ข้ามไปเนื้อหา

ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุ
เกิด15 มีนาคม พ.ศ. 2524 (43 ปี)
จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย
ศิษย์เก่าคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อาชีพผู้กำกับ นักเขียนบท นักแต่งเพลง นักร้อง
ปีปฏิบัติงานพ.ศ. 2543–ปัจจุบัน
ผลงานเด่นกำกับภาพยนตร์ รักแห่งสยาม (2550)
อาชีพแสดง
รางวัล
พระสุรัสวดีภาพยนตร์ยอดเยี่ยม

พ.ศ. 2549 - 13 เกมสยอง (เข้าชิง)
ผู้กำกับการแสดงยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2549 - 13 เกมสยอง (เข้าชิง)
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม

พ.ศ. 2549 - 13 เกมสยอง (เข้าชิง)
สุพรรณหงส์ผู้กำกับการแสดงยอดเยี่ยม

พ.ศ. 2549 - 13 เกมสยอง (เข้าชิง)
พ.ศ. 2550 - รักแห่งสยาม
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2549 - 13 เกมสยอง (เข้าชิง)
พ.ศ. 2550 - รักแห่งสยาม (เข้าชิง), บอดี้ ศพ 19 (เข้าชิงร่วมกับ เอกสิทธิ์ ไทยรัตน์)

พ.ศ. 2555 - "โฮม ความรัก ความสุข ความทรงจำ" ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
ชมรมวิจารณ์บันเทิงผู้กำกับการแสดงยอดเยี่ยม

พ.ศ. 2549 - 13 เกมสยอง (เข้าชิง)
พ.ศ. 2550 - รักแห่งสยาม
ลำดับภาพยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2549 - 13 เกมสยอง
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2549 - 13 เกมสยอง (เข้าชิง)

พ.ศ. 2550 - รักแห่งสยาม (เข้าชิง)
ฐานข้อมูล
IMDb
ThaiFilmDb

ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล (มะเดี่ยว) เกิดเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2524[1] ที่จังหวัดเชียงใหม่ จบการศึกษาระดับมัธยมจากโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย ระดับอุดมศึกษาจาก คณะนิเทศศาสตร์ ภาควิชาภาพยนตร์และภาพนิ่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

มีผลงานกำกับภาพยนตร์เรื่อง คน ผี ปีศาจ, 13 เกมสยอง, รักแห่งสยาม, Home ความรัก ความสุข ความทรงจำ และ ดิว ไปด้วยกันนะ

ปัจจุบันเป็นนายกสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทยคนที่ 9 ในปี พ.ศ. 2567

ประวัติ

[แก้]

ชูเกียรติ เป็นคนเชียงใหม่โดยกำเนิด เป็นลูกคนสุดท้องในพี่น้อง 2 คน มีพี่สาว 1 คน ชื่อเล่นจริง ๆ ชื่อว่า ปูเป้ มีคุณแม่เป็นครู พ่อทำอาชีพหลายอย่าง แต่เน้นเกี่ยวกับต้นไม้ ภูมิทัศน์ รับเหมาทำสวน ฐานะครอบครัวไม่แน่นอน ได้เข้าศึกษาที่ โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย ตั้งแต่ชั้นประถม จนระดับชั้นมัธยม เขาได้แสดงความสามารถทางด้านดนตรีตั้งแต่ชั้น ม.3 โดยเคยแต่งเพลง ทั้งเนื้อร้องและทำนอง และเข้าห้องอัด ให้น้องโรงเรียนพระหฤทัย ได้ค่าจ้างเป็นของขวัญและบัตรคอนเสิร์ต และต่อมาได้เข้าศึกษาระดับชั้นอุดมศึกษาที่ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พออยู่ชั้นปี 2 ได้เริ่มทำภาพยนตร์สั้นเรื่องแรก ชื่อเรื่อง บ้านเก่า และส่งไปประกวดที่มูลนิธิหนังไทย จนมาชั้นปีที่ 3 ปี 4 ทำหนังส่งอาจารย์เรื่อง ลมเยาวราช ได้อุ้ม สิริยากร และ สรพงศ์ ชาตรี มาร่วมเล่น เพราะพ่อของเพื่อนเป็นนักข่าว รู้จักกับดารา และสุดท้ายตอนจบทำหนังเรื่อง ลี้ เป็นภาพยนตร์ยาว ฉายที่สยาม ทำกับเพื่อน ๆ รุ่นพี่ รุ่นน้อง[2]

พอเรียนจบ แต่ยังไม่ได้รับปริญญาก็มีนายทุนชวนไปกำกับหนังทุนต่ำ เรื่อง คน ผี ปีศาจ มีทุนให้ 5 ล้านบาท และทำรายได้กำไร ต่อมาได้ทำภาพยนตร์เรื่อง 13 เกมสยอง เขียนบทร่วมกับเอกสิทธิ์ ไทยรัตน์ การ์ตูนนิสต์แถวหน้าเมืองไทย จากนั้นได้ไปช่วยเขียนบทให้กับ บอดี้ ศพ #19 กำกับโดยปวีณ ภูริจิตปัญญา และตามด้วย รักแห่งสยาม ชูเกียรติยังช่วยแก้ไขบท และสคริปต์ อย่างภาพยนตร์เรื่อง ช็อคโกแลต ที่ช่วยแก้ไขตัวละครให้เห็นภาพมากขึ้น[3]

ผลงาน

[แก้]

ภาพยนตร์สั้น

[แก้]
  • 2543 ภาพยนตร์สั้นเรื่อง “บ้านเก่า”
  • 2544 ภาพยนตร์สั้นเรื่อง “ดงรกฟ้า”, “วิมานนี้สีชมพู ”
  • 2545 ภาพยนตร์สั้นเรื่อง “มอเตอร์ไซค์ฮ่าง”, “ลมเยาวราช”
  • 2546 ภาพยนตร์สั้นเรื่อง “2003" - ภาพยนตร์สั้นกึ่งสารคดีที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศสาขาช้างเผือกจากมูลนิธิหนังไทย และ “ลี้” - หนังที่มีความยาวเหมือนหนังใหญ่ และแอบฉายตามโรงไปแล้วหลายรอบ
  • 2551 หนังเรื่องสั้น "โดพามีน" นำแสดงโดย พิช วิชญ์วิสิฐ
    • ตามข้อมูลที่ถูกประชาสัมพันธ์เมื่อชูเกียรติได้ทำภาพยนตร์ในระบบ จะเห็นว่ามีหนังเรื่อง "สารคดีว่าด้วยอนาคตของชาติ" ในปี 2546 ด้วย ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นความเข้าใจผิดของฝ่ายประชาสัมพันธ์ เพราะประโยคว่า "สารคดีว่าด้วยอนาคตของชาติ" นั้นคือเรื่องย่อของภาพยนตร์สั้นเรื่อง "2003" เมื่อครั้งที่ชูเกียรติส่งหนังเข้าประกวดในงานของมูลนิธิหนังไทยนั่นเอง ไม่ใช่ชื่อภาพยนตร์สั้นของชูเกียรติแต่อย่างใด

ภาพยนตร์

[แก้]

บทภาพยนตร์

[แก้]

การแสดง

[แก้]

กำกับการแสดงละครโทรทัศน์

[แก้]

ด้านดนตรี

[แก้]
  • 2550 เพลงประกอบภาพยนตร์ "รักแห่งสยาม" เพลง "กันและกัน" และ "Ticket"
  • 2543 เพลง "คืนอันเป็นนิรันดร์" เพลงประกอบละครเวทีนิเทศจุฬา
  • 2551 เพลง "เช้า-เย็น"Radio"จำได้ไหม"ยังคง"อาจจะเป็น"ฉันและเธอ"อย่าไปเสียใจ"

"ยังหายใจ" ในอัลบั้ม RADIODROME ในวง The August Band

อื่นๆ

[แก้]

รางวัล

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Madiew's blog
  2. ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล คนทำหนังรุ่นใหม่, นิตยสารดิฉันฉบับที่ 743 วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ .2551 หน้า 120-133
  3. นิตยสารลิปส์ ฉบับปักษ์หลัง กุมภาพันธ์ 2551 หน้า 154-169
  4. "ข้อมูลภาพยนตร์ฝันหวานอายจูบจาก www.4romances.com". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-16. สืบค้นเมื่อ 2008-11-27.
  5. เปิดภาพเซตใหม่ “MONDO รัก โพสต์ ลบ ลืม" หนังรักไซไฟเรื่องล่าสุดฝีมือ มะเดี่ยว ชูเกียรติ
  6. "พฤติการณ์ที่ตาย". thairath.co.th. ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 27 September 2024.
  7. หทัยธาร ฉัตรเลิศมงคล (19 กรกฎาคม 2565). "ทริอาช The Series ซีรีส์วายที่มอบบทเรียนเรื่องคุณค่าของโอกาส และการกระทำที่กำหนดชะตาชีวิต". thestandard.co. สืบค้นเมื่อ 27 September 2024.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]