คณะเทคโนโลยีการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะสื่อสารมวลชน
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
Faculty of Mass Communication,
Ramkhamhaeng University
Ramkhamhaeng
ชื่อย่อMCT (ไม่เป็นทางการ)
คณบดีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุญชาล ทองประยูร รักษาการ
ที่อยู่
หัวหมาก
สำนักงานคณะสื่อสารมวลชน
2 ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240
ศรีจุฬาลักษณ์
อาคารเรียนและที่ทำการคณะสื่อสารมวลชน เดิม (ส่วนขยายอาคารสโขทัย)
สีสีเขียวตองอ่อน
มาสคอต
รูปคนสนทนา (ไม่เป็นทางการ)
สถานปฏิบัติ
  • อาคารปฏิบัติการตึกสุโขทัย
  • สำนักงานคณะสื่อสารมวลชน
เว็บไซต์http://www.mac.ru.ac.th/

คณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นส่วนราชการไทยระดับคณะวิชา สังกัดมหาวิทยาลัยรามคำแหง กระทรวงศึกษาธิการเดิมชื่อ คณะเทคโนโลยีการสื่อสารมวลชน โดยเป็นคณะวิชาในแขนงคณะเทคโนโลยีการสื่อสารมวลชนหรือที่เรียกทั่วไปว่า "นิเทศศาสตร์" เป็นการผสมผสานศาสตร์ทางด้านศิลปะและเทคโนโลยี บูรณาการเข้าไว้กัน

ประวัติ[แก้]

คณะสื่อสารมวลชน เดิมชื่อคณะเทคโนโลยีการสื่อสารมวลชนนั้น เกิดจากภาควิชาสื่อสารมวลชนนั้นซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในคณะมนุษยศาสตร์เริ่มต้นทศวรรษที่ 4 ของการก่อตั้งมหาวิทยาลัยรามคำแหง ปีพ.ศ. 2543 จัดตั้งคณะเทคโนโลยีการสื่อสารมวลชน และเตรียมการจัดตั้งศูนย์สารนิเทศ จึงได้แยกตัวออกเป็น คณะเทคโนโลยีการสื่อสารมวลชน ชื่อในขณะนั้น ซึ่งมีผู้เข้าการศึกษาและสนใจเป็นจำนวนมาก อีกทั้งภารกิจของคณะมนุษย์ศาสตร์มีมากขึ้น และการศึกษาในสาขาวิชาสื่อสารมวลชนได้เจริญก้าวหน้าและขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็วเพื่อรองรับการจัดการเรียนการสอนและสาขาวิชาให้ทันต่อโลกและเหตุการณืปัจจบันมากขึ้น จึงได้มีการแยกภาควิชาสื่อสารมวลชนขึ้นเป็น "คณะเทคโนโลยีการสื่อสารมวลชน" ในมหาวิทยาลัยรามคำแหง แต่เดิมมหาวิทยาลัยรามคำแหงเปิดสอนวิชาด้านการสื่อสารและการสื่อสารมวลชนเป็นวิชาเลือกในภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์

ในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ มีพระราชบัญญัติก่อตั้งภาควิชาสื่อสารมวลชน เปิดสอนสาขาวิชาสื่อสารมวลชนเป็นวิชาเอก ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๕ ด้วยมีนักศึกษาสนใจเรียนสาขาวิชาด้านสื่อสารมวลชนจำนวนมาก และมีความสนใจในศาสตร์การสื่อสารมวลชนเฉพาะสาขามากขึ้น มหาวิทยาลัยจึงมอบหมายให้ภาควิชาสื่อสารมวลชนเตรียมการยกฐานะภาควิชาสื่อสารมวลชนเป็นคณะที่จัดการเรียนการสอนด้านสื่อสารมวลชน การประชุมสภามหาวิทยาลัยรามคำแหง ครั้งที่ ๔/๒๕๔๕ วาระที่ ๔.๘ เมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๔๕ มีมติให้จัดตั้ง “คณะเทคโนโลยีการสื่อสารมวลชน” และมีประกาศมหาวิทยาลัยรามคำแหงเรื่องการจัดตั้งคณะเทคโนโลยีการสื่อสารมวลชน ลงวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๔๕ และให้อยู่ในความดูแลของคณะมนุษยศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการสื่อสารมวลชน จัดการเรียนการสอนหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต ๓ สาขา ได้แก่

  • ๑) สาขาวิชาการสื่อสารบูรณาการ
  • ๒) สาขาวิชาวารสารศาสตร์สื่อประสม
  • ๓) สาขาวิชาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์

และจัดการเรียนการสอนหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ๒ สาขา ได้แก่ ๑) สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน ๒) สาขาวิชาเทคโนโลยีการสื่อสารมวลชน สภามหาวิทยาลัยรามคำแหง ในการประชุมครั้งที่ ๑๒/๒๕๕๕ วาระที่ ๕.๖ เมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๕ มีมติอนุมัติให้เปลี่ยนชื่อคณะเทคโนโลยีการสื่อสารมวลชน เป็น “คณะสื่อสารมวลชน” โดยให้รวมการดำเนินการของภาควิชาสื่อสารมวลชนและคณะสื่อสารมวลชนเข้าด้วยกัน เป็นคณะในกำกับราชการอีกคณะหนึ่งอย่างเป็นทางการ แยกการดำเนินงานเป็นอิสระออกจากคณะมนุษยศาสตร์ และจัดตั้งเป็นคณะ อย่างเป็นเอกเทศ ในปีการศึกษา2556 และมีที่ทำการที่ตั้งคือ ชั้น 7 อาคารศรีจุฬาลักษณ์ (SLB)โดยมี ผศ.ดร.บุญชาล ทองประยูร เป็นคณบดีท่านแรก

หน่วยงาน[แก้]

  • ภาควิชาสื่อสารมวลชน
  • ภาควิชาการสื่อสารบูรณาการ
  • ภาควิชาวารสารศาสตร์สื่อประสม
  • ภาควิชาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
  • สำนักงานเลขานุการ
  • งานหลักสูตร

หลักสูตรคณะเทคโนโลยีการสื่อสารมวลชน(คณะสื่อสารมวลชน)[แก้]

(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2549)

  • 1. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1.1 สาขาวิชาการสื่อสารบูรณาการ ชื่อเต็มภาษาไทย ศิลปศาสตรบัณฑิต ชื่อย่อภาษาไทย ศศ.บ. (การสื่อสารบูรณาการ) ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ Bachelor of Arts (Integrated Communication Studies) ชื่อย่อภาษาอังกฤษ B.A. (Integrated Communication Studies)

  • 1.2 สาขาวิชาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์

ชื่อเต็มภาษาไทย ศิลปศาสตรบัณฑิต ชื่อย่อภาษาไทย ศศ.บ. (วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์) ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ Bachelor of Arts (Radio and Television Broadcasting) ชื่อย่อภาษาอังกฤษ B.A. (Radio and Television Broadcasting)

  • 1.3 สาขาวิชาวารสารศาสตร์สื่อประสม (ยังไม่เปิดทำการสอนในปีการศึกษา 2552)

ชื่อเต็มภาษาไทย ศิลปศาสตรบัณฑิต ชื่อย่อภาษาไทย ศศ.บ. (วารสารศาสตร์สื่อประสม) ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ Bachelor of Arts (Multimedia Journalism) ชื่อย่อภาษาอังกฤษ B.A. (Multimedia Journalism)

  • ระดับปริญญาโท

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต 2 หลักสูตร 2 สาขาวิชา 1. สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน 2. สาขาสื่อสารมวลชน

อ้างอิง[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]