ข้ามไปเนื้อหา

สุลต่านมูฮัมมัด ชะฮ์แห่งบรูไน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มูฮัมมัด ชะฮ์
محمد شاه
สุลต่านบรูไน
ครองราชย์ค.ศ. 1363/68–1402[1]
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปอับดุล มาจิด ฮัซซัน
ประสูติอาวัง อาลัก เบอตาตาร์
สวรรคตป. ค.ศ. 1402[1]
คู่อภิเษกปูเตอรี ดายัง ปีไง[2]
พระราชบุตร
พระรัชกาลนาม
ราจา อาวังกู อาลัก เบอตาตาร์
พระราชบิดาสุลต่านอิบราฮิม ชะฮ์
ศาสนาอิสลามนิกายซุนนี

สุลต่านมูฮัมมัด ชะฮ์ (มลายู: Muhammad Shah, พระนามตอนพระราชสมภพ อาวังกู อาลัก เบอตาตาร์ (Awangku Alak Betatar); สวรรคต ป. ค.ศ. 1402)[1] เป็นผู้สถาปนารัฐสุลต่านบรูไนและเป็นสุลต่านองค์แรกที่ปกครองใน ค.ศ. 1368 จนกระทั่งสวรรคตใน ค.ศ. 1402[3][1] ลำดับวงศ์ตระกูลของมูฮัมมัด ชะฮ์ยังไม่เป็นที่กระจ่าง[4][3] พระองค์เข้ารีตอิสลามในคริสต์ศตวรรษที่ 14 และใช้พระนามใหม่เป็นสุลต่านมูฮัมมัด ชะฮ์ ผู้ปกครองบรูไนในยุคหลังได้รับการเรียกข่านเป็นสุลต่าน[5]

ชีวิตส่วนพระองค์

[แก้]

อาวังกู อาลัก เบอตาตาร์ กับอาวังกู เซอเมาน์ (Awangku Semaun) พระเชษฐา/อนุชาร่วมพระราชบิดา เป็นสองพระองค์ในพี่น้อง 14 พระองค์ที่พระราชสมภพจากพระราชบิดา[6] เดวา เออมัซ กายางัน (Dewa Emas Kayangan) และสตรีชาวมูรุตจากลิมบัง[7] เดวา เออมัซ กายางันได้ออกเดินทางตามหาโคพันธุ์พิเศษชื่อ เติมบาเดา เพื่อตอบสนองความปรารถนาของพระมเหสีขณะที่พระนางกำลังตั้งพระครรภ์[8] ในระหว่างการเดินทาง พระองค์สมรสกับสตรีในสี่หมู่บ้าน มีบุตรด้วยกัน และในที่สุดก็มีพี่น้อง 14 พระองค์ตามที่กล่าวถึง เมื่อพบ "เติมบาเดา" แล้ว เดวา เออมัซ กายางันจึงตัดสินใจขึ้นสวรรค์ โดยพระองค์เป็นที่รู้จักในพระนาม บาตารากาลาดีกายางัน[9] อาวังกู อาลัก เบอตาตาร์ ขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์บรูไนองค์แรก แม้ว่าจะไม่เป็นโอรสหัวปีก็ตาม[10]

รัชสมัย

[แก้]

ตำนาน

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Jatswan S. Sidhu (22 December 2009). Historical Dictionary of Brunei Darussalam. Scarecrow Press. p. 20. ISBN 978-0-8108-7078-9.
  2. "Pusat Sejarah Brunei - Sultan - Sultan Brunei". www.history-centre.gov.bn (ภาษามาเลย์). สืบค้นเมื่อ 2024-05-14.
  3. 3.0 3.1 Elisseeff, Vadime (January 2000). "Chapter 8: A Brunei Sultan of the Early Fourteenth Century - A Study of an Arabic Gravestone". The Silk Roads: Highways of Culture and Commerce. Berghahn Books. pp. 145–157. ISBN 978-1-57181-222-3. สืบค้นเมื่อ 26 December 2013.
  4. "The golden history of Islam in Brunei | the Brunei Times". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 ตุลาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2015.
  5. Borneo Bulletin Year Book 2024 (2024-05-01). "HISTORY AND CULTURE". borneobulletinyearbook.com.bn (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2024-05-14.
  6. Mohammad bin Pengiran Haji Abd Rahman (Pengiran Haji) (2001). Islam di Brunei Darussalam (ภาษามาเลย์). Dewan Bahasa dan Pustaka Brunei, Kementerian Kebudayaan Belia dan Sukan. p. 19. ISBN 978-99917-0-181-3.
  7. Traditional Literature of ASEAN (ภาษาอังกฤษ). ASEAN Committee on Culture and Information. 2000. p. 37. ISBN 978-99917-0-196-7.
  8. Barrington, Brook (1997). Empires, Imperialism and Southeast Asia: Essays in Honour of Nicholas Tarling (ภาษาอังกฤษ). Monash Asia Institute. p. 204. ISBN 978-0-7326-1153-8.
  9. Schulze, Fritz (2004). Abstammung und Islamisierung als Motive der Herrschaftslegitimation in der traditionellen malaiischen Geschichtsschreibung (ภาษาเยอรมัน). Otto Harrassowitz Verlag. p. 59. ISBN 978-3-447-05011-1.
  10. Ooi, Keat Gin; King, Victor T. (2022-07-29). Routledge Handbook of Contemporary Brunei (ภาษาอังกฤษ). Taylor & Francis. ISBN 978-1-000-56864-6.

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า สุลต่านมูฮัมมัด ชะฮ์แห่งบรูไน ถัดไป
ไม่มี
สุลต่านบรูไน
(ค.ศ. 1363–1402)
สุลต่านอับดุล มาจิด ฮัสซัน