โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ ละติน: Saint Joseph Convent School | |
---|---|
ที่ตั้ง | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | ซ.ย. (SJC) (St.Joseph Convent) |
ประเภท | โรงเรียนเอกชน |
คำขวัญ | ศึกษาดี มีวินัย ใจเมตตา ใฝ่หาคุณธรรม เลิศล้ำการงาน |
นิกาย | โรมันคาทอลิก |
สถาปนา | 5 ธันวาคม พ.ศ. 2450 (ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้เป็นคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days) |
เขตการศึกษา | กรุงเทพมหานคร |
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอน | ภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน ภาษาไทย ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอังกฤษ[a] ภาษาจีนกลาง |
สี | น้ำเงิน - เหลือง |
เพลง | ศรีเซนต์โย | Saint Paul Hymn |
สังกัด | คณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร แห่งประเทศไทย |
เว็บไซต์ | http://www.sjc.ac.th/ |
โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ เป็นโรงเรียนเอกชนคาทอลิกสตรีลำดับที่ 3 ในเครือคณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร แห่งประเทศไทย[b] ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2450 โดย มาแมร์ แซงต์ ซาเวียร์ (Mère Saint-Xavier) อธิการิณีจากคณะภคินีฯ บนเนื้อที่ 16 ไร่ 3 งาน 68 ตารางวา ของเขตมิสซังกรุงเทพ บนถนนคอนแวนต์ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร[2] เพื่อให้การอบรมศึกษาแก่บรรดาเด็กหญิง โดยนามของโรงเรียนมาจากนามของนักบุญโยเซฟ พระบิดาของพระเยซูคริสตเจ้า
ประวัติ
[แก้]การก่อตั้ง
[แก้]โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ เดิมชื่อโรงเรียนพระกุมารเยซูคอนแวนต์ ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2449 ภายใต้มิสซังคาทอลิก โดยคณะภคินีเซนต์มอร์ ที่ย่านถนนสีลม
ที่ตั้งของโรงเรียน เดิมเป็นที่นาตราจองในตำบลทุ่งวัวลำพอง บนถนนสีลม ซึ่งถูกรวบรวมจัดซื้อโดยเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ในปี พ.ศ. 2449 ท่านได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวบริจาคที่ดินด้านหลังบ้านจำนวน 9 ไร่ ให้แก่คณะภคินีเซนต์มอร์เพื่อนำไปจัดตั้งโรงเรียน[c][3] ได้มีการรังวัดปักเขตกำหนดเส้นรุ้ง-แวง ดังนั้นรูปแปลงที่ดินที่เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีบริจาคให้จึงน่าจะเป็นแปลงสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้าง 3 เส้น ยาว 3 เส้น และมีที่ดินทั้ง 3 ด้านติดที่ดินของเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ส่วนอีกด้านหนึ่งที่เหลือติดถนนที่เจ้าพระยาสุรศักดิ์ตัดขึ้นใหม่ แต่ปัจจุบันโรงเรียนมีที่ดินเพิ่มขึ้นเป็น 16 ไร่ 3 งาน 68 ตารางวา ซึ่งน่าจะมีการจัดซื้อเพิ่มเติมในภายหลัง
ซิสเตอร์คณะเซนต์มอร์ ได้มอบหมายให้ นายอัลเฟรโด ริกาซซี (Alfred Rigazzi) สถาปนิกชาวอิตาเลียน ผู้ซึ่งออกแบบพระที่นั่งอนันตสมาคม และสถานีหัวลำโพง[d] ออกแบบก่อสร้างอาคารโรงเรียน เริ่มแรกเป็นอาคาร 2 ชั้น ก่ออิฐถือปูนหลังคาทรงปั้นหยามุงกระเบื้องว่าว กล่าวว่าเดิมใต้ถุนใช้เป็นที่เก็บน้ำ และฐานรากอาคารทำด้วยขอนไม้ขนาดใหญ่ ในบริเวณปลูกต้นไม้ร่มรื่น มีคูระบายน้ำรอบโรงเรียน และมีการแบ่งที่ดินส่วนหนึ่งเป็นที่เลี้ยงหมูและไก่งวง
ในปี พ.ศ. 2450 คณะภคินีเซนต์มอร์มีเหตุให้ต้องเดินทางออกจากประเทศไทย จึงได้ยกกิจการให้กับมิสซังคาทอลิก คิดมูลค่าสิ่งก่อสร้างเป็นจำนวนเงิน 115,000 ฟรังก์ โดยคณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร รับผิดชอบที่จะเป็นผู้จ่ายเอง มิสซังคาทอลิกจึงมอบกิจการโรงเรียนให้คณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร เข้าดำเนินการต่อ และได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์[1] ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ในปี พ.ศ. 2451 แมร์กังดีด ได้สถาปนาให้โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ เป็นศูนย์กลางที่ตั้งแห่งคณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร ในสยาม เนื่องจากมีอาณาบริเวณกว้างขวางเหมาะที่จะเป็นศูนย์กลางของคณะฯ และมีพื้นที่ใหญ่กว่าโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ และโรงเรียนซางตาครู้สคอนแวนท์ ประกอบกับที่ตั้งของ 2 โรงเรียนดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งในเขตอาสนวิหาร ดังนั้น การย้ายสำนักภคินีมาจัดตั้งที่โรงเรียนแห่งนี้ถือเป็นที่เฉพาะที่จะมีแต่นักบวชหญิง โดยไม่มีบาทหลวงของมิสซังคาทอลิกเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ในขณะเดียวกันคณะภคินีก็ได้มอบหมายให้ เซอร์แซงต์ ซาเวียร์ อธิการิณี จากโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ ย้ายมาดำรงตำแหน่งเป็นอธิการิณี ผู้จัดการและครูใหญ่คนแรกของโรงเรียนแห่งนี้[4]
การจัดการศึกษาในระยะแรก
[แก้]เมื่อเริ่มแรกก่อตั้งโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ สมัยที่ยังไม่มีเครื่องแบบนักเรียน มีนักเรียนจำนวน 55 คน แบ่งเป็นผู้เรียนในแผนกฝรั่งเศส 15 คน และแผนกอังกฤษ 40 คน ในจำนวนนี้มีนักเรียน 21 คน เป็นนักเรียนประจำ และ 14 คน เป็นเด็กกำพร้านอกเหนือจากนั้นเป็นนักเรียนไป-กลับ เมื่อเข้าสู่ปีที่ 2 จำนวนนักเรียนก็เพิ่มขึ้นเป็น 78 คน และได้เพิ่มมากขึ้นทุกปี
ในปี พ.ศ. 2456 โรงเรียนได้จัดสร้างอาคารเรียนขึ้นใหม่อีกจำนวน 6 ห้องเรียนทางปีกซ้ายของอาคารเรียนเดิม
ในช่วงสองทศวรรษแรกหลังการจัดตั้ง นักเรียนส่วนใหญ่ที่เข้าศึกษาเป็นบุตรและธิดาชาวยุโรปที่เข้ามาพำนัก อาศัยในประเทศไทย หลักสูตรการศึกษาจึงเน้นหนักไปทางด้านภาษา ใช้ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสเป็นหลัก ในการเรียนการสอน วิชาการที่เน้นศึกษาได้แก่ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ จริยธรรม วาดเขียน ดนตรีและการฝีมือ ต่อมาบรรดาคหบดี ข้าราชการ และ พ่อค้าไทย เริ่มส่งบุตรหลานของตนมาเข้ารับการศึกษาในโรงเรียน ทำให้จำนวนนักเรียน เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ เมื่อมีนักเรียนไทยเข้าศึกษามากขึ้น โรงเรียนจึงพัฒนาหลักสูตรและปรับปรุงให้เหมาะสมกับ ภาวะที่เปลี่ยนแปลงไป มีการจัดระบบการเรียนการสอนใหม่ให้สอดคล้องกับแนวทางของระบบการศึกษาไทย
ในปี พ.ศ. 2469 เปิดนวกสถานของคณะภคินีเซนต์ปอลฯ เพื่ออบรมหญิงสาวที่ปรารถนาจะเป็นนักบวช โดยมีเซอร์เดซีเร เป็นนวกาจารย์ท่านแรก และมีเซอร์ 3 ท่านแรกที่เข้าใน นวกสถานแห่งนี้ คือ 1. เซอร์เอมิเลียน ปานประดับ 2. เซอร์มาเรีย อันโตเนียว 3. เซอร์ออกุสตา-โจเซฟ อันโตเนียว โดยก่อนหน้านี้ผู้ที่ปรารถนาจะเข้าคณะฯ ต้องเดินไปเมืองชาร์ตร ประเทศฝรั่งเศส หรือ ที่ไซ่ง่อน ประเทศเวียดนาม เพื่อรับการฝึกอบรม[1]
ผู้บริหารโรงเรียน
[แก้]ผู้รับใบอนุญาต & ผู้จัดการ
[แก้]ลำดับ | รายนาม | วันที่รับใบอนุญาต | วันที่เริ่มเป็นผู้จัดการ |
1 | สังฆราชเรอเนแปร์รอส[5] | 31 ธันวาคม 2480 (ผู้ก่อตั้งโรงเรียน) | - |
2 | นางสาวรจิต กิจเจริญ | 26 กุมภาพันธ์ 2484 | 21 พฤษภาคม 2499 |
3 | นางสาวนิภา กิจเจริญ | 30 พฤศจิกายน 2538 | 18 กันยายน 2515 |
4 | นางสาวจันทร์เพ็ญ ชีรานนท์ | 13 พฤษภาคม 2540 | 5 มิถุนายน 2540 |
5 | นางสาวศรีสมร ชำนาญธรรม | 24 พฤษภาคม 2550 | 24 พฤษภาคม 2550 |
6 | นางสาวมุกดา มุ่งหมาย | 1 ตุลาคม 2553 | 27 กันยายน 2553 |
7 | นางสาวยุภี กิจเจริญ | 21 พฤษภาคม 2557 | 15 พฤษภาคม 2557 |
8 | นางสาวอัจฉรา ศุภาไวย์ | 22 มิถุนายน 2566 | ปัจจุบัน |
ผู้อำนวยการ
[แก้]ลำดับ | รายนาม | ปีการศึกษา พ.ศ. |
1 | เซอร์เดซองช โอชู | 2480 - 2491 |
2 | นางสาวรจิต กิจเจริญ | 2491 - 2527 |
3 | นางสาวมุกดา มุ่งหมาย | 2527 - 2533 |
4 | นางสาวจันทร์เพ็ญ ชีรานนท์ | 2533 - 2536 |
5 | นางสาวมุกดา มุ่งหมาย | 2536 - 2539 |
6 | นางสาววิภา เลค | 2539 - 2545 |
7 | นางสาวมุกดา มุ่งหมาย | 2545 - 2557 |
8 | นางสาวยุภี กิจเจริญ | 2557 - 2566 |
9 | นางสาวอัจฉรา สุภาไวย์ | 2566-ปัจจุบัน |
ความหมายของสัญลักษณ์ของโรงเรียน
[แก้]ตราประจำโรงเรียน
[แก้]ประกอบด้วยปริมณฑลภายในวงกลม มีเส้นขอบ มีเส้นโค้งขึ้น โค้งลง บังเกิดเป็นกลีบ เจ็ดกลีบ กลางปริมณฑล มีโล่ป้องกันศัสตราวุธ ภายในมีโล่ แบ่งออกเป็นสามส่วน ส่วนบนมีอักษร ซ.ย. อยู่หน้าเส้นตรงตั้งส่วนกลาง เว้นว่าง ส่วนล่างมีตะเกียงเปล่งประทีป วางอยู่บนหนังสือสองเล่มซ้อนกันมีเส้นนอนเป็นฐาน มีดาบขัดอยู่หลังโล่ ปลายดาบปรากฏที่ด้านบนขวา ด้ามดาบปรากฏที่ด้านล่างซ้าย มองเห็นใบไม้ ทอดปลายด้านบนซ้าย และด้านล่างขวา
- วงกลม คือ ความมุ่งหมายร่วมกันในการพัฒนาเยาวชนให้เป็นบุคคลผู้มีคุณสมบัติครบถ้วน ตามคุณค่าแห่งศาสนธรรม วัฒนธรรมและวิชาความรู้ ขณะเดียวกันหมายถึงการรวมศรัทธาธรรมของนักบวช เข้ากับ ความรักของผู้ปกครองเมตตาธรรมของครูและการแสวงหาความรู้ความเจริญของนักเรียน
- เส้นประดับเจ็ดกลีบ แทนพระคุณเจ็ดประการของพระจิตเจ้า คือ พระดำริ สติปัญญา ความคิดความอ่าน กำลังความรู้ ความศรัทธา ความยำเกรง
- โล่ แสดงนัยของคุณธรรมว่าความรู้เป็นเครื่องปกป้องภัย
- ดาบคม คือ ปัญญา ด้าม คือ สติ ดาบนี้เป็นเครื่องประหารความเขลาและความไม่ชอบธรรมทั้งหลาย และป้องกันตนเองด้วยดาบที่อยู่ทางซ้าย จึงต้องใช้ด้วยความสุขุมคัมภีร์ภาพ และอย่างองอาจกล้าหาญ
- ใบไม้ แทนใบมะกอก ใบของพืช คือ ส่วนที่ทำหน้าที่หายใจ ใบมะกอกจึงแทนการดำรงชีวิตในสันติสุขและ เพื่อสันติสุข
- หนังสือสองเล่ม แทนคู่มือปลูกฝังคุณค่าทางจิตใจ และคุณค่าทางวิชาชีพ ความสมดุลของคุณค่าทั้งสอง เปรียบประดุจตะเกียงที่เปล่งแสงสว่างนำชีวิตไปถูกทาง
ดอกไม้ประจำโรงเรียน
[แก้]ดอกลิลลี่ (Fleur de lis) หมายถึง ความซื่อตรง เที่ยงตรง ถ่อมตน สุภาพ มีความบริสุทธิ์สดใส เป็นแบบฉบับอันดีงาม สัญลักษณ์ดอกลิลลี่กลางวงกลมสองชั้น มีความหมายว่า จุดหมายของมนุษย์ คือ การรู้และเข้าถึงสัจธรรมด้วยการดำเนินชีวิต มีระเบียบวินัย สุภาพราบเรียบประกอบการงานและเปี่ยมด้วยเมตตาธรรม ดอกลิลลี่ผุดขึ้นจากดิน ชูก้านตรงสู่ความไพศาล และความสว่าง มีดอกสีขาวที่งดงามให้เป็นที่ชื่นชมเปรียบ ได้กับปรัชญาชีวิตว่า เจ้าของชีวิตพึงพัฒนาตนด้วยความตรงสองประการคือ ซื่อตรงและเที่ยงตรงมีความถ่อมตน สุภาพและหนักแน่นอยู่เนืองนิจ ดุจดังแผ่นพื้นพสุธามีความบริสุทธิ์สดใสเป็นความงามประจำตนและเป็นแบบฉบับ แม้ต้นกำเนิดจะอยู่ในที่อับ ก็พึงเจริญชีวิตสู่ความสว่างให้เป็นแบบฉบับดีงามที่ประจักษ์
โรงเรียนใช้สีของดอกลิลลี่ หรือดอกลิส หรือที่เรียกกันว่า "โบว์" เป็นสัญลักษณ์ติดบนอกเสื้อของนักเรียนเพื่อแยกรุ่นนักเรียนแต่ละชั้น โดยโรงเรียนมีการเริ่มใช้สีดอกลิสเพื่อแยกรุ่นต่างๆตั้งแต่ราวๆปีพ.ศ. 2515 เป็นต้นมา แต่ละรุ่นใช้สีที่แตกต่างกัน เริ่มจาก สีแดง สีฟ้า สีเหลือง สีน้ำเงิน สีชมพู สีม่วง สีส้ม สีเขียว ตามลำดับ โดยที่สีน้ำเงินและสีชมพู ถูกนำมาใช้กับนักเรียนจบปีการศึกษา พ.ศ. 2542 - 2543 แค่สองรุ่นเท่านั้น ปัจจุบันเลิกใช้สองสีดังกล่าวแล้ว[6]
ดอกลิส (โบว์) | จบปีการศึกษา | ชื่อรุ่น | จบปีการศึกษา | ชื่อรุ่น | จบปีการศึกษา | ชื่อรุ่น | จบปีการศึกษา | ชื่อรุ่น | จบปีการศึกษา | ชื่อรุ่น | จบปีการศึกษา | ชื่อรุ่น | ||||||
แดง | 2522 | R1 Focus | 2527 | R2 RaaR | 2533 | R3 Poinsettia | 2539 | R4 Radiant Sun | 2547 | R5 Paint Me Red | 2553 | R6 Little Red Riding Hood | ||||||
ฟ้า | 2523 | B1 ฟ้าประธาน | 2528 | B2 Ghost | 2534 | B3 Sky Blue | 2540 | B4 Blue Jeans | 2548 | B5 Seafarer | 2554 | B6 Planet Neptune | ||||||
เหลือง | 2524 | Y1 ยอดสน | 2529 | Y2 Rainy Camp | 2535 | Y3 Daffodil | 2541 | Y4 Clair De Lune | 2549 | Y5 Mellow Yellow | 2555 | Y6 Beeternally | ||||||
น้ำเงิน | 2542 | Navy Blue | ||||||||||||||||
ชมพู | 2543 | In The Pink | ||||||||||||||||
ม่วง | 2525 | V1 MS5 Lavender | 2530 | V2 Violette | 2536 | V3 Bo Muang | 2544 | V4 Verve | 2550 | V5 Rainbow's End | ||||||||
ส้ม | 2531 | O1 Auranja | 2537 | O1 Orangeries | 2545 | O3 Autumn Leaves | 2551 | O4 Solarilunar | ||||||||||
เขียว | 2526 | G1 เขียวเสียวยกรุ่น | 2532 | G2 Tsa Vorites | 2538 | G3 Evergreen | 2546 | G4 Dioz | 2552 | G5 Verdure |
สีประจำโรงเรียน
[แก้]สีน้ำเงิน แสดงถึงความดีงาม ความสงบสำรวม ความมีกฎเกณฑ์ ความเป็นเลิศและความเป็นฝ่ายข้างมาก
สีเหลือง แสดงถึงวุฒิภาวะ หรือความเจริญเต็มที่ เป็นสีของความสว่าง เป็นสัญลักษณ์ของธรรมะ ถือได้ว่าเป็นสีของชีวิตใหม่ เช่น อรุณของทิวาวาร อันหมายถึงการเริ่มต้น
สีน้ำเงิน-เหลือง หมายรวมถึง การดำรงตนอยู่ในธรรมะด้วย ความสงบสำรวม มีความเป็นผู้ประกอบกิจการที่มุ่งสู่ความดี ความสามารถรักษาศักดิ์ศรีเฉพาะตนและส่วนรวม ด้วยความซื่อตรง พร้อมที่จะปรับปรุงตนให้ดีขึ้นทุกวัน ความเป็นบุคคลตั้งอยู่ในศีลในธรรม คือเกียรติยศของบุคคล สีทั้งสองเป็นแม่สีเปรียบได้ดังหลักการของทุกสิ่งทุกอย่าง ในทางวิชาการว่าด้วยทฤษฎีเรื่องสี เมื่อนำสีทั้งสองผสมกันในอัตราส่วนที่เท่ากันจะได้สีใหม่อีกหนึ่งสี คือ สีเขียว ซึ่งเป็นสีของพืชต่างๆ เป็นสัญลักษณ์ ของความมีชีวิต
เพลงประจำโรงเรียน
[แก้]เพลง ศรีเซนต์โย[7] - ประพันธ์คำร้องโดย ประคิณ ชุมสาย ณ อยุธยา ทำนองโดย นารถ ถาวรบุตร
เพลง Saint Paul Hymn - บทเพลงประจำคณะเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร ถูกใช้ในพิธีมอบประกาศนียบัตรสำหรับนักเรียนที่จบชั้นมันธยมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนทั้งหมดในเครือเซนต์ปอลฯ ณ หอประชุมทรินิตี้ ของโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ โดยจะให้นักเรียนในเครือเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร ร่วมกันขับร้อง ประสานเสียงไปพร้อมกับวงดุริยางค์ โดยแต่ละโรงเรียนจะมีการเตรียมซ้อมล่วงหน้าก่อนวันพิธี และมีการจัดคิวแบ่งหน้าที่ของแต่ละโรงเรียนเพื่อมอบหมายคีย์เสียงในการร้อง ซึ่งจะมีการแบ่งโทนเสียงในการขับร้อง เช่น เสียงสูง เสียงกลาง เสียงต่ำ[8]
อาคารต่างๆภายในโรงเรียน
[แก้]หอประชุมทรินิตี้ Trinity Hall
[แก้]หลังจากคณะภคินีคณะเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร ได้เข้ามาดำเนินการต่อจากภคินีคณะเซนต์มอร์ และสถาปนาให้โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ เป็นศูนย์กลางที่ตั้งแห่งสำนักภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร ในประเทศไทยแล้ว ตั้งแต่นั้นมา หอประชุมทรินิตี้ ได้ถูกใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีมอบประกาศนียบัตรให้กับนักเรียนจากโรงเรียนต่างๆในเครือคณะเซนต์ปอล มาโดยตลอด
โบสถ์น้อย
[แก้]หรือ วัดน้อย อยู่ส่วนปีกขวาของโรงเรียน ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2463 เพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนา อาทิ การรับศีลกำลัง การรับศีลมหาสนิท ออกแบบโดยนายอัลเฟรโด ริกาซซี่ เป็นอาคารโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก สูง 3 ชั้น มีผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาว รูปแบบสถาปัตยกรรมคลาสสิครีไววัล (Classic Revival) องค์ประกอบและระเบียบทางสถาปัตยกรรมเน้นความสงบและสง่างาม ใจกลางอาคารเป็น ห้องประกอบพิธี (Nave) ขนาบด้วยทางเดิน (Gallery) 2 ชั้น บริเวณแท่นบูชา (Apse) เป็นซุ้มโค้งรูปแบบปัลลาเดียน (Palladian motif) รอบอาคารเป็นหน้าต่างบานเกล็ดไม้ ทำให้อาคารมีความโปร่ง ระบายอากาศได้ดี เหมาะกับภูมิอากาศของประเทศไทย
แต่ราวๆปี พ.ศ. 2529 - 2531 โบสถ์น้อยถูกเพลิงไหม้ไปบางส่วน โดยภาพเขียนเก่าภายในได้เสียหายไปในครั้งนั้นด้วย ทำให้ต้องมีการซ่อมแซมใหม่ เช่น ในส่วนของฝ้าเพดาน แต่การบูรณะก็ได้พยายามรักษารูปแบบดั้งเดิมไว้ แม้ว่าทางโรงเรียนได้มีอาคารต่างๆสร้างขึ้นเพื่อขยายการเรียนการสอน อาทิ อาคาร 72 ปี หอประชุมทรินิตี้ ทำให้โฉมหน้าของโรงเรียนในปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก อย่างไรก็ดี โบสถ์น้อยซึ่งได้รับการอนุรักษ์และมีการใช้สอยอยู่จนปัจจุบัน ยังคงดำรงอยู่เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของโรงเรียน[9]
ปัจจุบันโบสถ์น้อยเป็นสิ่งปลูกสร้างเพียงอย่างเดียวที่คงอยู่ตั้งแต่สมัยการก่อตั้งโรงเรียนเมื่อเริ่มแรก และได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรมดีเด่น ประเภทอาคารปูชนียสถานและวัดวาอารามจากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อปี พ.ศ. 2550[4]
ถ้ำพระแม่มารีย์
[แก้]ถ้ำแม่พระ หรือ ถ้ำพระแม่มารีย์ มารดาพระเยซู เป็นถ้ำและรูปปั้นจำลองพระนางมารีพรหมจารี หรือ แม่พระแห่งลูร์ด (Our Lady of Lourdes) รูปปั้นพระแม่มารีย์ ถูกนำมาประดิษฐานที่โรงเรียนฯ โดยคุณพ่อแฟร์บ (Faivre) โครงสร้างถ้ำทำด้วยซีเมนต์เพื่อทดแทนก้อนหินขนาดใหญ่
พิธีเสกถ้ำเกิดขึ้นพร้อมงานฉลองของโรงเรียนในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2463 (ค.ศ.1920)
"เพื่อพระนางได้ประทานพระหรรษทานและความเมตตาสงสาร ต่อครอบครัวมากมาย และเด็กหญิงในโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ เพื่อจะได้เลียนแบบคุณธรรมของพระแม่มารี" มาแมร์แซงต์ ซาเวียร์ อธิการิณีคนแรกของโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ (ค.ศ.1905-1923)[10]
บุคคลที่มีชื่อเสียง
[แก้]- ดูบทความหลักที่: บุคคลจากโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์
เชิงอรรถ
[แก้]- ↑ พ.ศ. 2540 โรงเรียนได้เปิดโปรแกรมการเรียนการสอนโดยใช้สื่อการสอน และผู้สอนเป็นภาษาอังกฤษ (English Program)[1]
- ↑ คณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร กลุ่มคณะนักบวชสตรีในคริสต์ศาสนาที่เดินทางมาจากฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ. 2441 เพื่อเข้ามาเผยแพร่ธรรมและช่วยส่งเสริมงานพัฒนาสังคมไทยด้านการศึกษาการรักษาพยาบาลและการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ผู้ยากไร้
- ↑ เดิมคณะภคินีเซนต์มอร์ (เอกสารบางฉบับเรียกว่า "แซงต์มอร์") มีการสอนเด็กหญิงอยู่ก่อนแล้ว บริเวณเหนือปากคลองผดุงกรุงเกษมริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก แต่สถานที่ดังกล่าวทรุดโทรมเพราะถูกน้ำเซาะพังทลายขึ้นทุกปี เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีจึงบริจาคที่ดินที่ถนนสีลมให้ภคินีคณะเซนต์มอร์จัดตั้งเป็นโรงเรียนขึ้น
- ↑ นายอัลเฟรโด ริกาซซี เดินทางเข้ามารับราชการเป็นนายช่างสถาปนิกของกระทรวงโยธาธิการ ในช่วงปลายรัชกาลสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นผู้ออกแบบสถานีรถไฟเชียงใหม่, โรงแรมรถไฟหัวหิน กรมไปรษณีย์กลาง ฯลฯ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 ก้าวที่สาม...เริ่มต้นพันธกิจด้านการศึกษาของคณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร และก้าวต่อ ๆ มาในดินแดนสยาม, spcthai.org, สืบค้นเมื่อวันที่ 2021-07-27
- ↑ "ประวัติโรงเรียน". sjc.ac.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-26. สืบค้นเมื่อ 2021-07-26., สืบค้นเมื่อ 2021-07-26
- ↑ หนังสือตึกเก่า-โรงเรียนเดิม, By ยุวดี ศิริ, Matichon Public Company Limited, 2014., หน้า 121-129
- ↑ 4.0 4.1 "๑๐๔ ปี เซนต์โยเซฟคอนเวนต์กับโรงเรียนคาทอลิกหญิงในประเทศสยาม" หอจดหมายเหตุอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ, จากหนังสือศิลปวัฒนธรรม ปีที่ ๓๒ ฉบับที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๔
- ↑ พระสังฆราชแปร์รอส, หอจดหมายเหตุ, สืบค้นเมื่อ 2021-07-27
- ↑ "Chart รหัสรุ่น". SJC Loves Teachers (Fund). 2013-07-03.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ศรีเซนต์โย, สืบค้นเมื่อ 2021-07-26
- ↑ Bossnme, สืบค้นเมื่อ 2021-07-28
- ↑ "โบสถ์น้อยโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์". asaconservationaward.com.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์), สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์, 8 กันยายน 2559 - ↑ "111SJC ปูมประวัติ ๐๕" St. Joseph's Alumnae Association, จากหนังสือหนึ่งศตวรรษ รัตนวาร เซนต์โยเซฟคอนเวนต์ ครบรอบ 100 ปี ค.ศ.2007
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์