ข้ามไปเนื้อหา

เพื่อน-แพง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เพื่อน-แพง
สร้างโดยพอดีคำ เอ็นเทอร์เทนเมนท์
เขียนโดยบทประพันธ์ :
ยาขอบ
บทโทรทัศน์ :
ศุภชัย สิทธิอำพรพรรณ
กำกับโดยสยาม น่วมเศรษฐี
แสดงนำศุกลวัฒน์ คณารศ
จีรนันท์ มะโนแจ่ม
ฝนทิพย์ วัชรตระกูล
ผู้ประพันธ์ดนตรีแก่นเรื่องปฏิเวธ อุทัยเฉลิม (ฟองเบียร์)
ดนตรีแก่นเรื่องเปิดหนึ่งในสอง ร้องโดย พลพล พลกองเส็ง
ประเทศแหล่งกำเนิดไทย ประเทศไทย
ภาษาต้นฉบับไทย ไทย
จำนวนตอน15 ตอน
การผลิต
ผู้อำนวยการผลิตธงชัย ประสงค์สันติ
มณีรัตน์ ประสงค์สันติ
ความยาวตอน130 นาที/ตอน
ออกอากาศ
เครือข่าย
สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7
ออกอากาศ12 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 –
30 มิถุนายน พ.ศ. 2558

เพื่อน-แพง เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2526 เขียนบทภาพยนตร์และกำกับการแสดงโดย เชิด ทรงศรี โดยดัดแปลงจากเรื่องสั้น "เพื่อนแพง" ของยาขอบ ที่ตีพิมพ์ในวารสารของเทพศิรินทร์ ฉบับชื่นชุมนุม เมื่อ พ.ศ. 2476 [1]

เพื่อน-แพง เป็นโศกนาฏกรรมเกี่ยวกับรักสามเส้า ระหว่าง เจ้าลอ (สรพงศ์ ชาตรี) กับลูกสาวสองคนของพ่อเฒ่าพิศ คือ เพื่อน (คนึงนิจ ฤกษะสาร) กับ แพง (ชณุตพร วิศิษฎโสภณ) ที่จบลงด้วยความตายของแพง พร้อมกับลูกในท้องที่เกิดจากเจ้าลอ และการฆ่าตัวตายของเจ้าลอ เพื่อเป็นการยืนยันในคำสาบานที่มีต่อเพื่อน และด้วยความเสียใจที่เป็นเหตุที่ทำให้แพงต้องตาย

เพื่อน-แพง ออกฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2526 โดยใช้คำโฆษณาว่า "ระหว่างความรักกับคำสาบาน อย่างไหนจะมีอำนาจสูงส่งกว่ากัน"

ได้เข้ารอบชิงรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดีและได้รับรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม รางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ ประจำปี พ.ศ. 2526 โดยชณุตพร วิศิษฏโสภณ ที่รับบทแพง ได้รางวัลตุ๊กตาเงิน จากการประกวดในปีนั้น และคนึงนิจ ฤกษะสาร ที่รับบทเพื่อน ได้รับรางวัลนักแสดงประกอบยอดเยี่ยม รางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ

ส่วนเชิด ทรงศรี ได้รับการเสนอเข้าชิงรางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยม ทั้งรางวัลพระราชทานพระสุรัสวดีและรางวัลสุพรรณหงส์ แต่ไม่ได้รับรางวัล [2]

ในปี พ.ศ. 2558 ถูกนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์ ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ผลิตโดย บริษัท พอดีคำ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด นำแสดงโดย ศุกลวัฒน์ คณารศ รับบท ลอ, จีรนันท์ มะโนแจ่ม รับบท เพื่อน, ฝนทิพย์ วัชรตระกูล รับบท แพง

รายชื่อนักแสดง

[แก้]
ตัวละคร ภาพยนตร์ พ.ศ. 2526 ละคร พ.ศ. 2558
ลอ สรพงศ์ ชาตรี ศุกลวัฒน์ คณารศ
เพื่อน คนึงนิจ ฤกษะสาร จีรนันท์ มะโนแจ่ม
แพง ชณุตพร วิศิษฏโสภณ ฝนทิพย์ วัชรตระกูล
บุญเพ็ง (2526)/วีระ (2558) วิโรจน์ ควันธรรม กฤษฎา สุภาพพร้อม
แรม จารุณี สุขสวัสดิ์ อุษณีย์ วัฒฐานะ
แก้ว อภิรดี ภวภูตานนท์ อธิชนัน ศรีเสวก
ก้อน กิตติ ดัสกร อติรุจ สิงหอำพล
มานพ ไพโรจน์ ใจสิงห์ แอนดรูว์ โคนินทร์
เอี้ยง (2526)/เรือง (2558) ปิยะ ตระกูลราษฎร์ ภูษณะ บัวงาม
โฉมฉาย ดวงดาว จารุจินดา พิมพ์พรรณ ชลายนคุปต์
โสภี โฉมฉาย ฉัตรวิไล ฐิตินันท์ สุวรรณถาวร
เสือเทิด สันติสุข พรหมศิริ วินัย ไกรบุตร
พิศ โดม สิงห์โมฬี ธนายง ว่องตระกูล
ประจวบ ดามพ์ ดัสกร ศตวรรษ ดุลยวิจิตร
ครูแสง สมบัติ เมทะนี ปิยะ ตระกูลราษฎร์
เจ้าคุณรัตน์ ดิลก ทองวัฒนา พลรัตน์ รอดรักษา
เสือมิ่ง ธีรพงศ์ เหลียวรักวงศ์ เวนย์ ฟอลโคเนอร์
ผู้ใหญ่ผาด ลิขิต เอกมงคล สามารถ พยัคฆ์อรุณ
สมภารบุญ มานพ อัศวเทพ กรุง ศรีวิไล
ไม้ ณรัฐ พัฒนาพงศ์ชัย
มาด หนุงหนิง สีหราช
ด้วง กิ๊ฟ ชวนชื่น
จำปา (จำเนียร) ภัทรนิษฐ์ แก้วมณี
ลอ ด.ช.ริชาร์ด เกียร์นี่
เพื่อน ด.ญ.ณพัศพร บุญธรรมรัตน์
แพง ด.ญ.ชนัญญา เลิศวัฒนามงคล
ลั่นทม มัณฑนา หิมะทองคำ
วิชิต ณัชฌุกรณ์ ไหมกัน
คุณนายทองดี วงจันทร์ ไพโรจน์

อ้างอิง

[แก้]
  1. วีระยศ สำราญสุขทิวาเวทย์. หนังกับหนังสือ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ห้องสมุด, 2552. 286 หน้า. ISBN 978-974-642-677-0
  2. หนึ่งเดียว. พิพิธภัณฑ์หนังไทย ฉบับ "ประวัติการณ์ที่สุดหนังไทย". กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ป็อปคอร์น, พ.ศ. 2549. หน้า 328. ISBN 974-94228-8-0

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]