ภาษาอังกฤษ). NUS Press. p. 96. ISBN 978-9971-69-818-8.
  9. Pusaka: berita Jabatan Pusat Sejarah, Kementerian Kebudayaan, Belia dan Sukan Negara Brunei Darussalam (ภาษามาเลย์). Jabatan Pusat Sejarah, Kementerian Kebudayaan, Belia dan Sukan Negara Brunei Darussalam. 2014. p. 11.
  10. Journal of the Malaysian Branch of the Royal Asiatic Society (ภาษาอังกฤษ). 1994. p. 55.
  11. Norhayati binti Haji Abd Karim (July 2019). "Shaer Yang Di-Pertuan: Merafak Adat Istiadat Diraja". Faculty of Arabic Language, Universiti Islam Sultan Sharif Ali (ภาษามาเลย์). p. 65-66. สืบค้นเมื่อ 2024-05-15.
  12. Mohd Jamil Al-Sufri (Pehin Orang Kaya Amar Diraja Dato Seri Utama Haji (2010). Royal Poet Al-marhum Sultan Haji Omar 'Ali Saifuddien Sa'adul Khairi Waddien (ภาษาอังกฤษ). Brunei History Centre. ISBN 978-99917-34-74-3.
  13. Al-Sufri, Mohd Jamil (2010). Royal Poet Al-marhum Sultan Haji Omar 'Ali Saifuddien Sa'adul Khairi Waddien (ภาษาอังกฤษ). Brunei History Centre. p. 9. ISBN 978-99917-34-74-3.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า สุลต่านมูฮัมมัด จามาลุล อาลัมที่ 2 ถัดไป
สุลต่านฮาชิม จาลีลุล อาลัม อากามัดดิน สุลต่านบรูไน
(1906–1924)
สุลต่านอะฮ์มัด ตาจุดดิน