ข้ามไปเนื้อหา

อักษรเทวนาครี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เทวนาครี)
อักษรเทวนาครี
ฤคเวทเขียนด้วยอักษรเทวนาครี (ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19)
ชนิด
ช่วงยุค
ประมาณ พ.ศ. 1743 (ค.ศ. 1200)–ปัจจุบัน
ทิศทางซ้ายไปขวา Edit this on Wikidata
ภูมิภาคอินเดียและเนปาล
ภาษาพูดหลายภาษาในภาษากลุ่มอินโด-อารยัน เช่น ภาษาสันสกฤต, ภาษาฮินดี, ภาษามราฐี, ภาษาเนปาล, ภาษาภิล, ภาษากอนกานี, ภาษาโภชปุรี, ภาษามคธี, ภาษาไมถิลี, ภาษากุรุข, ภาษาเนวารี และบางครั้งในภาษาสินธีและภาษาแคชเมียร์ เคยใช้เขียนภาษาคุชราต บางครั้งใช้เขียนหรือทับศัพท์ภาษาเศรปา
อักษรที่เกี่ยวข้อง
ระบบแม่
ระบบลูก
อักษรคุชราต
อักษรโมฑี
อักษรรัญชนา
สัญลักษณ์ชนเผ่าพื้นเมืองแคนาดา
ระบบพี่น้อง
อักษรศารทา, อักษรนาครีตะวันออก
ISO 15924
ISO 15924Deva (315), ​Devanagari (Nagari)
ยูนิโคด
ยูนิโคดแฝง
Devanagari
ช่วงยูนิโคด
U+0900–U+097F,
U+A8E0–U+A8FF
 บทความนี้ประกอบด้วยสัญกรณ์การออกเสียงในสัทอักษรสากล (IPA) สำหรับคำแนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับสัญลักษณ์ IPA โปรดดู วิธีใช้:สัทอักษรสากล สำหรับความแตกต่างระหว่าง [ ], / / และ ⟨ ⟩ ดูที่ สัทอักษรสากล § วงเล็บเหลี่ยมและทับ
บทความนี้มีอักษรในตระกูลอักษรพราหมีปรากฏอยู่ คุณอาจเห็นสัญลักษณ์อื่นแทนตัวอักษร หรือมองเห็นสระวางผิดตำแหน่ง หากคอมพิวเตอร์ของคุณไม่สามารถแสดงผลได้อย่างถูกต้อง

อักษรเทวนาครี ([เท-วะ-นา-คะ-รี]; สันสกฤต: देवनागरी) พัฒนามาจากอักษรพราหมีในราวคริสต์ศตวรรษที่ 11 ใช้เขียนภาษาฮินดี ภาษาสันสกฤต ภาษามราฐี ภาษาบาลี ภาษาสินธี ภาษาเนปาล และภาษาอื่น ๆ ในประเทศอินเดีย

อักษรเทวนาครีมีลักษณะการเขียนจากซ้ายไปขวา มีเส้นเล็ก ๆ อยู่เหนือตัวอักษร หากเขียนต่อกัน จะเป็นเส้นยาวคล้ายเส้นบรรทัด มีการแยกพยัญชนะ สระ และเครื่องหมายต่าง ๆ

ที่มา

[แก้]

อักษรเทวนาครีเกิดขึ้นเมื่อราวปี พ.ศ. 1743 (ค.ศ. 1200) โดยพัฒนาขึ้นจากอักษรสิทธัม และค่อย ๆ เข้ามาแทนที่อักษรศารทา ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดและมีมาก่อน (ยังคงใช้คู่ขนานกันไปในกัศมีร์) อักษรทั้งสองแบบมีต้นกำเนิดมาจากอักษรคุปตะ ซึ่งได้มาจากอักษรพราหมีอีกทอดหนึ่ง ซึ่งมีที่มาตั้งแต่ช่วง 300 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนอักษรนาครีนั้น ปรากฏในช่วงราวคริสต์ศตวรรษที่ 8 เป็นสาขาตะวันออกของอักษรคุปตะ ร่วมสมัยกับอักษรศารทาอันเป็นสาขาตะวันตก

ศัพทมูลวิทยา

[แก้]

ภาษาสันสกฤต คำว่า นาครี เป็นสตรีลิงค์ ของ นาคร หมายถึง เกี่ยวกับเมือง เป็นคุณนาม จากคำนาม นคร ซึ่งหมายถึงเมือง ที่ใช้รูปสตรีลิงค์ เพราะนี้ เดิมใช้บ่งบอกนามสตรีลิงค์ ลิปิ ซึ่งหมายถึง อักษร ในที่นี้ จึงหมายถึงอักษรของชาวเมือง หรืออักษรของผู้มีวัฒนธรรม อักษรนาครีนั้นมีที่ใช้หลากหลาย อักษรที่มีคำว่า เทวะ (เทวดา) เติมข้างหน้า หมายถึง อักษรของเทวดา หรืออักษรที่ใช้ของชาวเมืองชั้นสูงนั่นเอง

ปัจจุบันมีการใช้คำว่า "เทวนาครี" อย่างกว้างขวาง แต่เรียกสั้นๆ ว่า "นาครี" ก็พบเห็นได้ทั่วไป ซึ่งมีความหมายถึงอักษรอย่างเดียวกันนี้ ความนิยมใช้เทวนาครีอย่างแพร่หลายนั้น เกี่ยวโยงกับการใช้ในยุคอาณานิคม ซึ่งแทบจะใช้อักษรเทวนาครีเพียงอย่างเดียว ในการตีพิมพ์งานสันสกฤต แม้ว่าภาษาสันสกฤตนั้น สามารถใช้อักษรต่างๆ ได้แทบทุกแบบของอินเดียก็ตาม และด้วยเหตุนี้ จึงมักจะทำให้มีการผูกโยงระหว่างอักษรเทวนาครีและภาษาสันสกฤต จนมีความเชื่อผิดๆ ไปอย่างกว้างขวาง เรียกอักษรนี้ว่า "อักษรสันสกฤต" ก็มี

หลักการเบื้องต้น

[แก้]

เช่นเดียวกับตระกูลอักษรพราหมีอื่นๆ หลักการเบื้องต้นของอักษรเทวนาครีคือ อักษรแต่ละตัวใช้แทนเสียงพยัญชนะซึ่งมีเสียงสระ a (อะ) [ə] อยู่ในตัว [1] ตัวอย่างเช่นอักษร क อ่านว่า ka (กะ) อักษรสองตัว कन อ่านว่า kan (กัน) อักษรสามตัว कनय อ่านว่า kanay (กะนัย)(ไม่ออกเสียงสระท้ายคำ ยกเว้นคำที่ลงท้ายด้วยพยัญชนะผสม) เป็นต้น ส่วนเสียงสระอื่นๆ หรือการตัดเสียงสระทิ้ง จะต้องมีการดัดแปลงตัวพยัญชนะของมันเองดังนี้

  • กลุ่มพยัญชนะ (consonant cluster) จะถูกเขียนเป็นพยัญชนะผสม (ligature) เรียกว่า saṃyuktākṣara (สังยุกตากษะระ, สํยุกฺตากฺษร) (จาก สํยุกฺต + อกฺษร) ตัวอย่างเช่นอักษรสามตัว कनय kanaya (กะนัย) สามารถรวมได้เป็น क्नय knaya (กนัย), कन्य kanya (กันยะ, กนฺย), หรือ क्न्य knya (กนยะ, กฺนฺย)
  • เสียงสระอื่นที่นอกเหนือจากเสียง a (อะ) จะเขียนเครื่องหมายเสริมลงบนพยัญชนะ เช่นจาก क ka (กะ) เราจะได้ के ke (เก), कु ku (กุ), की (กี), का (กา) เป็นต้น
  • สำหรับสระที่ไม่มีพยัญชนะ ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อสระนั้นอยู่ต้นคำ หรืออยู่ถัดจากสระอื่นอย่างใดอย่างหนึ่ง จะมีอักษรตัวเต็มที่ใช้แทนเสียงสระนั้นเรียกว่าสระลอย ตัวอย่างเช่น ในขณะที่เสียงสระ ū (อู) เขียนขึ้นโดยการเติม ू ลงไปทำให้กลายเป็น कू (กู) เสียงสระนี้ก็ยังมีอักษรของมันคือ ऊ ใน ऊक ūka (อูกะ) และ कऊ kaū (กะอู) อย่างไรก็ตามภาษาปัจจุบันจำนวนหนึ่งมีการใช้อักษรตัวเต็มของ अ a (อะ) มาเติมเครื่องหมายโดยปกติวิสัย กลายเป็น अूक ūka (อูกะ) และ कअू kaū (กะอู) ซึ่งคอมพิวเตอร์บางระบบไม่รองรับ
  • พยัญชนะสะกดจะมีการกำกับเครื่องหมายนี้ ્ เรียกว่า virāma (วิรามะ, วิราม) ในภาษาสันสกฤต หรือ halanta (หะลันตะ, หลนฺต) ในภาษาฮินดี ไว้ที่ตัวอักษร ซึ่งจะทำให้เสียงสระ a (อะ) ถูกตัดออกไป เช่นจาก क्नय knaya (กนะยะ) เปลี่ยนเป็น क्नय् knay (กนัย) นอกจากนี้ halanta ถูกใช้เป็นการกำหนดกลุ่มพยัญชนะในข้อแรก ถ้าหากการพิมพ์ไม่สามารถกระทำได้

พยัญชนะ

[แก้]
สปรรศะ
(เสียงกัก)
อนุนาสิกะ
(เสียงนาสิก)
อันตสถะ
(เสียงเปิด)
อูษมะ/สังฆรรษี
(เสียงเสียดแทรก)
ก้องหรือไม่ → อโฆษะ (ไม่ก้อง) โฆษะ (ก้อง) อโฆษะ (ไม่ก้อง) โฆษะ (ก้อง)
การพ่นลม → อัลปปราณะ มหาปราณะ อัลปปราณะ มหาปราณะ อัลปปราณะ มหาปราณะ
กัณฐยะ
(เพดานอ่อน)
ka
(ก) /k/
kha
(ข) /kʰ/
ga
(ค) /ɡ/
gha
(ฆ) /ɡʱ/
ṅa
(ง) /ŋ/
ha
(ห) /h, ɦ/
ตาลวยะ
(เพดานแข็ง)
ca
(จ) /c, t͡ʃ/
cha
(ฉ) /cʰ, t͡ʃʰ/
ja
(ช) /ɟ, d͡ʒ/
jha
(ฌ) /ɟʱ, d͡ʒʱ/
ña
(ญ) /ɲ/
ya
(ย) /j/
śa
(ศ) /ɕ, ʃ/
มูรธันยะ
(ปลายลิ้นม้วน)
ṭa
(ฏ) /ʈ/
ṭha
(ฐ) /ʈʰ/
ḍa
(ฑ) /ɖ/
ḍha
(ฒ) /ɖʱ/
ṇa
(ณ) /ɳ/
ra
(ร) /r, ɽ/
ṣa
(ษ) /ʂ/
ทันตยะ
(ฟัน)
ta
(ต) /t̪/
tha
(ถ) /t̪ʰ/
da
(ท) /d̪/
dha
(ธ) /d̪ʱ/
na
(น) /n̪/
la
(ล) /l̪/
sa
(ส) /s̪/
โอษฐยะ
(ริมฝีปาก)
pa
(ป) /p/
pha
(ผ) /pʰ/
ba
(พ) /b/
bha
(ภ) /bʱ/
ma
(ม) /m/
va
(ว) /ʋ/
  • นอกเหนือจากตารางด้านบน มีการใช้ ḷa (ฬ) /ɺ̢/ หรือ /ɭ̆/ แทนเสียงกระดกม้วนลิ้นของเสียงกัก ปลายลิ้นม้วน ก้องในภาษาพระเวท และใช้เป็นหน่วยเสียงตัวหนึ่งในภาษา อาทิภาษามราฐีและภาษาราชสถาน
  • ภาษาฮินดีใช้เครื่องหมายเสริม (नुक़ता) nuqtā (นุกตา) (จากภาษาอาหรับ نُقْطَة nuqṭah (นุกเฏาะฮ์) จุด) มีลักษณะเหมือนจุด เติมลงไปที่ใต้พยัญชนะบางตัวเพื่อใช้แทนเสียงที่มาจากภาษาเปอร์เซียคือ क़ qa /q/, ख़ xa (ฃ) /x/, ग़ ġa (ฅ) /ɣ/, ज़ za (ซ) /z/, และ फ़ fa (ฝ) /f/ รวมทั้งสร้างเสียงใหม่ขึ้นมาได้แก่ ड़ ṛa /ɽ/ และ ढ़ ṛha /ɽʱ/ (ถึงแม้เสียง ḷha /ɺ̢ʱ/ หรือ /ɭ̆ʱ/ จะสามารถเกิดขึ้นได้แต่ก็ไม่มีการใช้ในภาษาฮินดี)

สระ

[แก้]

สระในระบบอักษรเทวนาครีนั้น มีลักษณะเฉพาะแบบเดียวกับอักษรอินเดียส่วนใหญ่ นั่นคือ มีสระสองชุด เป็นสระลอย และสระจม สระลอย คือ สระที่อยู่โดดเดี่ยวได้ โดยมีเสียงของตัวมันเอง ส่วนสระจม เป็นสระที่ต้องประสมกับพยัญชนะอื่น สระจมของเทวนาครี มีทั้งที่เขียนด้านหน้า เช่น อิ เขียนด้านหลัง เช่น อา อี เขียนด้านบน เช่น เอ และเขียนด้านล่าง เช่น อุ หรือ อู นอกจากนี้ยังมีแบบเขียนสองตำแหน่ง เช่น ไอ โอ และเอา ที่เขียนทั้งบนและหลังพยัญชนะ

สระลอย สระจม เกาะตัว क ถอดเป็นอักษรโรมัน ถอดเป็นอักษรไทย
a อะ
का aa อา
कि i อิ
की ii อี
कु u อุ
कू uu อู
कॅ candra e แอ
कॆ short e เอะ
के e เอ
कै ai ไอ
कॉ candra o ออ
कॊ short o โอะ
को o โอ
कौ au เอา
कृ vocalic r
कॄ vocalic rr ฤๅ
कॢ vocalic l
कॣ vocalic ll ฦๅ

ตัวเลข

[แก้]
เลขเทวนาครี เลขอาหรับ เลขไทย
0
1
2
3
4
5
6
7
8
9
१० 10 ๑๐

เครื่องหมายพิเศษ

[แก้]

= โอม

อักษรเทวนาครีในคอมพิวเตอร์

[แก้]

สำหรับผู้ใช้วินโดวส์เอ็กซ์พี (Window XP) สามารถอ่านอักษรเทวนาครี หรือพิมพ์ข้อความสั้นๆด้วยโปรแกรม Character Map ฟอนต์ Mangal

เทวนาครี
Unicode.org chart (PDF)
  0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 A B C D E F
U+090x
U+091x
U+092x
U+093x ि
U+094x
U+095x
U+096x
U+097x   ॿ


เทวนาครี ส่วนขยาย
Unicode.org chart (PDF)
  0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 A B C D E F
U+A8Ex
U+A8Fx        


อ้างอิง

[แก้]
  1. Salomon, Richard (2003), "Writing Systems of the Indo-Aryan Languages", in Cardona, George & Dhanesh Jain, The Indo-Aryan Languages, Routledge, 67-103, ISBN 978-0-415-77294-5.

ดูเพิ่ม

[แก้]