ฟุตบอลทีมชาติโบลิเวีย
ฉายา | ลาเบร์เด ("พวกสีเขียว")[1] | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
สมาคม | สหพันธ์ฟุตบอลโบลิเวีย (เอเฟเบเอเฟ) | |||||||
สมาพันธ์ | คอนเมบอล (อเมริกาใต้) | |||||||
หัวหน้าผู้ฝึกสอน | เซซาร์ ฟาริอัส | |||||||
กัปตัน | มาร์เซโล โมเรโน | |||||||
ติดทีมชาติสูงสุด | โรนัลด์ รัลเดส (102) | |||||||
ทำประตูสูงสุด | มาร์เซโล โมเรโน (25) | |||||||
สนามเหย้า | สนามกีฬาเอร์นันโด ซิเลส | |||||||
รหัสฟีฟ่า | BOL | |||||||
| ||||||||
อันดับฟีฟ่า | ||||||||
อันดับปัจจุบัน | 82 ![]() | |||||||
อันดับสูงสุด | 18 (กรกฎาคม ค.ศ. 1997) | |||||||
อันดับต่ำสุด | 115 (ตุลาคม ค.ศ. 2011) | |||||||
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก | ||||||||
![]() ![]() (ซานเตียโก ชิลี; 12 ตุลาคม 1926) | ||||||||
ชนะสูงสุด | ||||||||
![]() ![]() (ลาปาซ โบลิเวีย; 22 สิงหาคม 1993) ![]() ![]() (ลาปาซ โบลิเวีย; 3 มีนาคม 2000) | ||||||||
แพ้สูงสุด | ||||||||
![]() ![]() (ลิมา เปรู; 6 พฤศจิกายน 1927) ![]() ![]() (เซาเปาลู บราซิล; 10 เมษายน 1949) | ||||||||
ฟุตบอลโลก | ||||||||
เข้าร่วม | 3 (ครั้งแรกใน 1930) | |||||||
ผลงานดีที่สุด | รอบแบ่งกลุ่ม (1930, 1950, 1994) | |||||||
โกปาอาเมริกา | ||||||||
เข้าร่วม | 27 (ครั้งแรกใน 1926) | |||||||
ผลงานดีที่สุด | ชนะเลิศ (1963) | |||||||
คอนเฟเดอเรชันส์คัพ | ||||||||
เข้าร่วม | 1 (ครั้งแรกใน 1999) | |||||||
ผลงานดีที่สุด | รอบแบ่งกลุ่ม (1999) | |||||||
เกียรติยศ
|
ฟุตบอลทีมชาติโบลิเวีย (สเปน: Selección de fútbol de Bolivia) หรือรู้จักกันในชื่อ ลาเบร์เด (La Verde) เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนของประเทศโบลิเวีย ก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1926 ดำเนินการโดยสหพันธ์ฟุตบอลโบลิเวีย (Federación Boliviana de Fútbol, FBF) และเป็นหนึ่งใน 10 ชาติสมาชิกของสมาพันธ์ฟุตบอลอเมริกาใต้หรือคอนเมบอล
โบลิเวียเคยเข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลโลก 3 ครั้งในปี 1930, 1950 และ 1994 โดยในครั้งหลังสุด พวกเขาพ่ายแพ้ต่อแชมป์เก่าอย่างเยอรมนีในนัดเปิดสนาม 1–0 โบลิเวียไม่เคยผ่านรอบแรกของฟุตบอลโลกเลย และทำได้เพียงประตูเดียวในรายการแข่งขันนี้ อย่างไรก็ตาม พวกเขาชนะเลิศโกปาอาเมริกาหนึ่งสมัยที่จัดขึ้นในประเทศตัวเองเมื่อปี 1963 และจบอันดับรองชนะเลิศในเมื่อปี 1997 ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศตัวเองเช่นกัน ในโกปาอาเมริกา 2015 พวกเขาผ่านเข้าสู่รอบก่อนรองชนะเลิศของรายการนี้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ ค.ศ. 1997 หลังจากที่สามารถเอาชนะเอกวาดอร์ไปได้ 3–2 นอกจากนี้ ยังเป็นการชนะคู่แข่งในรายการนี้เป็นครั้งแรกของพวกเขานับตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1997 ที่พวกเขาเอาชนะเม็กซิโกในรอบรองชนะเลิศไปได้ 1–0[3]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "Famous Bolivian Footballers". Your Spanish Translation. สืบค้นเมื่อ 22 June 2014.
- ↑ "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. 22 ธันวาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2022.
- ↑ "Ecuador 2 − Bolivia 3". futbol.univision.com. Univision Communications Inc. 15 June 2015. สืบค้นเมื่อ 16 June 2015.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: ฟุตบอลทีมชาติโบลิเวีย |