ชนสิษฎ์ วัฒนวรางกูร
ไปยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา
หัวข้อของชีวประวัตินี้อาจไม่ผ่านแนวปฏิบัติความโดดเด่นทั่วไปหรือบทความบุคคล |
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ชนสิษฎ์ วัฒนวรางกูร | |
---|---|
จเรตำรวจแห่งชาติ | |
อยู่ในวาระ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562 | |
ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 – 30 กันยายน พ.ศ. 2562 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 (58 ปี) |
คู่สมรส | กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 20 (ตท.20) โรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 36 |
รับใช้ | ![]() |
---|---|
สังกัด | กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 3 กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 6 กองบัญชาการตำรวจนครบาล |
ปีปฏิบัติหน้าที่ | พ.ศ. 2526 - ปัจจุบัน |
ชั้นยศ | ![]() |
พลตำรวจเอก ชนสิษฎ์ วัฒนวรางกูร (เกิด 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2504) หรือ บิ๊กเบิ้ม จเรตำรวจแห่งชาติ อดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ[1],อดีตรองจเรตำรวจแห่งชาติ อดีตผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 3 อดีตผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 6
ประวัติ[แก้]
พลตำรวจโท ชนสิษฎ์ วัฒนวรางกูร เกิดเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 บุตรชายพลตำรวจเอก สนอง วัฒนวรางกูร อดีตรองอธิบดีกรมตำรวจ เป็นนักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 20 นักเรียนนายร้อยตำรวจรุ่นที่ 36 (นรต.36) รุ่นเดียวกับ พลตำรวจเอก จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ครอบครัว[แก้]
สมรสกับ นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
การศึกษา[แก้]
- โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 20
- โรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 36
การรับราชการ[แก้]
- 1 ต.ค. 2557 รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล[2]
- 1 ต.ต. 2558 ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 6[3]
- 1 ต.ค. 2559 ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 3 [4]
- 1 ต.ค. 2560 รองจเรตำรวจแห่งชาติ (สบ 9)
- 1 ต.ค. 2561 ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
- 1 ต.ค. 2562 จเรตำรวจแห่งชาติ[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2558 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2557 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
- พ.ศ. 2554 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2552 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[9]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น 3 ตริตราภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น 4 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น 4 จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น 5 เบญจมาภรณ์ช้างเผือก (บ.ช.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น 5 เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.)
เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)
เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)
อ้างอิง[แก้]
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/297/T_0007.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/E/226/6.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/247/4.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/012/1.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/224/T_0053.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/B/031/1.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/B/027/1.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2554/B/024/1.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2552/B/016_1/1.PDF