อี้จิง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อี้จิง  
หน้าปกของ อี้จิง ในสมัยราชวงศ์ซ่ง (ป. ค.ศ. 1100)
ชื่อเรื่องต้นฉบับ *lek [หมายเหตุ 1]
ประเทศราชวงศ์โจว (จีน)
ประเภทการทำนาย, จักรวาลวิทยา
พิมพ์ปลายศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสตกาล

อี้จิง (จีน: 易經) คือวิชาที่ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลง จากมีเป็นไม่มี ไม่มีเป็นมี บวกกลายเป็นลบ ลบกลายเป็นบวก จึงมีการแทนสิ่งเหล่านี้ด้วยเส้นเต็มและเส้นขาดสองแบบ เมื่อนำมารวมกันหกเส้นหรือฉักลักษณ์ (ฉักกะ = หก, ลักษณะ = รูปแบบ) เมื่อนำมาหาค่าความน่าจะเป็นก็จะได้รูปแบบการเปลี่ยนแปลงถึงหกสิบสี่แบบ จนกลายมาเป็นแม่แบบของวิชาฮวงจุ้ยหกสิบสี่ข่วยด้วยนั่นเอง ด้วยรูปแบบแห่งความจริง ของการเปลี่ยนแปลงหกสิบสี่แบบนี้เอง มันคือความจริงแท้ที่เดินคู่กับชีวิตคนเรา "อี้จิง" จึงสามารถชี้เส้นทางเดินที่ถูกต้องให้คนเราได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ[ต้องการอ้างอิง]

หลักการ[แก้]

อี้จิง

หลักการอ่านของวิชาอี้จิงมีหลายแบบ แต่โดยหลักใหญ่คือ เราต้องหาวิธีผู่กว้าหรือการขึ้นรูปแบบของกว้า ซึ่งประกอบไปด้วยเส้นหกเส้นให้ได้เสียก่อน โดยการขึ้นกว้านี้ ไม่มีรูปแบบที่ตายตัว สามารถขึ้นได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเห็นคนเดินมาแล้ว เราก็ตีความหมายมาเป็นกว้า หรือการโยนเหรียญ แล้วนำมาขึ้นกว้า หรือการใช้วันเดือนปีและเวลาปัจจุบัน มาตั้งกว้า ก็ถูกต้องทั้งหมด ที่บอกว่าถูกต้องทั้งหมด เพราะการขึ้นกว้า จุดประสงค์เพื่อต้องการอ่านเรื่องราวที่เราต้องการ โดยผู้ถามต้องมีความสัมพันธ์กับเรื่องนั้นด้วย จึงจะสามารถทำให้การอ่านนั้นถูกต้องได้ หลักเบื้องต้นของการอ่านความหมายของ "อี้จิง" ต้องรู้ความหมายของข่วยเสียก่อน ซึ่งหากมีความรู้เกี่ยวกับฮวงจุ้ย อาจจะได้เปรียบในจุดนี้

กำเนิดอี้จิง[แก้]

เมื่อครั้งบรรพกาล กษัตริย์อวี่ ประสบปัญหาอุทกภัย มีมังกรแบกภาพใบหนึ่งโผล่มาจากแม่น้ำฮวงโห (ภาพเหอถู) ตะพาบวิเศษก็คาบหนังสือเล่มหนึ่งขึ้นจากลำน้ำลั่วสุ่ย (ตำราลั่วซู) อวี่อาศัยภาพและตำรา ปรับเปลี่ยนขุนเขาทางน้ำแก้ปัญหาอุทกภัยทั้งเก้าแคว้นสำเร็จ หลังจากนั้น ก็อาศัยภาพเหอถูและความรู้จากการขจัดอุทกภัย เขียนตำราเหลียงซานขึ้นเป็นความหมายว่าเชื่อมต่อแม่น้ำภูเขา

เมื่อกษัตริย์อวี่เสียชีวิต บุตรชายคือเซี่ยฉี ก็ขึ้นเป็นกษัตริย์ราชวงศ์เซี่ย เทิดทูนตำราเหลียงซานเป็นคัมภีร์วิเศษ ใช้เสี่ยงทายทำนายโชคเคราะห์ต่อมา ซางทังล้มล้างราชวงศ์เซี่ย ก่อตั้งราชวงศ์ซางขึ้น ตำราเหลียงซานตกอยู่ในมือมหาเสนาบดีนามอีอิน ทำการปรับปรุ่งกลายเป็นตำรากุยฉัง หมายความว่าสรรพสิ่งของฟ้าดินล้วนเก็บซ่อนอยู่ภายใน ต่อมาใช้เป็นเครื่องมือทำนายโชคเคราะห์

ปลายราชวงศ์ซาง ติ้วอ๋องจับกุมจีซาง ไว้ในสถานที่เรียกว่าเซียงหลี่ จีซางเป็นคนชาญฉลาดระหว่างที่ถูกขังทำการศึกษาตำรากุยฉัง จนจัดทำตำราโจวอี้ ซึ่งอีกชื่อนึงคือ อี้จิง ครอบคลุมถึงความเปลี่ยนแปลงทั้งมวล สรุปแล้วตำราทั้งสามเล่มแม้มีชื่อผิดแผก แท้ที่จริงมีส่วนเกี่ยวเนื่องกัน

หมายเหตุ[แก้]

  1. *k-lˤeng (จิง , "คลาสสิก") ชื่อนี้ยังไม่ถูกใช้จนกระทั่งหลังราชวงศ์ฮั่น

อ้างอิง[แก้]