ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Dfddtdt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 116: บรรทัด 116:
นอกจากนี้ ในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559 มีกลุ่มคนจำนวนหนึ่งใน[[จังหวัดภูเก็ต]] ออกมาปิดล้อมบ้านของลูกชายเจ้าของร้านน้ำเต้าหู้ที่โพสต์ข้อความค่อนข้างหมิ่นต่อสถาบัน <ref>[http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1476504517 ชาวภูเก็ตฮือล้อมบ้านลูกชายร้านเต้าหู้กลางดึก อ้างโพสต์FBจาบจ้วง-แจ้งความม.112แล้ว]</ref> เจ้าหน้าที่ตำรวจแจ้งว่าโพสต์นั้นมิได้มีเนื้อหาหมิ่นต่อสถาบันแต่อย่างใด แต่ในที่สุดเจ้าหน้าที่ตำรวจก็ได้เข้าควบคุมตัวชายคนนั้นในข้อหา[[ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย|หมิ่นสถาบัน]] ได้เกิดเหตุการณ์คล้ายคลึงกันใน[[จังหวัดพังงา]]<ref>[http://prachatai.com/journal/2016/10/68379 ฝูงชนพังงาปิดล้อมร้านโรตีไล่ล่าผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าโพสต์หมิ่น]</ref>
นอกจากนี้ ในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559 มีกลุ่มคนจำนวนหนึ่งใน[[จังหวัดภูเก็ต]] ออกมาปิดล้อมบ้านของลูกชายเจ้าของร้านน้ำเต้าหู้ที่โพสต์ข้อความค่อนข้างหมิ่นต่อสถาบัน <ref>[http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1476504517 ชาวภูเก็ตฮือล้อมบ้านลูกชายร้านเต้าหู้กลางดึก อ้างโพสต์FBจาบจ้วง-แจ้งความม.112แล้ว]</ref> เจ้าหน้าที่ตำรวจแจ้งว่าโพสต์นั้นมิได้มีเนื้อหาหมิ่นต่อสถาบันแต่อย่างใด แต่ในที่สุดเจ้าหน้าที่ตำรวจก็ได้เข้าควบคุมตัวชายคนนั้นในข้อหา[[ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย|หมิ่นสถาบัน]] ได้เกิดเหตุการณ์คล้ายคลึงกันใน[[จังหวัดพังงา]]<ref>[http://prachatai.com/journal/2016/10/68379 ฝูงชนพังงาปิดล้อมร้านโรตีไล่ล่าผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าโพสต์หมิ่น]</ref>


== รายนามผู้นำและบุคคลสำคัญของประเทศต่าง ๆ ที่ร่วมพระราชพิธีพระบรมศพ ==
== รายนามผู้นำและหรือตัวแทนของประเทศต่าง ๆ ที่ร่วมพระราชพิธีพระบรมศพ ==
ผู้นำและบุคคลสำคัญของแต่ละประเทศ ตลอดจนผู้แทนพระองค์หรือผู้แทนพิเศษของประเทศต่าง ๆ ที่เสด็จพระราชดำเนิน เสด็จ และเดินทางมาร่วมวางพวงมาลาถวายราชสักการะพระบรมศพ ณ [[พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท]] และลงพระนามและลงนามแสดงความอาลัย ณ ศาลาว่าการพระราชวัง และอาคารสำนักราชเลขาธิการ มีรายพระนามและรายนามดังต่อไปนี้
ผู้นำและประมุขของแต่ละประเทศ ตลอดจนผู้แทนพระองค์หรือผู้แทนพิเศษของประเทศต่าง ๆ ที่เสด็จพระราชดำเนิน เสด็จ และเดินทางมาร่วมวางพวงมาลาถวายราชสักการะพระบรมศพ ณ [[พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท]] และลงพระนามและลงนามแสดงความอาลัย ณ ศาลาว่าการพระราชวัง และอาคารสำนักราชเลขาธิการ มีรายพระนามและรายนามดังต่อไปนี้


{| class="wikitable sortable"
{| class="wikitable sortable"
บรรทัด 131: บรรทัด 131:
|-
|-
|{{flag|มัลดีฟส์}} || ผู้แทนพิเศษของประธานาธิบดี || โมฮัมเหม็ด ซาอิด (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาเศรษฐกิจ) || 21 ตุลาคม<ref>{{cite web | url = http://www.presidencymaldives.gov.mv/Index.aspx?lid=11&dcid=17307 | title = Special Envoy of the President departs to Thailand to pay respect to the Late King | publisher = The President Office | date = 2016-10-20 | accessdate = 2016-10-22}}</ref>
|{{flag|มัลดีฟส์}} || ผู้แทนพิเศษของประธานาธิบดี || โมฮัมเหม็ด ซาอิด (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาเศรษฐกิจ) || 21 ตุลาคม<ref>{{cite web | url = http://www.presidencymaldives.gov.mv/Index.aspx?lid=11&dcid=17307 | title = Special Envoy of the President departs to Thailand to pay respect to the Late King | publisher = The President Office | date = 2016-10-20 | accessdate = 2016-10-22}}</ref>
|-
|{{flag|เกาหลีใต้}} || รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทหารผ่านศึกเกาหลีใต้ || ปาร์ค ซุง ชอน || 21 ตุลาคม<ref>{{cite web | url = http://www.krobkruakao.com/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8/28081/%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%84%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8-%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A2.html | title = คณะบุคคลต่างประเทศ ร่วมแสดงความอาลัย | publisher = Krobkruakao (Ch3) | date = 2016-10-21 | accessdate = 2016-11-18}}</ref>
|-
|-
|{{flag|มาเลเซีย}} || [[รายนามนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย|นายกรัฐมนตรี]] || [[นาจิบ ราซะก์]] และภริยา || 22 ตุลาคม<ref>{{cite web | url = http://www.nst.com.my/news/2016/10/182492/death-king-bhumibol-felt-all-southeast-asia-says-najib | title = Death of King Bhumibol felt by all in Southeast Asia, says Najib | publisher = New Straits Times | date = 2016-10-22 | accessdate = 2016-10-22}}</ref>
|{{flag|มาเลเซีย}} || [[รายนามนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย|นายกรัฐมนตรี]] || [[นาจิบ ราซะก์]] และภริยา || 22 ตุลาคม<ref>{{cite web | url = http://www.nst.com.my/news/2016/10/182492/death-king-bhumibol-felt-all-southeast-asia-says-najib | title = Death of King Bhumibol felt by all in Southeast Asia, says Najib | publisher = New Straits Times | date = 2016-10-22 | accessdate = 2016-10-22}}</ref>
บรรทัด 145: บรรทัด 143:
|-
|-
|{{flag|สิงคโปร์}} || [[ประธานาธิบดีสิงคโปร์|ประธานาธิบดี]] || [[โทนี ตัน เค็ง ยัม]] || 24 ตุลาคม<ref>{{cite web | url = http://www.straitstimes.com/asia/se-asia/president-tony-tan-pays-respects-to-late-thai-king | title = President Tony Tan pays respects to late Thai King Bhumibol Adulyadej in Bangkok | publisher = The Straits Times | date = 2016-10-24 | accessdate = 2016-10-25}}</ref>
|{{flag|สิงคโปร์}} || [[ประธานาธิบดีสิงคโปร์|ประธานาธิบดี]] || [[โทนี ตัน เค็ง ยัม]] || 24 ตุลาคม<ref>{{cite web | url = http://www.straitstimes.com/asia/se-asia/president-tony-tan-pays-respects-to-late-thai-king | title = President Tony Tan pays respects to late Thai King Bhumibol Adulyadej in Bangkok | publisher = The Straits Times | date = 2016-10-24 | accessdate = 2016-10-25}}</ref>
|-
|-
|{{flag|ASEAN}} || รักษาการผู้แทนภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ || อัลคอง เมย์ยอง || 24 ตุลาคม<ref>{{cite web | url = http://www.ch7.com/watch/198977/%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%96%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A2_24-10-59.html | title = ตลอดทั้งวันนี้ มีบุคคลสำคัญจากประเทศต่างๆ ตลอดจนพสกนิกรจากทั่วทุกสารทิศ เดินทางไปลงนามถวายความอาลัยแด่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช | publisher = Ch7 | date = 2016-10-24 | accessdate = 2016-11-18}}</ref>
|-
|{{flag|ออสเตรเลีย}} || ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งเครือรัฐออสเตรเลีย || จิลเลียน ทริกส์ || 25 ตุลาคม<ref>{{cite web | url = http://www.ch7.com/watch/199109/%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%96%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A2_25-10-59.html | title = บุคคลสำคัญประเทศต่างๆ รวมถึง พสกนิกรชาวไทยทั่วสารทิศเดินทางไปลงนามถวายความอาลัยต่อการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช | publisher = Ch7 | date = 2016-10-25 | accessdate = 2016-11-18}}</ref>
|-
|{{flag|สหรัฐอเมริกา}} || ผู้ช่วยรัฐมนตรีฝ่ายกิจการภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา || แดเนียล รัสเซล || 25 ตุลาคม<ref>{{cite web | url = http://www.ch7.com/watch/199109/%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%96%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A2_25-10-59.html | title = บุคคลสำคัญประเทศต่างๆ รวมถึง พสกนิกรชาวไทยทั่วสารทิศเดินทางไปลงนามถวายความอาลัยต่อการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช | publisher = Ch7 | date = 2016-10-25 | accessdate = 2016-11-18}}</ref>
|-
|{{flag|อินโดนีเซีย}} || [[รายนามประธานาธิบดีอินโดนีเซีย|ประธานาธิบดี]] || [[โจโก วีโดโด]] และภริยา || 25 ตุลาคม<ref>{{cite web | url = http://www.bangkokpost.com/news/general/1118916/jokowi-pays-respects-to-king | title = Jokowi pays respects to King | publisher = Bangkok Post | date = 2016-10-25 | accessdate = 2016-10-25}}</ref>
|{{flag|อินโดนีเซีย}} || [[รายนามประธานาธิบดีอินโดนีเซีย|ประธานาธิบดี]] || [[โจโก วีโดโด]] และภริยา || 25 ตุลาคม<ref>{{cite web | url = http://www.bangkokpost.com/news/general/1118916/jokowi-pays-respects-to-king | title = Jokowi pays respects to King | publisher = Bangkok Post | date = 2016-10-25 | accessdate = 2016-10-25}}</ref>
|-
|-
บรรทัด 170: บรรทัด 162:
|-
|-
|{{flag|อินเดีย}} || [[นายกรัฐมนตรีอินเดีย|นายกรัฐมนตรี]] || [[นเรนทระ โมที]] || 10 พฤศจิกายน<ref>{{cite web | url = http://www.ndtv.com/india-news/pm-narendra-modi-makes-stopover-in-thailand-to-pay-respects-to-late-king-1623710 | title = PM Narendra Modi Makes Stopover In Thailand To Pay Respects To Late King | publisher = NDTV | date = 2016-11-10 |accessdate = 2016-11-10}}</ref>
|{{flag|อินเดีย}} || [[นายกรัฐมนตรีอินเดีย|นายกรัฐมนตรี]] || [[นเรนทระ โมที]] || 10 พฤศจิกายน<ref>{{cite web | url = http://www.ndtv.com/india-news/pm-narendra-modi-makes-stopover-in-thailand-to-pay-respects-to-late-king-1623710 | title = PM Narendra Modi Makes Stopover In Thailand To Pay Respects To Late King | publisher = NDTV | date = 2016-11-10 |accessdate = 2016-11-10}}</ref>
|-
|{{flag|ศรีลังกา}} || ประธานสงฆ์อมรปุระนิกาย || พระสังฆราชวัสกตุเว มหินทวังสะ || 11 พฤศจิกายน<ref>{{cite web | url = http://news.ch7.com/detail/201541/%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%84%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%96%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A8%E0%B8%9E.html | title = บุคคลสำคัญ และประชาชนจากทั่วสารทิศ เดินทางไปกราบถวายบังคมพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ = Ch7 | date = 2016-11-11 | accessdate = 2016-12-1}}</ref>
|-
|{{flag|อิสราเอล}} || นักวิทยาศาสตร์ [[รางวัลโนเบล]] สาขาเคมี [[พ.ศ. 2547]] || ศาสตราจารย์อารอน ชิแชนโนเวอร์ || 14 พฤศจิกายน<ref>{{cite web|url=http://news.ch7.com/detail/202490/%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%84%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%A8.html|title=บุคคลสำคัญและประชาชนจากทั่วสารทิศ เดินทางไปกราบถวายบังคมพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ = Ch7|date=2016-11-18|accessdate=2016-11-18}}</ref>
|-
|-
|{{flag|บังกลาเทศ}} || ผู้แทนพิเศษของประธานาธิบดี || เบกุม ตารานา ฮาลิม (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงไปรษณีย์ โทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ) || 15 พฤศจิกายน<ref>{{cite web | url = http://www.prd.go.th/ewt_news.php?nid=149699&filename=prd | title = รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงไปรษณีย์ โทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งสาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ วางพวงมาลาถวายราชสักการะพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช | publisher = The Government Public Relations Department | date = 2016-11-16 |accessdate = 2016-11-16}}</ref>
|{{flag|บังกลาเทศ}} || ผู้แทนพิเศษของประธานาธิบดี || เบกุม ตารานา ฮาลิม (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงไปรษณีย์ โทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ) || 15 พฤศจิกายน<ref>{{cite web | url = http://www.prd.go.th/ewt_news.php?nid=149699&filename=prd | title = รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงไปรษณีย์ โทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งสาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ วางพวงมาลาถวายราชสักการะพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช | publisher = The Government Public Relations Department | date = 2016-11-16 |accessdate = 2016-11-16}}</ref>
|-
|-
|{{flag|ตองกา}} || มกุฎราชกุมาร || เจ้าชายตูโปอูโตอา อูลูกาลาลา || 15 พฤศจิกายน<ref>{{cite web | url = http://www.prd.go.th/ewt_news.php?nid=149883&filename=prd | title = มกุฎราชกุมารตูโปโตอา อูลูกาลาลาแห่งตองกา เสด็จฯ ทรงลงพระหัตถ์ถวายความอาลัย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร | publisher = The Government Public Relations Department | date = 2016-11-15 |accessdate = 2016-11-18}}</ref>
|{{flag|ตองกา}} || มกุฎราชกุมาร || เจ้าชายตูโปอูโตอา อูลูกาลาลา || 15 พฤศจิกายน<ref>{{cite web | url = http://www.prd.go.th/ewt_news.php?nid=149883&filename=prd | title = มกุฎราชกุมารตูโปโตอา อูลูกาลาลาแห่งตองกา เสด็จฯ ทรงลงพระหัตถ์ถวายความอาลัย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร | publisher = The Government Public Relations Department | date = 2016-11-15 |accessdate = 2016-11-18}}</ref>
|-
|{{flag|สหรัฐอเมริกา}} || รองผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ || ดับเบิ้ลยู แพทริค เมอร์ฟี || 18 พฤศจิกายน<ref>{{cite web | url = http://news.ch7.com/detail/202490/%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%84%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%A8.html | title =
บุคคลสำคัญและประชาชนจากทั่วสารทิศ เดินทางไปกราบถวายบังคมพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ | publisher = Ch7 | date = 2016-11-18 | accessdate = 2016-11-18}}</ref>
|-
|{{flag|สหประชาชาติ}} || ผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานป้องกันยาเสพติดและปราบปรามอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ || ยูริ เฟดโอทอฟ || 18 พฤศจิกายน<ref>{{cite web | url = http://news.ch7.com/detail/202490/%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%84%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%A8.html | title =
บุคคลสำคัญและประชาชนจากทั่วสารทิศ เดินทางไปกราบถวายบังคมพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ | publisher = Ch7 | date = 2016-11-18 | accessdate = 2016-11-18}}</ref>
|-
|-
|{{flag|ติมอร์-เลสเต}} || ผู้แทนพิเศษของประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรี || แอร์นานี ฟีโลเมนา โกเอลยา ดา ซิลวา (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือสาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต) || 22 พฤศจิกายน<ref>{{cite web | url = http://news.ch7.com/detail/202964/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%96%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A8%E0%B8%9E_22-11-59.html | title =
|{{flag|ติมอร์-เลสเต}} || ผู้แทนพิเศษของประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรี || แอร์นานี ฟีโลเมนา โกเอลยา ดา ซิลวา (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือสาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต) || 22 พฤศจิกายน<ref>{{cite web | url = http://news.ch7.com/detail/202964/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%96%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A8%E0%B8%9E_22-11-59.html | title =
ผู้แทนบุคคลสำคัญ และองค์กรจากต่างประเทศ วางพวงมาลาและลงนามแสดงความอาลัย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในขณะที่ประชาชนจากภูมิภาคต่างๆไปกราบถวายบังคมพระบรมศพอย่างต่อเนื่อง | publisher = Ch7 | date = 2016-11-23 | accessdate = 2016-11-24}}</ref>
ผู้แทนบุคคลสำคัญ และองค์กรจากต่างประเทศ วางพวงมาลาและลงนามแสดงความอาลัย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในขณะที่ประชาชนจากภูมิภาคต่างๆไปกราบถวายบังคมพระบรมศพอย่างต่อเนื่อง | publisher = Ch7 | date = 2016-11-23 | accessdate = 2016-11-24}}</ref>
|-
| || ผู้แทนจากองค์กรโซคาสากล || องค์กรโซคาสากล || 22 พฤศจิกายน<ref>{{cite web | url = http://news.ch7.com/detail/202964/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%96%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A8%E0%B8%9E_22-11-59.html | title =
ผู้แทนบุคคลสำคัญ และองค์กรจากต่างประเทศ วางพวงมาลาและลงนามแสดงความอาลัย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในขณะที่ประชาชนจากภูมิภาคต่างๆไปกราบถวายบังคมพระบรมศพอย่างต่อเนื่อง | publisher = Ch7 | date = 2016-11-23 | accessdate = 2016-11-24}}</ref>
|-
|{{flag|ASEAN}} || คณะกรมข่าวภาคีอาเซียน || กรมข่าวภาคีอาเซียน || 22 พฤศจิกายน<ref>{{cite web | url = http://news.ch7.com/detail/202964/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%96%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A8%E0%B8%9E_22-11-59.html | title =
ผู้แทนบุคคลสำคัญ และองค์กรจากต่างประเทศ วางพวงมาลาและลงนามแสดงความอาลัย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในขณะที่ประชาชนจากภูมิภาคต่างๆไปกราบถวายบังคมพระบรมศพอย่างต่อเนื่อง | publisher = Ch7 | date = 2016-11-23 | accessdate = 2016-11-24}}</ref>
|-
|{{flag|รัสเซีย}} || ที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงมอสโก และหัวหน้าฝ่ายการต่างประเทศของรัฐบาลกรุงมอสโก || เซอร์เก้ อี.เชอร์มิน || 28 พฤศจิกายน<ref>{{cite web | url = http://news.ch7.com/detail/203675/%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%81%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8_%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99_%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%96%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B9%88_%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0.html | title =
ผู้แทนต่างประเทศ และประชาชน ร่วมถวายความอาลัยแด่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช | publisher = Ch7 | date = 2016-11-28 | accessdate = 2016-11-28}}</ref>
|-
|-
|{{flag|ญี่ปุ่น}} || อดีตนายกรัฐมนตรี || [[ยุคิโอะ ฮะโตะยะมะ]] || 28 พฤศจิกายน<ref>{{cite web | url = http://news.ch7.com/detail/203756/%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%84%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8_%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%86.html | title = คณะบุคคลต่างประเทศ และประชาชนจากจังหวัดต่างๆ ร่วมถวายความอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช | publisher = Ch7 | date = 2016-11-29 | accessdate = 2016-11-28}}</ref>
|{{flag|ญี่ปุ่น}} || อดีตนายกรัฐมนตรี || [[ยุคิโอะ ฮะโตะยะมะ]] || 28 พฤศจิกายน<ref>{{cite web | url = http://news.ch7.com/detail/203756/%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%84%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8_%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%86.html | title = คณะบุคคลต่างประเทศ และประชาชนจากจังหวัดต่างๆ ร่วมถวายความอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช | publisher = Ch7 | date = 2016-11-29 | accessdate = 2016-11-28}}</ref>
บรรทัด 325: บรรทัด 298:


== แหล่งข้อมูลอื่น ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* {{คอมมอนส์|Death of Bhumibol Adulyadej|การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช}}
* {{คอมมอนส์-หมวดหมู่-บรรทัด|Death of Bhumibol Adulyadej|การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช}}


{{พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช}}
{{พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:18, 5 ธันวาคม 2559

การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
พระโกศพระบรมศพ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง
การสิ้นพระชนม์
พระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร
วันสวรรคต13 ตุลาคม พ.ศ. 2559
สถานที่สวรรคตอาคารเฉลิมพระเกียรติ ชั้น 16 โรงพยาบาลศิริราช
ประดิษฐานพระบรมศพพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง
พระโกศพระโกศทองใหญ่
ฉัตรนพปฎลมหาเศวตฉัตร
พระเมรุพระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จสวรรคตเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เวลา 15.52 นาฬิกา ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช การสวรรคตของพระองค์สร้างความโศกเศร้าและเสียใจมากต่อประชาชนชาวไทยเป็นจำนวนมาก รัฐบาลประกาศไว้ทุกข์ ถวายความอาลัยเป็นเวลา 1 ปี สำนักพระราชวังมีหมายกำหนดการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระบรมศพระหว่างวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 21 มกราคม พ.ศ. 2560พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง มีกำหนดให้จัดพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนตุลาคม พ.ศ. 2560 หลังจากการจัดสร้างพระเมรุมาศแล้วเสร็จประมาณเดือนกันยายนปีเดียวกัน

พระอาการประชวร

นับตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2557 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯประทับรถตู้พระที่นั่ง จากที่ประทับ ณ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เข้าสู่โรงพยาบาลศิริราช โดยถึงประตู 8 โรงพยาบาลศิริราช เวลา 23.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เบื้องต้นพระองค์ทรงมีไข้ คณะแพทย์ผู้ถวายการรักษาดูแลใกล้ชิด[1] โดยสำนักพระราชวังออกแถลงการณ์เรื่อง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระประชวร ฉบับที่ 1 ความว่า

วันนี้ คณะแพทย์ผู้ถวายการรักษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รายงานพระอาการว่า เมื่อเย็นวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ทรงมีพระปรอท (ไข้) สูง 38.2 องศาเซลเซียส ผลการตรวจพระโลหิตแสดงว่ามีภาวะติดเชื้อ มีการเปลี่ยนแปลงในความดันพระโลหิต และอัตราการเต้นของพระหทัยเร็วขึ้น จึงได้กราบบังคมทูลเชิญเสด็จพระราชดำเนินไปประทับ ณ โรงพยาบาลศิริราช เพื่อถวายการตรวจด้วยเครื่องมือพิเศษ ถวายการตรวจพระโลหิตด้วยวิธีพิเศษเพิ่มเติม และถวายการรักษาต่อไป

เมื่อเช้าวันนี้ คณะแพทย์ฯ ได้รายงานเพิ่มเติมว่า หลังจากถวายการรักษาด้วยพระโอสถปฏิชีวนะทางหลอดพระโลหิต ความดันพระโลหิตคงที่ พระปรอท (ไข้) ลดลง สภาวะทางโภชนาการดีขึ้นเป็นลำดับ คณะแพทย์ฯ จะได้ถวายการตรวจด้วยเครื่องมือพิเศษเพิ่มเติม เพื่อหาสาเหตุของการติดเชื้อและถวายการรักษาต่อไป จึงขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

— สำนักพระราชวัง 4 ตุลาคม พ.ศ. 2557

วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2557 สำนักพระราชวังออกแถลงการณ์เรื่อง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ มาประทับ ณ โรงพยาบาลศิริราช ฉบับที่ 4 ว่าพระอาการทั่วไปดีขึ้น อุณหภูมิพระวรกายลดลงจนเกือบเป็นปรกติ การเต้นของพระหทัยเป็นปรกติ พระอาการเจ็บแผลผ่าตัดบรรเทาลง เริ่มเสวยพระกายาหารได้ คณะแพทย์ฯ ได้ลดพระโอสถระงับการเจ็บลง และงดถวายน้ำเกลือทางหลอดพระโลหิต แต่ยังคงถวายสารอาหารและพระโอสถปฏิชีวนะทางหลอดพระโลหิต กับเฝ้าดูและพระอาการอย่างใกล้ชิดต่อไป[2] ต่อมาในวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2557 สำนักพระราชวังออกแถลงการณ์เรื่อง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ มาประทับ ณ โรงพยาบาลศิริราช ฉบับที่ 5 ว่าพระอาการทั่วไปดีขึ้นตามลำดับ พระชีพจรและความดันพระโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปรกติ อุณหภูมิพระวรกายลดลงอีกจนเกือบเป็นปรกติ พระอาการเจ็บแผลผ่าตัดลดลงมาก เคลื่อนไหวพระวรกายได้ดีขึ้น หายพระหทัยปรกติ เสวยพระกระยาหารได้บ้าง[3]

วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 สำนักพระราชวังแจ้งว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จะเสด็จพระราชดำเนินกลับไปประทับ ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เวลา 14.00 น. เพื่อเปลี่ยนพระราชอิริยาบถ และเพื่อฟื้นฟูพระวรกายในพื้นที่อากาศบริสุทธิ์[4]

วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 สำนักพระราชวังแจ้งว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จะเสด็จพระราชดำเนินมาประทับ ณ ชั้น 16 อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช ตามคำกราบบังคมทูลเชิญเพื่อมาตรวจพระวรกายของคณะแพทย์ ผลการตรวจพบว่าพระโลหิต อุณหภูมิพระวรกาย ความดันพระโลหิตพระหทัย และระบบการหายพระทัยเป็นปกติ[5]

ตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2559 เป็นต้นมา สำนักพระราชวังออกแถลงการณ์ประชวร ว่ามีพระปรอทต่ำ หายพระทัยเร็ว มีพระเสมหะ พระปับผาสะซ้ายอักเสบ มีพระโลหิตเป็นกรด และพบว่ามีน้ำคั่งในช่องเยื่อหุ้มพระปัปผาสะเล็กน้อย[6]

พระอาการประชวรในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2559

ในวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2559 มีความดันพระโลหิตลดต่ำลง คณะแพทย์จึงทำการรักษาด้วยพระโอสถปฏิชีวนะ และใช้สายสวนเข้าหลอดพระโลหิตดำเพื่อฟอกพระโลหิตระยะยาว แต่มีพระความดันพระโลหิตต่ำจึงใช้เครื่องช่วยหายพระทัย และมีการฟอกไต พระอาการไม่คงที่ ตามที่สำนักพระราชวังได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 37 ว่า[7]

วันนี้ คณะแพทย์ผู้ถวายการรักษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้รายงานว่า ในวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2559 คณะแพทย์ฯ ได้ขอพระราชทานถวายใส่สายสวนเข้าหลอดพระโลหิตดำ เพื่อเตรียมการสำหรับการฟอกพระโลหิต (Hemodialysis) ระยะยาว และเปลี่ยนสายระบายน้ำไขสันหลังในโพรงพระสมองบริเวณบั้นพระองค์ (เอว) ตั้งแต่เวลา 14 นาฬิกา ถึง 16 นาฬิกา 40 นาที

ปรากฏภายหลังว่า มีความดันพระโลหิตลดต่ำลงเป็นครั้งคราว คณะแพทย์ฯ จึงได้ถวายพระโอสถ และได้ใช้เครื่องช่วยหายพระทัย (Ventilator) เพื่อทำให้ความดันพระโลหิตกลับสู่ระดับปรกติ จนกระทั่งเวลา 3 นาฬิกา วันนี้ มีพระชีพจรเร็วขึ้น ความดันพระโลหิตลดลง ผลการตรวจพระโลหิต พบว่าพระโลหิตมีความเป็นกรดเพิ่มขึ้น ผลการตรวจพระหทัยด้วยคลื่นเสียงสะท้อน (Echocardiography) พบว่าปริมาณพระโลหิตที่เข้าสู่พระหทัยด้านซ้ายช่องล่างลดลงมาก อันเป็นผลจากการที่มีความดันพระโลหิตในพระปัปผาสะ (ปอด) สูง

คณะแพทย์ฯ ได้ถวายพระโอสถขยายหลอดพระโลหิตในพระปัปผาสะ (ปอด) เมื่อเวลา 15 นาฬิกา ทำให้พระชีพจรเริ่มลดลง และความดันพระโลหิตดีขึ้น คณะแพทย์ฯ ได้เฝ้าติดตามพระอาการและถวายการรักษาอย่างใกล้ชิด เนื่องจากพระอาการประชวรโดยรวมยังไม่คงที่ และได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้งดพระราชกิจ จึงประกาศมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน

— สำนักพระราชวัง 9 ตุลาคม พ.ศ. 2559

หลังจากนั้น พระอาการเริ่มทรุดลงเรื่อยๆ ทรงมีภาวะการติดเชื้อและการทำงานของพระยกนะ (ตับ) และมีแถลงการณ์สำนักพระราชวัง รายงานพระอาการประชวรฉบับสุดท้าย คือ ฉบับที่ 38 ความว่า [8]

วันนี้ คณะแพทย์ผู้ถวายการรักษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้รายงานว่า เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ความดันพระโลหิตลดต่ำลงอีก พระชีพจรเร็วขึ้น ร่วมกับภาวะพระโลหิตมีความเป็นกรดเพิ่มขึ้นอีก ผลของการถวายตรวจพระโลหิตบ่งชี้ว่า มีภาวะการติดเชื้อและการทำงานของพระยกนะ (ตับ) ผิดปรกติ คณะแพทย์ฯ ได้ถวายพระโอสถปฏิชีวนะและแก้ไขภาวะพระโลหิตมีความเป็นกรด ตลอดจนถวายพระโอสถควบคุมความดันพระโลหิตเพิ่มขึ้น พร้อมทั้งถวายเครื่องช่วยหายพระทัย (Ventilator) และถวายการรักษาด้วยวิธีทดแทนไต (CRRT) พระอาการประชวรโดยรวมยังไม่คงที่ ต้องควบคุมด้วยพระโอสถ คณะแพทย์ฯ ได้เฝ้าติดตามพระอาการและถวายการรักษาอย่างใกล้ชิด

— สำนักพระราชวัง 12 ตุลาคม พ.ศ. 2559

วันที่ 12 ตุลาคม พระราชโอรส-ธิดาทั้งสี่พระองค์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ และพระเจ้าหลานเธออีกสองพระองค์เข้าเยี่ยมพระอาการประชวร [9]

สวรรคต

สำนักพระราชวัง มีประกาศเรื่องพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร สวรรคต เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ความว่า [10] [11] [12]

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินไปประทับรักษาพระอาการประชวร ณ โรงพยาบาลศิริราช ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 3 ตุลาคม พุทธศักราช 2557 ตามที่ สำนักพระราชวัง ได้แถลงให้ทราบ เป็นระยะแล้วนั้น

แม้คณะแพทย์ได้ถวายการรักษาอย่างใกล้ชิดจนสุดความสามารถ แต่พระอาการประชวรหาคลายไม่ ได้ทรุดหนักลงตามลำดับ ถึงวันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พุทธศักราช 2559 เวลา 15 นาฬิกา 52 นาที เสด็จสวรรคต ณ โรงพยาบาลศิริราช ด้วยพระอาการสงบ สิริพระชนมพรรษาปีที่ 89 ทรงครองราชสมบัติได้ 70 ปี

— สำนักพระราชวัง 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559

เคลื่อนพระบรมศพสู่พระบรมมหาราชวัง

ไฟล์:King Bhumibol's body transferred to palace.jpg
ขบวนเคลื่อนพระบรมศพฯ จากโรงพยาบาลศิริราช ไปยังพระบรมมหาราชวัง

วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เวลา 16.00 น. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปยัง โรงพยาบาลศิริราช เพื่อเคลื่อนพระบรมศพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชไปยัง พระบรมมหาราชวัง เพื่อประกอบพระราชพิธีสรงน้ำพระบรมศพ ณ พระที่นั่งพิมานรัตยา โดยขบวนจะเคลื่อนออกจากโรงพยาบาลศิริราชทางถนนอรุณอมรินทร์ผ่านไปยังแยกอรุณอมรินทร์ขึ้น สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าเคลื่อนต่อไปยังถนนราชดำเนินในเข้าสู่พระบรมมหาราชวังทางถนนหน้าพระลาน ที่ ประตูพิมานไชยศรี และ ประตูเทวาภิรมย์ ตลอดเส้นทางมีประชาชนมาเฝ้าส่งเสด็จเป็นจำนวนมาก [13]

ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี

ธงครึ่งเสาที่หน้ากระทรวงกลาโหม กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2559

สำนักนายกรัฐมนตรี ออกประกาศเรื่องการเสด็จสวรรคต มีใจความสำคัญว่า รัฐบาลรับทราบการสวรรคตด้วยความโทมนัสอย่างยิ่ง ตลอดจนเห็นว่า มีพระมหากรุณาธิคุณใหญ่หลวงต่อพสกนิกรชาวไทยตลอดมา จึงให้สถานที่ราชการ รัฐวิสาหกิจ และสถานศึกษาทุกแห่ง ลดธงครึ่งเสา มีกำหนด 30 วัน และให้ข้าราชการ และพนักงานรัฐวิสาหกิจไว้ทุกข์ มีกำหนด 1 ปี เริ่มนับแต่วันที่ 14 ตุลาคม เป็นต้นไป[14]

ประชาชนถวายน้ำสรงพระบรมศพ

ตั้งแต่เวลา 08.00 น. – 14.00 น. สำนักพระราชวังให้ประชาชนเข้าถวายน้ำสรงพระบรมศพ หน้าพระบรมฉายาลักษณ์ ณ ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง มีพสกนิกรเดินทางมาร่วมถวายความอาลัยเป็นครั้งสุดท้ายเป็นจำนวนมาก [15]

ประชาชนถวายสักการะหน้าพระบรมฉายาลักษณ์

สำนักพระราชวังให้ประชาชนเข้าถวายสักการะหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ [16] และได้จัดสมุดลงนามถวายความอาลัย ตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559 จนถึงวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ณ ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง

ประชาชนถวายสักการะพระบรมศพ

สำนักพระราชวังได้รับพระราชานุญาต ให้ประชาชนเข้าถวายสักการะพระบรมศพ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เวลา 05.00 น.- 21.00 น. และร่วมบริจาคเงินสมทบทุนได้ทุกวัน ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป [17] ซึ่งก็มีพสกนิกรเดินทางมาร่วมถวายสักการะพระศพและร่วมสมทบเงินทุนเป็นจำนวนมาก

การแสดงความอาลัย

ภายในประเทศ

พระบรมฉายาลักษณ์ประดับไว้เพื่อการแสดงความอาลัย ณ ท้องสนามหลวง

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีแถลงการณ์ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย แสดงความเสียใจต่อการสวรรคต ขอให้ประชาชนร่วมถวายความอาลัยและดำเนินชีวิตต่อไป[18]

รัฐบาลประกาศให้สถานที่ราชการ รัฐวิสาหกิจ และสถานศึกษาทุกแห่งลดธงครึ่งเสา มีกำหนด 30 วัน และให้ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจไว้ทุกข์ มีกำหนด 1 ปี เริ่มนับแต่วันที่ 14 ตุลาคม เป็นต้นไป[19] รวมทั้งยังมีประกาศขอความร่วมมือให้งดจัดงานรื่นเริงต่าง ๆ เป็นเวลา 30 วัน ส่งผลให้การแสดงรื่นรมย์ต่าง ๆ เช่น คอนเสิร์ต งานมหกรรม กิจกรรมกีฬา การแสดงต่าง ๆ ต่างยกเลิกหรือเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด รวมทั้งสถานบันเทิงต่าง ๆ หลายแห่งปิดการให้บริการชั่วคราว[20] และยังมีการประกาศให้วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เป็นวันหยุดราชการอีกด้วย[21]

ผู้บัญชาการทหารบก พลเอก เฉลิมชัย สิทธิสาท ได้ออกคำสั่งในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ให้กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยทุกกองทัพภาคทั่วประเทศ เพิ่มระดับการรักษาความปลอดภัยขั้นสูงสุด เพื่อดูแลและอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน และเพื่อสร้างความเชื่อมั่น อบอุ่นใจให้ประชาชนว่า ทางกองทัพและคณะรักษาความสงบแห่งชาติได้ดูแลความสงบเรียบร้อยในช่วงเวลาสำคัญของคนไทยทั้งประเทศ โดยจะคงมาตรการรักษาความปลอดภัยนี้ไว้แค่ช่วงเวลาระยะหนึ่ง จนกว่าจะเห็นว่าสถานการณ์จะบรรเทาความโศกเศร้าลง[22]

ในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2559 รัฐบาลจัดตั้งศูนย์บัญชาการติดตามสถานการณ์ โดยให้พลเอก วิลาศ อรุณศรี เป็นผู้อำนวยการศูนย์บัญชาการติดตามสถานการณ์ และให้สุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ เป็นเลขานุการศูนย์บัญชาการติดตามสถานการณ์

การแสดงความอาลัยในสื่อสังคม

เว็บไซต์ในประเทศไทยเปลี่ยนสีเป็นขาว-ดำหรือสเกลสีเทา เพื่อแสดงความอาลัย

ในสื่อสังคมต่าง ๆ มีการแสดงความอาลัยเป็นจำนวนมาก เช่นในเฟซบุ๊ก มีผู้ใช้งานจำนวนมากเปลี่ยนภาพผู้ใช้เพื่อแสดงความอาลัย เพจดังต่าง ๆ ลงภาพแสดงความอาลัยและงดลงเนื้อหาบันเทิงเป็นการชั่วคราว[23] รวมทั้งทางเฟซบุ๊กยังได้ประกาศงดโฆษณาในเว็บไซต์ภาคภาษาไทยอย่างไม่มีกำหนดเพื่อแสดงความอาลัย,[24] กูเกิลประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนดูเดิลเป็นสีดำเพื่อแสดงความอาลัย,[25] ยูทูบได้งดโฆษณาเป็นเวลา 7 วันเช่นกัน, ดาราและนักแสดงต่างร่วมกันแสดงความอาลัยผ่านทางอินสตาแกรมและทวิตเตอร์[26] นอกจากนี้เว็บไซต์ต่าง ๆ ทั่วประเทศได้เปลี่ยนสีเว็บเป็นขาวดำเพื่อแสดงความอาลัยด้วย[27]

การดำเนินการของสถานีโทรทัศน์ภายหลังการสวรรคต

หลังจากสำนักพระราชวังประกาศการสวรรคต สถานีโทรทัศน์ในประเทศไทยทุกช่องได้ออกอากาศรายการพิเศษจากโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย เป็นการฉายสารคดีพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชตลอดรัชสมัย สลับกับการแถลงการณ์ต่าง ๆ ที่เกียวข้องกับการสวรรคต วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ได้มีการถ่ายทอดสดการเชิญพระบรมศพจากโรงพยาบาลศิริราชไปยังพระที่นั่งพิมานรัตยาในพระบรมมหาราชวัง และพระราชพิธีสรงน้ำพระบรมศพ กระทั่งเวลา 00.00 น. วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2559 จึงเริ่มการออกอากาศรายการต่าง ๆ ตามปกติ (อย่างไรก็ตามพลโท สรรเสริญ แก้วกำเนิด แถลงว่า รัฐบาลได้ขอความร่วมให้งดรายการตามปกติและรับสัญญาณจากโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย เป็นเวลา 30 วัน ก่อนจะถูกยกเลิกไป)[28] สำนักงาน กสทช. ได้ขอความร่วมมือให้งดรายการรื่นเริงต่าง ๆ เป็นเวลา 30 วัน [29]

ต่อมาในวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2559 สำนักงาน กสทช. ได้ออกแนวปฏิบัติในการนำเสนอรายการทางโทรทัศน์ โดยในช่วง 15-30 วัน หลังการสวรรคต ให้สถานีโทรทัศน์ต่าง ๆ ระมัดระวังและตรวจสอบการนำเสนอเนื้อหา การวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งแสดงถึงหรือกล่าวถึงความขัดแย้งในด้านต่าง ๆ ที่อาจนำไปสู่ความแตกแยกในสังคม และขอความร่วมมือในการปรับสีรายการต่าง ๆ ไม่ให้ฉูดฉาดจนเกินไป ในช่วง 31-37 วันถัดมา สามารถนำรายการเด็ก รายการทั่วไป และรายการแนะนำเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี ออกอากาศได้ โดยมีการควบคุมเนื้อหา และตั้งแต่วันที่ 38-100 หลังการสวรรคต สามารถนำรายการแนะนำเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ออกอากาศได้ แต่ไม่ควรมีเรื่องของความรุนแรง เรื่องทางเพศ และถ้อยคำหยาบคาย[30]

ระดับนานาชาติ

ผลกระทบ

มีกลุ่มประชาชนบางส่วนออกมาโจมตีต่อผู้ที่ไม่สวมเสื้อดำ แสดงการไว้ทุกข์ เกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่าการล่าแม่มด บางส่วนมีพฤติกรรมรุนแรง ถึงขั้นประจานทางสื่อออนไลน์[31] จากเหตุการณ์ดังกล่าว พลโท สรรเสริญ แก้วกำเนิด รักษาการอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์และโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เสนอให้ประชาชนที่ไม่สามารถจัดหาเสื้อผ้าสีดำหรือสีขาวมาร่วมแสดงความอาลัยได้ สามารถติดริบบิ้นหรือโบสีดำบนหน้าอกเสื้อหรือที่แขนเสื้อบริเวณต้นแขนเพื่อเป็นการแสดงสัญลักษณ์ความอาลัยได้เช่นกัน[32][33]

นอกจากนี้ ในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559 มีกลุ่มคนจำนวนหนึ่งในจังหวัดภูเก็ต ออกมาปิดล้อมบ้านของลูกชายเจ้าของร้านน้ำเต้าหู้ที่โพสต์ข้อความค่อนข้างหมิ่นต่อสถาบัน [34] เจ้าหน้าที่ตำรวจแจ้งว่าโพสต์นั้นมิได้มีเนื้อหาหมิ่นต่อสถาบันแต่อย่างใด แต่ในที่สุดเจ้าหน้าที่ตำรวจก็ได้เข้าควบคุมตัวชายคนนั้นในข้อหาหมิ่นสถาบัน ได้เกิดเหตุการณ์คล้ายคลึงกันในจังหวัดพังงา[35]

รายนามผู้นำและหรือตัวแทนของประเทศต่าง ๆ ที่ร่วมพระราชพิธีพระบรมศพ

ผู้นำและประมุขของแต่ละประเทศ ตลอดจนผู้แทนพระองค์หรือผู้แทนพิเศษของประเทศต่าง ๆ ที่เสด็จพระราชดำเนิน เสด็จ และเดินทางมาร่วมวางพวงมาลาถวายราชสักการะพระบรมศพ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และลงพระนามและลงนามแสดงความอาลัย ณ ศาลาว่าการพระราชวัง และอาคารสำนักราชเลขาธิการ มีรายพระนามและรายนามดังต่อไปนี้

ประเทศ ตำแหน่ง ชื่อ วัน
 ภูฏาน สมเด็จพระราชาธิบดี สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก 16 ตุลาคม[36]
สมเด็จพระราชินี สมเด็จพระราชินีเจตซุน เพมา วังชุก
 บาห์เรน นายกรัฐมนตรี เคาะลีฟะฮ์ บิน ซัลมาน อัลเคาะลีฟะฮ์ 18 ตุลาคม[37]
 สิงคโปร์ นายกรัฐมนตรี ลี เซียนลุง และภริยา 21 ตุลาคม[38]
 มัลดีฟส์ ผู้แทนพิเศษของประธานาธิบดี โมฮัมเหม็ด ซาอิด (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาเศรษฐกิจ) 21 ตุลาคม[39]
 มาเลเซีย นายกรัฐมนตรี นาจิบ ราซะก์ และภริยา 22 ตุลาคม[40]
 กัมพูชา นายกรัฐมนตรี สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน 22 ตุลาคม[41]
รองนายกรัฐมนตรี เตีย บัญ
 จีน ผู้แทนพิเศษของประธานาธิบดี หลี่ หยวนเฉา (รองประธานาธิบดี) 22 ตุลาคม[42]
 ลาว นายกรัฐมนตรี ทองลุน สีสุลิด 24 ตุลาคม[43]
 สิงคโปร์ ประธานาธิบดี โทนี ตัน เค็ง ยัม 24 ตุลาคม[44]
 อินโดนีเซีย ประธานาธิบดี โจโก วีโดโด และภริยา 25 ตุลาคม[45]
 แกมเบีย ผู้แทนพิเศษของประธานาธิบดี บาลา การ์บา จาฮุมปา
(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม โยธาธิการ และการสื่อสาร)
25 ตุลาคม[46]
 เวียดนาม นายกรัฐมนตรี เหงียน ซวน ฟุก 28 ตุลาคม[47]
 ศรีลังกา ประธานาธิบดี ไมตรีพาลา สิริเสนา 30 ตุลาคม[48]
 เลโซโท สมเด็จพระราชาธิบดี สมเด็จพระราชาธิบดีเลตซีที่ 3 แห่งเลโซโท 2 พฤศจิกายน[49]
 พม่า ประธานาธิบดี ถิ่น จอ 9 พฤศจิกายน[50]
 ฟิลิปปินส์ ประธานาธิบดี โรดรีโก ดูแตร์เต 9 พฤศจิกายน[51]
 เบลเยียม ผู้แทนพระองค์สมเด็จพระราชาธิบดี นิโคลัส นิอง (อุปทูตสถานเอกอัครราชทูตเบลเยียมประจำประเทศไทย) 9 พฤศจิกายน[52]
 อินเดีย นายกรัฐมนตรี นเรนทระ โมที 10 พฤศจิกายน[53]
 บังกลาเทศ ผู้แทนพิเศษของประธานาธิบดี เบกุม ตารานา ฮาลิม (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงไปรษณีย์ โทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ) 15 พฤศจิกายน[54]
 ตองงา มกุฎราชกุมาร เจ้าชายตูโปอูโตอา อูลูกาลาลา 15 พฤศจิกายน[55]
 ติมอร์-เลสเต ผู้แทนพิเศษของประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรี แอร์นานี ฟีโลเมนา โกเอลยา ดา ซิลวา (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือสาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต) 22 พฤศจิกายน[56]
 ญี่ปุ่น อดีตนายกรัฐมนตรี ยุคิโอะ ฮะโตะยะมะ 28 พฤศจิกายน[57]
 รัสเซีย ผู้แทนพิเศษของประธานาธิบดี อันเดรย์ คลีซัส (ประธานคณะกรรมาธิการกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งรัฐสภาสหพันธรัฐรัสเซีย) 30 พฤศจิกายน[58]

พระราชพิธีถวายน้ำสรงพระบรมศพ

ไฟล์:King Bhumibol's Funeral Bathing Ceremony.jpg
พระราชพิธีถวายน้ำสรงบรมพระศพ

วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เวลา 17.00 นาฬิกาโดยประมาณ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งยังพระที่นั่งพิมานรัตยา ในพระบรมมหาราชวังในการถวายสรงน้ำพระบรมศพ พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จเข้าสู่ภายในพระฉาก ซึ่งพระบรมศพบรรทมอยู่บนพระแท่น

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยสำหรับพระบรมศพบูชาพระพุทธรูปประจำพระชนมวาร สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยราชสักการะพระบรมศพ ทรงรับขวดน้ำพระสุคนธ์ โถน้ำอบไทยและโถน้ำขมิ้น ถวายสรงที่พระบรมศพ ต่อจากนั้น ทรงหวีเส้นพระเจ้าพระบรมศพขึ้นครั้งหนึ่ง หวีลงอีกครั้งหนึ่ง แล้วหวีขึ้นอีกครั้งหนึ่ง แล้วทรงหักพระสางนั้นวางไว้ในพานซึ่งเจ้าพนักงานเชิญอยู่ จากนั้นเสด็จฯ ไป​ทรง​ถวายซองพระศรีบรรจุดอกบัวและธูปเทียน แผ่นทองคำจำหลักลายปิดพระพักตร์ พระชฎาห้ายอดวางข้างพระเศียรพระบรมศพ

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานเชิญพระบรมศพลงสู่หีบ ตำรวจหลวงเชิญหีบพระบรมศพไปยังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จพระราชดำเนินและเสด็จตาม ตำรวจหลวงเชิญหีบพระบรมศพขึ้นประดิษฐานเหนือพระแท่นแว่นฟ้าเบื้องหลังพระฉากและพระแท่นสุวรรณเบญจดล ประกอบพระลองทองใหญ่ ภายใต้นพปฎลเศวตฉัตร แวดล้อมด้วยเครื่องสูงหักทองขวาง บังแทรก ชุมสาย ต้นไม้ทองเงิน ณ มุขตะวันตก พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท

เสร็จแล้ว สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงวางพวงมาลาที่หน้าพระโกศพระบรมศพ ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยและเครื่องราชสักการะพระบรมศพ ทรงกราบ แล้วทรงจุดเครื่องนมัสการบูชาพระพุทธรูปประจำพระชนมวารที่หน้าพระแท่นมหาเศวตฉัตร ทรงกราบ เจ้าพนักงานนิมนต์พระสงฆ์เที่ยวละ 10 รูป ทรงทอดผ้าไตรเที่ยวละ 10 ไตร พระสงฆ์สดับปกรณ์ เมื่อครบ 100 รูป ทรงหลั่งทักษิโณทก ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก ถวายพระพรลา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินไปที่หน้าพระโกศพระบรมศพ ทรงกราบ และเสด็จพระราชดำเนินไปที่หน้าพระพุทธรูปประจำพระชนมวารที่ประดิษฐานอยู่บนพระแท่นมหาเศวตฉัตร ทรงกราบ จากนั้นทรงจุดธูปเทียนเครื่องบูชากระบะมุกที่หน้าพระแท่นเตียงพระสวดพระอภิธรรม ณ มุขหน้าพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท จากนั้น เสด็จลงบันไดมุขกระสันด้านทิศเหนือพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ประทับรถยนต์พระที่นั่ง เสด็จพระราชดำเนินกลับ

การบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระบรมศพฯ

หมายกำหนดการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระบรมศพฯ

สำนักพระราชวัง กำหนดการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ถวายพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ดังนี้

  • พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลสัตตมวาร (7 วัน) ในวันที่ 19 – 20 ตุลาคม 2559
  • พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลปัณรสมวาร (15 วัน) ในวันที่ 27 - 28 ตุลาคม 2559
  • พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลปัญญาสมวาร (50 วัน) ในวันที่ 1 - 2 ธันวาคม 2559
  • พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลสตมวาร (100 วัน) ในวันที่ 20 - 21 มกราคม 2560[59]

พิธีถวายเลี้ยงภัตตาหารเช้าและเพลแด่พระพิธีธรรม

นับตั้งแต่ วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559 พระบรมวงศานุวงศ์ ได้เสด็จฯทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระบรมศพฯ ในการถวายภัตตาหารเช้าและเพลแด่พระภิกษุสงฆ์ ระหว่างการพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมพระศพ ครบทั้ง 100 วัน ถึง วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2560 ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง เวลา 7 นาฬิกา และเวลา 11 นาฬิกา

พระพิธีธรรมพิธีสวดพระอภิธรรมพระบรมศพ

นับตั้งแต่คืนของวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 พระบรมวงศานุวงศ์ ได้เสด็จฯทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระบรมศพฯ ในการพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมพระบรมศพ ตลอด 100 วัน ถึง วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2560 ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ในเวลา 15 นาฬิกา เวลา 19 นาฬิกา และเวลา 21 นาฬิกา

การให้หน่วยงานหรือบุคคลต่างๆ ร่วมเป็นเจ้าภาพสวดพระอภิธรรม

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชานุญาตให้ราชสกุล องคมนตรี คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม องค์กรอิสระ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน ร่วมเป็นเจ้าภาพในการบำเพ็ญกุศลสวดพระอภิธรรมพระบรมศพ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ และถวายเป็นพระราชกุศล หลังจากการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลปัญญาสมวาร (50 วัน) ถวายพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช วันที่ 1 - 2 ธันวาคม 2559

ผู้มีความประสงค์ขอเป็นเจ้าภาพร่วมบำเพ็ญกุศลถวายพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สามารถแสดงความจำนงขอเป็นเจ้าภาพได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

หีบพระบรมศพ

นายพรเทพ สุริยา เจ้าของร้านสุริยาหีบศพ กล่าวว่า สำนักพระราชวังได้ติดต่อให้จัดสร้างหีบพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยสร้างหีบพระบรมศพทรงหลุยส์ผสมทองคำแท้ 100 % จากแผ่นไม้สักทองอายุมากกว่า 100 ปีขนาดใหญ่เพียงแผ่นเดียวไม่มีรอยต่อ ขนาดความกว้าง 29 นิ้ว ความยาว 2.15 เมตร วัดรอบหีบทั้งใบ 229 นิ้ว ทั้งนี้ใช้เวลาประกอบทันทีหลังการเสด็จสวรรคต

เจ้าของร้านสุริยาหีบศพ กล่าวเพิ่มเติมว่า หีบพระบรมศพดังกล่าวแกะสลักลายกุหลาบไทยผสมผสานลายหลุยส์ รอบหีบปิดด้วยทองคำแท้ ภายในหีบพระบรมศพ ใช้ผ้าไหมสีงาช้าง มีที่รองที่บรรทม และซีลภายในเพื่อความแข็งแรง ส่วนผ้าคลุมเป็นผ้าไหมปักดิ้นทอง ซึ่งทางสุริยาเป็นผู้ออกแบบเองทั้งหมด[60]

การประโคมย่ำยาม

การบรรเลงดนตรีไทยในงานพระราชพิธี ถือว่าเป็นเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศขององค์พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ และเป็นส่วนหนึ่งในของงานพระราชพิธีที่บรรเลงตามขั้นตอนของงานพระราชพิธี คู่กับวงประโคมของงานเครื่องสูง สำนักพระราชวัง แต่เดิมการประโคมดนตรีที่เป็นลักษณะประโคมย่ำยาม มีเฉพาะของงานเครื่องสูง สำนักพระราชวัง เท่านั้น ประกอบด้วยวงแตรสังข์และวงปี่ไฉนกลองชนะ มีการประโคมย่ำยามทุก 3 ชั่วโมง คือ

  • ยาม 1 เวลา 06.00 น.
  • ยาม 2 เวลา 09.00 น.
  • ยาม 3 เวลา 12.00 น.
  • ยาม 4 เวลา 15.00 น.
  • ยาม 5 เวลา 18.00 น.
  • ยาม 6 เวลา 21.00 น.

ในการประโคมงานพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช กรมศิลปากรได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมในการประโคมย่ำยามด้วย ดังนั้น จึงมี 2 หน่วยงานเข้าร่วมประโคม คือ

  • วงประโคมของงานเครื่องสูง สำนักพระราชวัง (วงแตรสังข์และวงปี่ไฉนกลองชนะและกลองมโหรทึก)
  • วงปี่พาทย์นางหงส์ ของกลุ่มดุริยางค์ไทย สำนักการสังคีต กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม

การประโคมย่ำยาม มีขั้นตอนเรียงลำดับ ดังนี้

  • วงประโคมลำดับที่ 1 คือ วงแตรสังข์ ประกอบด้วยเครื่องดนตรี สังข์ แตรงอน แตรฝรั่ง ประโคม “เพลงสำหรับบท” จบแล้ว วงประโคมวงที่ 2 จึงเริ่มขึ้น
  • วงประโคมลำดับที่ 2 คือ วงปี่ไฉนกลองชนะ (หรือเรียกว่า วงเปิงพรวด) ประกอบด้วยเครื่องดนตรี ปี่ไฉน กลองชนะ กลองมโหรทึก เปิงมาง “ประโคมเพลงพญาโศกลอยลม” จบแล้ว วงประโคมวงที่ 3 จึงเริ่มขึ้น
  • วงประโคมลำดับที่ 3 คือ วงปี่พาทย์นางหงส์ ประกอบด้วย ปี่ชวา ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ตะโพน กลองทัด ฉิ่ง “ประโคมเพลงชุดนางหงส์”

เมื่อประโคม ครบทั้ง 3 วงแล้ว ก็ถือว่าเสร็จการประโคมย่ำยาม 1 ครั้ง การที่กรมศิลปากร นำวงปี่พาทย์นางหงส์มาประโคมย่ำยามนั้น

แต่โบราณดั้งเดิม ไม่ได้มี “วงปี่พาทย์” ร่วมประโคมย่ำยาม จะมีแต่เฉพาะ “วงแตรสังข์ และ วงปี่ไฉนกลองชนะ” ของงานเครื่องสูง สำนักพระราชวังและวงกลองสี่ปี่หนึ่ง (ปัจจุบันไม่ได้ใช้แล้ว) ประโคมในงานพระบรมศพ พระศพ เท่านั้น

พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ

พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช กำหนดจะมีขึ้นประมาณช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนตุลาคม พ.ศ. 2560[61] หลังจากการจัดสร้างพระเมรุมาศแล้วเสร็จประมาณเดือนกันยายน 2560 ตามแผนที่กำหนดไว้[62] โดยมี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเป็นองค์วินิจฉัยในการจัดสร้างพระเมรุมาศ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานอำนวยการพระราชพิธีในครั้งนี้ [63]

การเตรียมจัดงานพระราชพิธี

การจัดสร้างพระเมรุมาศ

เมื่อวันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 ได้มีการประชุมคณะกรรมการฝ่ายจัดสร้างพระเมรุมาศและสิ่งปลูกสร้างเป็นครั้งแรก โดยมีพลเอกธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร เป็นประธาน โดยได้มีการเปิดเผยร่างแบบพระเมรุมาศ พร้อมด้วยพระโกศจันทร์ ที่ประชุมรับทราบความคืบหน้าในการจัดสร้างพระเมรุมาศและสิ่งปลูกสร้างประกอบพระเมรุมาศฯ โดยยึดหลักแนวคิดในการออกแบบและจัดสร้างพระเมรุมาศตามหลักโบราณราชประเพณีการสร้างพระเมรุมาศของพระมหากษัตริย์ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

สำหรับผู้ออกแบบพระเมรุมาศ ประกอบด้วย นายสัตวัน ฮ่มซ้าย ผู้อำนวยการสำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร นายก่อเกียรติ ทองผุด นายช่างศิลปกรรมชำนาญการ นายธีรชาติ วีรยุทธานนท์ สถาปนิกชำนาญการ[64]

สำหรับการจัดเตรียมพื้นที่ท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานครได้จัดกิจกรรม Big Cleaning Day พื้นที่โดยรอบสนามหลวงและพระบรมมหาราชวังในวันที่ 1 และ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2559 หลังจากนั้น จะส่งมอบพื้นที่ให้กรมศิลปากร จัดสร้างพระเมรุมาศ ในวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2560 โดยการจัดสร้างในทุก ๆ ด้าน คาดว่าจะให้แล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน พ.ศ. 2560 ตามแผนที่กำหนดไว้ และจะมีการจัดแสดงนิทรรศการที่เกี่ยวข้องเป็นเวลา 2 เดือน ก่อนจะมีการรื้อถอน[65]

องค์ประกอบพระเมรุมาศ

พระเมรุมาศ ออกแบบโดยยึดถือคติตามโบราณราชประเพณี รูปแบบเฉพาะสำหรับพระมหากษัตริย์ เป็นพระเมรุมาศทรงบุษบก สูง 50.49 เมตร มีชั้นเชิงกลอน 7 ชั้น ผังพื้นที่ใช้งานเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้างด้านละ 60 เมตร มีบันไดทั้งสี่ด้าน ฐานยกพื้นที่สูง มี 3 ชั้น ชั้นบน ที่มุมทั้งสี่ ประกอบด้วย ซ่างทรงบุษบก ชั้นเชิงกลอนห้าชั้น สำหรับพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม ฐานชั้นที่ 2 ประกอบด้วยซุ้มทรงบุษบกรูปแบบเดียวกัน รวมสิ่งก่อสร้างมีเครื่องยอดนับรวมได้ 9 ยอด โดยยอดกลางจะเปรียบเหมือนเป็นเขาพระสุเมรุ และอีก 8 ยอดเป็นเหมือนยอดเขาสัตตบริภัณฑ์ ซึ่งเปรียบเป็นระบบจักรวาล โดยเปรียบพระมหากษัตริย์เป็นเหมือนสมมติเทพ

ทั้งนี้ มีเสาโครงเป็นครุฑและสัตว์หิมพานต์ ซึ่งครุฑเป็นพาหนะของพระนารายณ์ มีความเชื่อตามสมมติเทพว่า พระมหากษัตริย์เป็นพระนารายณ์อวตารลงมา

อาคารประกอบพระราชพิธี
  • พระที่นั่งทรงธรรม ซึ่งเป็นอาคารชั้นเดียวยกฐานสูง ขนาดกว้าง 44.50 เมตร ยาว 155 เมตร ซึ่งเป็นที่ประทับและบำเพ็ญพระราชกุศลในการพระราชพิธี รวมทั้งมีที่สำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ คณะองคมนตรี คณะรัฐมนตรี ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน สมาชิกรัฐสภา ตลอดจนคณะทูตานุทูต เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ภายในพระที่นั่งทรงธรรม และเป็นที่ตั้งอาสนะพระสงฆ์ และธรรมมาสน์ เป็นที่ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล รองรับได้ประมาณ 2,800 ที่นั่ง
  • ซ่าง เป็นทรงบุษบก ชั้นเชิงกลอนห้าชั้น ที่นั่งสำหรับพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมพระบรมศพ
  • ศาลาลูกขุน แบบที่ 1 ใช้เป็นที่เฝ้าของข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ข้าราชการ สำนักพระราชวัง และสำนักราชเลขาธิการ
  • ศาลาลูกขุน แบบที่ 2 ใช้เป็นที่เฝ้าของข้าราชการและผู้ที่เข้ามาร่วมในพระราชพิธี
  • ศาลาลูกขุน แบบที่ 3 ใช้เป็นที่เฝ้าของสมาชิกราชสกุล ราชินิกูลทุกมหาสาขา ตลอดจนข้าทูลละอองธุลีพระบาท และผู้ที่เข้ามาร่วมในพระราชพิธี
  • ทับเกษตร ใช้เป็นที่เฝ้าของข้าราชการ และผู้ที่เข้ามาร่วมในพระราชพิธี พักและฟังสวดพระอภิธรรม
  • ทิม สำหรับเจ้าพนักงาน พระสงฆ์ แพทย์หลวงพัก ใช้เป็นที่เฝ้าของข้าราชการ และผู้ที่เข้ามาร่วมในพระราชพิธี และใช้เป็นที่ตั้งเครื่องประโคมและทำเป็นห้องสุขา
  • พลับพลายกท้องสนามหลวง อยู่ด้านนอกเขตรั้วราชวัติด้านทิศเหนือ ใช้สำหรับที่ประทับ สำหรับเสด็จรับพระบรมศพลงจากราชรถ สู่พระยานมาศสามลำคาน
  • พลับพลายกหน้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ใช้สำหรับที่ประทับ สำหรับเสด็จรับพระบรมศพจากพระยานมาศสามลำคาน สู่ราชรถ
  • พลับพลายกพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท อยู่ด้านหน้าพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท หน้าพระบรมมหาราชวัง สำหรับเจ้านายฝ่ายในประทับ ทอดพระเนตรกระบวน และถวายบังคมพระบรมศพ
  • เกยลา ตั้งอยู่ด้านหน้าประตูกำแพงแก้วด้านทิศตะวันตกของพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวัง สำหรับอัญเชิญพระโกศพระบรมศพขึ้นประดิษฐานบนพระยานมาศสามลำคาน
การออกแบบภูมิทัศน์และงานศิลปกรรมประกอบพระเมรุมาศ

การออกแบบภูมิทัศน์ จะเป็นการจำลองพระราชกรณียกิจและโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีการสร้างสระน้ำบริเวณ 4 มุม และได้จำลองกังหันชัยพัฒนา เครื่องดันน้ำ ซึ่งเป็นโครงการในพระราชดำริ ในการออกแบบงานศิลปกรรมประกอบพระเมรุมาศ ประกอบด้วย งานศิลปกรรมประกอบอาคาร ฉัตร เทวดา สัตว์หิมพาน ประติมากรรมประกอบพระเมรุมาศ งานเขียนฉากบังเพลิงและจิตรกรรมฝาผนังแสดงเรื่องราวตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ[66]

การจัดสร้างพระโกศจันทน์

การจัดสร้างพระโกศจันทน์ กรมศิลปากร โดยสำนักช่างสิบหมู่ โดยนายช่างศิลปกรรมอาวุโสเป็นผู้ออกแบบ[67] ซึ่งไม้จันทน์ที่จะนำมาใช้ในครั้งนี้ มาจากอุทยานแห่งชาติกุยบุรี อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 ได้มีพิธีบวงสรวงและเริ่มพิธีบวงสรวงตัดไม้จันทน์หอมตามโบราณราชประเพณี ณ บริเวณชายป่าใกล้อ่างเก็บน้ำย่านซื่อ เมื่อดำเนินการตัดไม้จันทน์หอมแล้วเสร็จ จะมีการแปรรูปและส่งมอบไม้ให้กรมศิลปกรประมาณปลายเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 และจะเริ่มสร้างพระโกศไม้จันทน์ช่วงต้นเดือนมกราคม พ.ศ. 2560

ของที่ระลึกเนื่องในพระราชพิธีพระบรมศพ

หนังสือที่ระลึกงานพระบรมศพ

หนังสือพระราชทาน

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สำนักราชเลขาธิการจัดพิมพ์หนังสือพระราชทาน สำหรับพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ พระราชวงศ์ องคมนตรี ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ และผู้ที่เข้าร่วมในการพระราชพิธีเป็นที่ระลึกอนุสรณ์วิทยาทาน เนื่องในโอกาสพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ครบ 7 วัน 15 วัน 50 วัน และ 100 วัน[68][69][70]

หนังสือที่จัดทำโดยรัฐบาล

หนังสือที่จัดทำโดยหน่วยงานและองค์กรในพระบรมราชูปถัมภ์

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. ""ในหลวง-ราชินี" เสด็จฯกลับเข้าทรงประทับ รพ.ศิริราช อีกครั้ง". ASTVผู้จัดการออนไลน์. 3 ตุลาคม พ.ศ. 2557. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2558. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  2. "แถลงการณ์ฉบับที่4พระอาการ'ในหลวง'". คมชัดลึก. 8 ตุลาคม พ.ศ. 2557. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2558. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  3. "แถลงการณ์ฉบับที่5พระอาการ'ในหลวง'". คมชัดลึก. 8 ตุลาคม พ.ศ. 2557. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2558. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  4. "'ในหลวง'เสด็จฯกลับไกลกังวล". คมชัดลึก. 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2558. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2558. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  5. ""ในหลวง"เสด็จ"รพ.ศิริราช" แพทย์ถวายตรวจพระอาการ". เดลินิวส์. 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2558. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2558. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  6. "แถลงการณ์พระอาการ "ในหลวง" ฉบับที่ 36". มติชน. 1 ตุลาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2559. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "แถลงฉบับที่ 37-พระอาการ "ในหลวง" คณะแพทย์เฝ้าติดตามถวายการรักษาใกล้ชิด". ข่าวสด. 10 ตุลาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2559. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "แถลงการณ์ ฉ.38 ในหลวงพระโลหิตติดเชื้อ พระอาการไม่คงที่ ถวายรักษาใกล้ชิด". ไทยรัฐ. 12 ตุลาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2559. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. "พระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จฯ รพ.ศิริราช". ไทยรัฐ. 12 ตุลาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2559. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. ประกาศ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร สวรรคต, สำนักพระราชวัง, เข้าถึงวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559
  11. แถลงการณ์สำนักพระราชวัง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต
  12. ประกาศการถวายสักการะพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร, สำนักพระราชวัง, เข้าถึงวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559
  13. พระบรมฯอัญเชิญ พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ
  14. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสวรรคต
  15. พสกนิกรนับหมื่นร่วมถวายน้ำสรงพระบรมศพ ปลายแถวยาวถึงเชิงสะพานปิ่นเกล้า
  16. ประกาศ การถวายสักการะพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
  17. สำนักพระราชวัง ให้เข้าถวายสักการะ “พระบรมศพ” บนพระที่นั่งดุสิตเริ่ม 29 ต.ค. ตั้งแต่ 08.00 – 21.00 น.
  18. นายกฯแถลงเรื่องในหลวง"เสด็จสวรรคตวันที่ 13 ต.ค.59
  19. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสวรรคต
  20. รัฐบาลประกาศขอความร่วมมือ สถานประกอบการ-สถานบันเทิง งดกิจกรรมรื่นเริง
  21. ครม.อนุมัติ14ตค.เป็นวันหยุดราชการ-งดจัดงานรื่นเริงมหรสพ 1 เดือน
  22. http://www.thairath.co.th/content/753931
  23. หัวใจสลาย...โลกออนไลน์กลายเป็นสีดำ
  24. Facebook ประกาศ งดลงโฆษณาในไทยชั่วคราว
  25. Google ร่วมถวายความอาลัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ
  26. คนบันเทิงน้อมถวายความอาลัย"พ่อหลวง"เสด็จสู่สวรรคาลัย
  27. ความเปลี่ยนแปลงของโซเชียลมีเดียในไทย ต่อกรณีสวรรคต
  28. 'ไก่อู' แจง รบ.ขอความร่วมมือทีวีงดรายการปกติ เป็นเวลา 30วัน ตลอด 24ชม.
  29. กสทช.แจ้ง 'วิทยุทีวี' งดรายการบันเทิง30วัน
  30. กสท.สรุปข้อปฏิบัติรายการทีวีใน 30 วันห้ามฉายเนื้อหาสร้างความแตกแยก
  31. Ultra-Royalists Guilt-Shame People Who Don’t Wear Mourning Black
  32. [www.komchadluek.net/news/politic/246179 นายกฯเชื่อคนไทยรักในหลวง แม้ไม่มีเสื้อดำใส่ทุกวัน]
  33. รัฐบาล แนะ ติดริบบิ้นดำทดแทนชุดขาว-ดำได้ ขอสังคมอย่าจับผิด
  34. ชาวภูเก็ตฮือล้อมบ้านลูกชายร้านเต้าหู้กลางดึก อ้างโพสต์FBจาบจ้วง-แจ้งความม.112แล้ว
  35. ฝูงชนพังงาปิดล้อมร้านโรตีไล่ล่าผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าโพสต์หมิ่น
  36. "Bhutanese royals pay respects to King". Bangkok Post. 2016-10-16. สืบค้นเมื่อ 2016-10-18.
  37. "Bahraini PM pays respects to late king". Bangkok Post. 2016-10-19. สืบค้นเมื่อ 2016-10-22.
  38. "PM Lee Hsien Loong pays respects to late Thai King Bhumibol Adulyadej in Bangkok". Straits Times. 2016-10-21. สืบค้นเมื่อ 2016-10-22.
  39. "Special Envoy of the President departs to Thailand to pay respect to the Late King". The President Office. 2016-10-20. สืบค้นเมื่อ 2016-10-22.
  40. "Death of King Bhumibol felt by all in Southeast Asia, says Najib". New Straits Times. 2016-10-22. สืบค้นเมื่อ 2016-10-22.
  41. "นายกฯกัมพูชาถวายสักการะพระบรมศพในหลวงรัชกาลที่ 9". Dailynews. 2016-10-22. สืบค้นเมื่อ 2016-10-22.
  42. "Special envoy of Chinese president pays respects to late Thai King". Global Times. 2016-10-23. สืบค้นเมื่อ 2016-10-24.
  43. "ปธน.สิงคโปร์-นายกฯลาว วางพวงมาลาถวายสักการะพระบรมศพ". The Straits Times. 2016-10-24. สืบค้นเมื่อ 2016-11-2. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  44. "President Tony Tan pays respects to late Thai King Bhumibol Adulyadej in Bangkok". The Straits Times. 2016-10-24. สืบค้นเมื่อ 2016-10-25.
  45. "Jokowi pays respects to King". Bangkok Post. 2016-10-25. สืบค้นเมื่อ 2016-10-25.
  46. "ผู้นำต่างประเทศวางพวงมาลาถวายสักการะพระบรมศพ". The Government Public Relations Department. 2016-10-26. สืบค้นเมื่อ 2016-10-27.
  47. "Viet Nam pays homage to Thai King". Viet Nam News. 2016-10-29. สืบค้นเมื่อ 2016-11-2. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  48. "President pays last respects to the late king of Thailand". The Official website of the President. สืบค้นเมื่อ 2016-11-2. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  49. "กษัตริย์เลโซโท เสด็จฯ มาถวายราชสักการะพระบรมศพ". Komchadluek. 2016-11-2. สืบค้นเมื่อ 2016-11-2. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  50. "ผู้นำหลายประเทศวางพวงมาลาถวายสักการะพระบรมศพ". Matichon. 2016-11-9. สืบค้นเมื่อ 2016-11-9. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  51. "Duterte pays respects to King". Bangkok Post. 2016-11-9. สืบค้นเมื่อ 2016-11-9. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  52. "สมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิป และสมเด็จพระราชินีมาทิลเดอ แห่งราชอาณาจักรเบลเยียม ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นาย Nicholas Nihon อุปทูต ณ สถานเอกอัครราชทูตเบลเยียม ประจำประเทศไทย ผู้แทนพระองค์ วางพวงมาลาถวายสักการะพระบรมศพฯ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช". The Government Public Relations Department. 2016-11-9. สืบค้นเมื่อ 2016-11-17. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  53. "PM Narendra Modi Makes Stopover In Thailand To Pay Respects To Late King". NDTV. 2016-11-10. สืบค้นเมื่อ 2016-11-10.
  54. "รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงไปรษณีย์ โทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งสาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ วางพวงมาลาถวายราชสักการะพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช". The Government Public Relations Department. 2016-11-16. สืบค้นเมื่อ 2016-11-16.
  55. "มกุฎราชกุมารตูโปโตอา อูลูกาลาลาแห่งตองกา เสด็จฯ ทรงลงพระหัตถ์ถวายความอาลัย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร". The Government Public Relations Department. 2016-11-15. สืบค้นเมื่อ 2016-11-18.
  56. "ผู้แทนบุคคลสำคัญ และองค์กรจากต่างประเทศ วางพวงมาลาและลงนามแสดงความอาลัย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในขณะที่ประชาชนจากภูมิภาคต่างๆไปกราบถวายบังคมพระบรมศพอย่างต่อเนื่อง". Ch7. 2016-11-23. สืบค้นเมื่อ 2016-11-24.
  57. "คณะบุคคลต่างประเทศ และประชาชนจากจังหวัดต่างๆ ร่วมถวายความอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช". Ch7. 2016-11-29. สืบค้นเมื่อ 2016-11-28.
  58. "ผู้แทนบุคคลสำคัญจากต่างประเทศ และประชาชนชาวไทย ไปถวายความอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช = Ch7". 2016-11-30. สืบค้นเมื่อ 2016-12-1. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  59. สำนักพระราชวัง. (2559, 17 ตุลาคม). งานพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช. เข้าถึงได้จาก: http://www.brh.thaigov.net/information/Buket%20Data/KingBhumibol/Data/13102016_04/4.1_13102016.pdf. (เข้าถึงเมื่อ 22 ตุลาคม 2559).
  60. เปิดตัวผู้ทำหีบบรรจุพระบรมศพ ไม้สักทองแผ่นเดียวไร้รอยต่อ อายุกว่า 100 ปี
  61. เผยกำหนดถวายพระเพลิงพระบรมศพ ตุลาคม 2560
  62. เผยภาพแบบก่อสร้างพระเมรุมาศในหลวงร.9
  63. กทม. ลงปรับพื้นที่สนามหลวง เตรียมการก่อสร้างพระเมรุมาศช่วงต้นปีหน้า
  64. กรมศิลป์ฯ เปิดแบบ "พระเมรุมาศ" ยึดสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
  65. เผยกำหนดถวายพระเพลิงพระบรมศพ ตุลาคม 2560
  66. รัฐบาลเตรียมจัดสร้างพระเมรุมาศพร้อมบูรณปฏิสังขรณ์ราชรถและพระยานมาศ
  67. รัฐบาลเตรียมจัดสร้างพระเมรุมาศพร้อมบูรณปฏิสังขรณ์ราชรถและพระยานมาศ
  68. "พระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลสัตตมวาร"พระบรมศพ"โปรดเกล้าฯ จัดพิมพ์หนังสือพระอภิธรรมภาษาบาลีและภาษาไทย เป็นอนุสรณ์วิทยาทานผู้เข้าร่วมพระราชพิธี". Headtnews. 2016-10-20. สืบค้นเมื่อ 2016-11-19.
  69. "สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลปัณรสมวาร ถวายพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช". Ch7. 2016-11-18. สืบค้นเมื่อ 2016-11-19.
  70. "สมเด็จพระบรมฯ เสด็จฯพระราชพิธี "ปัญญาสมวาร" พระเทพฯทรงคม". Matichon Online. 2016-12-1. สืบค้นเมื่อ 2016-12-2. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  71. "หนังสือภาพในหลวง ร.9 ชุดแรกเสร็จแล้ว". Thairath. 2016-11-10. สืบค้นเมื่อ 2016-11-19.
  72. "วธ.แจกหนังสือพระบรมราโชวาท-พระราชดำรัส พระบรมฉายาลักษณ์หาชมยาก 2 แสนเล่ม". Khoasod. 2016-11-11. สืบค้นเมื่อ 2016-11-19.
  73. "วธ.แจกหนังสือพระบรมราโชวาท-พระราชดำรัส พระบรมฉายาลักษณ์หาชมยาก 2 แสนเล่ม". Khoasod. 2016-11-11. สืบค้นเมื่อ 2016-11-19.
  74. "รมว.วธ.แจกหนังสือคำศัพท์งานพระราชพิธีพระบรมศพให้สื่อ-ครม. ชวนปชช.ดาวน์โหลด". Khoasod. 2016-11-29. สืบค้นเมื่อ 2016-11-29.
  75. "หนังสือรวบรวมภาพจาก นิทรรศการภาพถ่าย "น้อมรำลึกในหลวงร.๙"". The Royal Photographic Society of Thailand (RPST). 2016-11-7. สืบค้นเมื่อ 2016-11-20. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น