ข้ามไปเนื้อหา

โรงเรียนปทุมคงคา

พิกัด: 13°43′09″N 100°34′53″E / 13.719103°N 100.581272°E / 13.719103; 100.581272
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนปทุมคงคา
Patumkongka School
ตราประจำโรงเรียนปทุมคงคา
ที่ตั้ง
แผนที่

พิกัด13°43′09″N 100°34′53″E / 13.719103°N 100.581272°E / 13.719103; 100.581272
ข้อมูล
ชื่ออื่นป.ค. (PK)
ประเภทรัฐบาล สังกัด สพฐ.
คำขวัญคติพจน์
ศึกษาดี มีวินัย ใจนักกีฬา
ปรัชญา
รกฺเขยยฺ อตฺต โนสาธํ ลวนํ โลนตํ ยถา
พึงรักษาความดีของตน ดั่งเกลือรักษาความเค็ม
สถาปนา16 สิงหาคม พ.ศ. 2443 (124 ปี 100 วัน)
ผู้ก่อตั้งพระครูใบฎีกาเหลียน (พระยาสีมานนทปริญญา)[1]
เขตการศึกษาคลองเตย
รหัส1010720125
ผู้อำนวยการนายสมศักดิ์ สนกนก
สีน้ำเงิน - ฟ้า
เพลงน้ำเงิน-ฟ้า
ดอกไม้ดอกบัว
เว็บไซต์www.patumkongka.ac.th

โรงเรียนปทุมคงคา (อังกฤษ: Patumkongka School, ย่อ: ป.ค., PK) เป็นโรงเรียนชายล้วนระดับมัธยมศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่เลขที่ 920 ถนนสุขุมวิท แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร อยู่ภายใต้สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เป็นโรงเรียนประจำวัดปทุมคงคา ก่อตั้งขึ้นใน 16 สิงหาคม พ.ศ. 2443 ตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ประวัติ

[แก้]

โรงเรียนปทุมคงคาก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2443 โดยพระครูใบฎีกาเหลียน โดยใช้กุฏิของท่านเป็นสถานที่สอน ต่อมาในปี พ.ศ. 2444 ได้ย้ายไปสอนที่เรือนท่านพร ซึ่งเป็นเรือนไม้ 2 ชั้น และใช้ชื่อโรงเรียนว่า “โรงเรียนมัธยมวัดปทุมคงคา”

ในปี พ.ศ. 2445 กระทรวงศึกษาธิการได้จัดตั้งโรงเรียนรัฐบาลขึ้นในวัดตามโครงการการศึกษา ท่านเจ้าอาวาสและคณะครูจึงได้มอบโรงเรียนวัดให้แก่รัฐบาล พร้อมทั้งเครื่องอุปกรณ์การสอนทั้งหมด ใช้ชื่อว่า “โรงเรียนมัธยมวัดปทุมคงคา” ครูใหญ่คนแรกคือ นายสนธิ์

ต่อมาโรงเรียนได้เปิดสอนตั้งแต่ระดับประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษา แต่ในปี พ.ศ. 2482 ได้ยุบการสอนชั้นประถมศึกษา และเปิดสอนเฉพาะชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเท่านั้น

ในปี พ.ศ. 2490 นายสกล สิงหไพศาล ย้ายมาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ ได้พยายามพัฒนาโรงเรียนให้เติบโตขึ้น โดยขอขยายชั้นเรียนเพิ่มขึ้น และในปี พ.ศ. 2506 โรงเรียนได้เปิดสอนตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

เนื่องจากที่ทางโรงเรียนแคบมากและมีความลำบากยิ่ง จึงได้มีการย้ายโรงเรียนไปอยู่ที่แห่งใหม่ เลขที่ 920 ถนนสุขุมวิท แขวงพระโขนง เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2508

ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 9 ซึ่งมีผลทำให้โรงเรียนปทุมคงคาเปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จนถึงปัจจุบัน อยุ่ติดกับวัดปทุมคงคาราชวรวิหาร

ทำเนียบผู้บริหาร[2]

[แก้]
ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 พระครูใบฎีกาเหลียน (พระยาสีมานนทปริญญา)
พ.ศ. 2443 - พ.ศ. 2445
2 ครูสนธิ์
พ.ศ. 2445 - พ.ศ. 2451
3 พระยาศึกษาสมบูรณ์ (หม่อมหลวงแหยม อินทรางกูร)
พ.ศ. 2451 - พ.ศ. 2454
4 นอร์แมน ซัตตัน (Norman Sutton)
พ.ศ. 2454 - พ.ศ. 2458
5 เย.ซี. เซดชวิค (J.C. Sedgewick)
พ.ศ. 2458 - พ.ศ. 2462
6 เอ.ซี. เชิชชิล (Arthor C. Churchill)
พ.ศ. 2463 - พ.ศ. 2475
7 หลวงบุญปาลิตวิชชาสาสก์ (บุญเลี้ยง บุญญปกรณ์)
พ.ศ. 2476 - พ.ศ. 2482
8 อำมาตย์ตรี หลวงบรรสบวิชาฉาน (เจน นิยมวิภาต)
พ.ศ. 2482 - พ.ศ. 2485
9 นายสวัสดิ์ ภูมิรัตน์
พ.ศ. 2485 - พ.ศ. 2486
10 ขุนจรรยาวิจัย (สารี มะกรสาร)
พ.ศ. 2486 - พ.ศ. 2487
11 นายสนอง สุขสมาน
พ.ศ. 2487 - พ.ศ. 2490
12 นายสกล สิงหไพศาล
พ.ศ. 2490 - พ.ศ. 2507
13 นายวินัย เกษมเศรษฐ
พ.ศ. 2507 - พ.ศ. 2509
14 นายมนตรี ชุติเนตร
พ.ศ. 2509 - พ.ศ. 2523
15 นายประยูร ธีระพงษ์
พ.ศ. 2523 - พ.ศ. 2526
16 นายเจตน์ แก้วโชติ
พ.ศ. 2526 - พ.ศ. 2528
17 นายอุดม วัชรสกุณี
พ.ศ. 2528 - พ.ศ. 2530
18 นายอดิเรก รัตนธัญญา
พ.ศ. 2530 - พ.ศ. 2533
19 นายอัศวิน วรรณวินเวศร์
พ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2535
20 นายนพคุณ ทรงชาติ
พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2537
21 นายดำรง อโนภาส
พ.ศ. 2537 - พ.ศ. 2540
22 นายสุรินทร์ ต่อเนื่อง
พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2541
23 นายวิวัฒน์ พวงมะลิต
พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2542
24 นายปัญญา คล้ายจันทร์
พ.ศ. 2542 - พ.ศ. 2543
25 นายวิเชียร อนันต์มหพงศ์
พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2544
26 นายประกาศิต ยังคง
พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2546
27 นายสุนันทวิทย์ พลอยขาว
พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2551
28 นายนาวี ยั่งยืน
พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2554
29 นายสำรวย ไชยยศ
พ.ศ. 2554 - พ.ศ. 2557
30 นางสุภัทร เงินดี
พ.ศ. 2557 - พ.ศ.2562
31 นายดาวหยาด ขันธ์เพชร พ.ศ.2563 - พ.ศ.2565
32 นายคมศักดิ์ หาญสิงห์ พ.ศ.2565 - พ.ศ.2566
33 นายสมศักดิ์ สนกนก พ.ศ.2566 - ปัจจุบัน

บุคคลที่มีชื่อเสียง

[แก้]
นักวิชาการ
นักการเมือง
นักเขียน
นักแสดง และบุคคลในวงการบันเทิง
นักกีฬา
อื่นๆ

อ้างอิง

[แก้]
  1. "พระยาสีมานนทปริญญา พระครูใบฎีกา เหลียน บิดาปทุมคงคา" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-10-27.
  2. "ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-15. สืบค้นเมื่อ 2013-10-23.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 3.7 3.8 "เทพขาสั้น : 6 วอนเดอร์คิดส์ ร.ร ปทุมคงคา ที่อาจแจ้งเกิดในไทยลีกเร็วๆนี้ - FourFourTwo". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-07. สืบค้นเมื่อ 2018-06-10.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°43′09″N 100°34′53″E / 13.719103°N 100.581272°E / 13.719103; 100.581272{{#coordinates:}}: ไม่สามารถมีป้ายกำกับหลักมากกว่าหนึ่งป้ายต่อหน้าได้