การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์
การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามแปซิฟิกในสงครามโลกครั้งที่สอง | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
สหรัฐ | ญี่ปุ่น | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
ฮัสแบนด์ คิมเมิล วัลเทอร์ ชอร์ต |
ชูอิจิ นางูโมะ อิโซโรกุ ยามาโมโตะ | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
เสียเรือรบ 2 ลำอย่างสิ้นเชิง เรือรบจม 2 ลำและถูกกู้คืน เรือรบเสียหาย 3 ลำ เรือรบเกยตื้น 1 ลำ เรืออื่นจม 2 ลำ[nb 1] เรือลาดตระเวนเสียหาย 3 ลำ[nb 2] เรือพิฆาตเสียหาย 3 ลำ เรืออื่นเสียหาย 3 ลำ อากาศยานถูกทำลาย 188 ลำ อากาศยานเสียหาย 159[2] ลำ เสียชีวิต 2,403 นาย บาดเจ็บ 1,178 นาย[3][4] |
เรือดำน้ำขนาดเล็กมากจม 4 ลำ เรือดำน้ำขนาดเล็กมากเกยตื้น 1 ลำ อากาศยานถูกทำลาย 29 ลำ เสียชีวิต 64 นาย ถูกจับเป็นเชลย 1 นาย[5] | ||||||
บาดเจ็บ 35 คน[3] |
การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ เป็นการจู่โจมของกองกำลังพิเศษทางอากาศแห่งกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นต่อฐานทัพเรือสหรัฐที่ท่าเพิร์ล ดินแดนฮาวาย ในเช้าวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 การโจมตีครั้งนี้ได้เป็นที่รู้จักกันคือ ยุทธการเพิร์ลฮาร์เบอร์[8] นำไปสู่การเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สองของสหรัฐอเมริกา ผู้นำทางทหารญี่ปุ่นได้เรียกการโจมตีครั้งนี้ว่า ปฏิบัติการฮาวายและปฏิบัติการเอไอ[9][10] และปฏิบัติการแซดในช่วงระหว่างการวางแผน[11]
การโจมตีครั้งนี้ได้เจตาเป็นการปฏิบัติป้องกันเพื่อไม่ให้กองเรือแปซิฟิกของสหรัฐเข้าแทรกแซงการปฏิบัติทางทหารซึ่งจักรวรรดิญี่ปุ่นกำลังวางแผนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์และสหรัฐ มีการโจมตีของญี่ปุ่นพร้อมกันที่ฟิลิปปินส์ซึ่งสหรัฐถือครองอยู่ และต่อมาด้วยจักรวรรดิบริติชในมาลายา สิงคโปร์และฮ่องกง[12]
จากในแง่ผู้ป้องกัน การโจมตีเริ่มเมื่อ 7.48 น. ตามเวลาฮาวาย (18:18 GMT)[nb 3][13] ฐานทัพได้ถูกโจมตีโดยเครื่องบินญี่ปุ่น 353 ลำ[14](รวมทั้งเครื่องบินขับไล่, เครื่องบินทิ้งระเบิดแบบระดับและดำดิ่ง และทิ้งระเบิดตอร์ปิโด) แบ่งเป็นสองระลอก บินขึ้นจากเรือบรรทุกเครื่องบิน 6 ลำ[15] โดยกองบินผสมเริ่มโจมตีเครื่องบินที่นำมาจอดทิ้งไว้กลางรันเวย์ตามคำสั่งของนายพลชอร์ตก่อน จึงค่อยโจมตีเป้าหมายหลักนั่น เรือรบแห่งกองทัพเรือสหรัฐทั้งแปดลำเสียหาย โดยสี่ลำจม ทั้งหมดถูกซ่อมแซมขึ้นใหม่ (ยกเว้นUSS Arizona เนื่องจากโดนระบิดที่ทิ้งตกลงไปในคลังอาวุธ ทำให้เกิดการระเบิดอย่างรุนแรง) เรือรบหกลำจากแปดลำได้กลับเข้าประจำการและออกสู้รบในสงคราม ฝ่ายญี่ปุ่นยังจมหรือสร้างความเสียหายแก่เรือลาดตระเวนสามลำ เรือพิฆาตสามลำ เรือฝึกต่อสู้อากาศยานหนึ่งลำ[nb 4] และเรือวางทุ่นระเบิดหนึ่งลำ เครื่องบินสหรัฐ 188 ลำถูกทำลาย ฝ่ายอเมริกันเสียชีวิต 2,403 นาย บาดเจ็บ 1,178 นาย[17] สถานที่ตั้งฐานทัพสำคัญอย่างโรงไฟฟ้า อู่ต่อเรือแห้งและน้ำ โรงซ่อมบำรุง เชื้อเพลิงและเก็บตอร์ปิโด ตลอดจนสะพานเทียบเรือดำน้ำและอาคารกองบัญชาการ (ซึ่งเป็นที่ตั้งของฝ่ายข่าวกรอง) ไม่ถูกโจมตี ฝ่ายญี่ปุ่นสูญเสียเล็กน้อย คือ เครื่องบิน 29 ลำและเรือดำน้ำขนาดเล็กมากห้าลำ และทหารเสียชีวิตหรือบาดเจ็บ 65 นาย กะลาสีชาวญี่ปุ่นถูกจับได้หนึ่งคน คือ คะซุโอะ ซะกะมะกิ
การโจมตีครั้งนี้ได้สร้างความตกตะลึงอย่างมากแก่อเมริกันชนและนำให้สหรัฐเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สองโดยตรงทั้งในเขตสงครามแปซิฟิกและยุโรป วันรุ่งขึ้น คือ วันที่ 8 ธันวาคม สหรัฐได้ประกาศสงครามต่อญี่ปุ่น[18][19] และหลายวันต่อมา, เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม เยอรมนีและอิตาลีได้ประกาศสงครามต่อสหรัฐ สหรัฐได้ตอบโต้ด้วยการประกาศสงครามต่อเยอรมนีและอิตาลี การสนับสนุนลัทธิไม่แทรกแซงภายในประเทศ ซึ่งเคยมีมากมายนับตั้งแต่ฝรั่งเศสพ่ายแพ้ในปี ค.ศ. 1940[20] จนหมดสิ้น[21]
มีบรรทัดฐานประวัติศาสตร์จำนวนมากของการปฏิบัติทางทหารของญี่ปุ่นซึ่งไม่ประกาศ ทว่าการขาดคำเตือนอย่างเป็นทางการใด ๆ โดยเฉพาะระหว่างการเจรจายังดำเนินอยู่ ทำให้ประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ประกาศว่าวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 เป็น "วันซึ่งจะอยู่ในความอดสู" เพราะการโจมตีนี้เกิดขึ้นโดยไม่มีการประกาศสงครามและไม่มีคำเตือนชัดเจน การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์จึงได้ถูกตัดสินในภายหลังที่การพิจารณาคดีโตเกียวด้วยข้อหาอาชญากรรมสงคราม[22][23]
สาเหตุของการโจมตี
[แก้]ผลสืบเนื่องมาจากสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 2 จุดเริ่มต้นของสงครามคือจักรวรรดิญี่ปุ่นได้บุกเข้ายึดครองดินแดนแมนจูเรียหลังเกิดกรณีมุกเดน เพราะเนื่องจากญี่ปุ่นได้เล็งเห็นผลประโยชน์ในดินแดนแมนจูเรียหลายประการ หลังจากยึดครองสำเร็จก็แต่งตั้งรัฐบาลหุ่นเชิดให้อยู่ภายใต้การนำของจักรวรรดิญี่ปุ่น โดยมีจักรพรรดิปูยี (อดีตจักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ชิง) ให้มาเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินและเป็นจักรพรรดิแห่งแมนจูเรียได้แต่เพียงในนามเท่านั้น เหตุการณ์ดังกล่าวได้สร้างความไม่พอใจแก่สาธารณรัฐจีนเป็นอย่างมากจึงได้ไปร้องเรียนขอความช่วยเหลือไปยังสันนิบาตชาติ เวลาต่อมาสันนิบาตชาติดำเนินการสอบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หลังจากนั้นสันนิบาตชาติก็ได้ลงความเห็นเห็นว่า จักรวรรดิญี่ปุ่นเป็นฝ่ายผิดและเป็นผู้รุกราน จึงออกแถลงการณ์ลิตตัน เพื่อประณามการกระทำของญี่ปุ่นในการรุกรานแมนจูเรียและออกคำสั่งให้ญี่ปุ่นถอนกองทัพออกจากดินแดนแมนจูเรีย ทำให้ญี่ปุ่นไม่พอใจพร้อมประกาศถอนตัวออกจากสันนิบาตชาติไปโดยสิ้นเชิง
ด้วยการที่สันนิบาตชาติทำอะไรกับญี่ปุ่นไม่ได้ ทำให้จีนผิดหวังและญี่ปุ่นก็เริ่มฮึกเหิมที่คิดจะทำการยึดครองจีนต่อไปโดยไม่มีประเทศใดๆมาขัดขวาง และแล้วจักรวรรดิญี่ปุ่นก็ได้ส่งกองทัพเข้าไปรุกรานจีนได้อย่างเต็มตัว แม้กองทัพจีนจะพยายามต้านทานอย่างสุดกำลังแต่ก็ไม่อาจต้านทานกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นได้ทำให้จีนต้องสูญเสียดินแดนให้กับญี่ปุ่น เช่น ปักกิ่ง เป่ยผิง เทียนจิน เป็นต้น ในขณะเดียวกันเมืองนานกิงเองก็ได้ถูกกองทัพญี่ปุ่นเข้ายึดครองและทำการสังหารหมู่ชาวจีนไปเป็นจำนวนมาก สร้างความโกรธแค้นให้กับชาวจีนเป็นอย่างมาก
ในช่วงที่กองทัพจีนได้พ่ายแพ้กองทัพญี่ปุ่นมาติดต่อกันอย่างต่อเนื่อง และแล้วความหวังก็ได้ปรากฏขึ้น เนื่องจากจีนได้เล็งเห็นประเทศสหรัฐอเมริกาที่เป็นชาติมหาอำนาจหนึ่งที่สามารถถ่วงดุลอำนาจของจักรวรรดิญี่ปุ่นได้ ดังนั้นจีนจึงส่งขอความช่วยเหลือไปยังสหรัฐฯทันที แม้ว่าสหรัฐฯจะพยายามทำตัวเป็นกลางไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสงครามก็ตามแต่ก็ยินดีให้ความช่วยเหลือกับจีนอย่างเต็มที่
สหรัฐฯภายใต้การนำโดยประธานาธิบดีรูสเวลท์ก็ได้ประกาศยุติการส่งออกสินค้าไปยังญี่ปุ่น เช่น น้ำมัน เหล็ก เป็นต้น ทำให้ญี่ปุ่นขาดปัจจัยในการบำรุงกองทัพโดยเฉพาะน้ำมัน ทำให้การบุกเข้ายึดจีนต่อไปต้องหยุดชะงักลง จักรวรรดิญี่ปุ่นญี่ปุ่นจึงได้ส่งทูตไปเจรจากับสหรัฐฯเพื่อขอให้ส่งน้ำมันต่อ แต่ว่าการเจรจาก็ล้มเหลวหมดเพราะสหรัฐฯได้ยื่นคำขาดว่าให้ญี่ปุ่นยุติการยึดครองจีน และถอนกำลังออกจากอินโดจีนไป ทำให้ญี่ปุ่นไม่พอใจเป็นอย่างมาก จึงตัดสินใจโจมตีที่อ่าวเพิร์ลฮาเบอร์ที่อยู่บริเวณของหมู่เกาะฮาวายที่เป็นฐานทัพเรือสหรัฐฯประจำภาคพื้นทะเลแปซิพิกด้วยการเป็นอย่างลับๆ เพื่อเปิดเส้นทางการขยายอำนาจในภาคพื้นทะเลแปซิพิกแก่จักรวรรดิญี่ปุ่น
และเนื่องจากมีเจ้าหน้าที่กองทัพเรือญี่ปุ่นที่เป็นหน่วยข่าวกรองคอยถ่ายรูปเฝ้าสังเกตการเคลื่อนไหวของเรือ และ เครื่องบิน ส่งกลับไปให้ญี่ปุ่น นั่นก็คือ ทาเคโอะ โยชิกาวะ
ทำให้ญี่ปุ่นสามารถรู้ถึงสภาพของเกาะ จนไปถึงรายละเอียดเล็กๆน้อยๆได้
ลำดับเหตุการณ์
[แก้]ในวันที่ 7 ธันวาคมพ.ศ. 2484 ญี่ปุ่นเริ่มลงมือด้วยการซ่อนกองเรือบรรทุกเครื่องบินแล้วเข้าใกล้อ่าวเพิร์ลฮาเบอร์ให้ได้มากที่สุดแล้วนำเครื่องบินบินต่ำหลบคลื่นเรดาร์ อเมริกาตรวจพบเครื่องบิน400ลำกำลังเข้าเกาะ ปรากฏว่าทหารอเมริกาคิดว่าเป็นเครื่องบินบี-17ของตนบินกลับมาจากจีน เครื่องบินของกองทัพญี่ปุ่นยิ่งเข้าใกล้เกาะขึ้นเรื่อยๆในขณะที่ทหารเรือกำลังตกปลาอยู่ แผนการรบทั้งหมดคิดโดย นายพลเรืออิโซโรกุ ยามาโมโต และได้ดัดแปลงตอร์ปิโดคือใส่ไม้รูปทรงคล้ายๆกล่องเข้าไปที่ใบพัดจึงทำให้สามารถยิงในน้ำตื้นได้ การรบดังกล่าวทำให้เกิดความสูญเสียอย่างหนักคือ ทหาร2408 นาย เรือรบ 18 ลำ เครื่องบิน 400 ลำ และทำให้สหรัฐอเมริกาประกาศสงครามกับญี่ปุ่นในที่สุด
เชิงอรรถ
[แก้]- ↑ Utah and Oglala
- ↑ Unless otherwise stated, all vessels listed were salvageable.[1]
- ↑ In 1941, Hawaii was a half-hour different from the majority of other time zones. See UTC−10:30.
- ↑ ยูเอสเอส Utah (AG-16, formerly BB-31); Utah was moored in the space intended to have been occupied by the aircraft carrier Enterprise which, returning with a task force, had been expected to enter the channel at 0730 on December 7; delayed by weather, the task force did not reach Pearl Harbor until dusk the following day.[16]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ CinCP report of damage to ships in Pearl Harbor from www.ibiblio.org/hyperwar.
- ↑ "Overview of The Pearl Harbor Attack, 7 December 1941". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-18. สืบค้นเมื่อ 5 October 2014.
- ↑ 3.0 3.1 Conn 2000, p. 194
- ↑ GPO 1946, pp. 64–65
- ↑ Gilbert 2009, p. 272 .
- ↑ Gailey 1995
- ↑ "Pearl Harbor Casualty List". USSWestVirginia.org. สืบค้นเมื่อ 2012-12-07.
- ↑ Morison 2001, pp. 101, 120, 250
- ↑ Prange, Gordon W., Goldstein, Donald, & Dillon, Katherine. The Pearl Harbor Papers (Brassey's, 2000), p. 17ff; Google Books entry on Prange et al.
- ↑ For the Japanese designator of Oahu. Wilford, Timothy. "Decoding Pearl Harbor", in The Northern Mariner, XII, #1 (January 2002), p. 32fn81.
- ↑ Fukudome, Shigeru, "Hawaii Operation". United States Naval Institute, Proceedings, 81 (December 1955), pp. 1315–1331
- ↑ Gill, G. Hermon (1957). Royal Australian Navy 1939–1942. Australia in the War of 1939–1945. Series 2 – Navy. Vol. 1. Canberra: Australian War Memorial. p. 485. LCCN 58037940. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 25, 2009. สืบค้นเมื่อ June 16, 2015.
- ↑ Prange et al. December 7, 1941, p. 174.
- ↑ Parillo 2006, p. 288
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อparillo2882
- ↑ Thomas 2007, pp. 57–59 .
- ↑ "Pearl Harbor Facts". About. สืบค้นเมื่อ October 5, 2014.
- ↑ "United States declares war". Abilene Reporter-News. December 8, 1941. p. 1. สืบค้นเมื่อ August 12, 2014 – โดยทาง Newspapers.com.
- ↑ Bromwich, Jonah Engel (2016-12-07). "How Pearl Harbor Shaped the Modern World". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2017-03-25.
- ↑ Braumoeller, Bear F. (2010) "The Myth of American Isolationism" Foreign Policy Analysis 6: 349–371.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ:02
- ↑ Yuma Totani (April 1, 2009). The Tokyo War Crimes Trial: The Pursuit of Justice in the Wake of World War II. Harvard University Asia Center. p. 57.
- ↑ Stephen C. McCaffrey (September 22, 2004). Understanding International Law. AuthorHouse. pp. 210–229.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์
- ดินแดนฮาวาย
- สงครามแปซิฟิก
- ความสัมพันธ์ทางการทหารญี่ปุ่น–สหรัฐ
- ประวัติศาสตร์ฮาวาย
- ประเทศญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2484
- พ.ศ. 2484
- เหตุการณ์ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2484
- ปฏิบัติการและยุทธการทางอากาศในสงครามโลกครั้งที่สอง
- ปฏิบัติการและยุทธการทางอากาศในสงครามโลกครั้งที่สองเกี่ยวข้องกับญี่ปุ่น
- ยุทธนาวีและปฏิบัติการทางทหารในสงครามโลกครั้งที่สอง
- ปฏิบัติการและยุทธการบินนาวี
- กองการบินทหารเรือมหาจักรวรรดิญี่ปุ่น
- อิโซโรกุ ยามาโมโตะ
- เรือที่ถูกจมระหว่างการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์
- บทความเกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ ที่ยังไม่สมบูรณ์