รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์
รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ | |
---|---|
ปัจจุบัน: รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 32 | |
รางวัลสำหรับ | ผู้สร้างสรรค์ผลงานด้านวิทยุโทรทัศน์ |
ประเทศ | ไทย |
จัดโดย | สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์เเห่งชาติ |
รางวัลแรก | 25 มกราคม พ.ศ. 2535 |
เว็บไซต์ | https://www.mpc.or.th/ |
| ||||||||||||||||||||||
|
รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ หรือ รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ เป็นรางวัลที่มอบให้แก่บุคคลในวงการผลิตภาพยนตร์ไทย ที่มีผลงานดีเด่นที่สุดในสาขาต่าง ๆ ในแต่ละปี โดยได้จัดให้มีพิธีมอบรางวัลนี้เป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2535 ประจำปี 2534 จัดโดยสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติ
ประวัติ
[แก้]หลังจากสมาคมผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ไทยลดถอยบทบาทการนำลง บุคลากรในวงการภาพยนตร์ไทยได้รวมตัวกันจัดตั้งองค์กรขึ้นใหม่ ให้เป็นองค์กรหลักที่สมาชิกเป็นตัวแทนขององค์กรย่อยและ ภาคส่วนต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ครบถ้วนยิ่งขึ้น โดยใช้ชื่อ สมาคมสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติ (The Federation of National Film Associations of Thailand) โดย ไพจิตร ศุภวารี เป็นนายกสมาคมสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติคนแรก ดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2534-2537
องค์กรนำของวงการภาพยนตร์ไทยว่างเว้นไม่ได้จัดการประกวดและมอบรางวัลสำหรับภาพยนตร์ไทยอยู่ประมาณ 3 ปี จึงได้เริ่มต้นใหม่อีกครั้ง โดยสมาคมสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติ ร่วมกับ คณะกรรมการส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย (หน่วยงานในสำนักนายกรัฐมนตรี) และกรมประชาสัมพันธ์ ตามนโยบายรัฐบาลที่ได้ให้การสนับสนุนวงการอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยจัดประกวด รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ ขึ้น ทั้งนี้ไม่ถือเป็นรางวัลต่อเนื่องจาก รางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ ของสมาคมผู้อำนวยการสร้างแต่เป็นการเริ่มต้นใหม่
รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติในระยะแรก จัดทำตัวรางวัลเป็นสัญลักษณ์ "ทางช้างเผือกสู่ดวงดาว" ซึ่งหมายถึง บุคคลที่สร้างผลงานภาพยนตร์ไทยยอดเยี่ยมและชนะเลิศในแต่ละประเภทรางวัล จนเป็นดาวดวงเด่นของปี ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นสัญลักษณ์สุพรรณหงส์จนถึงปัจจุบัน
ในปี พ.ศ. 2556 สมาพันธ์ ได้เปลี่ยนวิธีการตัดสินภาพยนตร์ที่ได้รับรางวัล โดยใช้คณะกรรมการตัดสิน 15 ท่าน ร่วมกับการลงคะแนนจากบุคคลในวงการภาพยนตร์ประมาณ 1,500 คน ในกลุ่มหลังจะแบ่งการลงคะแนนตามองค์ประกอบภาพยนตร์ในด้านต่างๆ โดยสามารถลงคะแนนผ่านทางเว็บไซต์ของสมาพันธ์ฯ หรือทางไปรษณีย์ โดยสัดส่วนคะแนนของทั้งสองกลุ่มจะอยู่ที่ 50:50
ในปี พ.ศ. 2562 ได้มีการเปลี่ยนเกณฑ์คัดเลือกภาพยนตร์ โดยออกเงื่อนไขว่า ภาพยนตร์ที่จะเข้าชิงรางวัลได้นั้น จะต้องเป็นภาพยนตร์ที่เข้าฉายอย่างน้อย 5 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพ ชลบุรี เชียงใหม่ นครราชสีมา และนครศรีธรรมราช หรือต้องมีคนดูตั้งแต่ 50,000 คนขึ้นไป (คิดเป็นรายได้ประมาณ 5-7 ล้านบาท) แต่หลังจากที่เปิดเผยกฎนี้ ได้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ในแง่ลบขึ้นจากโลกออนไลน์ และผู้กำกับเอง จนเกิด #แบนสุพรรณหงส์ ขึ้น เพราะมองว่า ไม่เป็นธรรม และเอื้อหนังทุนสูงมากเกินไป และตัดสิทธิ์หนังทุนต่ำ (ศัพท์ทางหนังจะเรียกว่า หนังอินดี้) จนกฎนี้ได้ถูกพับ และยกเลิกไปแล้ว [1] [2]
รางวัล
[แก้]รายชื่อรางวัล
[แก้]- ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม: ตั้งแต่ 2534 - ปัจจุบัน
- ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม: ตั้งแต่ 2534 - ปัจจุบัน
- นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม: ตั้งแต่ 2534 - ปัจจุบัน
- นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม: ตั้งแต่ 2534 - ปัจจุบัน
- นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม: ตั้งแต่ 2534 - ปัจจุบัน
- นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม: ตั้งแต่ 2534 - ปัจจุบัน
- บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม: ตั้งแต่ 2534 - ปัจจุบัน
- กำกับภาพยอดเยี่ยม: ตั้งแต่ 2534 - ปัจจุบัน
- ลำดับภาพยอดเยี่ยม: ตั้งแต่ 2534 - ปัจจุบัน
- เพลงนำภาพยนตร์ยอดเยี่ยม: ตั้งแต่ 2534 - ปัจจุบัน
- ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม: ตั้งแต่ 2534 - ปัจจุบัน
- บันทึกและผสมเสียงยอดเยี่ยม: ตั้งแต่ 2534 - ปัจจุบัน
- ออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม: ตั้งแต่ 2534 - ปัจจุบัน
- เทคนิคพิเศษการแต่งหน้ายอดเยี่ยม: ตั้งแต่ 2534 - ปัจจุบัน
- ออกแบบงานสร้างยอดเยี่ยม: ตั้งแต่ 2534 - ปัจจุบัน
- เทคนิคการสร้างภาพพิเศษยอดเยี่ยม: ตั้งแต่ 2536 - ปัจจุบัน
- บทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม: 2534
รางวัลพิเศษ
[แก้]- สุพรรณหงส์เกียรติยศ: ตั้งแต่ 2543 - ปัจจุบัน
ลำดับงานประกาศผลรางวัล
[แก้]ครั้งและปีที่จัด | วันที่ประกาศผล | สถานที่ประกาศผลและมอบรางวัล |
---|---|---|
ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2534 | วันที่ 25 มกราคม 2535 | ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ |
ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2535 | วันที่ 4 เมษายน 2536 | |
ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2536 | วันที่ 4 เมษายน 2537 | |
ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2537 | วันที่ 4 เมษายน 2538 | |
ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2538 | วันที่ 4 เมษายน 2539 | |
ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2539 | วันที่ 4 เมษายน 2540 | |
ครั้งที่ 7 พ.ศ. 2540 | วันที่ 4 เมษายน 2541 | |
ครั้งที่ 8 พ.ศ. 2541 | วันที่ 4 เมษายน 2542 | |
ครั้งที่ 9 พ.ศ. 2542 | วันที่ 4 เมษายน 2543 | |
ครั้งที่ 10 พ.ศ. 2543 | วันที่ 4 เมษายน 2544 | |
ครั้งที่ 11 พ.ศ. 2544 | วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2545 | ศูนย์วัฒนธรรมแห่งชาติ |
ครั้งที่ 12 พ.ศ. 2545 | วันที่ 4 เมษายน 2546 | โรงภาพยนตร์สกาล่า |
ครั้งที่ 13 พ.ศ. 2546 | วันที่ 9 มกราคม 2547 | โรงภาพยนตร์สกาล่า |
ครั้งที่ 14 พ.ศ. 2547 | วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2548 | โรงภาพยนตร์สกาล่า |
ครั้งที่ 15 พ.ศ. 2548 | วันที่ 4 มกราคม 2549 | บริเวณอนุสรณ์สถาน เรือตรวจการ 813 จังหวัดพังงา |
ครั้งที่ 16 พ.ศ. 2549 | วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2550 | สวนรัก อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา |
ครั้งที่ 17 พ.ศ. 2550 | วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2551 | โรงละครสยามนิรมิต |
ครั้งที่ 18 พ.ศ. 2551 | วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2552 | หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย |
ครั้งที่ 19 พ.ศ. 2552 | วันที่ 30 พฤษภาคม 2553 | โรงมหรสพหลวง ศาลาเฉลิมกรุง |
ครั้งที่ 20 พ.ศ. 2553 | วันที่ 6 มีนาคม 2554 | ศูนย์การค้า เซ็นทรัลเฟสติวัล พัทยา บีช พัทยา |
ครั้งที่ 21 พ.ศ. 2554 | วันที่ 29 เมษายน 2555 | โรงภาพยนตร์สยามภาวลัย พารากอนซีนีเพล็กซ์ สยามพารากอน |
ครั้งที่ 22 พ.ศ. 2555 | วันที่ 1 มีนาคม 2556 | โรงละครแห่งชาติ |
ครั้งที่ 23 พ.ศ. 2556 | วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2557 | ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้าพัทยา เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี |
ครั้งที่ 24 พ.ศ. 2557 | วันที่ 1 มีนาคม 2558 | หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย |
ครั้งที่ 25 พ.ศ. 2558 | วันที่ 13 มีนาคม 2559 | โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ ศูนย์การค้าสยามสแควร์วัน |
ครั้งที่ 26 พ.ศ. 2559 | วันที่ 5 มีนาคม 2560 | |
ครั้งที่ 27 พ.ศ. 2560 | วันที่ 11 มีนาคม 2561 | หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย |
ครั้งที่ 28 พ.ศ. 2561 | วันที่ 2 มีนาคม 2562 | |
ครั้งที่ 29 พ.ศ. 2562 - 2563 | วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 | เดอะมอลล์ โคราช จ.นครราชสีมา |
ครั้งที่ 30 พ.ศ. 2564 | วันที่ 25 กันยายน 2564 | โรงภาพยนตร์สยามภาวลัย พารากอนซีนีเพล็กซ์ สยามพารากอน |
ครั้งที่ 31 พ.ศ. 2565 | วันที่ 20 สิงหาคม 2566 | |
ครั้งที่ 32 พ.ศ. 2566 | วันที่ 29 กันยายน 2567 |
ผลการประกาศรางวัล
[แก้]ครั้งที่ (ปีที่จัด) | นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม | นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม | นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม | นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม |
---|---|---|---|---|
ครั้งที่ 1 (2521) สุพรรณหงส์ทองคำ | มนตรี เจนอักษร คนภูเขา |
พิศมัย วิไลศักดิ์ ไร้เสน่หา |
ด.ช. อภิรัฐ ชลาชล ฟ้าหลังฝน |
อำภา ภูษิต ฟ้าหลังฝน |
ครั้งที่ 2 (2523) | จตุพล ภูอภิรมย์ เงาะป่า |
จารุณี สุขสวัสดิ์ ช่างเขาเถอะ |
ส. อาสนจินดา เลือดสุพรรณ |
เปียทิพย์ คุ้มวงศ์ อาอี๊ |
ครั้งที่ 3 (2524) | สรพงศ์ ชาตรี ถ้าเธอยังมีรัก |
สุพรรษา เนื่องภิรมย์ ชายสามโบสถ์ |
สมควร กระจ่างศาสตร์ เด็ดหนวดพ่อตา |
นันทิดา แก้วบัวสาย สายใจ |
ครั้งที่ 4 (2525) | ทองปาน โพนทอง ลูกอีสาน |
จารุณี สุขสวัสดิ์ สวัสดีไม้เรียว |
ด.ช.คณิต จีระดิษฐ์ ลูกอีสาน |
นุชจรี ประสงค์ธรรม สวัสดีไม้เรียว |
ครั้งที่ 5 (2526) | สรพงศ์ ชาตรี มือปืน |
ชณุตพร วิศิษฏโสภณ เพื่อน-แพง |
ล้อต๊อก เงิน เงิน เงิน |
คนึงนิจ ฤกษะสาร เพื่อน-แพง |
ครั้งที่ 6 (2529) | รณ ฤทธิชัย ครูสมศรี |
จินตหรา สุขพัฒน์ แรงหึง |
วัชระ ปานเอี่ยม คู่วุ่นวัยหวาน |
มารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา โอวตี่ |
ครั้งที่ 7 (2530) | จรัล มโนเพ็ชร ด้วยเกล้า |
จินตหรา สุขพัฒน์ เหยื่อ |
สอาด เปี่ยมพงษ์สานต์ สะพานรักสารสิน |
รัชนู บุญชูดวง รัก-ใคร่ |
ครั้งที่ 1 (2534) สุพรรณหงส์ | สุรศักดิ์ วงษ์ไทย กะโหลกบางตายช้ากะโหลกหนาตายก่อน |
ปวีณา ชารีฟสกุล เวลาในขวดแก้ว |
รณ ฤทธิชัย คนเลี้ยงช้าง |
จันจิรา จูแจ้ง ต้องปล้น |
ครั้งที่ 2 (2535) | พลรัตน์ รอดรักษา ดร. ครก |
พัชราวัณย์ พิภพวรไชย ผู้ชายชื่อต้นผู้หญิงชื่อนุช |
วงศ์ศักดิ์ ศรีนวกะตระกูล แชะ แชะ แชะ เจอแจ๋วแหวว |
ธิศวรรณ สุวรรณโพธิ์ ครั้งนี้โลกฉุดไม่อยู่ |
ครั้งที่ 3 (2536) | จักรกฤษณ์ อำมะรัตน์ คนแซ่ลี้ |
บุษกร พรวรรณะศิริเวช คนแซ่ลี้ |
เกรียงไกร อุณหะนันท์ คนแซ่ลี้ |
ธัญญา โสภณ ท่านขุนน้อยน้อยแห่งสยาม |
ครั้งที่ 4 (2537) | สหรัถ สังขปรีชา คู่แท้ 2 โลก |
จินตหรา สุขพัฒน์ อำแดงเหมือนกับนายริด |
ด.ช.รณรงค์ บูรณัติ กาลครั้งหนึ่งเมื่อเช้านี้ |
วิจิตรา ตริยะกุล เสียดาย |
ครั้งที่ 5 (2538) | สมชาย เข็มกลัด โลกทั้งใบให้นายคนเดียว |
สุทธิดา เกษมสันต์ ณ อยุธยา โลกทั้งใบให้นายคนเดียว |
อรุณ ภาวิไล โลกทั้งใบให้นายคนเดียว |
วิไลวรรณ วัฒนพานิช คู่กรรม |
ครั้งที่ 6 (2539) | ฌานิศ ใหญ่เสมอ เด็กเสเพล |
ธัญญา โสภณ คู่กรรม 2 |
นพัตฏ์ธร มัททวีวงศ์ แรงเป็นไฟละลายแค่เธอ |
พอลลีน เรือนเพชร นางแบบ |
ครั้งที่ 7 (2540) | เรย์ แมคโดนัลด์ ฝันบ้าคาราโอเกะ |
เฟย์ อัศเวศน์ ฝันบ้าคาราโอเกะ |
บิลลี โอแกน คนป่วนสายฟ้า |
วิจิตรา ตริยะกุล ท้าฟ้าลิขิต |
ครั้งที่ 8 (2541) | เรย์ แมคโดนัลด์ รักออกแบบไม่ได้ |
อมิตา ทาทายัง รัก-ออกแบบไม่ได้ |
คมสัน นันทจิต รัก-ออกแบบไม่ได้ |
ศิริลักษณ์ เถกิงสุข เสือโจรพันธุ์เสือ |
ครั้งที่ 9 (2542) | อำพล ลำพูน อั้งยี่ ลูกผู้ชายพันธุ์มังกร |
ลลิตา ปัญโญภาส เรื่องตลก 69 |
วิชญ์ พิมพ์กาญจนพงศ์ ดอกไม้ในทางปืน |
ศิริสิน ศิริพรสมาธิกุล เรื่องตลก 69 |
ครั้งที่ 10 (2543) | - | - | - | - |
ครั้งที่ 11 (2544) | ปวริศร์ มงคลพิสิฐ บางกอกแดนเจอรัส |
สิริยากร พุกกะเวส มนต์รักทรานซิสเตอร์ |
ชัยชาญ นิ่มพูลสวัสดิ์ บางกอกแดนเจอรัส |
ภัทรวรินทร์ ทิมกุล บางกอกแดนเจอรัส |
ครั้งที่ 12 (2545) | นพดล ดวงพร 15 ค่ำ เดือน 11 |
อริศรา วงษ์ชาลี 1+1 เป็นสูญ |
หม่อมราชวงศ์มงคลชาย ยุคล ตะลุมพุก |
ณัฐวรา หงษ์สุวรรณ เกิร์ลเฟรนด์ 14 ใสวัยกำลังเหมาะ |
ครั้งที่ 13 (2546) | อัสนี สุวรรณ บิวตี้ฟูลบ็อกเซอร์ |
พิมพ์พรรณ ชลายนคุปต์ คืนบาปพรหมพิราม |
เฉลิมพล ทิฆัมพรธีรวงศ์ แฟนฉัน |
อลิสา ขจรไชยกุล องคุลีมาล |
ครั้งที่ 14 (2547) | ปิติศักดิ์ เยาวนานนท์ ไอ้ฟัก |
แอน ทองประสม เดอะเลตเตอร์ จดหมายรัก |
อดุลย์ ดุลยรัตน์ โหมโรง |
อาภาพร นครสวรรค์ บอดี้การ์ดหน้าเหลี่ยม |
ครั้งที่ 15 (2548) | ฉัตรชัย เปล่งพานิช จอมขมังเวทย์ |
นวรัตน์ เตชะรัตนประเสริฐ เอ๋อเหรอ |
สนธยา ชิตมณี มหาลัยเหมืองแร่ |
สาธิดา เขียวชะอุ่ม เอ๋อเหรอ |
ครั้งที่ 16 (2549) | กฤษดา สุโกศล 13 เกมสยอง |
รุ้งลาวัลย์ โทนะหงษา หนูหิ่น เดอะมูฟวี่ |
นิรุตติ์ ศิริจรรยา เพลงสุดท้าย |
ปรางทอง ชั่งธรรม อำมหิต พิศวาส |
ครั้งที่ 17 (2550) | อัครา อมาตยกุล ไชยา |
มาช่า วัฒนพานิช แฝด |
สนธยา ชิตมณี ไชยา |
เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์ รักแห่งสยาม |
ครั้งที่ 18 (2551) | อนันดา เอเวอริ่งแฮม แฮปปี้เบิร์ธเดย์ |
รัชวิน วงศ์วิริยะ รัก/สาม/เศร้า |
สรพงษ์ ชาตรี องค์บาก2 |
โฟกัส จีระกุล ปิดเทอมใหญ่หัวใจว้าวุ่น |
ครั้งที่ 19 (2552) | ปรเมศร์ น้อยอ่ำ สามชุก |
ศิริน หอวัง รถไฟฟ้า มาหานะเธอ |
พิษณุ นิ่มสกุล October Sonata รักที่รอคอย |
ศันสนีย์ วัฒนานุกูล ความจำสั้น แต่รักฉันยาว |
ครั้งที่ 20 (2553) | อนันดา เอเวอริ่งแฮม ชั่วฟ้าดินสลาย |
หนึ่งธิดา โสภณ กวนมึนโฮ |
สะอาด เปี่ยมพงศ์สานต์ นาคปรก |
อินทิรา เจริญปุระ นาคปรก |
ครั้งที่ 21 (2554) | นพชัย ชัยนาม ฝนตกขึ้นฟ้า |
ปิยธิดา วรมุสิก ลัดดาแลนด์ |
วรรณศักดิ์ ศิริหล้า ศพไม่เงียบ |
สุทัตตา อุดมศิลป์ ลัดดาแลนด์ |
ครั้งที่ 22 (2555) | เดวิด อัศวนนท์ เคาท์ดาวน์ |
อภิญญา สกุลเจริญสุข ปาดังเบซาร์ |
ปรมะ อิ่มอโนทัย It Gets Better ไม่ได้ขอให้มารัก |
ปิยธิดา วรมุสิก Together วันที่รัก |
ครั้งที่ 23 (2556) | ณเดชน์ คูกิมิยะ คู่กรรม |
พัชชา พูนพิริยะ Mary Is Happy, Mary Is Happy |
ณัฐสิทธิ์ โกฏิมนัสวนิชย์ ตั้งวง |
ชนนิกานต์ เนตรจุ้ย Mary Is Happy, Mary Is Happy |
ครั้งที่ 24 (2557) | จิรายุ ละอองมณี ตุ๊กแกรักแป้งมาก |
จรินทร์พร จุนเกียรติ Timeline จดหมาย ความทรงจำ |
พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง แผลเก่า |
อภิญญา สกุลเจริญสุข ภวังค์รัก |
ครั้งที่ 25 (2558) | ซันนี่ สุวรรณเมธานนท์ ฟรีแลนซ์..ห้ามป่วย ห้ามพัก ห้ามรักหมอ |
ดาวิกา โฮร์เน่ ฟรีแลนซ์..ห้ามป่วย ห้ามพัก ห้ามรักหมอ |
อิงครัต ดำรงศักดิ์กุล พี่ชาย My Hero |
วิโอเลต วอเทียร์ ฟรีแลนซ์..ห้ามป่วย ห้ามพัก ห้ามรักหมอ |
ครั้งที่ 26 (2559) | ฉันทวิชช์ ธนะเสวี แฟนเดย์ แฟนกันแค่วันเดียว |
นิษฐา จิรยั่งยืน แฟนเดย์ แฟนกันแค่วันเดียว |
กฤษดา สุโกศล แคลปป์ ขุนพันธ์ |
เพ็ญพักตร์ ศิริกุล ปั๊มน้ำมัน |
ครั้งที่ 27 (2560) | ชานน สันตินธรกุล ฉลาดเกมส์โกง |
ชุติมณฑน์ จึงเจริญสุขยิ่ง ฉลาดเกมส์โกง |
ธเนศ วรากุลนุเคราะห์ ฉลาดเกมส์โกง |
พลอย ศรนรินทร์ สยามสแควร์ |
ครั้งที่ 28 (2561) | ศุกลวัฒน์ คณารศ มะลิลา |
อุรัสยา เสปอร์บันด์ น้องพี่ที่รัก |
อนุชิต สพันธุ์พงษ์ มะลิลา |
สู่ขวัญ บูลกุล โฮมสเตย์ |
ครั้งที่ 29 (2562-2563) | ศดานนท์ ดุรงคเวโรจน์ ดิวไปด้วยกันนะ |
ภัณฑิรา พิพิธยากร แสงกระสือ |
จิรายุ ตันตระกูล จอมขมังเวทย์ 2020 |
แพรวา สุธรรมพงษ์ Where We Belong ที่ตรงนั้นมีฉันหรือเปล่า |
ครั้งที่ 30 (2564) | อิชณน์กร พึ่งเกียรติรัศมี 4 KINGS |
นริลญา กุลมงคลเพชร ร่างทรง |
ณัฏฐ์ กิจจริต 4 KINGS |
สวนีย์ อุทุมมา ร่างทรง |
ครั้งที่ 31 (2565) | ณัฐรัตน์ นพรัตยาภรณ์ วันสุดท้าย..ก่อนบายเธอ |
อุรัสยา เสปอร์บันด์ เร็วโหด..เหมือนโกรธเธอ |
พชร จิราธิวัฒน์ รักจังวะ..ผิดจังหวะ |
อสมาภรณ์ สมัครพันธ์ Blue Again บลู อะเกน |
ครั้งที่ 32
(2566) |
ชาติชาย ชินศรี | ธิติยา จิระพรศิลป์ | พิสิฐพล เอกพงศ์พิสิฐ | ทราย เจริญปุระ |
ครั้งที่ (ปีที่จัด) | ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม |
---|---|
ครั้งที่ 1 (2534) | เวลาในขวดแก้ว |
ครั้งที่ 2 (2535) | อนึ่งคิดถึงพอสังเขป |
ครั้งที่ 3 (2536) | คนแซ่ลี้ |
ครั้งที่ 4 (2537) | กาลครั้งหนึ่งเมื่อเช้านี้ |
ครั้งที่ 5 (2538) | โลกทั้งใบให้นายคนเดียว |
ครั้งที่ 6 (2539) | เสียดาย |
ครั้งที่ 7 (2540) | 2499 อันธพาลครองเมือง |
ครั้งที่ 8 (2541) | รัก-ออกแบบไม่ได้ |
ครั้งที่ 9 (2542) | นางนาก |
ครั้งที่ 10 (2543) | |
ครั้งที่ 11 (2544) | มนต์รักทรานซิสเตอร์ |
ครั้งที่ 12 (2545) | 15 ค่ำ เดือน 11 |
ครั้งที่ 13 (2546) | คืนบาปพรหมพิราม |
ครั้งที่ 14 (2547) | โหมโรง |
ครั้งที่ 15 (2548) | มหา'ลัยเหมืองแร่ |
ครั้งที่ 16 (2549) | ก้านกล้วย |
ครั้งที่ 17 (2550) | รักแห่งสยาม |
ครั้งที่ 18 (2551) | Wonderful Town |
ครั้งที่ 19 (2552) | October Sonata รักที่รอคอย |
ครั้งที่ 20 (2553) | ชั่วฟ้าดินสลาย |
ครั้งที่ 21 (2554) | ลัดดาแลนด์ |
ครั้งที่ 22 (2555) | Home ความรัก ความสุข ความทรงจำ |
ครั้งที่ 23 (2556) | ตั้งวง |
ครั้งที่ 24 (2557) | Concrete Clouds ภวังค์รัก |
ครั้งที่ 25 (2558) | Heart Attack ฟรีแลนซ์..ห้ามป่วย ห้ามพัก ห้ามรักหมอ |
ครั้งที่ 26 (2559) | ดาวคะนอง |
ครั้งที่ 27 (2560) | ฉลาดเกมส์โกง |
ครั้งที่ 28 (2561) | มะลิลา |
ครั้งที่ 29 (2562-2563) | Where We Belong ที่ตรงนั้น มีฉันหรือเปล่า |
ครั้งที่ 30 (2564) | ร่างทรง |
ครั้งที่ 31 (2565) | วันสุดท้าย..ก่อนบายเธอ |
ครั้งที่ 32
(2566) |
สัปเหร่อ |
สถิติรางวัล
[แก้]ภาพยนตร์ที่ชนะห้าสาขาใหญ่ (Big Five)
[แก้]ตัวหนา หมายถึงผู้ชนะ
นักแสดงที่ชนะสี่สาขาทางการแสดง (All Four Acting)
[แก้]ตัวหนา หมายถึงผู้ชนะ
ที่สุด (Superlative)
[แก้]สถิติสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
[แก้]ที่สุด | ภาพยนตร์ | จำนวน | ปี | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
ชนะมากที่สุด | ร่างทรง | 13 รางวัล | พ.ศ. 2564 | เข้าชิง 16 รางวัล |
เข้าชิงมากที่สุด | ฉลาดเกมส์โกง | 16 รางวัล | พ.ศ. 2560 | ชนะ 12 รางวัล |
ร่างทรง | พ.ศ. 2564 | ชนะ 13 รางวีล | ||
ความยาวของภาพยนตร์ที่ชนะ | ชั่วฟ้าดินสลาย | 3 ชั่วโมง 10 นาที | พ.ศ. 2553 | เข้าชิง 14
รางวัล ชนะ 5 รางวัล
|
ความยาวของภาพยนตร์ที่เข้าชิง | พลเมืองจูหลิง | 3 ชั่วโมง 42 นาที | พ.ศ. 2552 | เข้าชิง 3 รางวัล
ชนะ 0 รางวัล |
ความสั้นของภาพยนตร์ที่ชนะ | ตั้งวง | 1 ชั่วโมง 26 นาที | พ.ศ. 2556 | เข้าชิง 10 รางวัล
ชนะ 4 รางวัล |
ความสั้นของภาพยนตร์ที่เข้าชิง | Die Tomorrow | 1 ชั่วโมง 15 นาที | พ.ศ. 2560 | เข้าชิง 12 รางวัล
ชนะ 0 รางวัล |
สาขาผู้กำกับการแสดงยอดเยี่ยม
[แก้]ที่สุด | รายชื่อ | จำนวน | ปี | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
ชนะมากที่สุด | หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล | 2 | พ.ศ. 2534 , พ.ศ. 2539 | เข้าชิง 4 ครั้ง |
บัณฑิต ฤทธิ์ถกล | พ.ศ. 2535 , | เข้าชิง 4 ครั้ง | ||
นนทรีย์ นิมิบุตร | พ.ศ. 2540 , พ.ศ. 2542 | เข้าชิง 4 ครั้ง | ||
จิระ มะลิกุล | พ.ศ. 2545 , | เข้าชิง 3 ครั้ง | ||
ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล | พ.ศ. 2550 , | เข้าชิง 4 ครั้ง | ||
คงเดช จาตุรันต์รัศมี | พ.ศ. 2556 , พ.ศ. 2562 - 2563 | เข้าชิง 5 ครั้ง | ||
เข้าชิงมากที่สุด | เป็นเอก รัตนเรือง | 7 | พ.ศ. 2540, พ.ศ. 2544, พ.ศ. 2546, พ.ศ. 2550, พ.ศ. 2552, พ.ศ. 2554, พ.ศ. 2556 | ชนะ 1 ครั้ง |
อายุมากสุดที่ชนะ | หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล | 69 ปี | พ.ศ. 2565 | มายาพิศวง |
อายุมากสุดที่ได้เข้าชิง | ||||
อายุน้อยสุดที่ชนะ | ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล | 26 ปี | พ.ศ. 2550 | รักแห่งสยาม |
อายุน้อยสุดที่เข้าชิง | 25 ปี | พ.ศ. 2549 | 13 เกมสยอง | |
บรรจง ปิสัญธนะกูล | พ.ศ. 2547 | ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ | ||
ภาคภูมิ วงศ์ภูมิ |
สาขานักแสดงนำและสมทบยอดเยี่ยม
[แก้]ที่สุด | รายชื่อ | จำนวน | ปี | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
ชนะมากที่สุด | ธัญญา โสภณ | 2 | พ.ศ. 2536 , พ.ศ. 2539 | เข้าชิง 3 ครั้ง นำหญิง 1 ครั้ง สมทบหญิง 2 ครั้ง |
วิจิตรา ตริยะกุล | พ.ศ. 2537 , พ.ศ. 2540 | เข้าชิง 2 ครั้ง สมทบหญิง 2 ครั้ง | ||
เรย์ แมคโดนัลด์ | พ.ศ. 2540 , พ.ศ. 2541 | เข้าชิง 5 ครั้ง นำชาย 3 ครั้ง และ สมทบชาย 2 ครั้ง | ||
สนธยา ชิตมณี | พ.ศ. 2548 , พ.ศ. 2550 | เข้าชิง 2 ครั้ง สมทบชาย 2 ครั้ง | ||
กฤษดา สุโกศล แคลปป์ | พ.ศ. 2549, พ.ศ. 2559 | เข้าชิง 4 ครั้ง
นำชาย 3 ครั้ง สมทบชาย 1ครั้ง | ||
อนันดา เอเวอริ่งแฮม | พ.ศ. 2551 , พ.ศ. 2553 | เข้าชิง 8 ครั้ง นำชาย 7 ครั้ง สมทบชาย 1 ครั้ง | ||
อภิญญา สกุลเจริญสุข | พ.ศ. 2555 , พ.ศ. 2557 | เข้าชิง 8 ครั้ง นำหญิง 4 ครั้ง สมทบหญิง 4 ครั้ง | ||
ซันนี่ สุวรรณเมธานนท์ | พ.ศ. 2548 , พ.ศ. 2555 , พ.ศ. 2557 , พ.ศ. 2558 , พ.ศ. 2560 , พ.ศ. 2561 , พ.ศ. 2562 | เข้าชิง 8 ครั้ง นำชาย 7 ครั้ง สมทบชาย 1 ครั้ง | ||
อุรัสยา เสปอร์บันด์ | พ.ศ. 2561 , พ.ศ. 2565 | เข้าชิง 2 ครั้ง นำหญิง 2 ครั้ง | ||
เข้าชิงมากที่สุด | สรพงศ์ ชาตรี | 8 | พ.ศ. 2534 , พ.ศ. 2536 , | นำชาย 3 ครั้ง สมทบชาย 5 ครั้ง
ปี พ.ศ. 2551 เข้าชิง 2 เรื่อง ซึ่งได้รับรางวัล 1 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2551 |
จินตหรา สุขพัฒน์ | พ.ศ. 2534 , พ.ศ. 2535 , | นำหญิง 6 ครั้ง สมทบหญิง 2 ครั้ง
ปี พ.ศ. 2537 เข้าชิง 2 เรื่อง ซึ่งได้รับรางวัล 1 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2537 | ||
อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม | พ.ศ. 2550 , พ.ศ. 2551 , พ.ศ. 2553 , พ.ศ. 2555 , พ.ศ. 2557 , พ.ศ. 2559 , พ.ศ. 2564 | นำชาย 7 ครั้ง สมทบชาย 1 ครั้ง
ปี พ.ศ. 2553 เข้าชิง 2 เรื่อง ซึ่งได้รับรางวัล 2 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2551 , พ.ศ. 2553 | ||
ซันนี่ สุวรรณเมธานนท์ | พ.ศ. 2548 , พ.ศ. 2555 , พ.ศ. 2557 , พ.ศ. 2558 , พ.ศ. 2560 , พ.ศ. 2561 , พ.ศ. 2562 | นำชาย 7 ครั้ง สมทบชาย 1 ครั้ง
ปี พ.ศ. 2560 เข้าชิง 2 เรื่อง ซึ่งได้รับรางวัล 1 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2558 | ||
อภิญญา สกุลเจริญสุข | พ.ศ. 2550 , พ.ศ. 2554 , พ.ศ. 2555 , พ.ศ. 2556 , พ.ศ. 2557 , พ.ศ. 2559 , พ.ศ. 2565 | นำหญิง 4 ครั้ง สมทบหญิง 4 ครั้ง
ปี 2559 เข้าชิง 2 เรื่อง ซึ่งได้รับรางวัล 2 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2555 , พ.ศ. 2557 บทนำและสมทบ ตามลำดับปี |
สุพรรณหงส์เกียรติยศ
[แก้]เป็นรางวัลที่มอบให้กับบุคลาการที่สร้างเกียรติคุณแก่อุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยตั้งแต่อดีต ถึง ปัจจุบัน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ณัฐนันท์ เฉลิมพนัส (27 ธันวาคม 2562). "สรุปแล้ว รางวัลสุพรรณหงส์ปี 2562 ใช้เกณฑ์เดิมเลือกภาพยนตร์เข้าชิงรางวัล". เดอะสแตนดาร์ด. สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ https://thematter.co/brief/200278/200278.
{{cite news}}
:|title=
ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ เก็บถาวร 2007-04-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- กระทู้จาก thaifilm เก็บถาวร 2012-10-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- กระทู้จาก IMdbเก็บถาวร 2010-03-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน