สมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนีย
![]() | |
![]() สมาชิกโอเอฟซี | |
คําขวัญ | "An Ocean of Solidarity (มหาสมุทรแห่งความสมัครสมาน)" |
---|---|
ก่อตั้ง | 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1966 |
ประเภท | สมาพันธ์กีฬา |
สํานักงานใหญ่ | ![]() |
ภูมิภาคที่รับผิดชอบ | โอเชียเนีย |
สมาชิก | 14 ประเทศสมาชิก |
ภาษาทางการ | อังกฤษ |
![]() ![]() | |
รองประธาน | ![]() |
เลขาธิการ | ![]() |
เว็บไซต์ | www.oceaniafootball.com |
สมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนีย (อังกฤษ: Oceania Football Confederation, ฝรั่งเศส: Confédération du football d'Océanie) หรือ โอเอฟซี (OFC) เป็นสมาพันธ์ฟุตบอลที่ดูแลการจัดการแข่งขันฟุตบอลในพื้นที่ทวีปโอเชียเนีย โดยสมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนียเป็น 1 ใน 6 สมาคมที่จัดการแข่งขันฟุตบอลทั่วโลกของฟีฟ่า สมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนียก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1966 มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองออกแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ สมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนียจัดการแข่งขันภายในทวีปหลายรายการ ที่สำคัญคือ โอเอฟซีเนชันส์คัพ ฟุตบอลโลกรอบคัดเลือกโซนโอเชียเนีย โอเอฟซีวีเมนส์เนชันส์คัพและโอเอฟซี แชมเปียนส์ลีก ซึ่งผู้ชนะจะได้สิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก
ชาติสมาชิกของสมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนียเคยเข้าร่วมการแข่งขันรายการฟุตบอลโลก 4 ครั้ง โดยฟุตบอลทีมชาติออสเตรเลียผ่านการคัดเลือกเข้าแข่งขันฟุตบอลโลกในปี ค.ศ. 1974และ ค.ศ. 2006 และฟุตบอลทีมชาตินิวซีแลนด์ในปี ค.ศ. 1982และ ค.ศ. 2010 ในกรณีของฟุตบอลทีมชาติออสเตรเลีย แม้จะลาออกจากการเป็นสมาชิกของสมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนียและเข้าสมัครเป็นสมาชิกใหม่ของสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียในปี ค.ศ. 2006 แต่ในขณะนั้นฟุตบอลทีมชาติออสเตรเลียเข้าแข่งขันรอบคัดเลือกในเขตโอเชียเนีย จึงนับได้ว่าการเข้าแข่งขันฟุตบอลโลกในครั้งนั้นมาจากตัวแทนของทวีปโอเชียเนีย
ประวัติ[แก้]
สมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนียเป็นเพียงสมาพันธ์เดียวเท่านั้น ที่ไม่มีโควตาโดยตรงในการเข้าแข่งขันฟุตบอลโลกตามรูปแบบการแบ่งโควตาในปัจจุบัน ฟุตบอลทีมชาติออสเตรเลียเป็นชาติสมาชิกของสมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนียที่มีผลการแข่งขันดีที่สุดในการแข่งขันฟุตบอลโลก โดยสามารถเข้ารอบ 16 ทีมสุดท้ายในปี ค.ศ. 2006 ส่วนในอีก 3 ครั้งที่เหลือทั้งออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ไม่สามารถผ่านเข้าสู่รอบต่อไปได้ ในการแข่งขัน 13 นัดของชาติสมาชิกโอเอฟซี พบว่ามีเพียงนัดเดียวเท่านั้นที่ชาติสมาชิกโอเอฟซีได้รับชัยชนะ คือ ฟุตบอลทีมชาติออสเตรเลียชนะฟุตบอลทีมชาติญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 2006 3 - 1 ในขณะที่ฟุตบอลทีมชาตินิวซีแลนด์เป็นเพียงชาติเดียวที่ไม่พ่ายแพ้ต่อฟุตบอลทีมชาติอื่นในการแข่งขันฟุตบอลโลก ค.ศ. 2010 ที่แอฟริกาใต้ โดยเป็นผลเสมอทั้ง 3 นัด
ในส่วนการแข่งขันระดับทวีป ตัวแทนจากฟุตบอลทีมชาตินิวซีแลนด์เป็นผู้ชนะเลิศในการแข่งขันโอเอฟซีเนชันส์คัพ โอเอฟซี แชมเปียนส์ชิพรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปีและโอเอฟซี แชมเปียนส์ชิพรุ่นอายุต่ำกว่า 17 ปี มากกว่า 1 ครั้ง ในส่วนของฟุตบอลหญิง นิวซีแลนด์เป็นผู้ชนะเลิศการแข่งขับระดับทวีปทุกรายการที่สมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนียเป็นผู้จัด อย่างไรก็ตามในส่วนของฟุตซอล เมื่อออสเตรเลียออกจากการเป็นสมาชิกของสมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนียแล้ว ฟุตซอลทีมชาติหมู่เกาะโซโลมอนกลายมาเป็นทีมชาติที่แข็งแกร่งที่สุดในทวีป โดยเป็นผู้ชนะเลิศการแข่งขันฟุตซอลโอเชียเนียแชมเปียนส์ชิพทุกครั้งนับแต่นั้นมา สำหรับฟุตบอลชายหาด หมู่เกาะโซโลมอนมีโอกาสเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลชายหาดโลก 5 ครั้งติดต่อกัน ในขณะที่ตาฮีติเป็นชาติที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด โดยได้อันดับ 4 ในการแข่งขันปี ค.ศ. 2013
ในการแข่งขันระดับสโมสร สโมสรจากออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เป็นผู้ชนะเลิศการแข่งขันโอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก ซึ่งเป็นการแข่งขันระดับสโมสรที่สำคัญที่สุดของภูมิภาคทุกครั้ง ยกเว้นในปี ค.ศ. 2009 - 2010 เมื่อเฮการี ยูไนเต็ดจากประเทศปาปัวนิวกินีชนะการแข่งขันในปีนั้น
สมาชิก[แก้]
ชาติสมาชิก[แก้]
อดีตสมาชิก[แก้]
ออสเตรเลีย: สมาคมฟุตบอลออสเตรเลีย (FFA) เป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งสมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนียในปี ค.ศ. 1966 แต่ออกจากการเป็นสมาชิกในปี ค.ศ. 2006 เพื่อเข้าร่วมเป็นสมาชิกของสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย[15]
จีนไทเป: สมาคมฟุตบอลจีนไทเป (AFCT) เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนียในปี ค.ศ. 1975 หลังจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียขับออกจากการเป็นสมาชิกภาพ ฟุตบอลหญิงทีมชาติจีนไทเปเป็นผู้ชนะเลิศการแข่งขันโอเอฟซีวีเมนส์เนชันส์คัพ 2 ครั้ง ในปี ค.ศ. 1989 สมาคมฟุตบอลจีนไทเปเข้าร่วมเป็นสมาชิกของสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียอีกครั้ง[16]
สมาชิกสมทบ[แก้]
สมาคมฟุตบอลในทวีปโอเชียเนียเป็นสมาชิกสมทบของสมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนีย 3 ประเทศ โดยที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสมบูรณ์ของสมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนียและสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ จึงมีสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขันที่จัดโดยสมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนียเท่านั้น ไม่สามารถเข้าร่วมการแข่งขันที่จัดโดยสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศได้[17]
ประเทศ | สมาคม | ทีม | ปีก่อตั้ง | ปีที่เข้าร่วมโอเอฟซี |
---|---|---|---|---|
![]() |
สมาคมฟุตบอลเกาะนีอูเอ | ฟุตบอลชาย | 1960 | 1986 |
![]() |
สมาคมฟุตบอลตูวาลู | ฟุตบอลชาย ฟุตบอลหญิง ฟุตซอล |
1976 | 2006 |
![]() |
สมาคมฟุตบอลหมู่เกาะคิริบาส | ฟุตบอลชาย ฟุตซอล |
1979 | 2008 |
อดีตสมาชิกสมทบ[แก้]
อิสราเอล: สมาคมฟุตบอลอิสราเอล (AFI) เข้าร่วมเป็นสมาชิกสมทบของสมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนีย หลังจากออกจากการเป็นสมาชิกของสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย ในปี ค.ศ. 1991 สมาคมฟุตบอลอิสราเอลออกจากการเป็นสมาชิกสมทบของสมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนียและเข้าร่วมเป็นสมาชิกของยูฟ่า[18]
หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา : สมาคมฟุตบอลหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา (AFISN) เป็นสมาชิกสมทบของสมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนียจนถึงปี ค.ศ. 2009 หลังจากนั้นเป็นต้นมาเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย[19]
ปาเลา : สมาคมฟุตบอลปาเลา (AFP) เข้าเป็นสมาชิกสมทบของสมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนียในปี ค.ศ. 2007 ในปี ค.ศ. 2009 สมาคมฟุตบอลปาเลาแสดงความจำนงค์เข้าร่วมสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย โดยในขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ[19]
ไม่ได้เป็นสมาชิก[แก้]
หมู่เกาะมาร์แชลล์
ไมโครนีเซีย
นาอูรู
ปาเลา อดีตสมาชิกสมทบโอเอฟซี และกำลังอยู่ในระหว่างการขอเป็นสมาชิกเอเอฟซี
กวม เป็นสมาชิกเอเอฟซี
หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา อดีตสมาชิกสมทบโอเอฟซี ปัจจุบันเป็นสมาชิกเอเอฟซี
การแข่งขันที่จัดโดยโอเอฟซี[แก้]
- โอเอฟซีเนชันส์คัพ การแข่งขันระหว่างทีมชาติ
- โอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก การแข่งขันระหว่างทีมสโมสร
- โอเอฟซีเพรสสิเดนท์สคัพ การแข่งขันระหว่างทีมสโมสร
ทีมที่ผ่านเข้ารอบฟุตบอลโลก[แก้]
ชาย[แก้]
- เหตุการณ์
- 1930 – ไม่มี
- 1934 – ไม่มี
- 1938 – ไม่มี
- 1950 – ไม่มี
- 1954 – ไม่มี
- 1958 – ไม่มี
- 1962 – ไม่มี
- 1966 – ไม่มี
- 1970 – ไม่มี
- 1974 – ออสเตรเลีย
- 1978 – ไม่มี
- 1982 – นิวซีแลนด์
- 1986 – ไม่มี
- 1990 – ไม่มี
- 1994 – ไม่มี
- 1998 – ไม่มี
- 2002 – ไม่มี
- 2006 – ออสเตรเลีย
- 2010 – นิวซีแลนด์
- 2014 – ไม่มี
- 2018 – ไม่มี
- 2022 –
- 2026 –
หญิง[แก้]
ตารางต่อไปนี้แสดงถึงตัวแทนโอเอฟซีที่เข้าแข่งขันฟุตบอลโลกหญิง เรียงตามจำนวนครั้งที่เข้าร่วม
Team | ![]() 1991 |
![]() 1995 |
![]() 1999 |
![]() 2003 |
![]() 2007 |
![]() 2011 |
![]() 2015 |
![]() 2019 |
Total |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() |
GS | GS | GS | part of AFC | 3 | ||||
![]() |
GS | GS | GS | GS | GS | 5 |
อันดับทีมชาติ[แก้]
- Last updates:
Top men's national teams Rankings are calculated by FIFA. |
— | Top women's national teams Rankings are calculated by FIFA. | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
OFC | FIFA | Nation | Points | OFC | FIFA | Nation | Points | |
1 | 148 | ![]() |
188 | 1 | 16 | ![]() |
1839 | |
2 | 162 | ![]() |
152 | 2 | 49 | ![]() |
1480 | |
3 | 164 | ![]() |
144 | 3 | 85 | ![]() |
1292 | |
4 | 166 | ![]() |
132 | 4 | 93 | ![]() |
1258 | |
5 | 169 | ![]() |
120 | 5 | 94 | ![]() |
1252 | |
6 | 188 | ![]() |
60 | 6 | 104 | ![]() |
1185 | |
7 | 189 | ![]() |
60 | 7 | 113 | ![]() |
1144 | |
8 | 197 | ![]() |
33 | 8 | 114 | ![]() |
1138 | |
9 | 200 | ![]() |
17 | 9 | 148** | ![]() |
1238 | |
10 | 201 | ![]() |
13 | ![]() |
1139 | |||
11 | 206 | ![]() |
4 | ![]() |
1075 |
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "President". OFC. สืบค้นเมื่อ 15 June 2014.
- ↑ "Executive Committee". OFC. สืบค้นเมื่อ 15 June 2014.
- ↑ "General Secretariat". OFC. สืบค้นเมื่อ 15 June 2014.
- ↑ "About Fiji FA". สืบค้นเมื่อ 19 June 2014.
- ↑ "About Cook Islands Football Association". สืบค้นเมื่อ 19 June 2014.
- ↑ "Solomon Islands Football Federation". สืบค้นเมื่อ 20 June 2014.
- ↑ "Fédération Calédonienne de Football". สืบค้นเมื่อ 20 June 2014.
- ↑ "New Zealand Football". สืบค้นเมื่อ 20 June 2014.
- ↑ "PNGFA History". สืบค้นเมื่อ 20 June 2014.
- ↑ "Fédération Tahitienne de Football". สืบค้นเมื่อ 20 June 2014.
- ↑ "Football Federation Samoa". สืบค้นเมื่อ 20 June 2014.
- ↑ "American Samoa Info". สืบค้นเมื่อ 20 June 2014.
- ↑ "Tonga Info". สืบค้นเมื่อ 20 June 2014.
- ↑ "Vanuatu Info". สืบค้นเมื่อ 30 June 2014.
- ↑ "Who we are". สืบค้นเมื่อ 20 June 2014.
- ↑ "中華民國足球協會簡介" (ภาษาจีน). สืบค้นเมื่อ 20 June 2014.
- ↑ "Members Associations". สืบค้นเมื่อ 20 June 2014.
- ↑ "Acerca de la Asociación" (ภาษาฮิบรู). สืบค้นเมื่อ 20 June 2014.
- ↑ 19.0 19.1 "EAFF News". สืบค้นเมื่อ 20 June 2014.
- ↑ http://www.fifa.com/fifa-world-ranking/ranking-table/men/ofc.html
- ↑ http://www.fifa.com/fifa-world-ranking/ranking-table/women/ofc.html
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- เว็บไซต์สมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนีย
- Oceania Football Confederation, SoccerLens.com. Retrieved: 10 September 2010.