สุลต่านอับดุล มาจิด ฮัซซัน
สุลต่านอับดุล มาจิด ฮัซซัน عبدالمجيد حسن | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
สุลต่านบรูไน | |||||||||
ครองราชย์ | ค.ศ. 1402–1408[1] | ||||||||
ก่อนหน้า | สุลต่านมูฮัมมัด ชะฮ์ | ||||||||
ถัดไป | อะฮ์มัด | ||||||||
ประสูติ | ค.ศ. 1379/80 | ||||||||
สวรรคต | 19 ตุลาคม ค.ศ. 1408 (29–30 พรรษา)[2] Huitong Pavilion, หนานจิง จีนราชวงศ์หมิง | ||||||||
ฝังพระศพ | สุสานกษัตริย์ปั๋วหนี หนานจิง ประเทศจีน | ||||||||
| |||||||||
พระราชบิดา | สุลต่านมูฮัมมัด ชะฮ์ | ||||||||
ศาสนา | อิสลามนิกายซุนนี |
สุลต่านอับดุล มาจิด ฮัซซัน อิบนี มูฮัมมัด ชะฮ์ (มลายู: Abdul Majid Hassan ibni Muhammad Shah, عبدالمجيد حسن ابن محمد شاه) ยังเป็นที่รู้จักกันในพระนาม มหาราชากรรณะ (จีน: 麻那惹加那; Maharaja Karna) เป็นสุลต่านบรูไนองค์ที่ 2 แม้เป็นเพียงการกล่าวอ้างก็ตาม พระองค์กลายเป้นหนึ่งในผู้ปกครองต่างชาติสองพระองค์ที่ฝังไว้ในประเทศจีน แม้ว่าพระองค์ไม่ได้รับการกล่าวถึงใน ซาลาซีละฮ์ราจา-ราจาบรูไน การค้นพบที่อยู่อาศัยจาลันในบรูไนกล่าวถึงพระนาม รกยะฮ์ บินตี ซุลตัน อับดุล มาจิด ฮัซซัน อิบนู มูฮัมมัด ชะฮ์ อัล-ซุลตัน ซึ่งระบุไว้ว่าบุคคลนี้เป็นพระราชธิดาในสุลต่านอับดุล มาจิด ฮัซซัน[3]
รัชสมัย
[แก้]ครองราชสมบัติ
[แก้]สุลต่านมูฮัมหมัด ชาห์ สวรรคตแล้ว สุลต่านอับดุล มาจิด ฮัสซัน จึงขึ้นครองราชสมบัติต่อพระราชบิดา เมื่อ พ.ศ. 1945
สวรรคต
[แก้]สุลต่านอับดุล มาจิด ฮัสซัน เสด็จสวรรคตเมื่อ ปี พ.ศ. 1951 สุลต่านอับดุล มาจิด ฮัสซัน สวรรคตที่เมืองนานกิง ประเทศจีน สมัยราชวงศ์หมิง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Sidhu, Jatswan S. (2009-12-22). Historical Dictionary of Brunei Darussalam (ภาษาอังกฤษ). Scarecrow Press. p. 7. ISBN 978-0-8108-7078-9.
- ↑ Hiebert, Murray (2020-08-15). Under Beijing's Shadow: Southeast Asia's China Challenge (ภาษาอังกฤษ). Rowman & Littlefield. p. 525. ISBN 978-1-4422-8140-0.
- ↑ Bap Pertama: Latar Belakang Kesultanan Melayu Brunei (PDF). p. 29. สืบค้นเมื่อ 2023-04-09.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ก่อนหน้า | สุลต่านอับดุล มาจิด ฮัซซัน | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สุลต่านมูฮัมหมัด ชาห์ แห่งบรูไน | ![]() |
![]() สุลต่านบรูไน (ค.ศ. 1402–1408) |
![]() |
สุลต่านอาหมัดแห่งบรูไน |