ไพวรินทร์ ขาวงาม
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ไพวรินทร์ ขาวงาม | |
---|---|
เกิด | 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2504 อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ประเทศไทย ![]() |
นามปากกา | ไพวรินทร์ ขาวงาม |
อาชีพ | กวี นักเขียน คอลัมนิสต์อิสระ |
สัญชาติ | ไทย |
ไพวรินทร์ ขาวงาม (10 กุมภาพันธ์ 2504 - ) กวี นักเขียน และคอลัมนิสต์ชาวไทย เจ้าของรางวัลซีไรต์ พ.ศ. 2538 จากหนังสือรวมบทกวี ม้าก้านกล้วย และศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ประจำปี พ.ศ. 2558
ประวัติ[แก้]
ไพวรินทร์ เกิดในครอบครัวชาวนาจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นบุตรของนายสมัย และนางดวน ขาวงาม เขาเป็นคนที่ 3 จากพี่น้อง 9 คน จบชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนบ้านตาหยวก และบวชเรียนต่อจนจบมัธยมปลาย ที่มหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตวังน้อย พระนครศรีอยุธยา อยู่ช่วยฝึกสอนวิชาภาษาไทยและวรรณคดี เพื่อตอบแทนคุณสถาบันระยะหนึ่งจึงลาสิกขาบท
จากนั้นมุ่งสู่เชียงใหม่ เป็นพนักงานพิสูจน์อักษร หนังสือพิมพ์ประชากรรายวัน ก่อนเลื่อนฐานะขึ้นเป็นนักข่าว สั่งสมประสบการณ์กับหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นเล็กๆ หลายฉบับ จวบปี 2527 ตัดสินใจเข้ากรุง ทำงานฝ่ายศิลป์นิตยสารสปีดเวย์ ต่อสู้ชีวิตทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะทำรูปเคลือบพลาสติกวางขายข้างถนน พนักงานขายไอศกรีม ปี 2528 ช่วยงานนิตยสารสู่ฝัน ปี 2531 ประจำกองบรรณาธิการวารสารปาจารยสาร ต่อมาเป็นบรรณาธิการเฉพาะกิจสำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น ประจำกองบรรณาธิการหนังสือดีเขต เป็นหัวหน้ากองบรรณาธิการชีวิตต้องสู้ ปัจจุบันเป็นคอลัมนิสต์อิสระ
จาก " สามเณรไพรัช " สู่ " ไพวรินทร์ "
ไพวรินทร์ เดิมชื่อ 'ไพรัช' [1] เป็นคนชอบอ่านหนังสือมาตั้งแต่เด็ก เคยใช้นามปากกา 'สามเณรไพรัช' ส่งความเรียงไปลงในนิตยสารชัยพฤกษ์การ์ตูน ต่อมาเปลี่ยนใช้นามปากกาว่า 'ไพวรินทร์ วิเชียรฉันท์' ในการเขียนกลอน และเพื่อขจัดความยุ่งยากในการรับค่าเรื่อง เขาได้เปลี่ยนชื่อจริงเป็น 'ไพวรินทร์' จึงเป็นทั้งชื่อจริงและนามปากกาตั้งแต่นั้นมา
ผลงาน[แก้]
- ลำนำวเนจร (2528) รวมบทกวี
- คำใดจะเอ่ยได้ดั่งใจ (2529) รวมบทกวี เข้ารอบซีไรต์ พ.ศ. 2529
- ไม่ใช่บทกวีจากชายป่าอารยธรรม (2530) รวมบทกวีไร้ฉันทลักษณ์
- ฤดีกาล (2532) รวมบทกวี เข้ารอบซีไรต์ พ.ศ. 2535
- คือแรงใจและไฟฝัน (2534) รวมบทกวี
- ถนนนักฝัน (2535) รวมบทกวีประกอบภาพ
- ม้าก้านกล้วย (2538) รวมบทกวี ได้รับรางวัลซีไรต์ พ.ศ. 2538
- เจ้านกกวี (2540) รวมบทกวี
- ทอดยอด (2542) รวมบทความและเรื่องสั้น
- เพราะภาพพูดได้ หัวใจจึงขอฟัง (2544)
- ผมจรรอนแรมจากลุ่มแม่น้ำมูล (2545)
- ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีรัก (2545)
- ดวงใจจึงจำนรรจ์ (2547)
- จิบใจ จอกจ้อย (2547)
- กลอนกล่อมโลก (2547)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2560 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[2]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ทำเนียบนักประพันธ์ ประพันธ์สาส์น[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๘ ข หน้า ๑๔๘, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
บทความเกี่ยวกับนักเขียน หรือ นักประพันธ์นี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |
- บทความที่มีลิงก์เสียตั้งแต่ตุลาคม 2021
- นักเขียนชาวไทย
- นักประพันธ์รางวัลซีไรต์ชาวไทย
- ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์
- กวีชาวไทย
- บุคคลจากอำเภอสุวรรณภูมิ
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
- นักหนังสือพิมพ์ชาวไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จ.ภ.
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2504
- บทความเกี่ยวกับ นักเขียน ที่ยังไม่สมบูรณ์