โบอิง บี-17 ฟลายอิงฟอร์เทรส
บี-17 ฟลายอิงฟอร์เทรส | |
---|---|
![]() | |
หน้าที่ | เครื่องบินทิ้งระเบิดหนัก |
ประเทศผู้ผลิต | ![]() |
ผู้ผลิต | โบอิง |
เที่ยวบินแรก | 28 กรกฎาคม 1935 |
เริ่มใช้ | เมษายน 1938 |
ปลดระวาง | 1968 (กองทัพอากาศบราซิล) |
ผู้ใช้หลัก | ![]() ![]() |
การผลิต | 1936–1945 |
จำนวนที่ถูกผลิต | 12,731[1] |
ค่าใช้จ่ายต่อลำ |
US$238,329 (1945)
|
รุ่น | |
พัฒนาเป็น | Boeing 307 Stratoliner |
โบอิง บี-17 ฟลายอิงฟอร์เทรส (อังกฤษ: Boeing B-17 Flying Fortress) เป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดหนักที่ขับเคลื่อนด้วยสี่เครื่องยนต์ที่ถูกพัฒนาขึ้นในปี ค.ศ. 1930 สำหรับกองบินอากาศทหารบกสหรัฐ(USAAC) ด้วยการแข่งขันกับบริษัทดักลาสและบริษัทมาร์ตินเพื่อทำสัญญาในการสร้างเครื่องบินทิ้งระเบิดจำนวน 200 ลำ เครื่องบินของโบอิง(รุ่นต้นแบบ 299/เอ็กซ์บี-17) มีประสิทธิภาพเหนือกว่าคู่แข่งทั้งสองบริษัทและมีประสิทธิภาพสูงกว่าข้อกำหนดของกองบิน แม้ว่าโบอิงจะพลาดในการทำสัญญา(ให้กับเครื่องบิน ดักลาส บี-18 โบโล) เนื่องจากเครื่องบินรุ่นต้นแบบเกิดตกลงมา แต่กองบินได้สั่งซื้อบี-17 มาอีก 13 ลำ เพื่อประเมินผลต่อไป จากการแนะนำเสนอในปี ค.ศ. 1938 บี-17 ฟลายอิงฟอร์เทรสได้พัฒนาผ่านความก้าวหน้าในการออกแบบมากมาย กลายเป็นเรื่องบินทิ้งระเบิดที่ผลิตมากที่สุดเป็นอันดับสามตลอดกาล รองลงจากเครื่องบินคันซอลลิเดท บี-24 ลิเบอร์เรเตอร์ ที่ขับเคลื่อนด้วยสี่เครื่องยนต์ และเครื่องบินยุงเคิร์ส ยู 88 ที่ขับเคลื่อนด้วยสองเครื่องยนต์ สามารถทำได้หลายบทบาท
บี-17 ถูกใช้งานเป็นหลักโดยกองทัพอากาศทหารบกสหรัฐ(USAAF) ในการทัพทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ในเวลากลางวันในสงครามโลกครั้งที่สองต่อเป้าหมายเขตอุตสาหกรรมและทางทหารของเยอรมัน กองทัพอากาศที่ 8 ของสหรัฐ ซึ่งตั้งอยู่ที่สนามบินหลายแห่งในภาคกลาง ตะวันออก และภาคใต้ของเกาะอังกฤษ และกองทัพอากาศที่สิบห้า ซึ่งตั้งอยู่ในอิตาลี เสริมเพิ่มเติมด้วยกองบัญชาการทิ้งระเบิดของกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร ซึ่งจะทำการทิ้งระเบิดในเวลากลางคืนในการรุกทิ้งระเบิดแบบผสม เพื่อช่วยให้รักษาความได้เปรียบทางอากาศในเมือง โรงงาน และสนามรบของยุโรปตะวันตกเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการบุกครองฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1944 บี-17 ยังได้เข้าร่วมในจำนวนครั้งที่น้อยกว่าในสงครามในแปซืฟิก ในช่วงต้นสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งจะทำการโจมตีต่อกองเรือและสนามบินของญี่ปุ่น
จากจุดเริ่มต้นก่อนสงคราม กองบินอากาศทหารบกสหรัฐ(โดยเดือนมิถุนายน ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น USAAF) ได้ส่งเสริมเครื่องบินให้เป็นอาวุธทางยุทธศาสตร์ มันเป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดในระยะพิสัยไกล บินได้สูงกว่า และค่อนข้างเร็ว ด้วยอาวุธป้องกันตัวที่หนักโดยหลังจากที่ได้ทำการทิ้งลูกระเบิดแล้ว มันได้มีชื่อเสียงในด้านความทนทานจากเรื่องราวและภาพถ่ายของ บี-17 ที่ได้รับความเสียหายอย่างหนัก ซึ่งบินกลับฐานได้อย่างปลอดภัย เครื่องบินบี-17 ได้ทำการทิ้งระเบิดมากกว่าเครื่องบินรบอื่น ๆ ของสหรัฐในสงครามโลกครั้งที่สอง จำนวนลูกระเบิดประมาณ 1.5 ล้านตันที่ได้ทำการทิ้งระเบิดลงสู่นาซีเยอรมนีและดินแดนที่ถูกยึดครองโดยเครื่องบินสหรัฐ กว่า 640,000 ตันซึ่งถูกทิ้งมาจากเครื่องบิน บี-17 นอกเหนือจากบทบาทในฐานะเครื่องบินทิ้งระเบิด บี-17 ยังถูกใช้สำหรับเครื่องบินขนส่ง เครื่องบินต่อต้านเรือดำน้ำ เครื่องบินบังคับวิทยุ และเครื่องบินค้นหาและกู้ภัย
คุณลักษณะ (บี-17จี)[แก้]
- ผู้สร้าง: โบอิง (สหรัฐ)
- ประเภท: เครื่องบินทิ้งระเบิด
- เครื่องยนต์: 4 × Wright R-1820
- กางปีก: 31.62 เมตร
- ยาว: 22.66 เมตร
- สูง: 5.82 เมตร
- พื้นที่ปีก: 131.92 ตารางเมตร
- น้ำหนักเปล่า: 16,391 กิโลกรัม
- น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด: 29,700 กิโลกรัม
- อัตราเร็วสูงสุด: 462 กิโลเมตร/ชั่วโมง
- อัตราไต่: 4.6 เมตร/ วินาที
- รัศมีทำการรบ: 3,219 กิโลเมตร
- อาวุธ: ปืนกลป้องกัน M2 Browning ขนาด 12.7 มม. 13 กระบอก
- ระเบิดขนาด 7,800 กก.
ประจำการ[แก้]
อาร์เจนตินา
โบลิเวีย
บราซิล
แคนาดา
โคลอมเบีย
เดนมาร์ก
สาธารณรัฐโดมินิกัน
ฝรั่งเศส
เยอรมนี as Beuteflugzeug (captured aircraft)
อิหร่าน
ซาอุดีอาระเบีย
อิสราเอล
ญี่ปุ่น
เม็กซิโก
นิการากัว
เปรู
โปรตุเกส
แอฟริกาใต้
สาธารณรัฐจีน
สหภาพโซเวียต
สวิตเซอร์แลนด์
สวีเดน
สหราชอาณาจักร
สหรัฐ
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Angelucci and Matricardi 1988, p. 46.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
วิกิคำคม มีคำคมที่กล่าวโดย หรือเกี่ยวกับ B-17 Flying Fortress