ข้ามไปเนื้อหา

จักรพรรดินีจิงงู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก จักรพรรดินีจิงงุ)
จักรพรรดินีจิงงู
神功皇后
ภาพพิมพ์แกะไม้โดยอูตางาวะ คูนิโยชิ, ประมาณ ค.ศ. 1843-44
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เเห่งญี่ปุ่น
ดำรงตำแหน่งค.ศ. 201–269[1] (โดยพฤตินัย)[a]
ก่อนหน้าชูไอ (ธรรมเนียม)
ถัดไปโอจิง (ธรรมเนียม)
จักรพรรดินีญี่ปุ่น
ดำรงพระยศค.ศ. 192–200
พระราชสมภพค.ศ. 169[2]
สวรรคตค.ศ. 269 (100 พรรษา)
(โคจิกิ)[3]
ฝังพระศพสุสานเซมาชิโระทาเต็ตสึระอิเกงามิโกซาชิ (ญี่ปุ่น: 狭城楯列池上陵五社神古墳, ที่ตั้ง: นาระ)[4]
คู่อภิเษกจักรพรรดิชูไอ
พระราชบุตรจักรพรรดิโอจิง
พระสมัญญานาม
ชิโงแบบจีน:
จักรพรรดินีจิงงู (神功皇后)

ชิโงแบบญี่ปุ่น:
โอกินางาตาราชิฮิเมะ โนะ มิโกโตะ (気長足姫尊)

จักรพรรดินีจิงงู (ญี่ปุ่น: 神功皇后โรมาจิJingū-kōgō)[b] เป็นจักรพรรดินีในตำนานของญี่ปุ่น ซึ่งปกครองในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ภายหลังการสวรรคตของพระสวามีในปี ค.ศ. 200[5][6] โดยไม่มีรัชทายาท ทำให้จักรพรรดินีจิงงู ซึ่งขณะนั้นกำลังทรงพระครรภ์อยู่ ขึ้นว่าราชการแทนในตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดินไปจนเสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. 269[7]

ในยุคเมจิ ตามกฎมนเทียรบาล[8] ถือว่า พระจักรพรรดินีจิงงูเป็นจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่นองค์ที่ 15 แต่การตีความทางประวัติศาสตร์จากหลักฐานที่ยังหลงเหลืออยู่ ทำให้ไม่นับพระองค์เป็นจักรพรรดิ และถือว่าพระราชโอรสของพระองค์ จักรพรรดิโอจิง เป็นจักรพรรดิองค์ที่ 15 แทน

ตำนาน

[แก้]

ไม่มีวันที่อย่างแน่นอนสำหรับวันเสด็จพระราชสมภพ หรือการเริ่ม-สิ้นสุดรัชสมัยของพระองค์ นักประวัติศาสตร์ได้ให้พระองค์ถือเป็น "จักรพรรดิในตำนาน" แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่เคยมีพระองค์ดำรงอยู่ เนื่องด้วยความยากเย็นในการค้นหาและวิเคราะห์ข้อมูลหลักฐาน จากหลักฐานที่พอหลงเหลืออยู่ คาดว่าพระนามของพระองค์ คือ ธิดาโอกินางาตาราชิ นอกจากนี้ยังมีข้อมูลว่า ในรัชสมัยของพระองค์ ได้ใช้เวลา 3 ปีในการพิชิตแว่นแคว้นหนึ่ง ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นเกาหลี

ภาพจักรพรรดินีจิงงูจรดพระบาทในแดนเกาหลี วาดโดย สึกิโอกะ โยชิโตชิ ค.ศ. 1880

แม้ว่าจะไม่ทราบที่พำนักสุดท้ายของพระองค์ แต่สุสานที่จัดให้พระองค์ก็เปิดให้ประชาชนเข้าเยี่ยมชม ที่ตำบลมาซาซางิ ในนาระ[9] ซึ่งสุสานเป็นสุสานแบบ โคฟุง ที่มีลักษณะเป็นเกาะที่มีคูน้ำล้อมรอบเป็นรูปรูกุญแจ [10]

สิ่งสืบทอด

[แก้]
ธนบัตร 1 เยนที่มีภาพจักรพรรดินีจิงงู, ค.ศ. 1881

ใน ค.ศ. 1881 จักรพรรดินีจิงงูเป็นผู้หญิงคนแรกที่แสดงบนธนบัตรญี่ปุ่น เนื่องจากไม่มีภาพวาดจริงของบุคคลในตำนาน ทำให้ภาพจักรพรรดินีจิงงูที่วาดโดยEdoardo Chiossone เป็นการคาดคะเนทั้งหมด เขาเลือกพนักงานหญิงจากโรงพิมพ์ของรัฐบาลมาเป็นนางแบบสำหรับจักรพรรดินีจิงงู[11] จากนี้มีกรใช้ภาพนี้ลงในดวงตราไปรษณียากรชุด 1908/14 ซึ่งเป็นชุดแรกที่แสดงภาพผู้หญิง จากนั้น โยชิดะ โทโยะจึงปรับปรุงรูปแบบสำหรับแสตมป์ชุด 1924/37 การใช้งานแสดมป์ที่มีรูปจิงงูสิ้นสุดลงในแสดมป์ชุดใหม่ใน ค.ศ. 1939[12]

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. มุมมองสมัยใหม่จัดให้จิงงูเป็น "จักรพรรดินี" ในช่วงระหว่างรัชกาล ทำหน้าที่เป็นอุปราช[1]
  2. บางครั้งมีการให้ตำแหน่งพระองค์เป็น 天皇 tennō หมายถึงจักรพรรดินีผู้ครองราชย์ ซึ่งตรงข้ามกับ kōgō ที่บ่งบอกถึงความเป็นจักรพรรดินี-มเหสี

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Kenneth Henshall (2013). Historical Dictionary of Japan to 1945. Scarecrow Press. p. 487. ISBN 9780810878723.
  2. Sharma, Arvind (1994). Religion and Women. SUNY Press. p. 103. ISBN 9780791416907.
  3. Chamberlain, Basil Hall. (1920). "[SECT. CIII.—EMPEROR CHIŪ-AI (PART IX.—HIS DEATH AND THAT OF THE EMPRESS JIN-GŌ).]". The Empress died at the august age of one hundred.
  4. McNicol, Tony (April 28, 2008). "Japanese Royal Tomb Opened to Scholars for First Time". National Geographic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 11, 2008. สืบค้นเมื่อ November 11, 2019.
  5. "The Shinto Shrine Agency of Ehime Prefecture". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-26. สืบค้นเมื่อ August 27, 2013.
  6.  Chisholm, Hugh, บ.ก. (1911). "Jingo" . สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 15 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. p. 416.
  7. Titsingh, Isaac (1834). Annales des empereurs du japon, pp. 15–18; Varley, Paul (1980). Jinnō Shōtōki, pp. 101–3.
  8. Titsingh, p. 15.
  9. Jingū's misasagi (PDF) (map), JP: Nara shikanko, lower right, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-01-24, สืบค้นเมื่อ 2012-12-12.
  10. "context of kofun characteristics". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-19. สืบค้นเมื่อ 2012-12-12.
  11. History, Bank of Japan, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-14.
  12. 続逓信事業史 (Continued - History of Communications Business) vol. 3 郵便 (mails), ed. 郵政省 (Ministry of Postal Services), Tokyo 1963

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า จักรพรรดินีจิงงู ถัดไป
จักรพรรดิชูไอ
จักรพรรดินีนาถแห่งญี่ปุ่น
(ค.ศ. 201– 269)
จักรพรรดิโอจิง