สงครามโลกครั้งที่สองในยูโกสลาเวีย
สงครามโลกครั้งที่สองในยูโกสลาเวีย | ||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามโลกครั้งที่สอง | ||||||||
หมุนตามนาฬิกาจากบนซ้าย: อานเต ปาเวลิช ได้เข้าพบอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ที่แบร์กฮอฟ, สเตจปาน ฟิลิโพวิก ถูกแขวนคอโดยกองกำลังยึดครอง, เดรซา มิเฮลโรวิก ได้ให้ขวัญกำลังใจแก่ทหารของเขา, กลุ่มของเชทนิกส์ กับทหารเยอรมันในหมู่บ้านเซอร์เบีย, ยอซีป บรอซ ตีโต กับสมาชิกของภารกิจอังกฤษ | ||||||||
| ||||||||
คู่สงคราม | ||||||||
เมษายน 1941: เยอรมนี อิตาลี ราชอาณาจักรฮังการี |
เมษายน 1941: ยูโกสลาเวีย | |||||||
1941–43: Germany อิตาลี NDHa VNSa CGa ราชอาณาจักรฮังการี บัลแกเรีย แอลเบเนีย Pećanac Chetniks |
1941–43: เชทนิกส์b Supported by: สหราชอาณาจักร สหรัฐ |
1941–43: พลพรรค Supported by: สหภาพโซเวียต | ||||||
1943–45: เชทนิกส์ |
1943–45: พลพรรค สหราชอาณาจักร สหภาพโซเวียต (1944–45) Bulgaria (1944–45) Albania (1944–45) สหรัฐ (limited involvement) | |||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | ||||||||
มักซีมีเลียน ฟอน ไวชส์ |
Dušan Simović เดรซา มิเฮลโรวิก |
ยอซีป บรอซ ตีโต | ||||||
กำลัง | ||||||||
300,000 (1944)[1] | 93,000 (1943)[9][10] |
100,000 (1943)[11] | ||||||
ความสูญเสีย | ||||||||
Germany:[13]c 99,000 killed |
Partisans:[15] 245,549 killed 399,880 wounded 31,200 died from wounds 28,925 missing | |||||||
a ^ Axis puppet regime established on occupied Yugoslav territory |
ปฏิบัติการทางทหารในสงครามโลกครั้งที่สองในยูโกสลาเวียได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 1940 เมื่อราชอาณาจักรยูโกสลาเวียได้ถูกยึดครองอย่างรวดเร็วโดยกองทัพฝ่ายอักษะและได้ถูกแบ่งแยกออกจากกันระหว่างเยอรมนี อิตาลี ฮังการี บัลแกเรีย และเครือข่ายการปกครอง ต่อมาภายหลัง สงครามการปลดปล่อยแบบกองโจรเป็นการสู้รบเพื่อต่อกรกับกองกำลังการยึดครองของฝ่ายอักษะและรัฐบาลหุ่นเชิดที่พวกเขาได้ก่อตั้งขึ้น รวมทั้งรัฐเอกราชโครเอเชียและรัฐผู้พิทักษ์แห่งเซอร์เบีย โดยสันนิบาติแห่งคอมมิวนิสต์แห่งยูโกสลาเวีย(KPJ)-ได้นำเหล่าผู้นิยมระบอบสาธารณรัฐ พลพรรคยูโกสลาเวีย ในเวลาเดียวกัน สงครามกลางเมืองหลายฝ่ายได้เกิดขึ้นระหว่างพลพรรคของพรรคคอมมิวนิสต์ยูโกสลาเวีย, ชาวเซิร์บผู้นิยมกษัตริย์ เชทนิกส์ (Chetniks), ชาวโครเอเชียผู้นิยมฟาสซิสต์ อูสตาซี (Ustaše) และผู้พิทักษ์บ้านเกิด (Home Guard) เช่นเดียวกันกับทหารผู้พิทักษ์บ้านเกิดสโลวีน
ทั้งพลพรรคยูโกสลาเวียและกลุ่มเคลื่อนไหวเชทนิกส์ในช่วงแรกนั้นได้ต่อต้านการยึดครอง อย่างไรก็ตาม ภายหลังในปี ค.ศ. 1941 เชทนิกส์ได้ขยายตัวอย่างกว้างขวางและร่วมมืออย่างเป็นระบบกับกองกำลังการยึดครองของอิตาลีจนกระทั่งอิตาลียอมจำนน และยังมีกองกำลังเยอรมันและอูสตาซี ฝ่ายอักษะได้วางแผนในการโจมตีที่หมายจะทำลายพลพรรค การจะทำเช่นนั้นได้ใกล้เข้ามาในช่วงฤดูหนาวและฤดูใบไม้ผลิในปี ค.ศ. 1943
แม้ว่าจะต้องประสบความปราชัย พลพรรคยังคงเป็นกองกำลังที่ได้รับความน่าเชื่อถือ ได้รับการยอมรับจากฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกและได้วางรากฐานสำหรับรัฐยูโกสลาเวียหลังสงคราม ด้วยการสนับสนุนทางด้านยุทธภัณฑ์ทางทหารและอำนาจเหนือน่านฟ้าของฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตก และกลุ่มทหารโซเวียตในการรุกเบลเกรด ในที่สุด พลพรรคก็ได้รับชัยชนะและควบคุมทั้งประเทศและบริเวณชายแดนของอิตาลีและออสเตรีย
ด้วยจำนวนผู้เสียชีวิตในสงครามนั้นมีมากมายมหาศาล จำนวนเหยื่อสงครามยังคงมีการถกเถียงกัน แต่โดยทั่วไปแล้วได้มีการเห็นพ้องกันว่า มีจำนวนอย่างน้อยหนึ่งล้านคน เหยื่อที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการสู้รบรวมทั้งประชากรชาวยิวส่วนใหญ่ของประเทศ,มีจำนวนหลายคนล้วนเสียชีวิตในค่ายกักกันและค่ายมรณะ (เช่น Jasenovac, Banjica) ได้ดำเนินโดยเครือข่ายการปกครอง
ระบอบการปกครองโครเอเชียอูสตาซีนั้นได้ก่อให้เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ต่อชาวเซิร์บ, ชาวโรมานี และชาวโครแอต ส่วนเชทนิกส์ของชาวเซิร์บนั้นได้กระทำการไล่ล่าในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ต่อชาวมุสลิมและชาวโครเอเชียและชาวเซิร์บผู้นิยมพลพรรค และเจ้าหน้าที่ชาวอิตาลีผู้ยึดครองก็ได้กระทำการไล่ล่าทำลายล้างต่อชาวสโลวีนและชาวโครแอต ส่วนกองทัพเวร์มัคท์ได้ดำเนินการสังหารหมู่ต่อพลเรือนจำนวนมากเพื่อแก้แค้นจากการเคลื่อนไหวต่อต้าน เช่น การสังหารหมู่ Kragujevac ทหารฮังการีที่ยึดครองได้ทำการสังหารหมู่พลเรือน (ส่วนใหญ่เป็นชาวเซิร์บและชาวยิว) ในช่วงการโจมตีที่สำคัญทางตอนใต้ของ Bačka, ภายใต้ข้ออ้างสำหรับการเคลื่อนไหวต่อต้าน
ในที่สุด ในช่วงระหว่างนั้นและภายหลังขั้นตอนสุดท้ายของสงคราม เจ้าหน้าที่ยูโกสลาเวียและทหารพลพรรคก็ได้ดำเนินการตอบโต้รวมทั้งการขับไล่เนรเทศประชากรชาว Danube Swabian บังคับให้เดินขบวนเป็นแถวและประหารชีวิตนับพันของทหารเชลยศึกและพลเรือนก็หลบหนีจากการโจมตีของพวกเขา (การส่งกลับคืน Bleiburg) การกระทำโหดร้ายกับชาวอิตาลีในอิสเตรียและกวาดล้างชาวเซิร์บ ชาวฮังการีและชาวเยอรมันที่มีความเกี่ยวข้องกับกองกำลังฟาสซิสต์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Mitrovski 1971, p. 211.
- ↑ Tomasevich 2001, p. 255.
- ↑ Jelić Butić 1977, p. 270.
- ↑ Colić 1977, pp. 61–79.
- ↑ Tomasevich 2001, p. 183.
- ↑ Mitrovski, 1971 & 49.
- ↑ Tomasevich 2001, p. 167.
- ↑ Tomasevich 2001, p. 771.
- ↑ Microcopy No. T314, roll 566, frames 778 – 785
- ↑ Borković, p. 9.
- ↑ Zbornik dokumenata Vojnoistorijskog instituta: tom XII – Dokumenti jedinica, komandi i ustanova nemačkog Rajha – knjiga 3, p.619
- ↑ Perica 2004, p. 96.
- ↑ Martin K. Sorge (1986). The Other Price of Hitler's War: German Military and Civilian Losses Resulting from World War II. Greenwood Publishing Group. pp. 62–63. ISBN 978-0-313-25293-8.
- ↑ Geiger 2011, pp. 743–744.
- ↑ Geiger 2011, pp. 701.
- ↑ A'Barrow 2016.
- ↑ Žerjavić 1993.
- ↑ Mestrovic 2013, p. 129.
- ↑ Tomasevich 2001, p. 226.
- ↑ Ramet 2006, p. 147.
- ↑ Tomasevich 2011, p. 308.