เตียวอี้ (เถียน ยฺวี่)
เตียวอี้ (เถียน ยฺวี่) | |
---|---|
田豫 | |
ที่ปรึกษาหลวง (太中大夫 ไท่จงต้าฟู) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. 252 | |
กษัตริย์ | โจฮอง |
เสนาบดีราชองครักษ์ (衛尉 เว่ย์เว่ย์) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. 252 | |
กษัตริย์ | โจฮอง |
ข้าหลวงมณฑลเป๊งจิ๋ว (并州刺史 ปิ้งโจฺวชื่อฉื่อ) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 240 – ค.ศ. ? | |
กษัตริย์ | โจฮอง |
ขุนพลกระตุ้นพลานุภาพ (振威將軍 เจิ้นเวย์เจียงจฺวิน) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 240 – ค.ศ. ? | |
กษัตริย์ | โจฮอง |
ขุนพลราชองครักษ์ผู้พิทักษ์ชนเผ่าซฺยงหนู (護匈奴中郎將 ฮู่ซฺยงหนูจงหลางเจี้ยง) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 240 – ค.ศ. ? | |
กษัตริย์ | โจฮอง |
ขุนพลขจัดชนเผ่าอี๋ (殄夷將軍 เถี่ยนอี้เจียงจฺวิน) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. ? | |
กษัตริย์ | โจผี / โจยอย |
เจ้าเมืองยีหลำ (汝南太守 หรู่หนานไท่โฉฺ่ว) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. ? | |
กษัตริย์ | โจผี / โจยอย |
นายกองพิทักษ์ชนเผ่าออหวน (護烏丸校尉 ฮู่อูหฺวานเซี่ยวเว่ย์ฺ) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. ? | |
กษัตริย์ | โจผี |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ป. ค.ศ. 171 เขตอูชิง นครเทียนจิน |
เสียชีวิต | ป. ค.ศ. 252 (81 ปี) |
บุตร |
|
อาชีพ | ขุนพล |
ชื่อรอง | กั๋วร่าง (國讓) |
บรรดาศักดิ์ | ฉางเล่อถิงโหฺว (長樂亭侯) |
เตียวอี้ (ป. ค.ศ. 171 – ป. ค.ศ. 252) มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า เถียน ยฺวี่ (จีน: 田豫; พินอิน: Tián Yù) ชื่อรอง กั๋วร่าง (จีน: 國讓; พินอิน: Guóràng) เป็นขุนพลของรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊กของจีน
ประวัติ
[แก้]เตียวอี้เป็นชาวอำเภอยงหนู (雍奴縣 ยงหนูเซี่ยน) เมืองยีหยง (漁陽郡 ยฺหวีหยางจฺวิ้น) ซึ่งปัจจุบันคือเขตอูชิง นครเทียนจิน[1] ในช่วงเวลาที่เล่าปี่อาศัยด้วยกองซุนจ้าน เตียวอี้ในวัยเยาว์เสนอตนให้อยู่ภายใต้การอุปการะของเล่าปี่ เล่าปี่เอ็นดูเตียวอี้อย่างมาก[2] เมื่อเตียวอี้จากไปเพื่อไปดูแลมารดาที่ชรา เล่าปี่หลั่งน้ำตาแสดงความเสียใจที่ไม่สามารถร่วมงานกับเตียวอี้ได้[3]
ภายหลังเตียวอี้เข้ารับใช้กองซุนจ้านในตำแหน่งนายอำเภอของอำเภอตงโจว (東州縣 ตงโจวเซี่ยน) ขุนพลคนหนึ่งของกองซุนจ้านชื่อหวาง เหมิน (王門) ทรยศกองซุนจ้านและไปเข้าร่วมกับอ้วนเสี้ยว แล้วนำกองกำลังกว่า 10,000 นายกลับมาโจมตีกองซุนจ้านนายเก่า[4] เตียวอี้จึงเดินทางไปพบหวาง เหมินเป็นการส่วนตัวและพูดหว่านล้อมจนหวาง เหมินรู้สึกละอายใจและล่าถอยไป[5] แม้ว่ากองซุนจ้านจะรู้ว่าเตียวอี้เป็นผู้มีความสามารถ แต่ก็อาจแต่งตั้งตำแหน่งสำคัญให้กับเตียวอี้[6] ภายหลังจากกองซุนจ้านพ่ายแพ้ในการรบกับอ้วนเสี้ยว เซียนยฺหวี ฝู่ (鲜于辅) สหายของเตียวอี้ได้รับเตียวอี้มาเป็นผู้ช่วย[7] เตียวอี้แนะนำเซียนยฺหวี ฝู่ให้เข้าร่วมกับโจโฉ[8] โจโฉจึงได้รับเตียวอี้มารับราชการในตำแหน่งต่าง ๆ[9]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ (田豫字国让,渔阳雍奴人也。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 26.
- ↑ (刘备之奔公孙瓚也,豫时年少,自讬於备,备甚奇之。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 26.
- ↑ (备为豫州刺史,豫以母老求归,备涕泣与别,曰:“恨不与君共成大事也。”) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 26.
- ↑ (公孙瓚使豫守东州令,瓚将王门叛瓚,为袁绍将万馀人来攻。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 26.
- ↑ (豫登城谓门曰:“卿为公孙所厚而去,意有所不得已也;今还作贼,乃知卿乱人耳。夫挈瓶之智,守不假器,吾既受之矣;何不急攻乎?”门惭而退。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 26.
- ↑ (瓚虽知豫有权谋而不能任也。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 26.
- ↑ (瓚败而鲜于辅为国人所推,行太守事,素善豫,以为长史。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 26.
- ↑ (豫谓辅曰:“终能定天下者,必曹氏也。宜速归命,无后祸期。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 26.
- ↑ (太祖召豫为丞相军谋掾,除颍阴、朗陵令,迁弋阳太守,所在有治。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 26.
บรรณานุกรม
[แก้]- ตันซิ่ว (ศตวรรษที่ 3). จดหมายเหตุสามก๊ก (ซานกั๋วจื้อ).
- เผย์ ซงจือ (ศตวรรษที่ 5). อรรถาธิบายจดหมายเหตุสามก๊ก (ซานกั๋วจื้อจู้).