สวินโถ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หน้านี้เป็นชื่อบุคคลจีน นามสกุลคือ ซุน
สวินโถ
荀顗
ขุนนางแห่งราชวงศ์จิ้นตะวันตก
เกิด?
ถึงแก่กรรมค.ศ. 274
บิดาซุนฮก
บิดาซุนฮก
ชื่อภาษาจีน
ชื่อรองจิงเฉียน
ยุคในประวัติศาสตร์สามก๊ก

สวินโถ (จีน: 荀顗, ? — ค.ศ. 274) มีชื่อรองว่า จิงเฉียน เป็นขุนนางของรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊กของจีน หลังจากการล่มสลายของวุยก๊ก เขายังคงรับราชการภายใต้ราชวงศ์จิ้น ซึ่งมาแทนที่วุยก๊กในปี ค.ศ. 266 สวินโถเป็นบุตรชายคนที่ 6 ของซุนฮก[1]

ภูมิหลังของครอบครัวและชีวิตในวัยเด็ก[แก้]

บ้านเดิมของสวินโถอยู่ที่เขตบัญชาการหยิ่งชวน (穎川郡; แถว ๆ สวี่ชาง มณฑลเหอหนานในปัจจุบัน) เขาเกิดในตระกูลซุนผู้มีอิทธิพลในฐานะบุตรชายคนที่หกของซุนฮก รัฐบุรุษผู้มีชื่อเสียงของปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก และเป็นที่ปรึกษาของขุนศึก โจโฉ เมื่อตอนที่เขายังเด็ก ตันกุ๋น พี่เขยของเขายกย่องเขาอย่างสูง ก่อนที่เขาจะเข้าสู่วัยรุ่น เขาเป็นที่รู้จักในเรื่องความกตัญญูกตเวทีและความรอบรู้[2]

รับราชการในวุยก๊ก[แก้]

เนื่องจากผลงานที่ผ่านมาของพ่อของเขา สวินโถได้รับการแต่งตั้งเป็น จงหลาง (中郎) ในรัฐวุยก๊ก เมื่อสุมาอี้ เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินของวุยก๊ก เขารู้สึกว่าสวินโถเป็นคนมีพรสวรรค์ที่หายากและเคยตั้งข้อสังเกตว่า "ลูกชายของนายอำเภอซุนเปรียบได้กับ ยฺเหวียน กัน บุตรชายของเหยาชิง[3]

สวินโถเป็นพระอาจารย์ของจักรพรรดิแห่งวุยก๊กพระองค์ที่สาม พระเจ้าโจฮอง เขายังได้รับมอบหมายให้เป็นผู้บัญชาการทหารม้า (騎都尉) และได้รับตำแหน่ง กวนเหนยโหว (關內侯) เขาศึกษาอี้จิงกับจงโฮย และมีการอภิปรายเชิงปรัชญากับ Sima Jun เกี่ยวกับค่านิยมขงจื้อ[4]

เมื่อผู้สำเร็จราชการแผ่นดินโจซองอยู่ในอำนาจจาก ค.ศ. 239 ถึง ค.ศ. 249[5] ขุนนางโฮอั๋นและคนอื่น ๆ ต้องการทำร้ายฟู เจีย แต่สวินโถช่วยเขาไว้ หลังจากที่ผู้สำเร็จราชการสุมาสูปลดพระเจ้าโจฮอง และแทนที่พระองค์ด้วยพระเจ้าโจมอเป็นจักรพรรดิแห่งวุยก๊กในปี ค.ศ. 254 สวินโถแนะนำให้สุมาใช้โอกาสที่จะประกาศจักรพรรดิองค์ใหม่ดูว่าคู่แข่งทางการเมืองของเขาจะมีปฏิกิริยาอย่างไร ในปีเดียวกัน[6] ขุนพลบู๊ขิวเขียมและบุนขิม ซึ่งต่อต้านการกระทำของสุมาสูในการเปลี่ยนจักรพรรดิ ได้เริ่มก่อกบฏในสิ่วชุ่น (壽春; แถว ๆ อำเภอโช่ว มณฑลอานฮุยในปัจจุบัน) สวินโถช่วยสุมาสูในการปราบกบฏ เขาได้รับพระราชทานยศเป็น ว่านซุยติงโหว (萬歲亭侯) พร้อมกับบ้านเรือน 400 หลังคาเรือนเป็นบำเหน็จความดีความชอบ[7]

ภายหลังการถึงแก่กรรมของสุมาสูในปี ค.ศ. 255 สุมาเจียวน้องชายของเขาได้กลายเป็นผู้สำเร็จราชการคนใหม่[6] สวินโถ ได้รับการเลื่อนตำแหน่งให้เป็นราชเลขา (尚书) ระหว่างปี ค.ศ. 257 ถึง ค.ศ. 258[8] เมื่อสุมาเจียวออกไปปราบปรามกบฏของจูกัดเอี๋ยน เขาให้สวินโถรักษาเมืองหลวงลั่วหยางในกรณีที่เขาไม่อยู่ ใน ค.ศ. 260 หลังจากที่หลานชายของเขา ต้านท่าย ถึงแก่กรรม

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. de Crespigny (2007), p. 928.
  2. (荀顗,字景倩,潁川人,魏太尉彧之第六子也。幼為姊婿陳群所賞。性至孝,總角知名,博學洽聞,理思周密。) Jin Shu vol. 39.
  3. (晉陽秋曰: ... 司馬宣王見顗,奇之,曰:「荀令君之子也。近見袁偘,亦曜卿之子也。」) Jin Yang Qiu annotation in Sanguozhi vol. 10.
  4. (為魏少帝執經,拜騎都尉,賜爵關內侯。難鐘會《易》無互體,又與扶風王駿論仁孝孰先,見稱於世。) Jin Shu vol. 39.
  5. Sima (1084), vols. 74–75.
  6. 6.0 6.1 Sima (1084), vol. 76.
  7. (時曹爽專權,何晏等欲害太常傅嘏,顗營救得免。及高貴鄉公立,顗言於景帝曰:「今上踐阼,權道非常,宜速遣使宣德四方,且察外志。」毌丘儉、文欽果不服,舉兵反。顗預討儉等有功,進爵萬歲亭侯,邑四百戶。) Jin Shu vol. 39.
  8. Sima (1084), vol. 77.