การรุกเบลเกรด
การรุกเบลเกรด | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ แนวรบยูโกสลาเวียและด้านตะวันออกของสงครามโลกครั้งที่สอง | |||||||
สภาพที่ถูกทำลายของรถถังโซเวียต ที34/85 ในกรุงเบลเกรด (Palace Albanija ในฉากพื้นหลัง) | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
ฝ่ายสัมพันธมิตร: สหภาพโซเวียต พลพรรคยูโกสลาเวีย ราชอาณาจักรบัลแกเรีย |
ฝ่ายอักษะ: ไรช์เยอรมัน รัฐผู้พิทักษ์แห่งเซอร์เบีย | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
ฟิโอดอร์ ตอลบูคิน Vladimir Zhdanov Peko Dapčević Savo Drljević Danilo Lekić Vladimir Stoychev Kiril Stancev |
มักซีมีเลียน ฟอน ไวชส์ Wilhelm Schneckenburger † Hans Felber Alexander Löhr | ||||||
หน่วยที่เกี่ยวข้อง | |||||||
3rd Ukrainian Front 1st Army Group 1st Army 3rd Army 4th Army |
2nd Panzer Army Army Group F Serbian State Guard | ||||||
กำลัง | |||||||
580,000 troops 3,640 artillery pieces 520 tanks and assault guns 1,420 aircraft 80 ships |
150,000 troops (mostly 2nd tier infantry and non-German support troops) 2,100 artillery pieces 125 tanks and assault guns 350 aircraft 70 ships | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
Soviets: 2,953 dead (assault on Belgrade only) [3] | 45,000[ต้องการอ้างอิง] |
การรุกเบลเกรดหรือปฏิบัติการการรุกทางยุทธศาสตร์เบลเกรด (แม่แบบ:Lang-sh-Latn, Београдска операција; รัสเซีย: Белградская стратегическая наступательная операция, Belgradskaya strategicheskaya nastupatel'naya operatsiya) (14 กันยายน ค.ศ. 1944 – 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 1944)[4] เป็นปฏิบัติการทางทหารในซึ่งเบลเกรดได้รับการปลดปล่อยจากกองทัพเวร์มัคท์ของเยอรมันด้วยความพยายามร่วมมือกันของกองทัพแดงแห่งโซเวียต พลพรรคยูโกสลาเวีย และกองทัพประชาชนบัลแกเรีย กองกำลังโซเวียตและหน่วยทหารอาสาท้องถิ่นได้เริ่มแบ่งแยกกันแต่ได้ปฏิบัติการร่วมกันอย่างมีอิสระเมื่อได้ทำลายการควบคุมของเยอรมันในกรุงเบลเกรดและท้ายที่สุดก็ถูกบังคับให้ล่าถอย[5] การวางแผนสู้รบคือการประสานงานกันอย่างราบรื่นในหมู่ผู้นำบัญชาการและปฏิบัติการนั้นส่วนใหญ่ได้ถูกมอบสิทธิ์ผ่านความร่วมมือกันทางยุทธวิธีระหว่างยอซีป ตีโตและโจเซฟ สตาลิน เมื่อเริ่มต้นขึ้นในเดือนกันยายน ค.ศ. 1944[6] [7] การเตรียมการสู้รบเหล่านี้ได้อนุญาตให้กองกำลังบัลแกเรียได้มีส่วนร่วมในปฏิบัติการทั่วดินแดนยูโกสลาเวีย, ซึ่งจะเพิ่มความสำเร็จทางยุทธศาสตร์,ในขณะที่ความขัดแย้งทางการทูตได้ทวีคูณมากขึ้น[8]
วัตถุประสงค์หลักของการรุกเบลเกรดคือการมุ่งหมายไปที่ดินแดนเซอร์เบียภายใต้การยึดครองของเยอรมัน การเข้ายึดกรุงเบลเกรดเป็นยุทธศาสตร์การโอบล้อมในคาบสมุทรบอลข่านและตัดเส้นสายการสื่อสารของเยอรมันระหว่างกรีซและฮังการี หัวหอกของการรุกได้ถูกปฏิบัติการโดยแนวรบยูเครนที่ 3 ของโซเวียตในการประสานงานกับกองทัพกลุ่มที่ 1 ของยูโกสลาฟและกองทัพเหล่าที่สิบสี่ ในเวลาเดียวกัน ปฏิบัติการในทางใต้ได้รวมไปถึงกองทัพที่สองของบัลแกเรีย และกองทัพเหล่าที่ 13 ของยูโกสลาฟ และการบุกโจมตีของแนวรบยูเครนที่ 2 ทางตอนเหนือของชายแดนยูโกสลาเวียและบัลแกเรียเพื่อเพิ่มแรงกดดันต่อกองบัญชาการเยอรมัน[9] มีการต่อสู้ที่ทวีความรุนแรงระหว่างกองกำลังบัลแกเรียและฝ่ายต่อต้านพลพรรคของรัฐปกครองของเยอรมันในมาซิโดเนียซึ่งได้แสดงให้เห็นถึงปฏิบัติการสู้รบทางตอนใต้ของการทัพนี้[10][11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Krivosheyev 1997.
- ↑ Glantz (1995), p. 299
- ↑ Biryuzov 1964, p. 260.
- ↑ p.1116, Dupuy; Belgrade itself was taken on 20 October
- ↑ p.615, Wilmot "[the Red Army] entered Belgrade ... at the same time as Tito's partisans."; p.152, Seaton; "The Russians had no interest in the German occupation forces in Greece and appear to have had very little interest in those retiring northwards through Yugoslavia...Stalin was content to leave to Tito and the Bulgarians the clearing of Yugoslav territory from the enemy."; (DOCID+yu0031) Library of Congress Country Studies citing "information from Documents on German Foreign Policy, 1919–1945, Arlington, Virginia, 1976": "...Soviet troops crossed the border on October 1, and a joint Partisan-Soviet force liberated Belgrade on October 20."
- ↑ Biryuzov 1964, p. 83.
- ↑ Biryuzov 1964, p. 270.
- ↑ Tomasevich 2001, p. 168.
- ↑ Biryuzov 1964, pp. 103, 124.
- ↑ The Oxford companion to World War II, Ian Dear, Michael Richard Daniell Foot, Oxford University Press, 2001, ISBN 0-19-860446-7, p. 134.
- ↑ Biryuzov 1964, p. 124.