ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาษาลาว"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 252: บรรทัด 252:
|}
|}


สร้างบุญพระท่านคงเห็น
== ตัวอักษร ==
ภาษาลาวมีตัวอักษรที่ใช้เขียนอยู่สองแบบ คือ [[อักษรลาว]] ใช้เขียนเรื่องคดีทางโลกทั่วไป ปัจจุบันรัฐบาลลาวได้ปรับปรุงอักษรลาวเดิมให้ใช้เป็นอักษรราชการ (ในภาคอีสานของไทยยังคงใช้อยู่บ้างในเอกสารโบราณ เรียกชื่อว่า [[อักษรไทน้อย]])


== ตัวอย่างคำศัพท์ ==
== ตัวอย่างคำศัพท์ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:53, 27 ธันวาคม 2561

ภาษาลาว
ພາສາລາວ phasa lao
ออกเสียงpʰáːsǎː láːw
ประเทศที่มีการพูดประเทศลาว และใช้บางพื้นที่ในประเทศไทย และประเทศกัมพูชา
จำนวนผู้พูด20–25 ล้านคน  (2004)[1]
(3 ล้านคนใน ลาว, สำรวจในปี 2005)[2]
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนอักษรลาว ในลาว
อักษรไทย ในประเทศไทย
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ ลาว
รหัสภาษา
ISO 639-1lo
ISO 639-2lao
ISO 639-3อย่างใดอย่างหนึ่ง:
lao – ภาษาลาว
tts – ภาษาอีสาน
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ภาษาลาว (ลาว: ພພາສສາລາວ พาสาลาว) เป็นภาษาราชการของประเทศลาว เป็นภาษาที่มีวรรณยุกต์ในภาษากลุ่มไท และสัมพันธ์ใกล้ชิดกับภาษาอีสานของประเทศไทย ระบบการเขียนในภาษาลาวจะใช้อักษรลาว ซึ่งเป็นระบบอักษรสระประกอบ (ระบบการเขียนที่ประกอบด้วยสัญลักษณ์แทนพยัญชนะและตามด้วยสระที่จะอยู่ด้านหน้า หลัง บน ล่าง ของพยัญชนะ) และสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอักษรไทยລາວ

สำเนียงภาษาถิ่น

สำเนียงภาษาถิ่นของภาษาลาวสามารถแบ่งได้ 6 สำเนียงใหญ่ คือ:

  1. ภาษาลาวเวียงจันทน์ (เวียงจันทน์ บอลิคำไซ)
  2. ภาษาลาวเหนือ (หลวงพระบาง ไชยบุรี อุดมไซ หลวงน้ำทา)
  3. ภาษาลาวตะวันออกเฉียงเหนือ (เชียงขวาง หัวพัน)
  4. ภาษาลาวกลาง (คำม่วน สุวรรณเขต)
  5. ภาษาลาวใต้ (จำปาศักดิ์ สาละวัน เซกอง อัตตะปือ)
  6. ภาษาลาวตะวันตก (ไม่มีใช้ในประเทศลาว ร้อยเอ็ด)

ทางการประเทศลาวไม่ได้กำหนดให้สำเนียงถิ่นใดเป็นสำเนียงภาษากลาง แต่การใช้ภาษาลาวอย่างเป็นทางการ เช่น ทางสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศลาว สถานีวิทยุแห่งประเทศลาว จะใช้สำเนียงเวียงจันทน์ซึ่งเป็นสำเนียงของคนเมืองหลวง สามารถเข้าใจกันได้ทั่วประเทศ การเรียนภาษาลาวในประเทศลาวนั้น รัฐบาลลาวไม่ได้บังคับให้ใช้สำเนียงเวียงจันทน์ แต่ให้สามารถใช้สำเนียงท้องถิ่นต่าง ๆ ได้ แต่การเรียนภาษาลาวสำหรับชาวต่างประเทศ รัฐบาลลาวแนะนำให้ใช้สำเนียงเวียงจันทน์ ฉะนั้นประชาชนในประเทศลาวจึงพูดอ่านภาษาลาวเป็นสำเนียงท้องถิ่นของตน แต่ประชาชนก็สามารถฟังเข้าใจได้ทุกสำเนียงทั่วประเทศ แม้จะพูดภาษาต่างสำเนียงกันก็ตาม


ส่วนในประเทศลาว นอกจากสำเนียงถิ่นใหญ่แล้วยังมีสำเนียงแตกออกไปอีกหลายสำเนียงย่อย เช่น ภาษาลาวใต้ถิ่นสาละวัน ภาษาลาวกลางถิ่นสุวรรณเขต สำเนียงย่อยถิ่นเมืองอาดสะพังทอง ถิ่นเมืองจำพอน ภาษาเวียงจันทน์ถิ่นเมืองปากงึม ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีผู้พูดภาษาลาวใต้ถิ่นจำปาศักดิ์ในจังหวัดพระวิหาร สตึงแตรง และรัตนคีรีของประเทศกัมพูชาด้วย

ระบบเสียง

พยัญชนะ

พยัญชนะต้น

  ริมฝีปาก
ทั้งสอง
ริมฝีปากล่าง
-ฟันบน
ปุ่มเหงือก หลังปุ่มเหงือก เพดานแข็ง เพดานอ่อน เส้นเสียง
เสียงนาสิก   [m]
ມ, ໝ
    [n]
ນ, ໜ
  [ɲ]
ຍ, ຫຍ
  [ŋ]
ງ, ຫງ
 
เสียงกัก [p]
[pʰ]
ຜ,ພ
[b]
  [t]
[tʰ]
ຖ,ທ
[d]
    [k]
[kʰ]
ຂ,ຄ
  [ʔ]
*ອ
เสียงเสียดแทรก   [f]
ຝ,ຟ
[s]
ສ,ຊ
        [h]
ຫ,ຮ
เสียงผสมเสียดแทรก       [t͡ɕ]
     
เสียงเปิด   [ʋ]
ວ,ຫວ
    [j]
   
เสียงเปิดข้างลิ้น       [l]
ລ,ຣ,ຫຼ
       
* ອ /ʔ/ ที่เป็นพยัญชนะต้นหมายถึงเสียงเงียบ และดังนั้นมันจึงถูกพิจารณาว่าเป็นเสียงกัก เส้นเสียง

พยัญชนะสะกด

  ริมฝีปาก
ทั้งสอง
ริมฝีปากล่าง
-ฟันบน
ปุ่มเหงือก หลังปุ่มเหงือก เพดานแข็ง เพดานอ่อน เส้นเสียง
เสียงนาสิก   [m]
    [n]
      [ŋ]
 
เสียงกัก [p̚]
    [t̚]
      [k̚]
  [ʔ]
*
เสียงเปิด   [w]
      [j]
   
* เสียงกัก เส้นเสียง จะปรากฏเฉพาะหลังสระเสียงสั้นเมื่อไม่มีพยัญชนะสะกด

สระ

เสียงสระในภาษาลาวซึ่งคล้ายคลึงกับเสียงสระภาษาไทยแบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ สระเดี่ยว สระประสม และสระเกิน สะกดด้วยรูปสระพื้นฐานหนึ่งตัวหรือหลายตัวร่วมกัน

สระเดี่ยว หรือ สระแท้ คือสระที่เกิดจากฐานเพียงฐานเดียว มีทั้งสิ้น 18 เสียง

  ลิ้นส่วนหน้า ลิ้นส่วนหลัง
ปากเหยียด ปากเหยียด ปากห่อ
สั้น ยาว สั้น ยาว สั้น ยาว
ลิ้นยกสูง /i/
xິ
/iː/
xີ
/ɯ/
xຶ
/ɯː/
xື
/u/
xຸ
/uː/
xູ
ลิ้นกึ่งสูง /e/
ເxະ
/eː/
ເx
/ɤ/
ເxິ
/ɤː/
ເxີ
/o/
ໂxະ, xົ
/oː/
ໂx
ลิ้นกึ่งต่ำ /ɛ/
ແxະ
/ɛː/
ແx
    /ɔ/
ເxາະ
/ɔː/
xໍ, xອ
ลิ้นลดต่ำ     /a/
xະ
/aː/
xາ
   

สระประสม คือสระที่เกิดจากสระเดี่ยวสองเสียงมาประสมกัน เกิดการเลื่อนของลิ้นในระดับสูงลดลงสู่ระดับต่ำ ดังนั้นจึงสามารถเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "สระเลื่อน" มี 3 เสียงดังนี้

  • ເxຍ /iːa/ ประสมจากสระ อี และ อา
  • ເxືອ /ɯːa/ ประสมจากสระ อือ และ อา
  • xົວ /uːa/ ประสมจากสระ อู และ อา

เสียงวรรณยุกต์

ภาษาลาวเวียงจันทน์มีระดับเสียงวรรณยุกต์ 6 ระดับ: Low (เอก) Mid (สามัญ) High (ตรี) Rising (จัตวา) High Falling (ใกล้เคียงกับโท) และ Low Falling (โท) ระดับเสียงจะแตกต่างกัน ไปตามชนพื้นเมืองของผู้พูดและที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ เช่น ชาวหลวงพระบางจะใช้ ระดับเสียงวรรณยุกต์ 5 ระดับ คือ

  • กลางต่ำลงขึ้น
  • ต่ำขึ้น
  • กลางระดับ
  • สูงขึ้น
  • กลางขึ้น
วรรณยุกต์ สัทอักษรสากล ตัวอย่าง
ไทย อังกฤษ อักษรลาว รูปปริวรรต สัทอักษรสากล เทียบเสียงไทย
(โดยประมาณเท่านั้น)
ความหมาย
เอก low /◌̀/ [˨˩] ກາ กา /kàː/ ก่า กา,นกกา
จัตวา rising /◌̌/ [˨˦] ຂາ ขา /kʰǎː/ ขา ขา, อวัยวะใช้เดิน
สามัญ mid /◌̄/ [˧] ຂ່າ,ຄ່າ ข่า,ค่า /kʰāː/ คา ข่า (หัวข่า), ค่า (คุณค่า)
โทต่ำ low-falling /◌᷆/ [˧˩] ຂ້າ ข้า /kʰa᷆ː/ ข่า,ข้า ข้า (สรรพนาม), ฆ่า, ข้าทาส
ตรี high /◌́/ [˦˥] ຄາ คา /kʰáː/ ค้า คา (คาที่), หญ้าคา
โทสูง falling /◌̂/ [˥˩] ຄ້າ ค้า /kʰâː/ ค่า ค้า, ค้าขาย

สร้างบุญพระท่านคงเห็น

ตัวอย่างคำศัพท์

  • ຂອບໃຈຫຼາຍໆເດີ (ขอบ ใจ หลาย หลาย เด้อ, [kɔ᷆ːp t͡ɕàj lǎːj lǎːj dɤ̂ː]) ขอบคุณมากๆครับ/ค่ะ
  • ຂ້ານ້ອຍເຮັດບໍ່ໄດ້ດອກ (ข้า น้อย เฮ็ด บ่อ ได้ ดอก, [kʰa᷆ːnɔ̂ːj hēt bɔ̄ː dâj dɔ᷆ːk]) ผม/ดิฉันทำไม่ได้หรอก
  • ໄຂປະຕູໃຫ້ແດ່ (ไข ปะ ตู ให้ แด่, [kʰǎj pa.tùː ha᷆j dɛ̄ː ]) เปิดประตูให้หน่อย

อ้างอิง

  • สีเวียงแขก กอนนิวง (1999). หนังสือคู่มือเรียนภาษาลาวง่ายๆ เวียงจันทน์ : สำนักพิมพ์และจำหน่ายหนังสือแห่งรัฐ
  • ANSI Z39.35-1979, System for the Romanization of Lao, Khmer, and Pali; ISBN 0-88738-968-6.
  • Hoshino, Tatsuo and Marcus, Russel. (1989). Lao for Beginners: An Introduction to the Spoken and Written Language of Laos. Tuttle Publishing. ISBN 0-8048-1629-8.
  • Enfield, N. J. (2007). A Grammar of Lao. Mouton de Gruyter Publishers. ISBN 3-11-018588-1.
  • Cummings, Joe. (2002). Lao Phrasebook: A Language Survival Kit. Lonely Planet. ISBN 1-74059-168-2.
  • Mollerup, Asger. Thai–Isan–Lao Phrasebook. White Lotus, Bangkok, 2001. ISBN 974-7534-88-6.
  • Kerr, Allen. (1994). Lao–English Dictionary. White Lotus. ISBN 974-8495-69-8.
  • Simmala, Buasawan and Benjawan Poomsan Becker (2003), Lao for Beginners. Paiboon Publishing. ISBN 1-887521-28-3

แหล่งข้อมูลอื่น