ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาพระเวท

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาพระเวท
ภูมิภาคยุคเหล็กในอินเดีย
สูญแล้วพัฒนาไปเป็นภาษาสันสกฤต ราว พ.ศ. 57
ตระกูลภาษา
รหัสภาษา
ISO 639-3 (vsn is proposed)[1][ต้องการอัปเดต]
นักภาษาศาสตร์vsn
 qnk Rigvedic
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ภาษาพระเวท (อังกฤษ: Vedic Sanskrit) เป็นคำที่ใช้เรียกภาษาของชาวอารยันในยุคเริ่มแรก (ก่อนพ.ศ. 43) ซึ่งเป็นภาษาที่ชาวอารยันใช้เขียนคัมภีร์พระเวทและเป็นต้นตระกูลของภาษาอื่น ๆ ในอินเดีย กล่าวคือเมื่อชาวอารยันติดต่อกับสมาคมกับชาวพื้นเมืองเดิมในอินเดียทำให้เกิดการปะปนกันของภาษาจนวิวัฒนาการเป็นภาษาปรากฤต เช่น ภาษามคธี ภาษาอรรธมคธี ภาษาเศารเสนี ภาษามหาราษฏระ

ในยุคนี้เอง นักปราชญ์ชาวอารยันที่ยังใช้ภาษาพระเวทอยู่นั้นเห็นว่า หากปล่อยไว้ภาษาของตนจะปะปนกับภาษาอื่นจนเสียความบริสุทธิ์ของภาษาไป จึงมีการจัดระเบียบภาษาพระเวทขึ้นใหม่โดยวางกฎเกณฑ์ให้เป็นระบบ ตำราไวยากรณ์ที่มีชื่อเสียงคืออัษฏาธยายีของปาณินิ ภาษาที่จัดระเบียบแล้วนี้เรียกภาษาสันสกฤต ส่วนภาษาปรากฤตทั้งหลายนั้นได้วิวัฒนาการมาเป็นภาษาที่ใช้ในอินเดียปัจจุบัน เช่น ภาษาฮินดี ภาษามราฐี ภาษาคุชราต ภาษาเบงกอล ภาษาปัญจาบ ภาษาอูรดู ภาษาปาทาน ภาษาสิงหล เป็นต้น

อ้างอิง

[แก้]
  • กรุณา-เรืองอุไร กุศลาสัย. ภารตวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 5 กทม. ศยาม. 2547
  1. "Change Request Documentation: 2011-041". SIL International.