หม่อมหลวงศรีฟ้า มหาวรรณ
ศรีฟ้า มหาวรรณ | |
---|---|
เกิด | 26 มกราคม พ.ศ. 2473 วังมหาสวัสดิ์ ตำบลคลองมหาสวัสดิ์ กรุงเทพ |
เสียชีวิต | 16 เมษายน พ.ศ. 2556 (83 ปี) โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า |
นามปากกา | ศรีฟ้า ลดาวัลย์ จุลลดา ภักดีภูมินทร์ สีฟ้า |
อาชีพ | นักเขียน |
คู่สมรส | นายบุญทัศน์ มหาวรรณ (พ.ศ. 2504 - 2556) |
หม่อมหลวงศรีฟ้า มหาวรรณ (26 มกราคม พ.ศ. 2473 - 16 เมษายน พ.ศ. 2556) นักเขียนนวนิยาย เรื่องสั้น และสารคดีเกี่ยวชีวิตเจ้านายในวัง เจ้าของนามปากกา "ศรีฟ้า ลดาวัลย์" "สีฟ้า" และ "จุลลดา ภักดีภูมินทร์" ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2539 และมีผลงานเล่มแรกคือเรื่อง ปราสาทมืด
ประวัติ
[แก้]กำเนิด
[แก้]หม่อมหลวงศรีฟ้า มหาวรรณ มีนามเดิมว่า หม่อมหลวงศรีฟ้า ลดาวัลย์ เกิดเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2473 ที่วังมหาสวัสดิ์ เป็นธิดาของหม่อมราชวงศ์สนั่น ลดาวัลย์ (โอรสหม่อมเจ้าเพิ่ม ลดาวัลย์ กับหม่อมห่วง ลดาวัลย์ ณ อยุธยา) กับนางบัวจันทร์ ลดาวัลย์ ณ อยุธยา โดยมารดาเสียชีวิตไปตั้งแต่ท่านอายุได้ 5 ขวบ หม่อมหลวงศรีฟ้ามีน้องสาว คือ หม่อมหลวงศรีทอง ลดาวัลย์ (ถึงแก่กรรม) ซึ่งเป็นนักเขียนเช่นกัน ใช้นามปากกาว่า "ข.อักษราพันธ์" เป็นผู้เขียนนวนิยายเรื่อง ภาพอาถรรพณ์ , ดาวพระศุกร์ , ดอกโศก , พลับพลึงสีชมพู , มรสุมสวาท , โรงแรมวิปริต และ สายรักสายสวาท
การศึกษา
[แก้]หม่อมหลวงศรีฟ้า มหาวรรณ จบการศึกษาจากโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนแวนต์ และศึกษาต่อที่คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่เลิกเรียนเมื่ออยู่ชั้นปีที่ 3 แล้วไปเป็นครูสอนหนังสือที่โรงเรียนเซนต์โยเซฟศรีราชา โรงเรียนพณิชยการพระนคร และโรงเรียนพณิชยการบพิตรพิมุข จนถึงปี พ.ศ. 2516 จึงลาออกมาเป็นนักเขียนอาชีพจนถึงแก่กรรม
งานเขียน
[แก้]หม่อมหลวงศรีฟ้า มหาวรรณ เริ่มงานเขียนเรื่องสั้นตั้งแต่สมัยเรียนมัธยมปลายเมื่อ พ.ศ. 2489 ใช้นามปากกา "ภัฏฏินวดี" ตีพิมพ์ในนิตยสารเดลิเมล์ และไทยใหม่ ต่อมาได้ใช้นามปากกา "จุลลดา ภักดีภูมินทร์" เขียนนวนิยายเรื่อง "ปราสาทมืด" ตีพิมพ์ในนิตยสารศรีสัปดาห์ เมื่อ พ.ศ. 2498 ได้รับความนิยมมาก ตีพิมพ์ใหม่หลายสิบครั้ง และมีผู้นำไปสร้างภาพยนตร์ไทยและละครโทรทัศน์หลายครั้ง ต่อมาได้ใช้นามปากกา "ศรีฟ้า ลดาวัลย์" เขียนเรื่องสั้น และนวนิยาย ส่วนนามปากกา "จุลลดา ภักดีภูมินทร์" ใช้เขียนนวนิยายชีวิตครอบครัว ในระยะหลังได้ใช้นามปากกานี้ เขียนสารคดีเกี่ยวกับชีวิตของเชื้อพระวงศ์ในวัง ตีพิมพ์ในนิตยสารสกุลไทย [1]
หม่อมหลวงศรีฟ้า มหาวรรณ เขียนนวนิยายสะท้อนสังคม โดยใช้นามปากกาว่า "สีฟ้า" ตั้งแต่ พ.ศ. 2499 ตั้งให้โดยมานิต ศรีสาคร (สีน้ำ) เป็นนามปากกาที่สร้างชื่อเสียง ผลงานได้รับรางวัล และถูกนำไปสร้างภาพยนตร์เป็นจำนวนมาก เช่นเรื่อง "วงเวียนชีวิต" "ข้าวนอกนา" "ทำไม" "แผ่นดินนี้ยังรื่นรมย์" "ใต้ฟ้าสีคราม" "เศรษฐีนี" "ตะวันไม่เคยเลยลับ" โดยเฉพาะเรื่องข้าวนอกนา และ ใต้ฟ้าสีคราม ได้รับการแปลเป็นภาษาญี่ปุ่นโดยมูลนิธิโตโยต้า และถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์
สมรส
[แก้]หม่อมหลวงศรีฟ้า มหาวรรณ สมรสกับนายบุญทัศน์ มหาวรรณ นักธุรกิจ เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2504
ถึงแก่กรรม
[แก้]หม่อมหลวงศรีฟ้า มหาวรรณ ถึงแก่กรรมเมื่อเวลา 17.45 น. ของวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2556 ด้วยอาการเส้นเลือดในสมองตีบ ที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า สิริอายุได้ 83 ปี 2 เดือน 21 วัน [2] โดยทายาทและลูกศิษย์ได้กำหนดจัดสวดพระอภิธรรมที่ศาลาภาณุรังษี วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร ถนนกรุงเกษม แขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ตั้งแต่วันที่ 18-24 เมษายน โดยมีพิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ และเก็บศพไว้บำเพ็ญกุศลเป็นเวลา 100 วัน และขอพระราชทานเพลิงศพ
ผลงาน
[แก้]นามปากกา จุลลดา ภักดีภูมินทร์
- บ่วง (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2 ครั้ง 2535และ2555 ช่อง3)
- หลอน
- ริษยา (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2 ครั้ง 2547 ช่อง3 และ 2559 ช่อง7)
- เพื่อนรัก
- ขมิ้นกับปูน (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 4 ครั้ง 2528 ช่อง9, 2533 ช่อง7, 2544 ช่อง3 และ 2559 ช่อง7 )
- วันหนึ่ง
- อันความดี
- ลางรัก (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2 ครั้ง 2524 ช่อง 9 และ 2535)
- แม่ม่าย (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2521 ช่อง 9)
- เรือนแรม (สร้างเป็นละคร 2536 ช่อง 7)
- บ้านโลกย์
- ปราสาทมืด (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 4 ครั้ง 2525 ช่อง5 2531 ช่อง7 2537และ2552 ช่อง3)
- เจ้านาย
- อรุณสวัสดิ์ (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 3 ครั้ง 2535 ช่อง7 2542 ช่อง3 2557 ช่องโมโน29)
นามปากกา ศรีฟ้า ลดาวัลย์
- ใครกำหนด (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 3 ครั้ง 2521 ช่อง 9, 2533 ช่อง 3 และ 2545 ช่อง 7; สร้างเป็นภาพยนตร์ 2524)
- กุหลาบไร้หนาม (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2553 ช่อง3)
- ชลาลัย (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2 ครั้ง 2523 ช่อง 9 และ 2534 ช่อง 5; สร้างเป็นภาพยนตร์ 2516)
- ผู้มีชัย
- สวรรค์ยังมีที่
- หัวใจนั้นอ่อนนุ่ม
- พรหมไม่ได้ลิขิต (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 3 ครั้ง 2525 ช่อง 9, 2538 ช่อง3 และ 2561 ช่องวัน)
- หลานสาวคุณหญิง (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 3 ครั้ง 2516 ช่อง 4, 2522 ช่อง 9 และ 2540 ช่อง 5; สร้างเป็นภาพยนตร์ 2525)
- สาวแก่
- ไม้อ่อน
- เศรษฐีนี (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2525 ช่อง 5)
- บุญบรรพ์
- ความเอย...ความรัก
- เครื่องแบบสีขาว
- กนกลายโบตั๋น (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2533 ช่อง 7)
- เงารัก
- ครอบ(บ้าน)ครัว(เดียว)
- ตุ๊กตามนุษย์ฯ
- สมการวัย (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2532 ช่อง 7)
- ประทีปอธิษฐาน
- โสนบานเช้า คัดเค้าบานเย็น (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2543 ช่อง7)
- คนกลางเมือง
- รักเร่ เร่ร้างรัก
- สามอนงค์
- เกาะแก้วกรุงอินทร์
- ฤๅสักแต่ว่าเป็นนารี
- เงารัก
นามปากกา สีฟ้า
- บ้านเกิด
- เจ้าหล่อน
- เปลือก
- มุกดามะดัน (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2531 ช่อง 7)
- โอ้มาดา (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2 ครั้ง 2520 ช่อง 3 และ 2538 ช่อง 7; สร้างเป็นภาพยนตร์ 2520)
- เก้าอี้ทอง
- นายอำเภอที่รัก
- เกิดแล้วเป็นคน
- เมืองแก้ว
- หลง (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2524 ช่อง 9)
- ใต้ฟ้าสีคราม
- คอนโดมิเนียม (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2527 ช่อง 7)
- วงเวียนชีวิต (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2526 ช่อง 5)
- กิ่งไผ่ (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2 ครั้ง 2526 ช่อง 7 และ 2540 ช่อง 7)
- ชัยชนะ
- มหาสมุทรสุดลึกล้นฯ
- หัวใจดวงน้อย
- ความรักสีเพลิง
- อีสา และ รวีช่วงโชติ (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 5 ครั้ง 2517 ช่อง 4, 2525 ช่อง 9, 2531 และ 2541 ช่อง 7 และ 2556 ช่อง 5)
- ทางโค้ง (สร้างเป็นภาพยนตร์ 2518 และ ละครโทรทัศน์ 2524 ช่อง 5)
- หุ้นชีวิต
- ข้าวนอกนา (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 3 ครั้ง 2523 ช่อง 7, 2533 ช่อง 7 และ 2556 ช่อง 8)
- รวีช่วงโชติ
- ชมพูเบิกฟ้า
- แก่นกระพี้
- คนบาป
- อรุณรุ่ง...ทุกพรุ่งนี้
- โอ้..โลกีย์สุข
- เหตุเกิดในครอบครัว
- เท้งเต้ง(สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2538 ช่อง 5)
- ภรรยาจอมปลอม
- ตะวันไม่เคยเลยลับ
- ผู้เป็นที่รัก...นิรันดร์
- ช่องที่ไม่ว่าง
- ตะวันในดวงใจ
- คุณหมอช่วยด้วย (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2527 ช่อง 3)
- ครูซ่อนกลิ่น
- ทำไม?
- เหตุเกิดบนฟ้า
- พิกุลแกมเกดแก้ว
เรื่องสั้น และ สารคดี
- นกขมิ้นในเวียนนา
- ปลายทางของดารา
- เหตุเกิดบนฟ้า
- เชอรี่บนต้นโสน
- เลาะวัง : บุคคล สถานที่ และ เหตุการณ์สำคัญ
- เลาะวัง : พระราชโอรสธิดา ในพระราชวงศ์กรุงธนบุรี และ พระบรมราชจักรีวงศ์
- เลาะวัง : พระอัครมเหสี พระภรรยาเจ้า และเจ้าจอม ในรัชกาลที่ 1-10
- ชีวิต ความคิด และ นวนิยาย
- เวียงวัง
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[3]
ลำดับสาแหรก
[แก้]ลำดับสาแหรกของหม่อมหลวงศรีฟ้า มหาวรรณ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ นามปากกา จุลลดา ภักดีภูมินทร์ มาจากพระนามของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลดาวัลย์ กรมหมื่นภูมินทรภักดี ผู้เป็นทวด และเป็นต้นราชสกุลลดาวัลย์
- ↑ "สิ้น'ศรีฟ้า ลดาวัลย์'นักเขียนนิยายดัง จากคมชัดลึก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-18. สืบค้นเมื่อ 2013-04-17.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๙ ข หน้า ๑๙, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๔๐
- ประทีป เหมือนนิล. 100 นักประพันธ์ไทย. กรุงเทพ : สุวีริยาสาส์น, 2542. หน้า 479. ISBN 974-8267-78-4
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2473
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2556
- ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์
- หม่อมหลวง
- ราชสกุลลดาวัลย์
- นักเขียนชาวไทย
- บุคคลจากโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์
- บุคคลจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
- ครูชาวไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จ.ภ.
- เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง
- บุคคลจากเขตตลิ่งชัน
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์