จักรพรรดิซุโก
![]() | ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
จักรพรรดิซุโก | |
---|---|
จักรพรรดิผู้อ้างสิทธิพระองค์ที่ 3 | |
18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1348 - 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1351 | |
รัชกาลก่อนหน้า | โคเมียว |
รัชกาลถัดไป | โกะ-โคงง |
พระนามเต็ม | สมเด็จพระจักรพรรดิซุโก |
ประสูติ | 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1334 |
พระบรมนามาภิไธย | โอะกิฮิโตะ |
สวรรคต | 31 มกราคม ค.ศ. 1398 |
พระราชบิดา | จักรพรรดิโคงง |
ลายพระอภิไธย | ![]() |
จักรพรรดิซุโก (อังกฤษ: Emperor Sukō; ญี่ปุ่น: 崇光天皇) (25 พฤษภาคม ค.ศ. 1334 — 31 มกราคม ค.ศ. 1398) จักรพรรดิผู้อ้างสิทธิใน ราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ พระองค์ที่ 3 จาก ราชสำนักเหนือ แห่ง ยุคราชสำนักเหนือ-ใต้ ตามที่ได้บันทึกไว้ใน รายพระนามจักรพรรดิญี่ปุ่น
จักรพรรดิซุโกครองสิริราชสมบัติระหว่างปี ค.ศ. 1348 - ค.ศ. 1351
พระราชประวัติ[แก้]
จักรพรรดิซุโกมีพระนามเดิมว่า เจ้าชายมะซุฮิโตะ (อังกฤษ: Imperial Prince Masuhito , ญี่ปุ่น: 温仁親王; โรมาจิ: Masuhito-shinnō) ก่อนที่ในภายหลังจะเปลี่ยนเป็น เจ้าชายโอะกิฮิโตะ (อังกฤษ: Imperial Prince Okihito , ญี่ปุ่น: 興仁親王; โรมาจิ: Okihito-shinnō)
เป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ใน จักรพรรดิโคงง จักรพรรดิผู้อ้างสิทธิพระองค์แรกที่ประสูติแต่นางกำนัลชื่อ ซังโจ ชูชิ โดยมีพระราชอนุชาร่วมพระราชมารดาเดียวกันคือ เจ้าชายอิยะฮิโตะ หรือต่อมาคือ จักรพรรดิโกะ-โคงง ที่สืบราชบัลลังก์ต่อจากพระองค์
เหตุการณ์ในพระชนมชีพของจักรพรรดิซุโก[แก้]
จักรพรรดิซุโกครอง ราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ ระหว่างวันที่ 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1348 - 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1351
- 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1334 (วันที่ 22 เดือน 4 ปี เก็งมู ที่ 1) : ปีที่ 1 ในรัชสมัยจักรพรรดิโคงงเจ้าชายโอะกิฮิโตะประสูติ ณ พระราชวังหลวงเคียวโตะ
- ค.ศ. 1348 (ปี โชเฮ ที่ 3) : จักรพรรดิโคเมียว สถาปนาเจ้าชายโอะกิฮิโตะเป็นรัชทายาทและผู้สืบราชบัลลังก์
- 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1348 (วันที่ 27 เดือน 10 ปี โชเฮ ที่ 3) : ปีที่ 12 ในรัชสมัยจักรพรรดิโคเมียวสละราชบัลลังก์ให้กับเจ้าชายโอะกิฮิโตะขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อมาเป็น จักรพรรดิซุโก หลังจากนั้นไม่นานจึงได้มีการจัดพระราชพิธีราชาภิเษกจักรพรรดิโอะกิฮิโตะที่ พระราชวังหลวงเคียวโตะ แต่เนื่องจากจักรพรรดิซุโกยังพระเยาว์ทำให้อดีตจักรพรรดิโคงงพระราชบิดาของจักรพรรดิซุโกได้เป็น ไดโจโฮโอ (มหาธรรมราชา) กุมพระราชอำนาจในพระนามของพระราชโอรสไว้ตลอดรัชสมัย
แต่ในระหว่างนั้นได้เกิดความขัดแย้งขึ้นใน รัฐบาลโชกุนอะชิกะงะ ระหว่าง โชกุน อะชิกะงะ ทะกะอุจิ และน้องชายคือ อะชิกะงะ ทะดะโยะชิ จนนำไปสู่เหตุการณ์ ความวุ่นวายปีคังโน ซึ่งทำให้รัฐบาลโชกุนแบ่งเป็น 2 ฝ่ายคือฝ่ายทะดะโยะชิที่สนับสนุน ราชสำนักใต้ และฝ่ายโชกุนทะกะอุจิที่สนับสนุน ราชสำนักเหนือ
- 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1351 (วันที่ 7 เดือน 11 ปี โชเฮ ที่ 3) : ปีที่ 3 ในรัชสมัยกองทัพราชสำนักเหนือที่นำโดยโชกุนทะกะอุจิบุกเข้ายึด นครหลวงเคียวโตะ คืนจากกองทัพราชสำนักใต้และบีบบังคับให้จักรพรรดิซุโกสละราชบัลลังก์และโชกุนทะกะอุจิได้สถาปนาเจ้าชายอิยะฮิโตะพระราชอนุชาของอดีตจักรพรรดิซุโกขึ้นเป็น จักรพรรดิโกะ-โคงง หลังจากนั้นไม่นานกองทัพราชสำนักใต้ได้บุกเข้ายึดนครหลวงเคียวโตะคืนจากฝ่ายราชสำนักเหนือ
- เมษายน ค.ศ. 1352 (เดือน 2 ปี โชเฮ ที่ 4) : กองทัพราชสำนักเหนือได้บุกเข้ายึดนครหลวงเคียวโตะทำให้กองทัพราชสำนักใต้ได้นำตัวอดีต จักรพรรดิโคงง , อดีต จักรพรรดิโคเมียว และอดีต จักรพรรดิซุโก พร้อมกับ เจ้าชายทะดะฮิโตะ อดีตรัชทายาทพระราชโอรสของอดีตจักรพรรดิซุโกอพยพลงใต้ไปจำคุกที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งในเขตอำนาจของราชสำนักใต้อยู่นานถึง 5 ปีเศษทั้งสองราชสำนักจึงได้เจรจากันจนปล่อยตัวทั้ง 4 พระองค์ออกมาและได้กลับไปประทับที่เคียวโตะ
เมื่อเสด็จกลับสู่เคียวโตะอดีตจักรพรรดิซุโกพยายามเสนอชื่อ เจ้าชายโยะชิฮิโตะ พระราชโอรสขึ้นเป็นรัชทายาทแต่ได้รับการปฏิเสธจากทางรัฐบาลเนื่องจากโชกุนทะกะอุจิได้เลือกพระราชโอรสของ จักรพรรดิโกะ-โคงง คือ เจ้าชายโอะฮิโตะ (ต่อมาคือ จักรพรรดิโกะ-เอ็งยู ) เป็นรัชทายาท
- 25 กันยายน ค.ศ. 1352 (วันที่ 17 เดือน 8 ปี โชเฮ ที่ 4) : ได้มีการจัดพระราชพิธีราชาภิเษกจักรพรรดิโกะ-โคงงที่ พระราชวังหลวงเคียวโตะ
- 31 มกราคม ค.ศ. 1398 (วันที่ 13 เดือน 1 ปี โอเอะ ที่ 5) : อดีตจักรพรรดิซุโกสวรรคตเมื่อพระชนมายุได้ 63 พรรษา
ในปี ค.ศ. 1428 หรือ 30 ปีหลังจากการสวรรคตของจักรพรรดิซุโกเจ้าชายฮิโกะฮิโตะจากสายราชสกุล ฟุชิมิ โนะ มิยะ ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของราชสกุล จิเมียวอิง พระราชปนัดดา (เหลน) ของจักรพรรดิซุโกได้ขึ้นสืบราชบัลลังก์เป็น จักรพรรดิโกะ-ฮะนะโซะโนะ ภายหลังการสวรรคตของ จักรพรรดิโชโก ที่สืบเชื้อสายจาก จักรพรรดิโกะ-โคงง เป็นการเติมเต็มพระราชประสงค์ของจักรพรรดิซุโก