สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
School of Engineering, UdonThani Rajabhat University
คติพจน์ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ในเชิงลึกและสามารถปฏิบัติงานได้จริงในสาขาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และระบบอัตโนมัติ มีภาวะผู้นำ คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาชีพ
สถาปนาพ.ศ. 2551
ที่อยู่
สี  สีเลือดหมู
เว็บไซต์www.udru.ac.th/electronics

สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ เป็นหนึ่งในสาขาวิชาในสังกัดคณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี โดยเปิดสอนในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตและกลุ่มวิชาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ให้กับนักศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี และยังเป็นโครงการจัดตั้งเป็น "คณะวิศวกรรมศาสตร์" ในอนาคต

ประวัติ[แก้]

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี แรกเริ่มก่อตั้งจากการเปิดสอนกลุ่มวิชาด้านวิศวกรรมศาสตร์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 โดยมีหน่วยงานแรกคือ สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ สังกัดคณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านอิเล็กทรอนิกส์  ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ และระบบสื่อสาร  เพื่อพัฒนาระบบอัตโนมัติที่มีความทันสมัยเพื่อรองรับอุตสาหกรรม 4.0 เป็นระบบอัตโนมัติที่สามารถทดแทนแรงงานมนุษย์ได้ มีความแม่นยำ ปลอดภัย ประหยัดพลังงาน และมีความยืดหยุ่นสำหรับการพัฒนาในอนาคต ตัวอย่างของระบบอัตโนมัติ เช่น รถไฟฟ้าความเร็วสูง โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ หุ่นยนต์ ยานยนต์ไฟฟ้า เครื่องจักรกลอัตโนมัติ ร้านค้าอัตโนมัติ บ้านอัตโนมัติ ระบบจราจรอัตโนมัติ ระบบแสงสว่างอัตโนมัติ ฟาร์มอัจฉริยะ เป็นต้น[1]และต่อมาได้ขยายสาขาวิชาด้านวิศวกรรมศาสตร์เพื่อเปิดสอนเพิ่มขึ้นเรื่อยตามความต้งการของท้องถิ่นและประเทศชาติ

ปัจจุบัน กลุ่มวิชาวิศวกรรมศาสตร์ กำลังได้รับโครงการจากสภามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ดังนี้

  • รับนักศึกษาเข้าศึกษาต่อ ณ ม.ใหม่ (สามพร้าว)
  • ก่อสร้างอาคารเรียน คณะวิศวกรรมศาสตร์ ในพื้นที่ ม.ใหม่ (สามพร้าว)
  • โครงการจัดตั้งเป็น คณะวิศวกรรมศาสตร์ ในอนาคต

สัญลักษณ์[แก้]

ปรัชญา[แก้]

"ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ในเชิงลึกและสามารถปฏิบัติงานได้จริงในสาขาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และระบบอัตโนมัติ มีภาวะผู้นำ คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาชีพ"

ตราประจำ[แก้]

  • เฟืองสีเลือดหมู หมายถึง วิศวกรรมศาสตร์ 
  1. ลายวงจร หมายถึง วงจรอิเล็กทรอนิกส์ วงจรไฟฟ้า และ ความเจริญก้าวหน้า
  2. ลายหม้อบ้านเชียง หมายถึง ศิลปวัฒนธรรมของจังหวัดอุดรธานี 
  3. ลักษณะลายวงจรเหมือนกิ่งไม้ 4 กิ่ง หมายถึง พันธกิจของสาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และระบบอัตโนมัติ 4 ด้าน
    • การเรียนการสอน
    • การวิจัย
    • การบริการวิชาการ
    • การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
  4. ต้นไม้เกิดขึ้นบนหม้อบ้านเชียง หมายถึง บัณฑิตสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ถูกหล่อหลอมด้วยพันธกิจ 4 ด้าน พร้อมกับเป็นผู้ที่มีความตระหนักและศรัทธาในศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นจังหวัดอุดรธานี[2]

สีประจำ[แก้]

  สีเลือดหมู

หลักสูตร[แก้]

กลุ่มสาชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ปัจจุบันเปิดสอนดังนี้

หลักสูตรที่เปิดสอนในกลุ่มสาขาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
กลุ่มวิชา ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก
กลุ่มวิชาวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต​ (วศ.บ.) - -

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

อ้างอิง[แก้]