ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พรีเมียร์ลีก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Bigdas (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
0
บรรทัด 373: บรรทัด 373:
]]
]]
|<center>77</center>
|<center>77</center>
|................................
|{{flagicon |EGY}} [[โมฮัมเหม็ด ซาลาห์]] (Liverpool)
|32
|1
|}
|}



รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:41, 27 มกราคม 2562

สำหรับพรีเมียร์ลีกอื่นๆ ดูที่ พรีเมียร์ลีก (แก้ความกำกวม)
พรีเมียร์ลีก
ก่อตั้ง20 กุมภาพันธ์ 1992; 32 ปีก่อน (1992-02-20)
ประเทศ อังกฤษ (19 ทีม)
สโมสรอื่นจาก เวลส์ (1 ทีม)
สมาพันธ์ยูฟ่า
จำนวนทีม20
ระดับในพีระมิด1
ตกชั้นสู่อีเอฟแอลแชมเปียนชิป
ถ้วยระดับประเทศเอฟเอคัพ
เอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์
ถ้วยระดับลีกอีเอฟเอลคัพ
ถ้วยระดับนานาชาติยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก
ยูฟ่ายูโรปาลีก
ทีมชนะเลิศปัจจุบันแมนเชสเตอร์ซิตี (3 สมัย)
(2017–18)
ชนะเลิศมากที่สุดแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด (20 สมัย)
หุ้นส่วนโทรทัศน์อังกฤษ สกายสปอตส์, บีทีสปอตส์ (ถ่ายทอดสด)
สกายสปอตส์ & บีบีซี (ไฮไลต์)
ไทย บีอินสปอตส์, พีพีทีวี, ทรูวิชั่นส์
เว็บไซต์www.premierleague.com
ปัจจุบัน: ฤดูกาล 2018–19

พรีเมียร์ลีก (อังกฤษ: Premier League) เป็นระบบการแข่งขันฟุตบอลลีกในระดับสูงสุดของประเทศอังกฤษ ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) ภายใต้การบริหารของสมาคมฟุตบอลอังกฤษ การแข่งขันพรีเมียร์ลีกเป็นที่รวมของ 20 สโมสรฟุตบอลในระดับสูงสุดของอังกฤษเข้าด้วยกัน โดยปัจจุบันมีเพียง 6 ทีมเท่านั้น ที่ชนะเลิศ ในการแข่งขันรายการนี้ ได้แก่ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 13 สมัย, เชลซี 5 สมัย, อาร์เซนอล กับ แมนเชสเตอร์ซิตี ทีมละ 3 สมัย, แบล็กเบิร์นโรเวอส์ กับ เลสเตอร์ซิตี ทีมละ 1 สมัย

ประวัติ

เดิมฟุตบอลลีกแห่งนี้ ใช้ชื่อว่า ฟุตบอลลีกดิวิชันหนึ่ง ซึ่งมีจัดการแข่งขันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2431 (ค.ศ. 1888) และถือว่าเคยเป็นลีกฟุตบอลที่ยาวนานที่สุดในโลก โดยในปี พ.ศ. 2535 ในฤดูกาล 1992-93 ความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญเกิดขึ้นจากรูเพิร์ธ เมอร์ด็อก (Rupert Murdoch) นักธุรกิจสื่อสารรายใหญ่เจ้าของเครือข่ายสถานีโทรทัศน์สกาย (BSkyB) พยายามผลักดันให้สโมสรฟุตบอลที่จะลงแข่งขันในดิวิชันหนึ่งประจำฤดูกาล 1992-93 ถอนตัวออกมาจัดตั้งเป็นพรีเมียร์ลีกทำให้ฟุตบอลลีกสูงสุดของอังกฤษที่มีอายุ 104 ปี ต้องยุติลง ขณะเดียวกันทางฟุตบอลลีกเดิมได้เปลี่ยนชื่อจาก ดิวิชันสอง มาเป็น ดิวิชันหนึ่ง และดิวิชันอื่นได้เปลี่ยนตามกันไป

ในช่วงนั้นเป็นช่วงเวลาที่วงการฟุตบอลอาชีพของอังกฤษตกต่ำอย่างมาก เกิดเหตุการณ์หลายอย่างที่ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของฟุตบอลอังกฤษ เช่น เหตุการณ์เพลิงไหม้อัฒจันทร์วันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2528 ที่สนามฟุตบอลของแบรดฟอร์ดซิตีในระหว่างการแข่งขัน มีผู้เสียชีวิต 56 คน เหตุการณ์ภัยพิบัติฮิลส์โบโรวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2532 ที่สนามฮิลส์โบโรของเชฟฟิลด์เวนส์เดย์ มีผู้คนเหยียบกันเสียชีวิต 96 คน นอกจากนี้ ภัยพิบัติเฮย์เซลซึ่งเกิดขึ้นระหว่างการแข่งขันฟุตบอลยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกรอบชิงชนะเลิศระหว่างลิเวอร์พูลและยูเวนตุสที่มีผู้เสียชีวิต 39 คน ทำให้ยูฟ่าสั่งห้ามไม่ให้สโมสรจากอังกฤษเข้าร่วมการแข่งขันชิงถ้วยสโมสรในยุโรปเป็นเวลา 5 ปี นอกจากนี้กลุ่มฮูลิแกนหรืออันธพาลลูกหนังที่ตามไปเชียร์ทีมที่ชื่นชอบก็ก่อพฤติกรรมเกะกะระรานหลังจบการแข่งขัน เข้าผับดื่มกินจนเมามาย บ้างก็วิวาทกับแฟนฟุตบอลเจ้าถิ่นเกิดเหตุการณ์วุ่นวายบางครั้งรุนแรงถึงขั้นจลาจลหรือไม่ก็มีคนเสียชีวิต โดยสาเหตุส่วนหนึ่งของภัยพิบัติเฮย์เซลก็มาจากคนกลุ่มนี้เช่นกัน ซึ่งทำให้แฟนฟุตบอลไม่สามารถชมการแข่งขันได้อย่างสงบสุข เนื่องด้วยกลัวจะถูกลูกหลง ประกอบกับสภาพสนามที่ย่ำแย่ ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวก หรือการป้องกันเหตุฉุกเฉินอย่างดีพอ ทำให้ชาวอังกฤษหลายคนตัดสินใจรับชมการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ที่บ้าน แทนที่จะเดินทางมาเชียร์ในสนามดังเช่นอดีต ช่วงทศวรรษ 1980 รายได้ของสโมสรจากค่าผ่านประตูซึ่งเป็นรายได้หลักได้ลดลงอย่างมาก มีเพียงสโมสรชั้นนำไม่กี่แห่งเท่านั้นที่ยังคงมีกำไร ในฤดูกาล 1986-87 ทุกสโมสรฟุตบอลมีกำไรสุทธิรวมเพียง 2.5 ล้านปอนด์ พอถึงฤดูกาล 1989-90 รวมทุกสโมสรขาดทุน 11 ล้านปอนด์ ทำให้นายทุนไม่กล้าจะเข้ามาลงทุนในธุรกิจกีฬาอาชีพนี้อย่างเต็มที่ หลายสโมสรในช่วงนั้นมีข่าวว่าใกล้จะล้มละลาย

ภายหลังเหตุการณ์ที่สนามฮิลส์โบโร รัฐบาลอังกฤษได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นสอบสวนเรื่องที่เกิดขึ้น โดยมีลอร์ดปีเตอร์ เทย์เลอร์ ผู้พิพากษาระดับรองประธานศาลฎีกา เป็นประธานคณะกรรมการ โดยผลการไต่สวนซึ่งเรียกว่ารายงานฉบับเทย์เลอร์ (Taylor Report) ได้กลายมาเป็นเอกสารสำคัญนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในวงการฟุตบอลอังกฤษ เพราะกำหนดให้ทุกสโมสรต้องปรับปรุงสนามแข่งขัน ที่สำคัญคืออัฒจันทร์ชมการแข่งขันต้องเป็นแบบนั่งทั้งหมด ห้ามมีอัฒจันทร์ยืนเพื่อความปลอดภัยของผู้ชมการแข่งขัน โดยทีมในระดับดิวิชัน 1 และ 2 ต้องปรับปรุงให้เสร็จในปี 2537 และ ดิวิชัน 3 และ 4 ให้เสร็จในปี 2542 ส่งผลให้การยืนชมฟุตบอลซึ่งเป็นวัฒนธรรมการชมฟุตบอลของคนอังกฤษมานานต้องจบลง รวมทั้งบางแห่งที่มีชื่อเสียงอย่างเช่นอัฒจันทร์เดอะค็อปของสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล ถึงแม้ว่าในประเทศอังกฤษจะมีสโมสรฟุตบอลทั้งอาชีพและสมัครเล่นมากที่สุดในโลก แต่สนามฟุตบอลส่วนใหญ่มีสภาพเก่าแก่ทรุดโทรม บางสโมสรในระดับดิวิชันหนึ่งหรือดิวิชันสองยังคงมีอัฒจันทร์ที่สร้างด้วยไม้ ทำให้การปรับปรุงสนามฟุตบอลของสโมสรฟุตบอลอังกฤษครั้งนี้ต้องใช้เงินลงทุนมหาศาล ท่ามกลางสถานะทางการเงินที่ไม่มั่นคงเพราะรายได้ลดลงอย่างมาก สโมสรเล็กบางแห่งซึ่งมีผู้ชมน้อยอยู่แล้วจึงใช้วิธีปิดตายอัฒจันทร์ยืน ส่วนสโมสรใหญ่ที่ฐานะการเงินดีกว่าก็ประสบปัญหาเช่นกัน เพราะไม่อาจใช้วิธีเลี่ยงปัญหาแบบสโมสรเล็กได้ รัฐบาลอังกฤษในขณะนั้นต้องเข้าช่วยเหลือโดยลดค่าธรรมเนียมหรือภาษีธุรกิจพนันฟุตบอล นำเงินส่วนนี้มาตั้งกองทุนฟุตบอลจำนวน 100 ล้านปอนด์ ให้ฟุตบอลลีกเป็นคนจัดสรรให้สโมสรฟุตบอลซึ่งเป็นภาคีสมาชิกทั้ง 96 สโมสร นำไปพัฒนาปรับปรุงสนามแข่งขันของตนเอง แต่งบประมาณเท่านี้ต้องนับว่าน้อยมาก หากนำมาเฉลี่ยอย่างเท่ากันแล้วจะได้รับเงินเพียงสโมสรละ 1.08 ล้านปอนด์เท่านั้น ขณะที่สโมสรฟุตบอลชั้นแนวหน้าของลีกต้องใช้เงินในการณ์นี้สูงถึงกว่าสิบล้านปอนด์ สโมสรใหญ่ในดิวิชันหนึ่งจึงกดดันฟุตบอลลีกจัดสรรเงินให้มากกว่าสโมสรเล็ก เพราะหากไม่เสร็จทันตามกำหนดอาจจะถูกถอนใบอนุญาตได้

กิจการถ่ายทอดทางโทรทัศน์

ในช่วงเวลาที่สโมสรใหญ่ต้องการเงินทุนมหาศาลนี้ เป็นโอกาสให้เจ้าของสถานีโทรทัศน์สกาย ยื่นข้อเสนอให้สโมสรในดิวิชันหนึ่งประจำฤดูกาล 1992−93 ให้ถอนตัวจากสมาชิกฟุตบอลลีกเพื่อมาจัดตั้งเอฟเอพรีเมียร์ลีก โดยทางสถานีขอซื้อสิทธิผูกขาดในการถ่ายทอดการแข่งขันในราคาแพง ทำสัญญาฉบับแรกซื้อสิทธิผูกขาดในการถ่ายทอดการแข่งขันเป็นเวลา 5 ปี (ฤดูกาล 1992−93 ถึง 1996−97) จ่ายค่าตอบแทนให้ 304 ล้านปอนด์ เทียบกับในอดีตที่ฟุตบอลลีกได้รายได้จากการขายสิทธิให้สถานีไอทีวีของอังกฤษ เพียง 44 ล้านปอนด์ ในช่วงเวลา 4 ปี เงื่อนไขตอบแทนทางธุรกิจเช่นนี้ ดึงดูดให้สโมสรทั้งหลายสนใจเป็นอย่างยิ่ง จนผู้บริหารสโมสรบางคน เช่น นายแอลัน ชูการ์ เจ้าของสโมสรฟุตบอลทอตนัมฮอตสเปอร์ แสดงตนเป็นแกนนำในการล็อบบี้ให้สโมสรอื่น ๆ ในดิวิชันหนึ่งที่จะเริ่มแข่งขันในฤดูกาล 1992−93 เห็นชอบกับการก่อตั้งลีกแห่งนี้

สำหรับลิขสิทธิ์การเผยแพร่ในประเทศไทย ในช่วงฤดูกาล 2013−14, 2014−15 และ 2015−16 เป็นของบริษัท ซีทีเอช จำกัด (มหาชน) หน่วยงานกลางของกลุ่มผู้ประกอบการโทรทัศน์ผ่านสายเคเบิลระดับท้องถิ่น โดยต่อเนื่องมาจากบริษัท ทรูวิชันส์ จำกัด (มหาชน) ผู้ประกอบการโทรทัศน์ผ่านสายเคเบิลทั่วประเทศ ในเครือบริษัท ทรูคอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) ซึ่งถือลิขสิทธิ์ตั้งแต่ฤดูกาล 2007−08 จนถึง 2012−13 โดยต่อมาในปี 2016/2017 จนถึง 2018/2019 ช่องบีอินสปอตส์ได้ลิขสิทธิ์การถ่ายทอดดังกล่าว

การจัดตั้ง

17 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 มีการลงนามข้อตกลงภาคีสมาชิกก่อตั้ง (Founder Members Agreement) เพื่อวางหลักการสำคัญในการจัดตั้งพรีเมียร์ลีก ได้แก่ ระบบลีกสูงสุดใหม่นี้จะดำเนินการทางธุรกิจด้วยตนเอง ทำให้พรีเมียร์ลีกมีอิสระที่จะเจรจาผลประโยชน์กับผู้สนับสนุน รวมทั้งสิทธิในการขายสิทธิถ่ายทอดโทรทัศน์ของตนเอง แยกขาดจากสมาคมฟุตบอลอังกฤษและฟุตบอลลีก จากนั้นในปี พ.ศ. 2535 ทั้ง 20 สโมสรได้ยื่นขอถอนตัวจากฟุตบอลลีกอย่างเป็นทางการ

ต่อมา 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 เอฟเอพรีเมียร์ลีกจึงก่อตั้งโดยจดทะเบียนในรูปบริษัทจำกัด มีสโมสรฟุตบอลสมาชิกทั้ง 20 แห่งเป็นหุ้นส่วน ความเป็นหุ้นส่วนจึงขึ้นอยู่กับผลการแข่งขันทางสโมสร หากทีมใดยังคงอยู่ในพรีเมียร์ลีกก็จะถือเป็นหุ้นส่วนของพรีเมียร์ลีกต่อไป ในช่วงปิดฤดูกาลสโมสรที่ตกชั้นจะต้องมอบสิทธิความเป็นหุ้นส่วนให้กับสโมสรที่เลื่อนชั้นมาจากดิวิชั่น 2 ที่เปลี่ยนชื่อเป็นดิวิชั่น 1 (ลีกแชมเปียนชิปในปัจจุบัน) โดยมีสมาคมฟุตบอลอังกฤษถือสิทธิเป็นหุ้นส่วนหลัก มีอำนาจที่จะคัดค้านในประเด็นสำคัญ เช่น การแต่งตั้งประธานกรรมการและผู้บริหารระดับสูง หลักการเลื่อนชั้นหรือตกชั้นของสโมสรเท่านั้น แต่ไม่อาจล่วงไปถึงกิจการเฉพาะของพรีเมียร์ลีก ซึ่งได้แก่เงื่อนไขและผลประโยชน์เชิงพาณิชย์ต่าง ๆ

ด้วยค่าตอบแทนจากการถ่ายทอดโทรทัศน์และประโยชน์ที่ได้รับจากผู้สนับสนุนการแข่งขัน ทำให้พรีเมียร์ลีกพัฒนาเป็นลีกฟุตบอลภายในประเทศที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

การซื้อตัวผู้เล่นต่างชาติ

การแข่งขัน แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด กับ ทอตนัมฮอตสเปอร์

จารีตอันยาวนานของสโมสรฟุตบอลอังกฤษในเรื่องนักฟุตบอลของทีมคือ แต่ละสโมสรจะส่งตัวแทนค้นหาเยาวชนที่มีความสามารถทางการเล่นฟุตบอลเพื่อนำมาฝึกหัดพัฒนาทักษะ โดยให้ลงเล่นตั้งแต่ในทีมระดับเยาวชน สมัครเล่น หรือทีมสำรอง ผู้ที่มีความโดดเด่นจะได้รับคัดเลือกให้ลงเล่นในทีมชุดใหญ่ซึ่งลงแข่งในฟุตบอลลีก หากจะมีการซื้อตัวผู้เล่น ก็มักจะมาจากสโมสรในดิวิชันหนึ่ง (เดิม) ซื้อตัวผู้เล่น ดาวรุ่ง จากดิวิชันที่ต่ำกว่าหรือจากสโมสรสมัครเล่นนอกลีก มีน้อยมากที่ซื้อนักฟุตบอลต่างชาติ (ไม่นับรวม สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์) ต่างจากสโมสรฟุตบอลอาชีพทางยุโรปตอนใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสโมสรฟุตบอลในอิตาลีและสเปน ซึ่งมักจะได้รับฉายาว่า เจ้าบุญทุ่ม บ่อยครั้งที่สโมสรฟุตบอลจากสองประเทศนี้จ่ายเงินมหาศาล จนถึงขั้นสร้างสถิติโลกในการซื้อตัวนักฟุตบอลต่างชาติเพียงหนึ่งคน

แต่เมื่อพรีเมียร์ลีกก่อกำเนิด ธรรมเนียมการกว้านซื้อตัวนักฟุตบอลต่างชาติของสโมสรฟุตบอลอังกฤษจึงเริ่มมีมากขึ้น จารีตการสร้างนักฟุตบอลของตัวเองแม้จะยังคงอยู่แต่ก็ลดความสำคัญลงไปทุกขณะ เพราะต้องใช้เวลายาวนานอาจไม่ทันการณ์ สู้ใช้เงินซื้อนักฟุตบอลชื่อดังระดับโลกมาร่วมสังกัดไม่ได้ ที่สามารถดึงดูดแฟนฟุตบอลให้ซื้อบัตรเข้าชมการแข่งขันมากขึ้นในเวลาอันสั้น ลีลาการเล่นที่ตื่นเต้นเร้าใจย่อมขยายฐานแฟนคลับให้กว้างขวางออกไปอย่างรวดเร็ว เมื่อสโมสรชั้นนำในพรีเมียร์ลีกต่างมีสถานะทางการเงินที่มั่นคงกว่าเดิม จึงพร้อมที่จะทำในสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์

รูปโฉมใหม่ของฟุตบอลอาชีพอังกฤษเปิดฉากขึ้น ในฤดูกาล 1994-95 เมื่อท็อตนัมฮอตสเปอร์ซี่ซื้อตัวเยือร์เกิน คลินส์มันน์ นักฟุตบอลทีมชาติเยอรมันจากโมนาโกในลีกฝรั่งเศส ทักษะและลีลาการเล่นฟุตบอลของคลินส์มันน์สร้างความตื่นตาตื่นใจต่อผู้ชม ทำให้เขากลายเป็นขวัญใจของกองเชียร์ในเวลาไม่นาน สร้างความพึงพอใจต่อสโมสรต้นสังกัดเป็นอย่างยิ่ง ความสำเร็จของทอตนัมฮอตสเปอร์กระตุ้นให้สโมสรอื่น กล้าลงทุนซื้อตัวนักฟุตบอลระดับโลกมากขึ้น เพราะรายรับที่ได้กลับคืนมาคุ้มค่ากับการลงทุน

ในฤดูกาลถัดมานักฟุตบอลต่างชาติได้มาเล่นในฟุตบอลอังกฤษมากขึ้น ในฤดูกาล 1995-96 มิดเดิลสโบรห์ซื้อจูนินโญ่และเอเมอร์สัน (บราซิล) นิวคาสเซิลยูไนเต็ดซื้อฟาอุสติโน อัสปริญา (โคลอมเบีย) อาร์เซนอลซื้อแด็นนิส แบร์คกัมป์ (ฮอลแลนด์) เชลซีซื้อรืด คึลลิต (ฮอลแลนด์) เป็นต้น ฤดูกาล 1996-97 มิดเดิลสโบรห์ซื้อฟาบรีซีโอ ราวาเนลลี (อิตาลี) เชลซีซื้อจันลูกา วีอัลลี และจันฟรังโก โซลา (อิตาลี) สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลซื้อแพทริก แบเกอร์ (สาธารณรัฐเช็ก) และอาร์เซนอลซื้อปาทริค วิเอร่า (ฝรั่งเศส) เป็นต้น โดยในฤดูกาล 1999-2000 เชลซีได้ส่งผู้เล่น 11 ตัวจริงลงเล่นโดยที่ไม่มีผู้เล่นของอังกฤษหรือประเทศในสหราชอาณาจักรปนอยู่เลยเป็นทีมแรก[1]

นอกจากนักฟุตบอลแล้ว ผู้จัดการทีมต่างชาติก็เข้ามามีบทบาทในพรีเมียร์ลีกจวบจนปัจจุบันนี้ ไม่ว่าจะเป็นอาร์แซน แวงแกร์, รืด คึลลิต, เฌราร์ อูลีเย, ราฟาเอล เบนีเตซ, โชเซ มูรีนโย ฯลฯ แม้แต่สโมสรฟุตบอลที่มีลักษณะอนุรักษนิยมสูง ดังเช่น ลิเวอร์พูล ที่ปรับตัวให้เข้ากับระบบใหม่ช้ากว่าคู่แข่งหลายทีม จนทำให้ยังไม่ประสบความสำเร็จในระดับแชมป์พรีเมียร์ลีก (ต่างจากยุคฟุตบอลลีก) และยังต้องปรับตัวต่อกระแสการซื้อตัวนักฟุตบอลและผู้จัดการทีมต่างชาติ เพื่อหวังจะครองแชมป์พรีเมียร์ลีกเป็นครั้งแรกให้ได้

อาจกล่าวได้ว่าในขณะนี้ พรีเมียร์ลีกเป็นลีกฟุตบอลภายในประเทศที่ดีที่สุดแห่งหนึ่ง ดึงดูดนักฟุตบอลชั้นดีให้มาประกอบวิชาชีพไม่ต่างจากเซเรียอาของประเทศอิตาลี หรือลาลีกาของประเทศสเปน ตัวชี้วัดคุณภาพที่ดีที่สุดคือนักฟุตบอลที่เข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลโลก 2002 ซึ่งเกาหลีใต้-ญี่ปุ่น เป็นเจ้าภาพ มีจำนวน 101 คนที่เล่นฟุตบอลในอังกฤษ และปัจจุบันมีนักฟุตบอลต่างชาติในพรีเมียร์ลีกมากกว่า 290 คน[2][3][4][5]

รูปแบบการแข่งขัน

การแข่งขัน

มีสโมสรร่วมกันแข่งขันในพรีเมียร์ลีก 20 ทีม ในช่วงระหว่างฤดูกาล (ตั้งแต่สิงหาคมถึงพฤษภาคม) โดยแต่ละทีมจะพบกันหมด เหย้าและเยือน ทีมชนะได้ 3 คะแนน ทีมเสมอได้ 1 คะแนน และทีมแพ้ไม่ได้คะแนน ตลอดฤดูกาลทุกทีมจะต้องแข่งขันทั้งสิ้น 38 นัด ทีมจะถูกจัดอันดับโดยเรียงจาก คะแนน, ผลประตูได้เสียและผลประตูรวม หากยังคงเท่ากันทีมจะถือว่าครองตำแหน่งเดียวกัน หากมีการเสมอกันในการตกชั้นสู่การแข่งขันลีกแชมเปียนชิป หรือ การคัดเลือกไปยังการแข่งขันอื่น ๆ จำเป็นต้องมีการแข่งขันเพลย์ออฟที่สนามกลางเพื่อตัดสินอันดับ[6]

การเลื่อนชั้นและการตกชั้น

มีระบบการเลื่อนชั้นและการตกชั้น ระหว่าง พรีเมียร์ลีก และ อีเอฟแอลแชมเปียนชิป โดยสามทีมที่ได้อันดับต่ำสุดในพรีเมียร์ลีก จะต้องตกชั้นไปเล่นใน แชมเปียนชิป และ ทีมที่อันดับสูงที่สุดสองทีมในแชมเปียนชิปจะเลื่อนชั้นไป พรีเมียร์ลีก[7] พร้อมกับอีกหนึ่งทีมที่มาจากการชนะเลิศในการแข่งขันเพลย์-ออฟระหว่างอันดับที่ 3, 4, 5 และ 6[8] แต่เดิมพรีเมียร์ลีกมี 22 ทีมตั้งแต่ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1992 แต่ลดลงเหลือ 20 ทีม เมื่อปี ค.ศ. 1995[9]

การคัดเลือกไปยังการแข่งขันอื่น

4 ทีมที่อันดับดีสุดจะได้ผ่านเข้าไปเล่นในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก โดยสี่ทีมอันดับแรกจะผ่านเข้าไปรอในรอบแบ่งกลุ่ม (ทีมชนะเลิศได้อยู่โถ 1) ส่วนอันดับ 5 จะได้เล่นยูฟ่ายูโรปาลีก (ยูฟ่า คัพ เดิม) และทีมที่ชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลถ้วยภายในประเทศก็จะได้สิทธิ์ไปเล่นในยูโรปาลีก โดยอัตโนมัติเช่นกัน ในกรณีที่ทีมอันดับ 1-4 ชนะการแข่งขันฟุตบอลถ้วยภายในประเทศ สิทธิ์การแข่งยูฟ่ายูโรปาลีก จะได้แก่อันดับ 6 และ 7 ของพรีเมียร์ลีกแทน

ทีมพรีเมียร์ลีกที่ได้สิทธิไปแข่งฟุตบอลยุโรป มีเงื่อนไขดังนี้[10]

  • แชมป์พรีเมียร์ลีก : ผ่านเข้าไปเล่นในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกในรอบแบ่งกลุ่มและได้อยู่โถ 1
  • รองแชมป์พรีเมียร์ลีก : ผ่านเข้าไปเล่นในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกในรอบแบ่งกลุ่ม
  • อันดับที่ 3 : ผ่านเข้าไปเล่นในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกในรอบแบ่งกลุ่ม
  • แชมป์ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก : ผ่านเข้าไปเล่นในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกในรอบแบ่งกลุ่มและได้อยู่โถ 1
  • แชมป์ยูฟ่ายูโรปาลีก : ผ่านเข้าไปเล่นในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกในรอบแบ่งกลุ่ม
  • อันดับที่ 4 : ผ่านเข้าไปเล่นในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกในรอบแบ่งกลุ่ม
  • แชมป์เอฟเอคัพ : ผ่านเข้าไปเล่นในยูฟ่ายูโรปาลีกในรอบแบ่งกลุ่ม
  • อันดับที่ 5 : ผ่านเข้าไปเล่นในยูฟ่ายูโรปาลีกในรอบแบ่งกลุ่ม

บิ๊กซิก

6ทีมใหญ่ ที่มีสิทธิ์ลุ้นแชมป์ รายการนี้ ได้แก่ แมนเชอร์เตอร์ยูไนเต็ด แมนเชสเตอร์ซิตี ลิเวอร์พูล เชลซี อาร์เซนอล และ ทอตนัมฮอตสเปอร์

ผู้สนับสนุนหลัก

รายชื่อผู้สนับสนุนหลักในรายการแข่งขันฤดูกาลต่างๆ

สโมสร

มีสโมสรจำนวน 49 สโมสรที่เคยเล่นในพรีเมียร์ลีกตั้งแต่ลีกก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1992 จนถึงฤดูกาลปัจจุบัน[11]

สโมสรที่ชนะเลิศ

ปี ชนะเลิศ
(number of titles)
คะแนน รองชนะเลิศ คะแนน ที่ 3 คะแนน ผู้ทำประตู ประตู
1992–93 แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด (8)
84
แอสตันวิลลา
74
นอริช ซิตี
72
อังกฤษ เท็ดดี้ เชอริงแฮม (Nottingham / Tottenham) 22
1993–94 แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด (9)
92
แบล็กเบิร์นโรเวอส์
84
นิวคาสเซิล ยูไนเต็ด
77
อังกฤษ แอนดรูว์ โคล (Newcastle United) 34
1994–95 แบล็กเบิร์นโรเวอส์ (3)
89
แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด
88
นอตทิงแฮมฟอเรสต์
77
อังกฤษ แอลัน เชียเรอร์ (Blackburn Rovers) 34
1995–96 แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด (10)
82
นิวคาสเซิล ยูไนเต็ด
78
ลิเวอร์พูล
71
อังกฤษ แอลัน เชียเรอร์ (Blackburn Rovers) 31
1996–97 แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด (11)
75
นิวคาสเซิล ยูไนเต็ด
68
อาร์เซนอล
68
อังกฤษ แอลัน เชียเรอร์ (Newcastle United) 25
1997–98 อาร์เซนอล (11)
78
แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด
77
ลิเวอร์พูล
65
อังกฤษ Chris Sutton (Blackburn Rovers)
อังกฤษ Dion Dublin (Coventry City)
อังกฤษ ไมเคิล โอเวน (Liverpool)
18
1998–99 แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด[7] (12)
79
อาร์เซนอล
78
เชลซี
75
เนเธอร์แลนด์ จิมมี โฟลยด์ ฮัสเซิลบังก์ (Leeds United)
อังกฤษ ไมเคิล โอเวน (Liverpool)
ตรินิแดดและโตเบโก ดไวต์ ยอร์ก (Manchester United)
18
1999–2000 แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด (13)
91
อาร์เซนอล
73
ลีดส์ ยูไนเต็ด
69
อังกฤษ เควิน ฟิลลิปส์ (Sunderland) 30
2000–01 แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด (14)
80
อาร์เซนอล
70
ลิเวอร์พูล
69
เนเธอร์แลนด์ จิมมี โฟลยด์ ฮัสเซิลบังก์ (Chelsea) 23
2001–02 อาร์เซนอล (12)
87
ลิเวอร์พูล
80
แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด
77
ฝรั่งเศส ตีแยรี อ็องรี (Arsenal) 24
2002–03 แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด (15)
83
อาร์เซนอล
78
นิวคาสเซิล ยูไนเต็ด
69
เนเธอร์แลนด์ รืด ฟัน นิสเติลโรย (Manchester United) 25
2003–04 อาร์เซนอล[1] (13)
90
เชลซี
79
แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด
75
ฝรั่งเศส ตีแยรี อ็องรี (Arsenal) 30
2004–05 เชลซี[4] (2)
95
อาร์เซนอล
83
แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด
77
ฝรั่งเศส ตีแยรี อ็องรี (Arsenal) 25
2005–06 เชลซี (3)
91
แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด
83
ลิเวอร์พูล
82
ฝรั่งเศส ตีแยรี อ็องรี (Arsenal) 27
2006–07 แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด (16)
89
เชลซี
83
ลิเวอร์พูล
68
โกตดิวัวร์ ดีดีเย ดรอกบา (Chelsea) 20
2007–08 แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด (17)
87
เชลซี
85
อาร์เซนอล
83
โปรตุเกส คริสเตียโน โรนัลโด (Manchester United) 31
2008–09 แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด[4] (18)
90
ลิเวอร์พูล
86
เชลซี
83
ฝรั่งเศส นีกอลา อาแนลกา (Chelsea) 19
2009–10 เชลซี (4)
86
แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด
85
อาร์เซนอล
75
โกตดิวัวร์ ดีดีเย ดรอกบา (Chelsea) 29
2010–11 แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด (19)
80
เชลซี
71
แมนเชสเตอร์ ซิตี
71
บัลแกเรีย ดีมีตาร์ เบร์บาตอฟ (Manchester United)
อาร์เจนตินา การ์โลส เตเบซ (Manchester City)
20
2011–12 แมนเชสเตอร์ ซิตี (3)
89
แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด
89
อาร์เซนอล
70
เนเธอร์แลนด์ โรบิน ฟัน แปร์ซี (Arsenal) 30
2012–13 แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด (20)
89
แมนเชสเตอร์ ซิตี
78
เชลซี
75
เนเธอร์แลนด์ โรบิน ฟัน แปร์ซี (Manchester United) 26
2013–14 แมนเชสเตอร์ ซิตี[4] (4)
86
ลิเวอร์พูล
84
เชลซี
82
อุรุกวัย ลุยส์ ซัวเรซ (Liverpool) 31
2014–15 เชลซี[4] (5)
87
แมนเชสเตอร์ ซิตี
79
อาร์เซนอล
75
อาร์เจนตินา เซร์คีโอ อะกูเอโร (Manchester City) 26
2015–16 เลสเตอร์ ซิตี(1)
81
อาร์เซนอล
71
ทอตนัมฮอตสเปอร์
70
อังกฤษ แฮร์รี เคน (Tottenham Hotspur) 25
2016–17 เชลซี(6)
93
ทอตนัมฮอตสเปอร์
86
แมนเชสเตอร์ ซิตี
78
อังกฤษ แฮร์รี เคน (Tottenham Hotspur) 29
2017–18 แมนเชสเตอร์ ซิตี(5)
100
แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด
81
ทอตนัมฮอตสเปอร์
77
................................ 1

ทีมชนะเลิศแบ่งตามสโมสร

สโมสร ชนะ ปีที่ชนะ
แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 13 1992–93, 1993–94, 1995–96, 1996–97, 1998–99, 1999–2000, 2000–01, 2002–03, 2006–07, 2007–2008, 2008–09, 2010–11, 2012–13
เชลซี 5 2004–05, 2005–06, 2009–10, 2014–15, 2016–17
อาร์เซนอล 3 1997–98, 2001–02, 2003–04
แมนเชสเตอร์ซิตี 2011–12, 2013–14, 2017–18
แบล็กเบิร์นโรเวอส์ 1 1994–95
เลสเตอร์ซิตี 2015–16

ฤดูกาล 2018–19

สโมสรต่อไปนี้จำนวน 20 สโมสรจะแข่งขันกันในฤดูกาล 2018–19

สโมร อันดับใน
2017–18
ฤดูกาลแรกใน
ดิวิชันสูงสุด
ฤดูกาลแรกใน
พรีเมียร์ลีก
จำนวนฤดูกาล
ที่อยู่ใน
ดิวิชันสูงสุด
จำนวนฤดูกาล
ที่อยู่ใน
พรีเมียร์ลีก
ฤดูกาลแรกที่อยู่บน
ดิวิชันสูงสุดแล้ว
ยังอยู่ถึงปัจจุบัน
จำนวนครั้ง
ที่ชนะเลิศใน
ดิวิชันสูงสุด
ชนะเลิศ
ครั้งสุดท้ายใน
ดิวิชันสูงสุด
อาร์เซนอลa, b &00000000000000060000006th 1904–05 1992–93 102 27 1919–20 13 2003–04
บอร์นมัทb &000000000000001200000012th 2015–16 2015–16 4 4 2015–16 0 n/a
ไบรตันแอนด์โฮฟอัลเบียนb &000000000000001500000015th 1979–80 2017–18 6 2 2017–18 0 n/a
เบิร์นลีย์c &00000000000000070000007th 1888–89 2009–10 56 5 2016–17 2 1959–60
คาร์ดิฟฟ์ซิตีd &00000000000000190000002nd ใน แชมเปียนชิป 1921–22 2013–14 17 2 2018–19 0 n/a
เชลซีa, b &00000000000000050000005th 1907–08 1992–93 84 27 1989–90 6 2016–17
คริสตัลพาเลซa &000000000000001100000011th 1969–70 1992–93 19 10 2013–14 0 n/a
เอฟเวอร์ตันa, b, c &00000000000000080000008th 1888–89 1992–93 116 27 1954–55 9 1986–87
ฟูลัม &00000000000000200000003rd ใน แชมเปียนชิป 1949–50 2001–02 26 14 2018–19 0 n/a
ฮัดเดอส์ฟิลด์ทาวน์b &000000000000001600000016th 1920–21 2017–18 33 2 2017–18 3 1925–26
เลสเตอร์ซิตี &00000000000000090000009th 1908–09 1994–95 50 13 2014–15 1 2015–16
ลิเวอร์พูลa, b &00000000000000040000004th 1894–95 1992–93 104 27 1962–63 18 1989–90
แมนเชสเตอร์ซิตีa &00000000000000010000001st 1899–1900 1992–93 90 22 2002–03 5 2017–18
แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดa, b &00000000000000020000002nd 1892–93 1992–93 94 27 1975–76 20 2012–13
นิวคาสเซิลยูไนเต็ด &000000000000001000000010th 1898–99 1993–94 87 24 2017–18 4 1926–27
เซาแทมป์ตันa &000000000000001700000017th 1966–67 1992–93 42 20 2012–13 0 n/a
ทอตนัมฮอตสเปอร์a, b &00000000000000030000003rd 1909–10 1992–93 84 27 1978–79 2 1960–61
วอตฟอร์ต &000000000000001400000014th 1982–83 1999–2000 12 6 2015–16 0 n/a
เวสต์แฮมยูไนเต็ด &000000000000001300000013th 1923–24 1993–94 61 23 2012–13 0 n/a
วุลเวอร์แฮมป์ตันวอนเดอเรอส์c &00000000000000180000001st ใน แชมเปียนชิป 1888–89 2003–04 64 5 2018–19 3 1958–59

a: สโมสรก่อตั้งพรีเมียร์ลีก
b: ไม่เคยตกชั้นจากพรีเมียร์ลีก
c: หนึ่งใน 12 ทีมดั้งเดิมในฟุตบอลลีก
d: สโมสรจากเวลส์

แผนที่

สโมสรอื่น

สโมสรต่อไปนี้ไม่ได้แข่งขันใน พรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2018–19 แต่เคยแข่งขันในพรีเมียร์ลีกอย่างน้อยหนึ่งฤดูกาล

สโมสร ลีกปัจจุบัน อันดับใน
ฤดูกาล 2017–18
ฤดูกาลแรกใน
ดิวิชันสูงสุด
ฤดูกาลแรกใน
พรีเมียร์ลีก
ฤดูกาลล่าสุด
ที่เล่นใน
พรีเมียร์ลีก
จำนวนฤดูกาล
ที่อยู่ใน
ดิวิชันสูงสุด
จำนวนฤดูกาล
ที่อยู่ใน
พรีเมียร์ลีก
จำนวนครั้ง
ที่ชนะเลิศใน
ดิวิชันสูงสุด
ชนะเลิศ
ครั้งสุดท้ายใน
ดิวิชันสูงสุด
แอสตันวิลลาa, b แชมเปียนชิป &00000000000000040000004th 1888–89 1992–93 2015–16 104 24 7 1980–81
บาร์นสลีย์ ลีกวัน &000000000000002000000022nd ใน แชมเปียนชิป 1997–98 1997–98 1997–98 1 1 0 n/a
เบอร์มิงแฮมซิตี แชมเปียนชิป &000000000000001500000019th 1894–95 2002–03 2010–11 57 7 0 n/a
แบล็กเบิร์นโรเวอส์a, b แชมเปียนชิป &00000000000000180000002nd ใน ลีกวัน 1888–89 1992–93 2011–12 72 18 3 1994–95
แบล็กพูล ลีกวัน &000000000000002500000012th 1930–31 2010–11 2010–11 28 1 0 n/a
โบลตันวอนเดอเรอส์b แชมเปียนชิป &000000000000001700000021st 1888–89 1995–96 2011–12 61 13 0 n/a
แบรดฟอร์ดซิตี ลีกวัน &000000000000002400000011th 1908–09 1999–2000 2000–01 12 2 0 n/a
ชาร์ลตันแอทเลติก ลีกวัน &00000000000000220000006th 1936–37 1998–99 2006–07 27 8 0 n/a
คอเวนทรีซิตีa ลีกวัน &00000000000000260000006th ใน ลีกทู 1967–68 1992–93 2000–01 34 9 0 n/a
ดาร์บีเคาน์ตีb แชมเปียนชิป &00000000000000060000006th 1888–89 1996–97 2007–08 65 7 2 1974–75
ฮัลล์ซิตี แชมเปียนชิป &000000000000001400000018th 2008–09 2008–09 2016–17 5 5 0 n/a
อิปสวิชทาวน์a แชมเปียนชิป &000000000000000800000012th 1961–62 1992–93 2001–02 26 5 1 1961–62
ลีดส์ยูไนเต็ดa แชมเปียนชิป &000000000000000900000013th 1924–25 1992–93 2003–04 50 12 3 1991–92
มิดเดิลส์เบรอa แชมเปียนชิป &00000000000000050000005th 1902–03 1992–93 2016–17 62 15 0 n/a
นอริชซิตีa แชมเปียนชิป &000000000000001000000014th 1972–73 1992–93 2015–16 26 8 0 n/a
นอตทิงแฮมฟอเรสต์a แชมเปียนชิป &000000000000001300000017th 1892–93 1992–93 1998–99 56 5 1 1977–78
โอลดัมแอทเลติกa ลีกทู &000000000000002700000021st ใน ลีกวัน 1910–11 1992–93 1993–94 12 2 0 n/a
พอร์ตสมัท ลีกวัน &00000000000000230000008th 1927–28 2003–04 2009–10 33 7 2 1949–50
ควีนส์พาร์กเรนเจอส์a แชมเปียนชิป &000000000000001200000016th 1968–69 1992–93 2014–15 23 7 0 n/a
เรดิง แชมเปียนชิป &000000000000001600000020th 2006–07 2006–07 2012–13 3 3 0 n/a
เชฟฟีลด์ยูไนเต็ดa แชมเปียนชิป &000000000000000700000010th 1893–94 1992–93 2006–07 61 3 3 1897–98
เชฟฟีลด์เวนส์เดย์a แชมเปียนชิป &000000000000001100000015th 1892–93 1992–93 1999–2000 66 8 4 1929–30
สโตกซิตีb แชมเปียนชิป &000000000000000200000019th ใน พรีเมียร์ลีก 1888–89 2008–09 2017–18 63 10 0 n/a
ซันเดอร์แลนด์ ลีกวัน &000000000000002100000024th ใน แชมเปียนชิป 1890–91 1995–96 2016–17 87 13 6 1935–36
สวอนซีซิตีc แชมเปียนชิป &000000000000000100000018th ใน พรีเมียร์ลีก 1981–82 2011–12 2017–18 9 7 0 n/a
สวินดันทาวน์ ลีกทู &00000000000000280000009th 1993–94 1993–94 1993–94 1 1 0 n/a
เวสต์บรอมมิชอัลเบียนb แชมเปียนชิป &000000000000000300000020th ใน พรีเมียร์ลีก 1888–89 2002–03 2017–18 79 12 1 1919–20
วีแกนแอทเลติก แชมเปียนชิป &00000000000000180000001st ใน ลีกวัน 2005–06 2005–06 2012–13 8 8 0 n/a
วิมเบิลดันa ยุบ &0000000000000029000000ยุบ (2003–04) 1892–93 1992–93 1999–2000 14 8 0 n/a

a: สโมสรก่อตั้งพรีเมียร์ลีก
b: หนึ่งใน 12 ทีมดั้งเดิมในฟุตบอลลีก
c: สโมสรจากเวลส์

ลงเล่นสูงสุด

ณ วันที่ 9 พฤษภาคม 2018
อันดับ ชื่อ ลงเล่น
1 อังกฤษ แกเร็ท แบร์รี 653
2 เวลส์ ไรอัน กิกส์ 632
3 อังกฤษ แฟรงก์ แลมพาร์ด 609
4 อังกฤษ เดวิด เจมส์ 572
5 เวลส์ แกรี สปีด 535
6 อังกฤษ เอมีล เฮสกีย์ 516
7 ออสเตรเลีย มาร์ก ชวาร์เซอร์ 514
8 อังกฤษ เจมี คาร์เรเกอร์ 508
9 อังกฤษ ฟิล เนวิล 505
10 อังกฤษ สตีเวน เจอร์ราร์ด 504
อังกฤษ ริโอ เฟอร์ดินานด์

ตัวเอียง หมายถึงผู้เล่นที่ยังเล่นฟุตบอลอยู่

ตัวหนา หมายถึงผู้เล่นที่ยังเล่นฟุตบอลอยู่ในพรีเมียร์ลีก

ทำประตูสูงสุด

ณ วันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2018
อันดับ ชื่อ ปี ประตู ลงเล่น อัตราส่วน
1 อังกฤษ อลัน เชียเรอร์ 1992–2006 260 441 0.59
2 อังกฤษ เวย์น รูนีย์ 2002–2018 208 491 0.42
3 อังกฤษ แอนดรูว์ โคล 1992–2008 187 414 0.45
4 อังกฤษ แฟรงก์ แลมพาร์ด 1995–2015 177 609 0.29
5 ฝรั่งเศส ตีแยรี อ็องรี 1999–2007, 2012 175 258 0.68
6 อังกฤษ ร็อบบี ฟาวเลอร์ 1993–2009 163 379 0.43
7 อังกฤษ เจอร์เมน เดโฟ 2001–2003, 2004–2014, 2015– 162 496 0.33
8 อาร์เจนตินา เซร์ฆิโอ อาเกวโร 2011– 151 218 0.69
9 อังกฤษ ไมเคิล โอเวน 1996–2004, 2005–13 150 326 0.46
10 อังกฤษ เลส เฟอร์ดินานด์ 1992–2005 149 351 0.42

ตัวเอียง หมายถึงผู้เล่นที่ยังเล่นฟุตบอลอยู่

ตัวหนา หมายถึงผู้เล่นที่ยังเล่นฟุตบอลอยู่ในพรีเมียร์ลีก

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. "ยูโร 2016 ใครชนะใครแชมป์ 19 06 59 เบรก 1". ฟ้าวันใหม่. 19 June 2016. สืบค้นเมื่อ 20 June 2016.
  2. Northcroft, Jonathan (11 May 2008). "Breaking up the Premier League's Big Four". The Sunday Times. สืบค้นเมื่อ 26 May 2011.
  3. "The best of the rest". Soccernet. ESPN. 29 January 2007. สืบค้นเมื่อ 27 November 2007.
  4. "Alex McLeish says Aston Villa struggle to compete with top clubs". BBC Sport. British Broadcasting Corporation. 8 September 2011. สืบค้นเมื่อ 8 September 2011.
  5. Jolly, Richard (11 August 2011). "Changing dynamics of the 'Big Six' in Premier League title race". The National. สืบค้นเมื่อ 18 August 2013.
  6. "Barclays Premier League". Sporting Life. 365 Media Group. สืบค้นเมื่อ 26 November 2007.
  7. Baxter, Kevin (14 May 2016). "There are millions of reasons to want a promotion and avoid relegation in the English Premier League". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ 11 January 2018.
  8. Fisher, Ben (9 May 2018). "Fulham lead march of heavyweights in £200m Championship play-offs". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 19 July 2018.
  9. Miller, Nick (15 August 2017). "How the Premier League has evolved in 25 years to become what it is today". ESPN. สืบค้นเมื่อ 5 July 2018.
  10. ไขปม ตีตั๋วลุยยุโรปทีมแดน ผู้ดี
  11. "Clubs". Premier League. สืบค้นเมื่อ 25 January 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น

ขอบสนามพรีเมียร์ลีก ทางเฟซบุ๊ก