จักรพรรดิโชมุ
จักรพรรดิโชมุ 聖武天皇 | |||||
---|---|---|---|---|---|
พระบรมสาทิสลักษณ์ของจักรพรรดิโชมุ, คริสต์ศตวรรษที่ 13 | |||||
จักรพรรดิญี่ปุ่น | |||||
ครองราชย์ | 3 มีนาคม ค.ศ. 724 – 19 สิงหาคม ค.ศ. 749 | ||||
ก่อนหน้า | เก็นโช | ||||
ถัดไป | โคเก็ง | ||||
ประสูติ | 22 กันยายน ค.ศ. 701 โอบิโตะ (首) | ||||
สวรรคต | 4 มิถุนายน ค.ศ. 756 นาระ ประเทศญี่ปุ่น | (54 ปี)||||
ฝังพระศพ | ซาโยามะ โนะ มินามิ โนะ มิซาซางิ (佐保山南陵; นาระ) | ||||
คู่อภิเษก | ฟูจิวาระ โนะ อาซูกาเบะ-ฮิเมะ | ||||
พระราชบุตร |
| ||||
| |||||
ราชสกุล | ราชวงศ์ญี่ปุ่น | ||||
พระราชบิดา | จักรพรรดิมมมุ | ||||
พระราชมารดา | ฟูจิวาระ โนะ มิยาโกะ | ||||
ศาสนา | พุทธ |
จักรพรรดิโชมุ (ญี่ปุ่น: 聖武天皇; โรมาจิ: Shōmu-tennō; 22 กันยายน ค.ศ. 701 – 4 มิถุนายน ค.ศ. 756) เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นองค์ที่ 45[1] อ้างอิงจากการสืบราชสันตติวงศ์ตามประเพณี[2] รัชสมัยของจักรพรรดิโชมุทอดยาวจากปี ค.ศ. 724 ถึง 749 ระหว่างยุคนาระ[3]
จักรพรรดิโชมุนับเป็นจักรพรรดิองค์แรกที่ได้เป็น ไดโจโฮโอ (มหาธรรมราชา)
พระราชประวัติ
[แก้]ก่อนขึ้นสืบราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ จักรพรรดิโชมุพระนามส่วนพระองค์ (อิมินะ)[4] ยังไม่เป็นที่กระจ่างชัด แต่พระองค์รู้จักกันในนาม โอชิ-ฮิรากิ โทโยซากูระ-ฮิโกะ-โนะ-มิโกโตะ[5]
โชมุเป็นพระราชโอรสในจักรพรรดิมมมุกับฟูจิวาระ โนะ มิยาโกะ ธิดาในฟูจิวาระ โนะ ฟูฮิโตะ[6]
โชมุมีพระมเหสี 5 พระองค์และพระราชโอรสธิดารวม 6 พระองค์[7]
เหตุการณ์ในพระชนมชีพของจักรพรรดิโชมุ
[แก้]จักรพรรดิโชมุยังทรงพระเยาว์ตอนที่พระราชบิดาสวรรคต ดังนั้น พระอัยยิกาของพระองค์ จักรพรรดินีเก็มเม และพระปิตุจฉา จักรพรรดินีเก็นโช จึงครองราชบัลลังก์ก่อนที่พระองค์จะครองราชบัลลังก์[6]
- ค.ศ. 724 (ปีโยโรที่ 8, เดือน 1): ในปีที่ 9 ของรัชสมัยจักรพรรดินีเก็นโช (元正天皇九年) จักรพรรดินีสละราชบัลลังก์และพระราชนัดดาของพระนางได้สืบทอดราชบัลลังก์ต่อ หลังจากนั้นไม่นาน จักรพรรดิโชมุได้ขึ้นสืบราชบัลลังก์[8]
- 31 มกราคม ค.ศ. 724 (ปีจินกิที่ 1): เปลี่ยนชื่อศักราชเพื่อแสดงถึงการขึ้นสืบราชบัลลังก์ของจักรพรรดิโชมุ[9]
- ค.ศ. 735–737: ไข้ทรพิษระบาดใหญ่ทั่วญี่ปุ่นมีอัตราการเสียชีวิตประมาณ 25% ถึง 35%[10]
จักรพรรดิโชมุยังคงประทับที่พระราชวังเฮเซ[6]
รัชสมัย
[แก้]ปีในรัชสมัยของโชมุมีมากกว่าหนึ่งชื่อศักราชหรือ เน็งโง[11]
- จินกิ (724–729)
- เท็มเปียว (729–749)
- เท็มเปียว-คัมโป (749)
- เท็มเปียว-โชโฮ (749–757)
พระมเหสีและพระราชโอรสธิดา
[แก้]- จักรพรดรินี (โคโง): ฟูจิวาระ อาซูกาเบฮิเมะ (藤原 安宿媛) ธิดาในฟูจิวาระ โนะ ฟูฮิโตะ
- พระราชธิดาองค์ที่ 2: เจ้าหญิงอาเบะ (阿倍内親王) ภายหลังเป็นจักรพรรดินีโคเก็ง
- พระราชโอรสองค์แรก: เจ้าชายโมโตอิ (基王, 727–728)
- บูนิง: อางาไตนูไก โนะ ฮิโรโตจิ (県犬養広刀自, สิ้นพระชนม์ ค.ศ. 762) ธิดาใน, อางาไตนูไก โนะ โมโรโกชิ
- พระราชธิดาองค์แรก: เจ้าหญิงอิโนเอะ (井上内親王) อภิเษกสมรสกับจักรพรรดิโคนิง
- พระราชธิดาองค์ที่ 3: เจ้าหญิงฟูวะ (不破内親王, 723–795) สมรสกับเจ้าชายชิโอยากิ
- พระราชโอรสองค์ที่ 2: เจ้าชายอาซากะ (安積親王, 728–744)
- บูนิง': นัง-โดโนะ (南殿, สิ้นพระชนม์ ค.ศ. 748) ธิดาในฟูจิวาระ โนะ มูจิมาโระ
- บูนิง: โฮกุ-โดโนะ (北殿, สิ้นพระชนม์ ค.ศ. 760) ธิดาในฟูจิวาระ โนะ ฟูซาซากิ
- บูนิง: ทาจิบานะ-โนะ-ฮิโรโอกะ โนะ โคนากาจิ (橘広岡古那可智, สิ้นพระชนม์ ค.ศ. 759) ธิดาในทาจิบานะ โนะ ไซ
พระราชพงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของจักรพรรดิโชมุ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Imperial Household Agency (Kunaichō): 聖武天皇 (45)
- ↑ Ponsonby-Fane, Richard. (1959). The Imperial House of Japan, p. 57.
- ↑ Brown, Delmer et al. (1979). Gukanshō, pp. 272–273; Varley, H. Paul. Jinnō Shōtōki, pp. 141–143; Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du Japon, pp. 67–73., p. 67, ที่กูเกิล หนังสือ
- ↑ Brown, pp. 264; prior to Emperor Jomei, the personal names of the emperors (their imina) were very long and people did not generally use them. The number of characters in each name diminished after Jomei's reign.
- ↑ Brown, p. 272; Varley, p. 141.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 Varley, p. 141.
- ↑ Brown, p. 272.
- ↑ Titsingh, p. 67, p. 67, ที่กูเกิล หนังสือ; Varley, p. 44; a distinct act of senso is unrecognized prior to Emperor Tenji; and all sovereigns except Jitō, Yōzei, Go-Toba, and Fushimi have senso and sokui in the same year until the reign of Emperor Go-Murakami.
- ↑ Titsingh, p. 67, p. 67, ที่กูเกิล หนังสือ.
- ↑ Farris, William Wayne (1985). Population, Disease, and Land in Early Japan, 645–900. Harvard University Asia Center. pp. 65–66. ISBN 9780674690059.
- ↑ Titsingh, p. 67; Brown, p. 273.
- ↑ "Genealogy". Reichsarchiv (ภาษาญี่ปุ่น). April 30, 2010. สืบค้นเมื่อ 27 January 2018.
ข้อมูล
[แก้]- Brown, Delmer M. and Ichirō Ishida, eds. (1979). Gukanshō: The Future and the Past. Berkeley: University of California Press. ISBN 978-0-520-03460-0; OCLC 251325323
- Brown, Delmer M.; Hall, John Whitney (1993). The Cambridge History of Japan: Ancient Japan. Cambridge University Press. ISBN 9780521223522. สืบค้นเมื่อ 2011-03-24.
- Doe, Paula; Ōtomo, Yakamochi (1982). Selections (illustrated ed.). University of California Press. ISBN 0520043464. สืบค้นเมื่อ 2011-07-28.
- Piggott, Joan R. (19970. The Emergence of Japanese Kingship. Stanford: Stanford University Press. ISBN 9780804728324; OCLC 247691704
- Ponsonby-Fane, Richard Arthur Brabazon. (1959). The Imperial House of Japan. Kyoto: Ponsonby Memorial Society. OCLC 194887
- Titsingh, Isaac. (1834). Nihon Ōdai Ichiran; ou, Annales des empereurs du Japon. Paris: Royal Asiatic Society, Oriental Translation Fund of Great Britain and Ireland. OCLC 5850691
- Varley, H. Paul. (1980). Jinnō Shōtōki: A Chronicle of Gods and Sovereigns. New York: Columbia University Press. ISBN 978-0-231-04940-5; OCLC 59145842
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Emperor Shomu