สมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ
![]() | เนื้อหาในบทความนี้ล้าสมัย โปรดปรับปรุงข้อมูลให้เป็นไปตามเหตุการณ์ปัจจุบันหรือล่าสุด ดูหน้าอภิปรายประกอบ |
สมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ | |
---|---|
เกิด | พ.ศ. 24?? |
อาชีพ | นักธุรกิจ ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ |
องค์การ | บริษัท สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด |
คู่สมรส | เตือนใจ เตชะรัตนประเสริฐ[1] |
บุตร | อวิกา เตชะรัตนประเสริฐ จาตุศม เตชะรัตนประเสริฐ ชมศจี เตชะรัตนประเสริฐ อัครพล เตชะรัตนประเสริฐ นวรัตน์ เตชะรัตนประเสริฐ[2] |
สมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ หรือ เสี่ยเจียง ผู้ก่อตั้งบริษัท สหมงคลฟิล์ม จำกัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2513 (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ในปี พ.ศ. 2545) ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของ สุริโยไท และ องค์บาก[3]
ประวัติ[แก้]
สมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ เกิดและโตในย่าน เวิ้งนาครเขษม ในครอบครัวค้าขายของลายคราม พออายุได้ 10 ขวบได้หัดค้าขายโดยซื้อ การ์ตูน มาให้เช่าหน้าโรงหนัง ขายตั๋วผี จนอายุได้ 19 ปี ได้เป็นผู้จัดการโรงหนัง ใช้ยุทธวิธีฉายหนังใหม่ 2 เรื่องควบให้เร็วขึ้นกว่าเดิม โดยพอหนังออกจากโรงหนังชั้นหนึ่งก็รีบนำมาฉายตัดหน้าโรงหนังคู่แข่ง ทำรายได้จากเดือนละ 80,000 บาทพุ่งไปเป็น 200,000 บาท
ต่อมาเช่าโรงหนังศรีนครธนย่าน ตลาดพลู เปิดกิจการโรงหนังของตัวเองต่อมาย้ายมาเปิดโรงหนังมงคลรามาย่าน สะพานควาย โดยฉายเฉพาะหนังฝรั่งพากย์ไทย จนมาก่อตั้งบริษัทสหมงคลฟิล์ม ขึ้นในปี 2513 ภาพยนตร์เรื่อง คิงคอง ได้ช่วยทำให้เขามีรายได้ถล่มทลายจนมีเงินทุนสะสม จากนั้นเป็นตัวแทนนำเข้า ภาพยนตร์จีน จาก ประเทศฮ่องกง อย่างเช่นเรื่อง โหด เลว ดี และตามมาด้วยหนังภาคต่ออย่าง แรมโบ้ และ คนเหล็กฯ
บริษัทสหมงคลฟิล์ม แตกเครือข่ายออกมาเป็น ‘มงคลภาพยนตร์’ และ ‘มงคลเมเจอร์’ เพื่อเป็นตัวแทนนำเข้าหนังจากฮ่องกง และฮอลลีวู้ด โดยบริษัทแม่ ‘สหมงคลฟิล์ม’ หันมาเป็นผู้สร้างภาพยนตร์ไทยจนกระทั่งประสบความสำเร็จ มีผลงานสร้างชื่ออย่าง สุริโยไท, องค์บาก, ต้มยำกุ้ง, ช็อคโกแลต ฯลฯ
ปัจจุบันเสี่ยเจี่ยงเป็นผู้นำองค์กรในฐานะ “ประธาน” ของ “สหมงคลกรุ๊ป” เครือข่ายที่เกี่ยวพันกับธุรกิจภาพยนตร์ และโรงภาพยนตร์ถึง 8 บริษัทหลัก และยังเป็น“นายกสมาคมสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติ” ที่ดำรงตำแหน่งสองสมัยติดต่อกัน
ผลงานแสดงภาพยนตร์[แก้]
- เซ่อบริสุทธิ์ (2522)
ผลงานการสร้างภาพยนตร์[แก้]
- ข้ามาจากแม่น้ำแคว (2517)
- มาแต่เลือด (2517)
- หนึ่งต่อเจ็ด (2520)
- เป๋อจอมเปิ่น (2523)
- อีพริ้ง คนเริงเมือง (2523)
- แก่นกะลาสี (2524)
- ไอ้ค่อม (2524)
- ซูเปอร์เก๋าส์ (2524)
- ผู้ใหญ่อ้วน กำนันผอม (2524)
- มหาราชดำ (2524)
- แสนรัก (2524)
- แก้วกาหลง (2524)
- ถล่มค่ายนรกจางซีฟู (2525)
- กุนซืออ้วน (2525)
- ไอ้หนึ่ง (2525)
- รักน่ารัก (2525)
- ลำตัดรำเตะ (2525)
- เทพเจ้าบ้านบางปูน (2525)
- อาจารย์อ้วนสติเฟื่อง (2525)
- แหกนรกเวียตนาม (2526)
- วันนี้ยังมีเธอ (2526)
- วันวานยังหวานอยู่ (2526)
- นิจ (2526)
- แก็งค์ไอติม (2526)
- นักรบประจัญบาน (2527)
- ขาวผ่องจ้าวสังเวียน (2527)
- ผู้ชายป้ายเหลือง (2530)
- อีก 10 วัน โลกจะแตก (2530)
- แบบว่าโลกนี้...มีแต่น้ำเต้าหู้และครูระเบียบ (2537)
- เสียดาย (2537)
- ศยามล (2538)
- เสียดาย 2 (2539)
- ถนนนี้หัวใจข้าจอง (2540)
- สุริโยไท (2544)
- 7 ประจัญบาน (2545)
- มนต์เพลงลูกทุ่ง เอฟ.เอ็ม. (2545)
- องค์บาก (2546)
- โอเค เบตง (2546)
- ชื่อชอบชวนหาเรื่อง (2546)
- เดอะ เลตเตอร์ จดหมายรัก (2547)
- บอดี้การ์ดหน้าเหลี่ยม (2547)
- อาถรรพณ์แก้บนผี (2547)
- กั๊กกะกาวน์ (2547)
- ตุ๊กแกผี (2547)
- โหมโรง (2547)
- เกิดมาลุย (2547)
- รับน้องสยองขวัญ (2548)
- แหยม ยโสธร (2548)
- 7 ประจัญบาน 2 (2548)
- เสือร้องไห้ (2548)
- ซุ้มมือปืน (2548)
- เฉิ่ม (2548)
- มอ ๘ (2549)
- คนไฟบิน (2549)
- ข้าวเหนียวหมูปิ้ง (2549)
- โหน่ง เท่ง นักเลงภูเขาทอง (2549)
- โคตรรักเอ็งเลย (2549)
- โคลิค เด็กเห็นผี (2549)
- คู่แรด (2550)
- คนหิ้วหัว (2550)
- โอปปาติก (2550)
- รักแห่งสยาม (2550)
- เพื่อน…กูรักมึงว่ะ (2550)
- บอดี้การ์ดหน้าเหลี่ยม 2 (2550)
- ก่อนบ่ายเดอะมูฟวี่ ตอน รักนะ…พ่อต๊ะติ๊งโหน่ง (2550)
- เท่ง โหน่ง คนมาหาเฮีย (2550)
- โกยเถอะเกย์ (2550)
- ส้มตำ (2551)
- ช็อคโกแลต (2551)
- ว้อ หมาบ้ามหาสนุก (2551)
- หม่ำเดียว หัวเหลี่ยมหัวแหลม (2551)
- ฝัน-หวาน-อาย-จูบ (2551)
- ปืนใหญ่จอมสลัด (2551)
- ฮะเก๋า (2551)
- บุปผา ราตรี 3.1 (2552)
- บุปผา ราตรี 3.2 (2552)
- สวยซามูไร (2553)
- ฝันโคตร โคตร (2553)
- สาระแน ห้าวเป้ง!! (2553)
- สิ่งเล็กเล็กที่เรียกว่ารัก (2553)
- กะปิ ลิงจ๋อไม่หลอกจ้าว (2553)
- ครูบ้านนอก บ้านหนองฮีใหญ่ (2553)
- ความสุขของกะทิ (2553)
- ตุ๊กกี้ เจ้าหญิงขายกบ (2553)
- อนุบาลเด็กโข่ง (2553)
- องค์บาก 3 (2553)
- แหยมยโสธร 2 (2553)
- นาคปรก (2553)
- วงษ์คำเหลา (2553)
- จีจ้า ดื้อสวยดุ (2553)
- ชั่วฟ้าดินสลาย (2553)
- ใคร...ในห้อง (2553)
- ช็อคโกแลต 2 (2553)
- สาระแนเห็นผี (2553)
- 5 หัวใจฮีโร่ (2553)
- อุโมงค์ผาเมือง (2554)
- 30+ โสด On Sale (2554)
- จั๊กกะแหล๋น (2554)
- เท่ง โหน่ง จีวรบิน (2554)
- จัน ดารา (2555-2556)
- สูบคู่กู้โลก (2555)
- ปัญญา เรณู 2 (2555)
- ยอดมนุษย์เงินเดือน (2555)
- คืนวันเสาร์ถึงเช้าวันจันทร์ (2555)
- อันธพาล (2555)
- ฤดูที่ฉันเหงา (2556)
- แหยมยโสธร 3 (2556)
- ต้มยำกุ้ง 2 (2556)
- นางฟ้า (2556)
- แผลเก่า (2557)
- ขุนพันธ์ (2559)
- ขุนพันธ์ 2 (2561)
- ผู้บ่าวไทบ้าน อีสานจ้วด (2564)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2551 -
เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[4]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ""เสี่ยเจียง" ปลอดภัยแล้ว แต่ยังอยู่ห้องไอซียู". นิตยสารผู้จัดการ (Press release). 14 กรกฎาคม 2549. สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2558.
{{cite press release}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ I-ON MEN[ลิงก์เสีย]
- ↑ “เสี่ยเจียง” ฟัดทะลุโลก positioningmag.com
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี 2551
![]() |
บทความเกี่ยวกับชีวประวัตินี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |