ภาษาโภชปุรี
ภาษาโภชปุรี | |
---|---|
भोजपुरी bhōjapurī | |
ประเทศที่มีการพูด | อินเดีย, เนปาล, มอริเชียส, ฟีจี, กายอานา, ตรินิแดดและโตเบโก, สิงคโปร์, สหรัฐอเมริกา, อังกฤษ, เรอูว์นียง |
ภูมิภาค | เนปาล, พิหาร, อุตตรประเทศ, ฌารขัณฑ์, อัสสัม, เดลี, มัธยประเทศ, เบงกอลตะวันตก |
จำนวนผู้พูด | 140 ล้านคน (ไม่พบวันที่) |
ตระกูลภาษา | |
ระบบการเขียน | อักษรเทวนาครี, อักษรไกถิ |
รหัสภาษา | |
ISO 639-1 | bh |
ISO 639-2 | bho |
ISO 639-3 | bho |
ภาษาโภชปุรีเป็นภาษาที่พูดกันแพร่หลายทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย คือทางตะวันตกของรัฐพิหาร ตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐฌารขัณฑ์ และบริเวณปุรวัณฉัลของอุตรประเทศรวมถึงทางใต้ของเนปาล ภาษาโภชปุรีมีผู้พูดในกายอานา ซูรินาม ฟีจี ตรินิแดดและโตเบโก และมอริเชียสด้วย ภาษานี้ถือว่าไม่ใช่ภาษาถิ่นของภาษาฮินดี เตรียมจะรับรองสถานะเป็นภาษาประจำชาติอีกภาษาหนึ่ง
ภาษาโภชปุรีมีคำศัพท์คล้ายคลึงกับภาษาสันสกฤต ภาษาฮินดี ภาษาอูรดู และภาษาตระกูลอินโด-อารยันอื่นๆในภาคเหนือของอินเดีย ภาษาโภชปุรีและภาษาใกล้เคียงได้แก่ ภาษาไมถิลีและภาษามคธีเป็นที่รู้จักโดยรวมว่าภาษาพิหาร ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มภาษาอินโด-อารยันตะวันออกเช่นเดียวกับภาษาเบงกอลและภาษาโอริยา ภาษาถิ่นของภาษาโภชปุรีมีราว 3-4 ภาษาในภาคตะวันออกของรัฐอุตรประเทศ
จำนวนผู้พูด[แก้]
จากข้อมูลที่เผยแพร่ในวารสาร Times of India ประมาณว่ามีประชากร 70 ล้านคนในรัฐอุตรประเทศ และมากกว่า 80 ล้านคนในรัฐพิหาร ที่พูดภาษาโภชปุรีเป็นภาษาแม่หรือภาษาที่สอง มีผู้พูดภาษานี้ราว 6 ล้านคนที่อยู่นอกบริเวณที่มีผู้พูดภาษานี้เป็นหลักในรัฐพิหารและปุรวันจัล ได้แก่ ในเนปาล มอริเชียส ฟีจี ซูรินาม กายอานา ยูกันดา สิงคโปร์ ตรินิแดดและโตเบโก เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐ ซึ่งทำให้มีผู้พูดภาษาโภชปุรีทั่วโลกราว 150 ล้านคน การแพร่กระจายของผู้พูดภาษานี้เกิดจากการส่งแรงงานอินเดียไปเป็นแรงงานในต่างแดน ในสมัยที่เป็นอาณานิคมของอังกฤษ
ภาษาโภชปุรีได้รับอิทธิพลจากภาษาอื่นๆมาก ภาษาโภชปุรีในมอริเชียสมีศัพท์ลูกผสมและศัพท์จากภาษาอังกฤษมาก ในขณะที่ผู้พูดในตรินิแดดมีศัพท์จากภาษาในแคริบเบียนปะปนควบคู่ไปกับภาษาอังกฤษ
วรรณคดีภาษาโภชปุรี[แก้]
ในบริเวณที่มีผู้พูดภาษาโภชปุรีมีผู้เกี่ยวข้องกับการสร้างชาติอินเดียและได้รับเอกราชอยู่มากเช่นประธานาธิบดีคนแรก ดร. ราเชนทรา ประสาท ตามด้วยนักการเมืองและนักสิทธิมนุษยชน ดร. กฤษณะ เทพ อุปัธยยา
ภาษาโภชปุรีเป็นหนึ่งในพื้นฐานของการพัฒนาภาษาราชการของอินเดียหลังได้รับเอกราชคือภาษาฮินดี ในศตวรรษที่ผ่านมา ภารเตนฑุ หริสจันทรา ผู้เป็นบิดาของภาษาฮินดีที่เป็นภาษาเขียนได้รับอิทธิพลจากน้ำเสียงและรูปแบบของภาษาโภชปุรีในบริเวณที่เป็นบ้านเกิดของเขา การพัฒนาต่อมาของภาษาฮินดีเกิดขึ้นโดยผู้ที่มีบ้านเกิดในเขตที่มีผู้พูดภาษาโภชปุรีอีกหลายคน
วรรณคดีภาษาโภชปุรีส่วนใหญ่อยู่ในรูปเพลงและดนตรีพื้นบ้าน และกวีนิพนธ์ วรรณคดีที่เป็นภาษาเขียนเริ่มต้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 17 ในระหว่างที่เป็นอาณานิคมของอังกฤษ ภาษาโภชปุรีเป็นที่รู้จักในชื่อภาษาของจังหวัดชายแดนภาคเหนือ หลังจากได้รับเอกราช ภาษาโภชปุรีได้มีการปรับเปลี่ยนน้ำเสียงและปรับเปลี่ยนไปตามวิถีชีวิตของชุมชน
ระบบการเขียน[แก้]
การเขียนภาษาโภชปุรีมีความแตกต่างไปในแต่ละกลุ่มชน ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 24 ส่วนใหญ่เขียนด้วยอักษรไกถิและอักษรอาหรับแบบเปอร์เซีย
- อักษรไกถิ เป็นอักษรที่ใช้ในการปกครองสมัยราชวงศ์โมกุล สำหรับเขียนภาษาโภชปุรี ภาษาไมธิลี ภาษาเบงกอล ภาษาอูรดู ภาษามคธี และภาษาฮินดีระหว่างพุทธศตวรรษที่ 21 – 25 อักษรไกถิใช้ในบางตำบลของรัฐพิหารจนถึง พ.ศ. และอาจจะมีที่ใช้เหลืออยู่ถึงปัจจุบัน ในพื้นที่ชนบทห่างไกลของอินเดียเหนือ ความสำคัญของอักษรไกถิเมื่อรัฐบาลอินเดียภายใต้อาณานิคมอังกฤษแห่งเบงกอลซึ่งรัฐพิหารและบางตำบลทางใต้ของเนปาลขึ้นต่อเขตนี้ด้วย และรัฐจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเอาช์ เลือกใช้อักษรนี้ในการบริหารและการศึกษา มีการจัดมาตรฐานอักษรไกถิเมื่อ พ.ศ. 2418 โดยจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเอาช์เพื่อใช้ในการศึกษา รัฐบาลท้องถิ่นของรัฐพิหารเลือกอักษรไกถิเป็นอักษรทางการ ในศาลและการบริหารเมื่อ พ.ศ. 2423 อักษรไกถิเข้าไปแทนที่อักษรอาหรับแบบเปอร์เซียที่เคยใช้มาก่อนในพิหาร
- อักษรอาหรับแบบเปอร์เซีย ก่อน พ.ศ. 2423 งานบริหารทุกอย่างในพิหารใช้อักษรนี้ และอาจจะใช้ในการศึกษาแบบไม่เป็นทางการของชาวมุสลิมที่พูดภาษาโภชปุรีทั้งหมด
- อักษรเทวนาครี ใน พ.ศ. 2437 งานราชการในรัฐพิหารใช้อักษรไกถิและอักษรเทวนาครีซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้น ในการแทนที่อักษรไกถิด้วยอักษรเทวนาครีในที่สุด ปัจจุบันงานเขียนภาษาโภชปุรีใช้อักษรเทวนาครีเท่านั้น
การออกเสียง[แก้]
ภาษาโภชปุรีมีวิธีการออกเสียงที่ต่างกัน เช่น मैं कहता हूँ ออกเสียงในภาษาฮินดีเป็น मै कैहता हूँ แต่ในภาษาโภชปุรีเป็น मैं कःहःता हूँ คำว่าความสมบูรณ์ทั้งภาษาโภชปุรีและฮินดีเขียนว่า बहुत ภาษาฮินดีออกเสียงเป็น बहौत ส่วนโภชปุรีเป็น बहुत
แนวโน้มของการสร้างคำ[แก้]
ในความเห็นของผู้พูดภาษาฮินดีมักมองว่าผู้พูดภาษาโภชปุรีออกเสียงผิด ซึ่งเป็นผลมาจากวิวัฒนาการที่ต่างกันของภาษาที่ใกล้เคียงกันเช่น
- ฝรั่ง ฮินดีเป็น अमरुद โภชปุรีเป็น अमरूद
- साइकिल เป็นภาษาฮินดีที่มาจากภาษาอังกฤษ cycle ส่วนโภชปุรีเป็น साइकिल, सैकिलिया
- มาถึง ฮินดีเป็น पहुँचना โภชปุรีเป็น चहुँपना
คำทั่วไป[แก้]
ในภาษาโภชปุรี ½ เรียก आधा (อาธ) และเมื่อ ½ ใช้กับจำนวนที่มากกว่า 2 ใช้ साढ़े (สาเธ) นำหน้าจำนวนทั้งหมด เช่น 7.30 เรียก साढ़े सात (สาเธ สัต) ¼ เรียก सवा (สวา) และเหลืออีก ¼ เรียก पौने (เปาเน) เช่น 7.15 เรียก सवा सात (สวา สัต) 7.45 เรียก पौने आठ (เปาเน สัต) มีชื่อเฉพาะสำหรับ 1.5 , 2.5 , 6 , และ 12 ได้แก่ डेढ़ (เทธ) अढ़ाई (อธาอี) आधा दर्ज़न (อาธ ดาร์ซัน) และ दर्ज़न (ดาร์ซัน)
การนับจำนวน[แก้]
ภาษาอังกฤษ | ภาษาโภชปุรีอักษรละติน | เขียนด้วยอักษรเทวานาครี |
---|---|---|
0, 1, 2, 3, 4, 5, 6,7, 8,9, 10 | Soonna, Ek, Du, Teen, Chaar, Paanch, Chau, Saat, Aath, Nau, Dus | सुन्ना, एक, दु, तीन, चार, पाँच, छौ, सात, आठ, नौ, दस |
One/Two/Five/Ten/20/50/100 Rupee Notes | Ek/Du/Paanch/Dus/Bees/Pachaas/Sai takia (only for currency paper) | एक/दु/पाँच/दस/बीस/पचास/सय टकिया |
500/ 1000 or higher denomination Notes | Lamri or Numri | लमरी चाहे नमरी |
One Rupee | Ek ropeya (for quoting price) | |
Coin | Sikka | |
25 Paisa( a quarter) | Chau anni | |
50 Paisa( a half) | Atth anni (Atth = Aath) | |
75 Paisa(quarter to one) | Baarey anaa (Baarey = Baarah ) | |
100 Paisa | Sorey anaa ( Sorey = Sorah) |
สัทวิทยา[แก้]
Bilabial | Labio- dental |
Dental/ Alveolar |
Retroflex | Post-alv./ Palatal |
Velar | Uvular | Glottal | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
Nasal | m | n | (ɳ) | |||||||||||||
Plosive | p pʰ |
b bʱ |
t̪ t̪ʰ |
d̪ d̪ʱ |
ʈ ʈʰ |
ɖ ɖʱ |
k kʰ |
ɡ ɡʱ |
q | |||||||
Affricate | tʃ tʃʰ |
dʒ dʒʱ |
||||||||||||||
Fricative | f | s | z | ʃ | x | ɣ | ɦ | |||||||||
Tap or Flap | ɾ | (ɽ) (ɽʱ) |
||||||||||||||
Approximant | ʋ | l | j |
ภาษาโภชปุรีในเนปาล[แก้]
ในเนปาลมีผู้พูดภาษาโภชปุรี 2.5 ล้านคน คิดเป็น 9% ของประชากรเนปาลทั้งหมด ส่วนใหญ่พูดภาษาเนปาลีได้ด้วย ผู้พูดภาษาอวธีและภาษาไมถิลีเข้าใจภาษาโภชปุรีได้เช่นกัน ดังนั้น จำนวนผู้ที่เข้าใจภาษาโภชปุรีได้ในเนปาลอาจมีถึง 12 ล้านคน
สถานีวิทยุบางแห่งในบริเวณที่มีผู้พูดภาษาโภชปุรีอยู่มาก กระจายเสียงเป็นภาษาโภชปุรีด้วย ในกาฐมาณฑุ มีสถานีวิทยุเอฟเอ็มกระจายเสียงเพลงภาษาโภชปุรี บางรายการใช้ภาษาโภชปุรี สถานีวิทยุเนปาลออกอากาศข่าวเป็นภาษาโภชปุรีในเวลา 6.05 PM ตามเวลาท้องถิ่นทุกวัน สถานีโทรทัศน์ออกอากาศเกี่ยวกับวัฒนธรรมของชาวโภชปุรีทุกสัปดาห์ มีหนังสือพิมพ์ภาคภาษาโภชปุรีอย่างน้อย 5 ฉบับ