ข้ามไปเนื้อหา

มหา'ลัย เหมืองแร่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหา'ลัย เหมืองแร่
โปสเตอร์
กำกับจิระ มะลิกุล
เขียนบทนวนิยาย:
อาจินต์ ปัญจพรรค์
บทภาพยนตร์:
จิระ มะลิกุล
บทภาพยนตร์จิระ มะลิกุล
อำนวยการสร้างจิระ มะลิกุล
ประเสริฐ วิวัฒนานนท์พงษ์
ยงยุทธ ทองกองทุน
นักแสดงนำพิชญะ วัชจิตพันธ์
ดลยา หมัดชา
สนธยา ชิตมณี
นิรันต์ ชัตตาร์
แอนโทนี โฮวาร์ด กูลด์
จุมพล ทองตัน
จรัล เพ็ชรเจริญ
ผู้บรรยายพิชญะ วัชจิตพันธ์
กำกับภาพชาญกิจ ชำนิวิกัยพงศ์
ตัดต่อปาน บุษบรรณ
ดนตรีประกอบอมรพงศ์ เมธาคุณวุฒิ / Wild At Heart
ผู้จัดจำหน่ายจีทีเอช
วันฉาย26 พฤษภาคม พ.ศ. 2548
ความยาว111 นาที
ภาษาไทย
ทุนสร้าง70 ล้านบาท
ทำเงิน30 ล้านบาท
ข้อมูลจาก IMDb
ข้อมูลจากสยามโซน
อาจินต์ ปัญจพรรค์

มหา'ลัย เหมืองแร่ เป็นภาพยนตร์ไทยระดับงานคุณภาพที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2548 เขียนบทและกำกับโดย จิระ มะลิกุล จากหนังสือรวมเรื่องสั้น ชุด เหมืองแร่ ของอาจินต์ ปัญจพรรค์ ภาพยนตร์เรื่องนี้ใช้งบประมาณสร้างสูงถึง 70 ล้านบาท แต่ถึงแม้จะล้มเหลวด้านรายได้ ฉาย 10 วันได้รายได้เพียง 19 ล้านบาท [1] แต่ก็สามารถคว้ารางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมถึง 3 สถาบันจากรางวัลสุพรรณหงส์[2] ชมรมวิจารณ์บันเทิง[3] และคมชัดลึก อวอร์ด[4]

เนื้อเรื่องย่อ

[แก้]

พ.ศ. 2492 อาจินต์ ปัญจพรรค์ วัย 22 ปี นิสิตชั้นปีที่สองจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถูกรีไทร์ออกจากมหาวิทยาลัย เขาเดินทางไปภาคใต้ อาศัยรถขนหมูจากภูเก็ต มุ่งหน้าไปทำงานที่เหมืองกระโสม ตำบลกระโสม อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา หลังจากได้พบและสัมภาษณ์งานกับ นายฝรั่ง (Anthony Howard Gould) เขาได้ฝึกงาน ติดตามนายฝรั่ง และทำงานใช้แรงงานแทนคนงานของเรือขุดสายแร่ดีบุก ณ ที่นี้ ชีวิตของอดีตนักศึกษาชั้นปี 2 จากมหาวิทยาลัยดัง ได้เริ่มชีวิตปี 1 ใน มหา'ลัย เหมืองแร่ แล้ว

นักแสดง

[แก้]

เพลงประกอบ

[แก้]

เกร็ดภาพยนตร์

[แก้]
  • เพลงประกอบภาพยนตร์ You are my sunshine เป็นเพลงเก่าตั้งแต่ ค.ศ. 1931 [5] แต่งโดยจิมมี เดวิส และชาร์ลส มิตเชล เป็นเพลงประจำรัฐลุยเซียนา สหรัฐอเมริกา ทีมงานสร้างซื้อลิขสิทธิ์มาบรรจุในภาพยนตร์ด้วยราคาแพง[6]
  • เดิมอาจินต์ ปัญจพรรค์ ตั้งใจว่าจะไม่ขายลิขสิทธิ์เรื่องนี้เพื่อมาสร้างเป็นภาพยนตร์อย่างเด็ดขาด เพราะไม่ต้องการให้ใครนำมาสร้างเป็นหนังแอ็กชั่น แต่ในที่สุดก็ยอมขายลิขสิทธิ์ให้จิระ เป็นผู้กำกับ เมื่อจิระบอกว่า ผมไม่เคยคิดว่าหนังแอ็กชั่น จะหมายถึงคนชกกันแค่นั้น ฝนตก 7 วัน 7 คืน ก็สามารถเป็นหนังแอ็กชั่นได้
  • บทภาพยนตร์เรื่องนี้เริ่มเขียนตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 จนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2547 และหาสถานที่ถ่ายทำไล่ตั้งแต่ภูเก็ตขึ้นมาถึง พังงา ที่ อ.เมือง อ.ตะกั่วทุ่ง อ.ท้ายเหมือง ขึ้นมาเรื่อยๆจนมาสรุปเป็นที่ อ.คุระบุรี จ.พังงา
  • ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับคัดเลือกจากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติปูซาน ให้ไปฉายในสาขา A Window on Asian Cinema เพื่อฉลองครบรอบ 10 ปี เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติปูซาน ประเทศเกาหลีใต้ ในวันที่ 6-14 ตุลาคม พ.ศ. 2548 [7]
  • ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับคัดเลือกให้เป็นตัวแทนภาพยนตร์ไทยเข้าชิงรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 78 สาขาภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม [8]
  • ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับคัดเลือกเป็นมรดกภาพยนตร์ของชาติ ในปี พ.ศ. 2556 ร่วมกับภาพยนตร์ไทยอีก 24 เรื่อง [9]

รางวัล

[แก้]
ปี รายการ รางวัล/สาขา ผู้ได้รับการเสนอชื่อ ผล
พ.ศ. 2549 รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 15 รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม GTH ชนะ
รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม จิระ มะลิกุล ชนะ
ผู้แสดงนำชายยอดเยี่ยม พิชญะ วัชจิตพันธ์ เสนอชื่อเข้าชิง
ผู้แสดงสมทบชายยอดเยี่ยม สนธยา ชิตมณี ชนะ
บันทึกเสียงยอดเยี่ยม นเรศ สราภัสสร , ห้องบันทึกเสียงรามอินทรา ชนะ
ออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม อภิญญา ชวรางกูร ชนะ
กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม เอก เอี่ยมชื่น ชนะ
พ.ศ. 2549 รางวัลภาพยนตร์ไทย ชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 14 รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม GTH ชนะ
รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม จิระ มะลิกุล เสนอชื่อเข้าชิง
ผู้แสดงสมทบชายยอดเยี่ยม จรัล เพ็ชรเจริญ ชนะ
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม จิระ มะลิกุล เสนอชื่อเข้าชิง
กำกับภาพยอดเยี่ยม ชาญกิจ ชำนิวิกัยพงศ์ ชนะ
ลำดับภาพยอดเยี่ยม ปาน บุษบรรณ เสนอชื่อเข้าชิง
ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม อมรพงศ์ เมธาคุณวุฒิ , Wild At Heart ชนะ
กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม เอก เอี่ยมชื่น ชนะ
พ.ศ. 2549 รางวัลสตาร์เอนเตอเทนเมนท์ ครั้งที่ 4 รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม GTH ชนะ
รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม จิระ มะลิกุล ชนะ
ผู้แสดงนำชายยอดเยี่ยม พิชญะ วัชจิตพันธ์ เสนอชื่อเข้าชิง
ผู้แสดงสมทบชายยอดเยี่ยม สนธยา ชิตมณี ชนะ
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม จิระ มะลิกุล ชนะ
กำกับภาพยอดเยี่ยม ชาญกิจ ชำนิวิกัยพงศ์ ชนะ
กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม เอก เอี่ยมชื่น ชนะ
บันทึกเสียงยอดเยี่ยม นเรศ สราภัสส ,ห้องบันทึกเสียงรามอินทรา ชนะ
พ.ศ. 2549 รางวัลเฉลิมไทย ครั้งที่ 3 รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม GTH เสนอชื่อเข้าชิง
รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม จิระ มะลิกุล ชนะ
ผู้แสดงสมทบชายยอดเยี่ยม สนธยา ชิตมณี ชนะ
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม จิระ มะลิกุล เสนอชื่อเข้าชิง
พ.ศ. 2549 รางวัลสตาร์พิคส์ ครั้งที่ 3 กำกับภาพยอดเยี่ยม ชาญกิจ ชำนิวิกัยพงศ์ ชนะ
ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม อมรพงศ์ เมธาคุณวุฒิ , Wild At Heart ชนะ
กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม เอก เอี่ยมชื่น ชนะ
พ.ศ. 2549 รางวัลคมชัดลึก ครั้งที่ 3 รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม GTH ชนะ
รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม จิระ มะลิกุล ชนะ

อ้างอิง

[แก้]
  1. http://www.siamzone.com/movie/m/2918/trivia
  2. ผลรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ประจำปี 2548
  3. รายชื่อผู้ได้รับรางวัลจากชมรมวิจารณ์บันเทิง ปี 2548
  4. "ผลรางวัล "คม ชัด ลึก อวอร์ด" ครั้งที่ 3 ประจำปี 2548". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-10. สืบค้นเมื่อ 2015-12-20.
  5. http://www.ziplo.com/Sunshine.html
  6. อีกครั้งกับ.. "มหา'ลัยเหมืองแร่" ..You Are My Sunshine
  7. http://entertain.teenee.com/thaistar/420.html
  8. เหมืองแร่ฯ ชิงออสการ์ "เก้ง" ไม่กล้าหวังถึงรางวัล[ลิงก์เสีย]
  9. "มรดกภาพยนตร์ของชาติ ครั้งที่ ๓". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-17. สืบค้นเมื่อ 2015-12-20.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]