ข้ามไปเนื้อหา

สีเทา เพ็ชรเจริญ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก จรัล เพ็ชรเจริญ)
สีเทา เพ็ชรเจริญ
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด7 มิถุนายน พ.ศ. 2475
จรัล เพ็ชรเจริญ
อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประเทศสยาม
เสียชีวิต17 ตุลาคม พ.ศ. 2559 (84 ปี)
โรงพยาบาลชลประทาน จังหวัดนนทบุรี ประเทศไทย
คู่สมรสยุพิน แก้วประเสริฐ
บุตร4 คน
อาชีพนักพากย์ นักแสดง ตำรวจ
ปีที่แสดงพ.ศ. 2499–2559
สุพรรณหงส์พ.ศ. 2558 - รางวัลเกียรติยศ
ชมรมวิจารณ์บันเทิงนักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2548 - มหา'ลัย เหมืองแร่
โทรทัศน์ทองคำพ.ศ. 2547 - รางวัลเกียรติยศคนทีวี
ฐานข้อมูล
IMDb
ThaiFilmDb

สีเทา เพ็ชรเจริญ เป็นชื่อการแสดงของ จรัล เพ็ชรเจริญ เป็นดาราตลกอาวุโส มีบุคลิกเด่นคือแสดงตลกด้วยหน้าตาท่าทาง ลักษณะหลังโกง พุงป่อง เหมือน "เท่ง" ตัวตลกดาราหนังตะลุง ของทางภาคใต้ และถูกนำบุคลิกไปสร้างเป็นตัวการ์ตูนในแอนิเมชันเรื่อง "แดร็กคูล่าต๊อก โชว์"

ประวัติ

[แก้]

สีเทา เกิดเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ที่ตำบลตลาด อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี บิดาคือ จ.ส.อ.เมฆ เพ็ชรเจริญ เป็นอดีตนายทหารเรือ ส่วนมารดาคือ นางจรูญ เพ็ชรเจริญ เป็นแม่ค้าขายขนมหวาน เริ่มเข้าสู่วงการโดยการชักชวนของเสน่ห์ โกมารชุน ให้เป็นมาเป็นนักพากย์ภาพยนตร์ และแสดงภาพยนตร์เป็นตัวประกอบในบทตลกเรื่องแรก คือ ฟ้าธรรมาธิเบศร์ นำโดย วิไลวรรณ-พันคำ ฉายวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2499 ตามมาด้วยเรื่อง สี่สิงห์นาวี นำโดย วิไลวรรณ-พันคำ-สุรสิทธิ์ ฉายวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2499 เล็บครุฑ นำโดย อมรา อัศวนนท์ และ ลือชัย นฤนาท ฉายวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 และอีกหลายเรื่อง ต่อมาเข้ารับราชการตำรวจในตำแหน่งโฆษกวงดุริยางค์ตำรวจ ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2520 จนเกษียณอายุราชการ

ชีวิตส่วนตัวสมรสกับยุพิน แก้วประเสริฐ มีบุตรสามคน และมีลูกติดจากภรรยาเก่า 1 คน

สีเทาเคยล้มป่วยจากโรคความดันโลหิตสูง และหลอดเลือดแตกในสมองจนเกือบถึงแก่ชีวิต แต่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานดอกไม้เยี่ยม ซึ่งทำให้สีเทาสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณนี้มาโดยตลอดจนมาถึงช่วงบั้นปลายของชีวิต

ผลงานละครโทรทัศน์

[แก้]
  • ชีวิตเปื้อนฝุ่น (2535) ช่อง 7
  • ทายาทอสูร (2535) ช่อง 5 รับเชิญ
  • เมียไม่ใช่เมีย (2535) ช่อง 3 รับเชิญ
  • เจ้าจอม (2535) ช่อง 9 รับเชิญ
  • ละครเร่ (2535) ช่อง 7
  • แก้วสารพัดนึก (2535) ช่อง 7
  • ภูตแม่น้ำโขง (2535) ช่อง 7
  • สุริยาที่รัก (2536) ช่อง 9
  • อยู่กับก๋ง (2536) ช่อง 3
  • เกิดแต่ตม (2536) ช่อง 7
  • ภูติสาวเจ้าเสน่ห์ (2536) ช่อง 3
  • จันทโครพ (2536) ช่อง 7
  • วิมานมะพร้าว (2537) ช่อง 7 รับเชิญ
  • กระสือ (2537) รับบท พ่อหมอ ช่อง 7
  • แม่นาคพระโขนง (2537) ช่อง 5
  • ศรีธนญชาย (2538) ช่อง 5
  • ด้วยดวงจิตริษยา (2538) ช่อง 7
  • ชมรมขนหัวลุก ตอน ครูวันเพ็ญ (2538) ช่อง 5
  • ปีหนึ่งเพื่อนกันและวันอัศจรรย์ของผม (2539) ช่อง 7
  • ดารายัณ (2539) ช่อง 5
  • ด้วยแรงอธิษฐาน (2539) ช่อง 7 รับเชิญ
  • โปลิศจับขโมย (2539) ช่อง 3 รับเชิญ
  • เกาะสวาท หาดสวรรค์ (2539) ช่อง 7
  • ชมรมขนหัวลุก ตอน เลือดบาป (2539) ช่อง 5
  • มณีนพเก้า (2539) ช่อง 7
  • ดาวเรือง (2539) ช่อง 3
  • ปอบผีฟ้า (2540) ช่อง 7
  • นิรมิต (2540) ช่อง 7
  • พี่ชายที่แสนดี (2540) ช่อง 9
  • ชมรมขนหัวลุก ตอน บ้านใกล้กระตุกขวัญ (2540) ช่อง 3
  • น้ำใจแม่ (2540) ช่อง 7
  • รักต้องลุ้น (2540) ช่อง 3
  • ชมรมขนหัวลุก ตอน หลอก (2540) ช่อง 3
  • เดชแม่ยาย (2541) ช่อง 9
  • คู่รัก 2 ชาติ (2541) ช่อง 3
  • บุญชูสระอูยาว (2541) ช่อง 3
  • ชมรมขนหัวลุก ตอน เพื่อนตาย (2541) ช่อง 5
  • คุณหนูอารมณ์ร้ายกับผู้ชายปากแข็ง (2541) ช่อง 5
  • กระท่อมโสมจันทร์ (2541) ช่อง 7
  • เศรษฐีอนาถา (2541) ช่อง 3
  • สี่ไม้คาน (2541) ช่อง 3
  • อีแตน (2541) ช่อง 3
  • พลังรัก (2541) ช่อง 7
  • คุณปู่ซู่ซ่า (2542) ช่อง 7
  • หัวใจมีเงา (2542) ช่อง 3 รับเชิญ
  • ชื่นชีวานาวี (2542) ช่อง 3
  • สาวน้อยร้อยมายา (2542) ช่อง 7
  • โดดเดี่ยวไม่เดียวดาย (2542) ช่อง 5
  • ระเบิดเถิดเทิง ตอน โจรเรียกค่าไถ่ (2542) ช่อง 9
  • พ่อ ตอน วัคซีน (2542) ช่อง 5
  • ตามจับตามจีบ (2543) ช่อง 3
  • ผู้ดีอีสาน (2543) เป็น ชัด ช่อง 3
  • แม่นากพระโขนง (2543) ช่อง 3
  • ฝนตกขี้หมูไหล คนอะไรมาพบกัน (2543) ช่อง 3
  • ยอดชีวัน (2543) ช่อง 3
  • รัตติกาลยอดรัก (2543) ช่อง 3
  • รักประกาศิต (2543) ช่อง 7
  • ผู้ชายก็ท้องได้ (2543) ช่อง 7
  • ผยอง (ละครโทรทัศน์) (2543) ช่อง 3
  • เรือนนพเก้า (2544) ช่อง 3 รับเชิญ
  • ลางลิขิต (2544) ช่อง 3
  • แม่ค้า (2544) ช่อง 7
  • หนี้รัก (2544) ช่อง 5
  • สุดหัวใจ (2544) ช่อง 3
  • รักสลับขั้ว (2544) ช่อง 3
  • สะใภ้ ไร้ศักดินา (2544) ช่อง 3
  • คนทรง-จ้าวแผ่นดิน (2544) รับบทเป็น ตาผัน ช่องไอทีวี
  • ซิงตึ๊ง (2544) ช่อง 3 รับเชิญ
  • เส้นไหมสีเงิน (2545) ช่อง 3
  • เสื้อสีฝุ่น (2545) ช่อง 3
  • มณีเมขลา (2545) ช่อง 3
  • ไก่นา (2545) ช่อง 3 รับเชิญ
  • ลูกผู้ชาย (2545) ช่อง ไอทีวี
  • เจ้าชายหัวใจเกินร้อย (2545) ช่อง 7
  • ระเบิดเถิดเทิง ตอน ลูกหลอก (2545) ช่อง 9
  • บ้านนี้ผี (ไม่) ปอบ (2546) ช่อง 3
  • โทน (2546) ช่อง ไอทีวี
  • รักพันลึก (2546) ช่อง 3
  • แม่แตงร่มใบ (2546) ช่อง 7
  • ใบสั่งกามเทพ (2546) ช่องไอทีวี
  • เก่งไม่เก่งไม่เกี่ยว (2547) ช่อง 3
  • นางสาวจริงใจ กับนายแสนดี (2547) ช่อง 7
  • ระเบิดเถิดเทิง ตอน โค้งสุดท้าย (2547) ช่อง 9
  • เรือนไม้สีเบจ (2547) ช่อง 3
  • ไอ๊หยา อาตือ (2547) ช่อง 3
  • มนต์เสน่หา (2547) ช่อง 3
  • ไฟสีเงิน (2547) ช่อง 7
  • เดือนเดือด (2547) ช่อง 7
  • ธรรมะติดปีก (2547) ช่อง 3
  • ธรรมะติดปีก 2 (2547) ช่อง 3
  • สะใภ้ซ่าส์ แม่ย่าเฮี้ยน (2547) ช่อง 7
  • นกออก (2548) ช่อง 7
  • บุญดีผีคุ้ม (2548) ช่อง โมเดิร์นไนน์ทีวี
  • นางฟ้าไซเบอร์ (2548) ช่อง 3 รับเชิญ
  • หมอผีไซเบอร์ (2548) ช่อง 7
  • โคกคูนตระกูลไข่ (2549) ช่อง 5 รับเชิญในตอน บันทึกลึกสุดใจ
  • ดวง (2549) ช่อง 7
  • รักเราไม่ไฮโซ (2549) ช่อง 3
  • สุดรักสุดดวงใจ (2549) ช่อง 3
  • โลกสองใบของนายเดียว (2550) ช่อง 7
  • ละครเทิดพระเกียรติ ลูกระนาด (2550) ช่อง 7
  • ระเบิดเถิดเทิง ตอน มหาอุตม์ (2550) ช่อง 9
  • นิมิตมาร (2551) ช่อง 3
  • สื่อรักชักใยอลวน (2551) ช่อง 3
  • ผู้กองเจ้าเสน่ห์ (2553) ช่อง 3 รับเชิญในตอน "ผีมีพ่อ"
  • วุ่นวายสบายดี (2555) ช่อง 3
  • สะใภ้พญายม (2555) ช่อง 3
  • ศีล 5 คนกล้าท้าอธรรม ตอน พระคุณที่ถูกลืม (2556) ช่อง 5
  • ฟ้าจรดทราย (2556) ช่อง 7 รับเชิญ

ภาพยนตร์

[แก้]

กำกับภาพยนตร์

[แก้]

อำนวยการสร้าง

[แก้]

มิวสิควีดีโอ

[แก้]

โฆษณา

[แก้]
  • 2531 เวเธอร์โค้ทเบอร์เชลล์
  • 2540 น้ำอัดลม แฟนต้า ชุด สะอึก

ศิลปินรับเชิญ

[แก้]
  • เพลง คนไทย ในอัลบั้ม "เราคนไทย" ของ เล็ก คาราบาว (2534)

รางวัล

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 19 พ.ศ. 2547". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-09-04. สืบค้นเมื่อ 2010-02-26.
  2. "ฟรีแลนซ์ฯ-อาปัติ"เข้าชิง! หนังยอดเยี่ยมสุพรรณหงส์ เดลินิวส์

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]