ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Aroonsaha (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ย้อนการแก้ไขที่ 8550101 สร้างโดย 161.200.223.92 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 12: บรรทัด 12:
| dynasty = [[ราชวงศ์จักรี]]
| dynasty = [[ราชวงศ์จักรี]]
}}
}}
'''สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี''' (พ.ศ. 2272 - 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2342) มีพระนามเดิมว่า '''สา''' เป็นพระธิดาพระองค์ใหญ่ใน[[สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก]] ประสูติแต่[[พระอัครชายา (หยก)]] ในสมัย[[อาณาจักรอยุธยา]] และเป็นพระโสทรเชษฐภคินีพระองค์ใหญ่ใน[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]] จึงทำให้นับเป็น[[รายพระนามพระกุลเชษฐ์ในราชวงศ์จักรี|พระกุลเชษฐ์พระองค์แรก]]ใน[[ราชวงศ์จักรี]]
'''สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี''' (พ.ศ. 2272 - 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2342) พระนามเดิม '''สา''' เป็นพระธิดาพระองค์ใหญ่ใน[[สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก]] ประสูติแต่[[พระอัครชายา (หยก)]] ในสมัย[[อาณาจักรอยุธยา]] และเป็นพระโสทรเชษฐภคินีพระองค์ใหญ่ใน[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]] จึงทำให้นับเป็น[[รายพระนามพระกุลเชษฐ์ในราชวงศ์จักรี|พระกุลเชษฐ์พระองค์แรก]]ใน[[ราชวงศ์จักรี]]


== พระประวัติ ==
เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่ง[[ราชวงศ์จักรี]]ในปี พ.ศ. 2325 โปรดให้สถาปนาสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอพระองค์ใหญ่เป็น''กรมพระเทพสุดาวดี'' ตั้งเจ้ากรมเป็นพระยา<ref>[http://vajirayana.org/พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์-รัชกาลที่-๑/๓-ประดิษฐานพระราชวงศ์ พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ : ประดิษฐานพระราชวงศ์]</ref>เป็นกรณีพิเศษ จึงนิยมออกพระนามว่า''กรมพระยาเทพสุดาวดี''{{ref label|reference_name_ก|ก|ก}}
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี มีพระนามเดิมว่า '''สา''' เป็นพระธิดาพระองค์ใหญ่ใน[[สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก]] ประสูติแต่[[พระอัครชายา (หยก)]] เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่ง[[ราชวงศ์จักรี]]ในปี พ.ศ. 2325 โปรดให้สถาปนาเป็น''กรมพระเทพสุดาวดี'' ตั้งเจ้ากรมเป็นพระยา<ref>[http://vajirayana.org/พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์-รัชกาลที่-๑/๓-ประดิษฐานพระราชวงศ์ พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ : ประดิษฐานพระราชวงศ์]</ref>เป็นกรณีพิเศษ จึงนิยมออกพระนามว่า''กรมพระยาเทพสุดาวดี''{{ref label|reference_name_ก|ก|ก}}


สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี เสกสมรสกับ[[พระอินทรรักษา (เสม)|หม่อมเสม ที่พระอินทรรักษา]] เจ้ากรมพระตำรวจฝ่าย[[กรมพระราชวังบวรสถานมงคล]]สมัยกรุงศรีอยุธยา มีพระโอรสธิดา 4 พระองค์ คือ<ref>''ราชสกุลวงศ์'', หน้า 4</ref>
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี เสกสมรสกับ[[พระอินทรรักษา (เสม)|หม่อมเสม ที่พระอินทรรักษา]] เจ้ากรมพระตำรวจฝ่าย[[กรมพระราชวังบวรสถานมงคล]]สมัยกรุงศรีอยุธยา มีพระโอรสธิดา 4 พระองค์ คือ<ref>''ราชสกุลวงศ์'', หน้า 4</ref>
บรรทัด 84: บรรทัด 85:


== ดูเพิ่ม ==
== ดูเพิ่ม ==
* [[พระปฐมวงศ์ในราชวงศ์จักรี]]

=== หนังสือและบทความ ===

*สุนทรี อาสะไวย์. (2544). ผู้หญิงกับอำนาจในประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์: ศึกษากรณี สมเด็จพระพี่นางทั้งสองในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช. ใน ''กระจกหลายด้านฉายประวัติศาสตร์''. บรรณาธิการโดย กาญจนี ละอองศรี. น. 95-124. กรุงเทพฯ: มติชน.

=== เว็บไซต์ ===

*[[พระปฐมวงศ์ในราชวงศ์จักรี]]


{{เริ่มกล่อง}}
{{เริ่มกล่อง}}
บรรทัด 105: บรรทัด 99:
}}
}}
{{จบกล่อง}}
{{จบกล่อง}}

{{เจ้านายทรงกรม}}
{{เจ้านายทรงกรม}}
{{เจ้านายทรงกรมสมัยกรุงรัตนโกสินทร์}}
{{เจ้านายทรงกรมสมัยกรุงรัตนโกสินทร์}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:46, 13 กรกฎาคม 2563

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ
เจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี
เจ้าฟ้าชั้นโท
สิ้นพระชนม์22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2342
พระภัสดาพระอินทรรักษา (เสม)
พระบุตร4 พระองค์
ราชวงศ์ราชวงศ์จักรี
พระบิดาสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก
พระมารดาพระอัครชายา (หยก)

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี (พ.ศ. 2272 - 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2342) พระนามเดิม สา เป็นพระธิดาพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก ประสูติแต่พระอัครชายา (หยก) ในสมัยอาณาจักรอยุธยา และเป็นพระโสทรเชษฐภคินีพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงทำให้นับเป็นพระกุลเชษฐ์พระองค์แรกในราชวงศ์จักรี

พระประวัติ

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี มีพระนามเดิมว่า สา เป็นพระธิดาพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก ประสูติแต่พระอัครชายา (หยก) เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีในปี พ.ศ. 2325 โปรดให้สถาปนาเป็นกรมพระเทพสุดาวดี ตั้งเจ้ากรมเป็นพระยา[1]เป็นกรณีพิเศษ จึงนิยมออกพระนามว่ากรมพระยาเทพสุดาวดี[ก]

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี เสกสมรสกับหม่อมเสม ที่พระอินทรรักษา เจ้ากรมพระตำรวจฝ่ายกรมพระราชวังบวรสถานมงคลสมัยกรุงศรีอยุธยา มีพระโอรสธิดา 4 พระองค์ คือ[2]

  1. กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข (วังหลัง) พระนามเดิม ทองอิน พระโอรสองค์ที่ 1 แต่เดิมเฉลิมพระยศเป็นกรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์
  2. สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงธิเบศรบดินทร์ พระนามเดิม บุญเมือง พระโอรสองค์ที่ 2
  3. สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนรินทร์รณเรศ พระนามเดิม ทองจีน พระโอรสองค์ที่ 3 เป็นต้นราชสกุลนรินทรางกูร
  4. สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าทองคำ ไม่มีเจ้ากรมต่างหาก แต่เป็นสังกัดในกรมพระยาเทพสุดาวดี[3]

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 1 เมื่อวันศุกร์ แรม 10 ค่ำ เดือน 12 ปีมะแม จ.ศ. 1161 ตรงกับ วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2342 พระชันษา 70 ปีเศษ[4] พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระโกศกุดั่นใหญ่หุ้มทองคำทรงพระศพ ประดิษฐานพระศพไว้ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และมีพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ เมื่อข้างขึ้น เดือน 6 พ.ศ. 2343[5]

หมายเหตุ

การออกพระนามว่ากรมพระยาเทพสุดาวดี เป็นการเข้าใจผิด เพราะรัชกาลที่ 1 และรัชกาลอื่นต่อมาจนตลอดรัชกาลที่ 3 พระยศเจ้านายต่างกรม “กรมพระ” ยังเป็นชั้นสูงสุดเหมือนอย่างครั้งกรุงศรีอยุธยา[6]

พงศาวลี

อ้างอิง

เชิงอรรถ
  1. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ : ประดิษฐานพระราชวงศ์
  2. ราชสกุลวงศ์, หน้า 4
  3. ปฐมวงศ์, หน้า 10-11
  4. ราชสกุลวงศ์, หน้า 1
  5. หม่อมราชวงศ์ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี, บรรณกิจ, 2549, ISBN 974-221-818-8
  6. ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา, วินิจฉัยพระยศเจ้านายที่เรียกว่า “กรมสมเด็จ” หรือ “สมเด็จกรม”, ราชสกุลวงศ์, หน้า 209
บรรณานุกรม
  • ทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา (11 สิงหาคม พ.ศ. 2531). "พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑". ห้องสมุดดิจิทัลวชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  • พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. ปฐมวงศ์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์หนังสือพิมพ์ไทย, 2470. 57 หน้า.
  • สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 14, กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. ISBN 978-974-417-594-6

ดูเพิ่ม

ก่อนหน้า สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี ถัดไป
พระองค์แรก กุลเชษฐ์ในราชวงศ์จักรี
(6 เมษายน พ.ศ. 2325 – 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2342)
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช